"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
22 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

สิงโต







สิงโตตัวผู้





สิงโตตัวเมีย






สิงโตตัวผู้ที่สันนิษฐานว่า
อาจเป็นสิงโตสายพันธุ์บาร์บารี (Panthera leo leo)




สิงโต จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. tigris altaica)

พื้นลำตัวสีสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี


ถิ่นกำเนิด

สิงโตในอดีตพบกระจายอยู่ตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก มีสายพันธุ์มากมาย แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปัจจุบันพบเพียงแค่ในทวีปแอฟริกา ในทวีปเอเชียยังคงมีอยู่บ้าง เช่น บางแห่งในประเทศอินเดียแถบตะวันตก มี 6 สายพันธุ์ย่อย พบในทวีปแอฟริกา 5 สายพันธุ์ คือ สิงโตเซเนกัล (P. l. senegalensis)

พบในประเทศเซเนกัลและไนจีเรีย, สิงโตมาไซ (P. l. nubica) พบในเอธิโอเปีย, โมซัมบิก, เคนยา, แทนซาเนีย, สิงโตคองโก (P. l. azandica) พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, สิงโคกาทังกา หรือ สิงโตแองโกลัน (P. l. bleyenbergh)

พบในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ในประเทศนามิเบีย, แองโกลา, บอตสวานา, ซาเอียร์, แซมเบีย, ซิมบับเว และสิงโตขาว หรือ สิงโตทรานเวล (P. l. krugeri) พบในทวีปแอฟริกาตอนใต้บริเวณอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ซึ่งเป็นพันธุ์ย่อยอีกชนิดของสิงโตแอฟริกา ซึ่งมีสีขาวตลอดทั้งลำตัว แต่ไม่ใช่สิงโตเผือก เพิ่งมีการค้นพบและศึกษาเมื่อไม่นานมานี้

และในทวีปเอเชีย คือ สิงโตอินเดีย หรือสิงโตเอเชีย (P. l. persica) ซึ่งตัวเล็กกว่าสิงโตในทวีปแอฟริกา พบในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงอินเดียตอนเหนือและภาคตะวันตก


ลักษณะ

สิงโตแอฟริกา และสิงโตอินเดียมีลักษณะที่แตกต่างกันตรงบริเวณขนแผงคอและลำตัวเท่านั้น สิงโตแอฟริกาตัวผู้โตเต็มที่ขนคอยาวรอบคอ ดูสง่าน่าเกรงขามจนมีสมญาว่าเป็น "เจ้าแห่งสัตว์ป่า" ตัวเมียไม่มีขนรอบคอ ปลายหางขนเป็นพู่

ส่วนสิงโตเอเชียตัวผู้มีขนแผงคอที่ไม่หนา และเห็นหูโผล่มานอกขนแผงคอได้ชัดเจน และใต้ท้องจะมีหนังห้อยอยู่ใต้ท้องเหมือนกับเสือเล็กน้อย และ ตัวเมียก็มีลักษณะคล้ายกับสิงโตตัวเมียแอฟริกา และมีขนหางพู่ที่หนากว่า

ถ้าเทียบตามสัดส่วนแล้ว สิงโตแอฟริกาจะใหญ่กว่าสิงโตเอเชีย แต่ควรจะดูที่ลักษณะขนแผงคอ และร่างกายจะดีที่สุดถึงจะแยกแยะออกได้ และทั้งสองสายพันธุ์มีเสียงคำรามที่เสียงดังมากได้ยินไปไกล การคำรามเป็นการช่วยเรียกตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วย


นิสัย

ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ขนาดของฝูงขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อ ถ้าเหยื่อมีมากและขนาดใหญ่มาก และขนาดของเหยื่อใหญ่ก็จะอยู่รวมกันเป็นฝูง นิสัยของมันไม่กล้าหาญนัก ใช้เวลาส่วนใหญ่ในตอนกลางวันเพื่อนอนพักใต้ร่มไม้ โดยมีเวลานอนนานถึงวันละ 20 ชั่วโมง

ล่าเหยื่อเมื่อหิว หน้าที่ล่าเหยื่อจะเป็นของตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ มันชอบกินซากสัตว์ที่เน่าแล้วด้วย ตัวผู้มักไม่ล่าเหยื่อเอง ตัวผู้จะคอยกันตัวเมียออกจากซากเหยื่อ เพื่อกินอาหารก่อนในฐานะจ่าฝูง สิงโตออกหากินกลางคืน ตั้งแต่มืดไปจนถึงเที่ยงคืน เมื่อกินเหยื่อเสร็จแล้วต้องกินน้ำ นอนพัก ตอนเช้าจึงจะกลับที่อยู่

ลักษณะการล่าเหยื่อของมันมีหลายวิธี เช่น ซุ่มซ่อนตัวตัวตามพุ่มไม้สูง ๆ การล่าเหยื่อทั้งแบบไล่เดี่ยวและเป็นกลุ่ม ฯลฯ แต่ไม่ว่าวิธีใดก็ตามมันจะพยายามเข้าไปใกล้เหยื่อให้มากที่สุดก่อนที่จะกระโดดเข้าตะครุบเหยื่อหรือออกล่าเหยื่อ เพื่อให้เหยื่อมีเวลาหนีน้อยที่สุด เพราะสิงโตจะวิ่งได้เร็วในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น


การสืบพันธุ์

ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอนมีได้ทุกเวลาตลอดปี ระยะของการเป็นสัดนาน 4-16 วัน ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 3 ปี ตัวผู้ประมาณ 4-6 ปี เคยมีรายงานอายุ 2 ปี ก็ผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานราว 100 วัน ตกลูกครั้งละ 3-5 ตัว เคยมีรายงานได้ลูกถึง 7 ตัว ลูกอดนมเมื่ออายุ 3-6 เดือน อายุยืนประมาณ 30-60 ปี ลูกตัวที่อ่อนแออาจถูกทิ้งให้ตายหรือถูกกินในหมู่สิงโตด้วยกัน


อาหาร

สิงโตกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มันกินสัตว์ได้แทบทุกชนิด เช่น กระต่าย ไก่ป่า จระเข้ ลิง เม่น กวาง ม้าลาย ควายป่า เป็นต้น แม้แต่ซากสิงโตด้วยกันเองก็กิน ลูกสิงโตที่อ่อนแอจะถูกกินเพื่อให้ตัวที่แข็งแรงกว่าได้อยู่รอด


สิงโตกับมนุษย์

สิงโตถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจและความแข็งแกร่ง มาตั้งแต่โบราณ มนุษย์ในทุกภาษา ทุกวัฒนธรรมล้วนแต่ใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์ในเชิงนี้ทั้งนั้น เช่น ในปรัมปราของศาสนาฮินดู พระนารายณ์เคยอวตารลงมาเป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งสิงโต ชื่อว่า "นรสิงห์" เพื่อปราบมาร

ในวัฒนธรรมไทย เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จออกยังมุขหรือบัญชร จะเรียกว่า "สีหบัญชร" (หมายถึง หน้าต่างสิงโต) และเรียกพระบรมราโชวาทในครั้งนี้ว่า "สีหนาท" (หมายถึง เสียงคำรามของสิงโต) เป็นต้น

ในภาษาบาลีและสันสกฤต มีคำศัพท์เรียกสิงโตในเชิงยกย่องซึ่งเป็นคนที่คนไทยรู้จักกันดี คือ "ราชสีห์" หมายถึงพญาสิงโต หรือราชาแห่งสิงโต ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานถือว่าดุร้ายและมีพละกำลังมาก

ในประเทศจีน ซึ่งไม่มีสิงโตเป็นสัตว์พื้นเมือง แต่ก็รับเอาสิงโตมาจากเปอร์เซีย ก็มีการเชิดสิงโต เป็นการละเล่นประกอบในพิธีมงคลหรือรื่นเริงต่าง ๆ เพราะมีความเชื่อว่า สิงโตเป็นสัตว์ใหญ่ที่สัตว์ต่าง ๆ เกรงขาม จึงมีพลังอำนาจในการขับไล่สิ่งอัปมงคลได้

ในประเทศอังกฤษ ซึ่งอยู่ในภาคพื้นยุโรป ที่ก็ไม่มีสิงโตเป็นสัตว์พื้นเมืองเช่นกัน แต่ก็ใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และสมาคมฟุตบอลอังกฤษก็ใช้สิงโต 3 ตัวเป็นสัญลักษณ์และใช้เป็นสัญลักษณ์ของทีมชาติด้วยเรียกว่า "Three Lions"

กษัตริย์อังกฤษหลายพระองค์ ถูกขนานพระราชสมัญญานามเปรียบเทียบกับสิงโตด้วยเช่นกัน เช่น พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 มีพระราชสมัญญานามว่า "พระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์" (Richard the Lionheart) เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทย สิงโตถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยและใช้เป็นสัญลักษณ์ของคณะรัฐศาสตร์ ของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกด้วย โดยมีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ ตามสีของสิงโต เช่น "สิงห์ดำ" หมายถึง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, "สิงห์แดง" หมายถึง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, "สิงห์ทอง" หมายถึง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานปรีดิ์เขษมนะคะ




 

Create Date : 22 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 22 ธันวาคม 2553 7:18:34 น.
Counter : 5040 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.