"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2557
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 

‘25 ปี กรณีนองเลือดเทียนอันเหมิน’ กับความคิดคนเกิดปีนองเลือดจีน 1989 ในวันนี้

เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาประชาชนและการปราบปรามกลุ่มประท้วงฯที่จัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างนองเลือดในวันที่ 4 มิ.ย. ปี ค.ศ.1989 (2532)

ผู้สื่อข่าวฮ่องกงเซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ จึงถือโอกาสนี้ออกไปสำรวจความคิดเห็นของผู้คนที่เกิดในปีนองเลือดครั้งฯ พวกเขาคิดเห็นอย่างไรกับเหตุนองเลือดดังกล่าว และมรดกตกทอดของเหตุการณ์ที่เกิดในปีที่พวกเขาได้ถือกำเนิด



‘25 ปี กรณีนองเลือดเทียนอันเหมิน’ กับความคิดคนเกิดปีนองเลือดจีน 1989 ในวันนี้
รูปจากแฟ้มภาพ ถ่ายเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2532 ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน และนักศึกษา ด้านหน้ามหาศาลาประชาชน (the Great Hall of the People) (ภาพ: เอเอฟพี)

สำหรับในวงวิพากษ์วิจารณ์ การเกิดในปี 2532 ถือเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่กระตุ้นถึงให้นึกถึงพลังอำนาจของระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่สำหรับอีกหลายคน “เหตุนองเลือดเทียนอันเหมิน” ก็เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์ที่ค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมความกังวลใจเกี่ยวกับประเทศชั้นนำใหม่ที่กำลังผงาดขึ้น

       อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้คนวัยเบญจเพศจากทั้งฮ่องกง ไต้หวัน และแผ่นดินใหญ่ ก็ยังคงคิดถึงวันที่ 4 มิ.ย. ด้วยท่าทีที่ต่างกันไป

“ประวัติศาสตร์ส่วนนี้เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับพวกเรามาก รายละเอียดข้อเท็จจริงต่างๆก็ไม่ชัดเจน” ซุน เสวียปิน ชาวซานตงที่อาศัยในปักกิ่ง กล่าว

       ซุน ทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษาและการฝึกอบรม บอกว่าเขาไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์เทียนอันเหมินจนอายุได้ 18 ปี “แม่ผมเล่าว่า ตอนนั้นลุงของผมอยู่ในปักกิ่ง และแม่ก็กังวลมากกลัวลุงจะโดนจับติดคุก”

       เมื่อขอให้ซุนสรุปเหตุการณ์คร่าวๆ เขากล่าวว่า “มันเป็นเรื่องการแก่งแย่งอำนาจระหว่างปัญญาชนนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีความรู้มากกับพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคฯก็ต้องรักษาอำนาจไว้ เลยประกาศกฎอัยการศึกสู้กับนักศึกษา และคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ตายไปเยอะ ผมไม่รู้ว่าเท่าไหร่”

       เช่นเดียวกับหนุ่มเสฉวน ที่ไม่อยากบอกชื่อแซ่ เราจึงรู้จักเขาด้วยชื่อภาษาอังกฤษ ว่า อเล็กซ์ หลี่

หลี่ ไม่เคยรู้เรื่องเหตุการณ์นองเลือดในปีเกิดของตนเองเลย จนกระทั่งบินไปเรียนที่ฝรั่งเศส เขาจึงได้ย้อนดูคลิปสารคดีว่าด้วยเรื่องเหตุการณ์ฯดังกล่าว กับเพื่อนในหอ



‘25 ปี กรณีนองเลือดเทียนอันเหมิน’ กับความคิดคนเกิดปีนองเลือดจีน 1989 ในวันนี้
คนถีบสามล้อรีบนำตัวผู้ได้รับบาดเจ็บเหตุประทะ ณ จัตุรัสเทียน อัน เหมิน ส่งโรงพยาบาล วันที่ 4 มิ.ย. 2532 (ภาพ: เอพี)

 “เราเริ่มหาดูวีดีโอออนไลน์ ดูจนดึก” หลี่ กล่าว “ผมว่ามันน่าขันสิ้นดี ผมไม่รู้เรื่องพวกนี้ได้ยังไงกันเนี่ย ?”

       “ตอนแรกที่ผมรู้ ผมอินและก็โกรธมาก เพราะสารคดีเรื่องเล่า “เหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน” ทำออกมาชัดเจน เพื่อเรียกน้ำโหของคนดู”

“แต่ตอนนี้ ผมกลับคิดว่ามันไม่ใช่อะไรง่ายๆ แบบนั้น มันซับซ้อน...ไม่ใช่แค่เรื่องการประท้วงของนักศึกษา ผมว่าผู้ประท้วงหลายคนที่จัตุรัสฯตอนนั้น ก็ชอบ “บทบาทผู้นำ” เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกคนที่ออกไปประท้วงด้วยเหตุผลที่บริสุทธิ์” นายหลี อธิบาย

       เมื่อพูดถึงสังคมปัจจุบัน ที่โลกกลายเป็นยุคดิจิตอล ประชาชนแดนมังกรเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้ทางการจะพยายามเซนเซอร์ควบคุมโลกอินเทอร์เน็ต และ เวยปั๋ว สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังคล้ายทวิตเตอร์ของจีน ที่กลายเป็นพื้นที่แสดงความเห็นของคนในโลกไซเบอร์ ก็ตาม

“ไม่รู้สินะ ผมไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีเสรีภาพ อย่างที่นักศึกษาในสารคดีอาจจะคิดกัน” นายหลี่ กล่าว “แต่ผมไม่ค่อยสนใจการเมือง ชีวิตผมมีเรื่องให้ต้องคิดเยอะพอละ”

       ตั้งแต่ 1989 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเศรษฐกิจจีนผงาดขึ้นเป็นอันดับสองของโลก รองแค่อเมริกาเท่านั้น ฉะนั้น วิถีชีวิต และสินค้าของโลกตะวันตกต่างก็หลั่งไหลทะลุกำแพงเมืองจีนเข้ามา คนหนุ่มสาวอย่างซุน และหลี่ จึงได้สัมผัสของหรูหราอย่างที่พ่อแม่ของพวกเขาไม่เคยได้ทำมาก่อน

เรื่องเหล่านี้จึงกลายเป็นหัวข้อที่ให้หลายคนดาหน้าออกมาวิจารณ์ ว่าคนรุ่นใหม่ของจีนเป็นพวกวัตถุนิยมมากขึ้นและมีสำนึกทางการเมืองน้อยลง

       “ผมคิดเรื่องค่าเช่า เรื่องชีวิตของผมเองนะ ผมรู้ว่าหลายคนในรัฐบาลทุจริตกัน แต่ผมก็ไม่รู้สึกว่าต้องไปสู้รบปรบมือกับพวกเขา” นายซุนอธิบายความรู้สึกของตนเองออกมา

       ด้านหลิน จวินเจี๋ย นักศีกษาปริญญาโทจากสถาบันการก่อสร้างและวางผังเมืองของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เล่าว่า เขาเริ่มเรียนเรื่องเหตุการณ์ปราบปรามกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยที่เทียนอันเหมินตอนอยู่ป. 4 แต่จนตอนนี้เขาก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกต่อเหตุการณ์นองเลือดนี้อย่างไร

       “ตอนแรกผมก็เหมือนคนอื่นๆ ผมรู้สึกว่าเมืองจีนมืดสลัวเป็นแดนสนธยา และเป็นที่มีแต่ความรุนแรง ไม่มีเสรีภาพ ส่วนตอนนี้ ผมก็บอกได้แค่ว่ามีการปกปิดความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ และมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น แต่ผมก็ไม่รู้สึกว่ามันเกี่ยวอะไรกับตัวผม”

       ในขณะที่ฝั่งฮ่องกง นักศึกษานักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่าง หลัว เยี่ยนจื้อ กลับรู้สึกรู้สาเป็นอย่างยิ่ง หลัวเป็นหนึ่งในผู้ออกมาต้านรถไฟความเร็วสูงเชื่อมก่วงโจว (หรือกวางเจา) เมื่อปี 2010

“ตั้งแต่ครูมัธยมให้ผมดูรูปเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในห้องเรียน ผมก็รู้เลยว่า ชีวิตมันไม่ใช่แค่เรียนแล้วก็สอบ” นายหลัว บัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศึกษามหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)กล่าว

“มันทำให้เห็นว่าเป็นเพราะพลังคนหนุ่มสาวหนุนมันเลยไปได้ไกลขนาดนั้น และพวกเขาก็เสียสละชีวิตเพื่อประโยชน์ส่วนรวม” นายหลัว แสดงความเห็นไว้

       “ชะตาชีวิตของฮ่องกงตั้งแต่ถูกส่งมอบอำนาจการปกครองคืนสู่จีน ก็ผูกติดอยู่กับจีน มันจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนฮ่องกงจึงควรรู้จักธรรมชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้มากขึ้น”



‘25 ปี กรณีนองเลือดเทียนอันเหมิน’ กับความคิดคนเกิดปีนองเลือดจีน 1989 ในวันนี้
ภาพทางเข้าประตูเทียน อัน เหมิน (4 มิ.ย. 2557) (ภาพ: เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์)

ในขณะที่กลุ่มนิยมความเป็นพื้นเมืองอย่างสุดโต่ง (nativist) ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงไม่กี่ปีนี้ เรียกร้องให้ฮ่องกงแยกขาดจากจีนและหยุดจุดเทียนในค่ำคืนรำลึกเหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน วันที่ 4 มิ.ย. แต่ หลัวกลับดูกระตือรือร้นกับเรื่องราวของแผ่นดินใหญ่ และยืนยันว่าควรมีพิธีกรรมดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อปลุกความเฉื่อยชาทางการเมือง

       “คนชั่วรุ่นพวกเราจะได้เห็นบ้านเกิดของตนไปถึงปี 2047 และจะได้เห็นกระแสความนึกคิดที่ผูกพันกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ค่อยๆแปรเปลี่ยนกลายเป็นพลังทางการเมืองมากขึ้น"

       การเกิดคลื่นนักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์อย่าง โจซัว หวง จือเฟิง (Joshua Wong Chi-fung) ทำให้หลัวมีความหวังกับอนาคตของบ้านเมืองเขา เพราะคนหนุ่มสาวแสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเขาเริ่มคิดเผื่อคนรุ่นต่อไปแล้ว

       หลัว คิดว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็ไม่ควรอายที่จะทำกิจกรรมทางการเมือง

“เป็นเรื่องศีลธรรม พวกเขามีภารกิจที่ต้องตอบแทนบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ตักตวงผลประโยชน์ในช่วงเศรษฐกิจบูมปีทศวรรษ 1970-1980 ไปแล้ว” นายหลัว กล่าวทิ้งท้าย

        หลายคนบอก การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน แต่หลายคนก็แย้งว่ามันเป็นเรื่องเจตจำนงส่วนตัว แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ ความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่ความสูญเสียก็เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง...ดังเช่นที่เกิดขึ้นบนจัตุรัสเทียน อัน เหมิน วันที่ 4 มิ.ย. 1989

 

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์โสรวารค่ะ




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2557
0 comments
Last Update : 7 มิถุนายน 2557 7:46:54 น.
Counter : 4278 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.