Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
20 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 

นำธรรมมาแสดงและประสบการณ์ย่อที่เหลื่อ

ขอยกธรรมจากพระไตรปิฏก ที่เป็นพุทธพจน์ เป็นไปในส่วนการปฏิบัติ ที่พึ่งแจ้งพึงเห็นได้ และเป็นการดีที่สุด สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงๆ ในบอร์ดสนทนาที่เป็นสาถารณะ ดังนี้

จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 18
-----------------------------------------------------------------

กรรมสูตร

[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับแห่งกรรม และ
ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัย
ทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอัน
บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ

[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา
ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ

[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ
เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม ฯ

[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑
สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา
เรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม ฯ

[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรมและปฏิปทาอัน
เป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลายด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล
อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเรา
ทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลาย
จงพยายาม อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเรา
เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๑

สัปปายสูตรที่ ๑

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานนั้น
เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลายไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่
เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่
เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยงมโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นปฏิปทาอันเป็นอุปการะ
แก่นิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

สัปปายสูตรที่ ๒

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานนั้นเป็น
ไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ จักษุสัมผัส
เป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น
ปัจจัยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ มโนวิญญาณ
เป็นทุกข์มโนสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๓

สัปปายสูตรที่ ๓
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานนั้น
เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นอนัตตารูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา
จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ
สัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็น
อนัตตามโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล
ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๔

สัปปายสูตรที่ ๔

[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานนั้น
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่
เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ใน
ธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม
สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๕
-----------------------------------------------------

เล่าจากประสบการณ์ต่อ เรื่องยาวก่อนหน้านี้
....
....
... จน

ข้าพเจ้า ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมถึงความดับแห่ง รูปนาม (ดับนามรูป วิญญาณก็ดับไปด้วย) ทรงอยู่ในสภาวะความดับชั่วขณะหนึ่งเพราะสิ้นไปไม่สืบต่อกัน ด้วยความศรัทธาในธรรมของพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสละร่างกายแม้จะพิการได้เพื่อธรรมนั้น

หลังจากนั้นไม่กี่วันเจริญสมาธิพร้อมทั้งสละชีวิตด้วยความทุกข์ที่ปรากฏเจียนตายและยอมตายถึงตติยฌาน พร้อมกับผลความดับสิ้นนั้น ตั้งแต่วัยหนุ่ม(ประมาณอายุ 24 ปี พ.ศ 2526) และเข้าผลความดับได้ในช่วงเวลาหลายวัน หรือช่วงเป็นเดือนหลังจากนั้น หลายครา.

และด้วยความต่ำต้อยในฐานะ และขาดสิทธิเสรีภาพตั้งแต่เกิด จึงไม่กล้าตัดสินใจในความรู้สึกแห่งตน และขยาดกลัวใน นิกันติ ที่ติดและหลงอยู่ในวิปัสสนูกิเลส ที่เห็นที่ยึดเป็นที่พึ่งทางใจเพียงอย่างเดียวในสมัยนั้นเป็นเวลาถึง 2 เดือน

หลังจากนั้นได้อยู่อย่างเป็นสุขมีสันติสุขเกือบ 3 ปี

ได้อยู่อย่างเป็นปกติสุข ด้วยไม่มีภาระอื่นใด ด้วยตัวคนเดียว ประมาณ 3 ปี รอที่จะบวชพระใหม่ แต่ต้องไม่เกิดปัญหาแบบสภาวะเดิมที่เกิดขึ้นมาแล้ว คือมีพระผู้ไม่ประสงค์ให้บวช และเมื่อได้บวชแล้วก็มีพระผู้ประสงค์ให้สึกออกมา เพราะฐานะอันต่ำต้อย โดนกดดันทางสังคมได้โดยง่าย

และด้วยทุกข์ในฐานะและความเม่นเหม่ในศีลจนเป็นทุกข์สับสนขึ้น เพราะด้วยเริ่มมีแฟน ทางแห่งบารมีเก่า ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าได้ช่องจึงผุดขึ้น โดยไม่คาดคิดมาก่อน และไม่อาจเอือมมาก่อน จึงไหลไปตามทางแห่งบารมีเก่านั้น ต้องดำเนินสร้างไปตามทางบารมีเก่านั้น ซึ่งเป็นการประกองในช่วงที่เกิดทุกข์อย่างมากกับตนเองและครอบครัว ได้คานถ่วงดุลกับวิบากกรรมที่ส่งผลอย่างหนักนั้น ให้มีกำลังใจพออยู่ได้ไม่ไปทางที่เลวร้ายเตลิดไปกว่านั้นจนรักษาครอบครัวไว้ไม่ได้ เพราะทางแห่งบารมีเก่านั้นเชื่อมโยงไว้ได้ พอรอดพ้นไปได้.

แต่เมื่อวิบากกรรมอันเลวร้ายที่เป็นทุกข์ยาวนานเกือบ 2 ปีนั้นผ่านพ้นไปได้ เป็นการเห็นทุกข์ของวัฏสงสาร พอครอบครัวเริ่มดีขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แต่ฐานะอันต่ำต้อยนั้นยังคงอยู่เหมือนเดิม ผลแห่งธรรมใหม่ในปัจจุบันชาติที่ได้เห็นแล้วนั้นถึงความดับแห่ง รูปนาม และผลของความสงบสันติหลังจากนั้น ประมาณ 3 ปี และเห็นทุกข์มากมายหลังจากนั้น กับทางบารมีเก่าเริ่มเสมอกัน จึงบังเกิดจินตมยปัญญาเจริญขึ้นว่ามีทางเดียว คือพิสูจน์ตนเอง ด้วยการปฏิบัติธรรมที่ละเอียดขึ้น จึงวางความปรารถนาว่าใช่หรือไม่ใช่ไปก่อน แม้จะมีผู้ยื่นยันว่าใช่ แต่ปัญญาที่เห็นทุกข์เพิ่มกับตนในช่วงที่ผ่านมาก็ไม่ใช่น้อยเช่นกัน

จึงเริ่มปฏิบัติธรรมเพื่อการพิสูจน์ตนเอง ไม่สนใจในอุปทานที่ว่าใช่หรือไม่ใช่ ในทางของบารมีเก่า พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องกับครอบครัวและการงาน(ถึงแม้จะดูด้อยไปหน่อย เพราะใจอยู่ที่กำหนดภาวนา ปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ) เป็นระยะเวลายาวนานติดต่อกันถึง 5 ปี จนเกิดการปฏิบัติธรรมที่กำหนดได้ยินเสียง จนทิ้งความรู้สึกวูบดิ่งลึกลงไปเพียงแตะจุดเสมือนหมดความรู้สึก แล้วพุ่งออกมา พร้อมกับแจ้งชัดใน อนัตตาธรรม เปล่งออกมาว่า "แม้แต่เสียงที่กำหนดภาวนาก็ยึดมันถือมั่นไม่ได้".

เมื่อรู้สึกมีสติเต็มตัวก็รู้ว่า แม้แต่ใจและร่างกายนี้ก็ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ หลังจากนั้นก็มีปัญญาแตกฉานทางธรรมเป็นร้อยนัยพันนัย ในกลางปี 2537 ความปรารถนาต่างๆ ที่เป็นบารมีเก่า ไม่มีปรากฏอีกเลยและไม่มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดเหลืออยู่เลยในจิตสำนึก และหลังจากนั้นในปลายปีนั้น ก็ได้รับความเป็นไท ได้สัญชาติไทย มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมในสังคม เหมือนติดคุกมาตั้งแต่เกิด และเป็นผู้พ้นโทษทางโลก.

ประมาณเลยกลางปี 2537-38 ก็เจริญสมาธิด้วยหมวดอานาปานสติ พร้อมกับความไม่ยึดมั่นถือมั่น ความเป็นเช่นนั้นเอง จนปลดความรับรู้ทั้งหมดพลิกไปเหลือเพียง มีสติสดใสสว่างมีอุเบกขา อย่างเดียว ก็รู้ว่าอย่างนี้เรียกว่า จิตวาง อีกแบบหนึ่ง เป็น จตุฌาน( ฌานที่ 4) หลังจากนั้นก็เกิดญาณอะไรๆ ที่ละเอียดขึ้น ให้ทราบ แบบพิเศษขึ้นมาเอง แต่ก็ไม่ไปยึดมั่นถือมั่น เพราะปัญญาเห็นอนัตตาธรรม ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ความเป็นเช่นนั้นอง.

จุดเปลี่ยนเรื่องบารมีเก่าก็มาบังเกิดขึ้นอีก เมื่อผ่านมาอีก 5 ปี เกิดความสับสนสงสัยลังเล เพราะเหม่นเหม่ในศีล และเกิดผลที่ไม่คาดคิด ทำให้สับสน ประมาณปี 2541 ยาย(แม่แฟน) ช่วยตัวเองไม่คอยได้ อยู่บ้านคนเดียวตอนกลางวัน มดคันตัวแดงๆ เดินเข้าในบ้านได้เต็มไปหมด ก็ทำอะไรไม่ได้หลายวัน ส่วนแฟนก็บอกว่าต้องแก้ปัญหา กวาดแล้วก็กลับขึ้นเข้ามาในบ้านอีก.

ข้าพเจ้าก็คิดว่าน่าจะมีอะไรที่กันไม่ให้มดเขามาในบ้านได้ โดยที่ไม่ต้องไปฉีดยาฆ่ามันยกรัง ก็มีผู้แนะนำว่ามี ซอก ที่ขีดกันไม่ให้มดเข้าบ้านได้ จึงไปซื้อซอกนั้นมา กวาดมดออกจากบ้าน แล้วขีดทางที่มดจะเข้าบ้านทั้งหมดอย่างหนา ก่อนไปทำงาน กลับบ้านตอนเย็น โอ้ มดตายเป็นเพมากมายแดงบริเวณ จากเส้นที่ขีดไว้ โอ้ ศีลเรื่องฆ่าสัตว์ขาดไปแล้วหรือนี้ ทำให้สับสนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยจำนวนมดที่ตายนั้นมากจริงๆ.

และด้วยเหตุการณ์ที่พ่อเสียและกำลังจะเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี และเกิดจากการชักนำของผู้อื่น(สิ่งที่ไม่ใช่คน) ทั้งที่จิตสำนึกนั้นไม่ประสงค์แล้วเรื่องบารมีเก่า เพียงแต่ลองอธิษฐานอุทิศส่วนบุญ ที่ตนเคยปรารถนาพุทธภูมิ ที่ผ่านมา ให้กับพ่อ ตามที่เขาแนะนำก็ไม่เสียหายอะไร เมื่อยกมือพนมสักแต่กล่าวคำอธิษฐานตามที่เขาบอก จิตสำนึกก็สักแต่กล่าวไป แต่กลับกลายเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย เมื่อเกิดความคิดจากจิตใต้สำนึกขึ้นมาเองว่า “ถ้าสามารถช่วยให้พ่อพ้นจากอบายภูมิด้วยการปรารถนาพุทธภูมิเราก็ยอม” เหมือนประตูที่ล็อกไว้ถูกเปิด สิ่งที่แฝงอยู่ใต้จิตสำนึกได้ช่อง พุ่งขึ้นมาเอง แล้วกระจายความรู้สึกปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ท้วมทั้งกายและใจ แล้วความรู้สึกทั้งกายและใจ เสมือนโดนอัดรวมกันพุ่งสู่กลางลำตัวเพียงจุดเดียว มีปีติไปทั่วจิตและร่างกาย เหนือความคาดหมายแห่งตน และจิตสำนึกเสมือนยังไม่ยอมรับ แต่ก็ต้องยอมด้วยเหตุที่ปรากฏขึ้นนั้นเอง ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มี

และการยอมรับครั้งนี้ ก็หาได้ยึดมั่นถือมั่นเพราะ ปัญญาเห็นอนัตตาธรรมอยู่ ว่าเป็นเช่นนั้นเอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงไม่มี และเห็นว่าปัจจุบันนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญเป็นสิ่งที่ควรเจริญในธรรม ส่วนความมีความเป็นโพธิสัตว์หรือความไม่มีไม่เป็นโพธิสัตว์ หรือได้เป็นหรือไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้านั้นคนละเรื่องกัน .

แต่เมื่อยอมรับแล้วการปรุงแต่ง และเหตุการณ์ทิศทางที่เป็นไปเอง ก็เริ่มเชื่อมต่อข้อมูล จากปี 2531 ที่หยุด ไปเพราะไม่สนใจไม่เกี่ยวข้องเรื่องโพธิสัตว์แล้วเพราะต้องปฏิบัติธรรมเพื่อพิสูจน์อย่างเดียว การเชื่อมต่อแบบเอาซิกซอ มาต่อกันก็เริ่มดำเนินการผสมประสานกันกับอุปทานไปอีกมากมาย

แต่ไม่ทำให้จิตใจสับสน เพราะเพียงแต่เห็นว่าเป็นข้อมูลปฐมภูมิ เมื่อปรากฏ ก็ไหลไปตามฐานะและปัจจัย แต่มีสติปัญญาเตือนตนเองอยู่เนื่องๆ ไม่ให้เลยเถิด และยังถือว่ายังต้องศึกษาธรรม และปฏิบัติธรรมเพื่อการพิสูจน์อยู่เนื่องๆ ด้วยเพราะเห็นอนัตตาธรรม การปล่อยวาง การคลายความยึดมั่นถือมั่นอยู่เนื่องๆ จึงไม่เกิดวิปลาส จึงเป็นเพียงก็ปล่อยให้ไหลไปตามเหตุเท่านั้น เป็นเวลาถึง 10 ปีกว่า .

และเรื่องทุกเรื่องก็ย่อมถึงที่สุด หรืองานเลี้ยงทุกงานก็ย่อมมีการเลิกรา เพราะไม่มีอะไรที่ต้องไปเสาะหาแล้ว หรืออิ่มแล้วก็ต้องวาง และเกิดกับแฟนผู้ติดต่อเห็นความผิดปกติของการปรุงแต่งของอุปทาน ที่เกิดความผิดพลาดครั้งใหญ่ๆ ในชีวิต ถึง 3 ครั้ง ก็ย่อมถอยและวางไปเอง ไม่ถือเป็นจริงเป็นจังจนเกินไปอีกแล้ว.


ลวงเลยมา 10 กว่าปี เมื่อเช้าประมาณ 9 โมงเช้า 15 มกราคม ต้นปี 2554 นี้เอง เมื่อเกิดสภาวะป่วยแบบกระทันหันแต่มีสติเท่าทันอยู่ตลอด เพราะพัฒนาสติจนกลายเป็นนิสัย เฉียดความเป็นความตาย เฉียดอัมพฤต หรืออัมพาตถาวร

จึงปฏิบัติธรรมอย่างละเอียดยิ่งปรานิตขึ้น เพราะเห็นทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ อยู่เบื้องหน้า เปรียบดังมีกองเพลิงทุกข์ ที่กำลังลุกไหม้อยู่บนศีลษะ สติละเอียดพละ 5 เจริญสมบูรณ์ เห็น มโนอายตนะ ที่เกิดจากสัมผัส เป็นผัสสะ >เวทนา และเป็นตัณหาปรุงแต่ง อยู่เนื่องๆ ไม่ขาดสาย ที่อยู่ในห้องไอชียูเฝ้าดูอาการ อยู่ 2 วัน ซึ่งอัมพฤตจับอยู่เป็นเวลา 1 วันหรือ 24 ชั่วโมงจึงค่อยๆ ดีขึ้น

ด้วยมีพละ 5 ที่สมบูรณ์และบริบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างปรานิตและด้วยเห็นทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งเห็นปฏิจสมุทปบาทละเอียดและเท่าทัน ตั้งแต่ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่มโนสัมผัส หรือเกิดสัมผัสกับมโนอายตนะอยู่เนื่องๆ

จึงเห็นสังขาร คือ มโนอายตนะที่เกิดสัมผัสอยู่เนื่องๆ นั้นเป็นทุกข์ อย่างแท้จริง จึงเกิดสัญญาทางธรรมขึ้นมาเองให้เข้าใจไปเอง ว่า

"มโนอายตนะที่สัมผัสเกิดเป็นผัสสะ อยู่เนื่องๆ นี้เป็นทุกข์ เป็นสังขาร การจะดับทุกข์ได้ก็ต้องเป็น วิสังขาร คือพ้นไปจากสังขาร แต่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่หมาะสมและเป็นไปเอง (ตอนนั้นก็ไม่ทราบความหมาย วิสังขาร นั้นคืออะไร)"

หลังจากนั้นจึงทิ้งการพิจารณานั้นไปไม่สนใจอีก กำหนดกรรมฐานมีสติอยู่เนื่องๆ ไม่ขาดสาย แล้วค่อยปลดการรับรู้ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไปจนหมดสิ้น เหลือเพียงแต่มโนอายตะที่กระทบกับการกำหนดภานาเพียงอย่างเดียวเพียงนิดเดียว สักแต่กำหนดภาวนา แล้วก็เผิกพลิกทิ้ง มโนอายตะกับการกำหนดภาวนานั้นไป ไม่มีรูป ไม่มีมโนอายตะ ไม่เป็นอะไร แต่สเหมือนรู้(แต่ไม่ใช่รู้) สภาวะนั้นดำรงอยู่ ทรงอยู่นานหรือสั้นไม่สามารถกำหนดได้

แต่เมื่อปรากฏ มโนอายตนะให้รับรู้ก็ปรากฏขึ้นเพียงนิดเดียวก่อนเพียงจุดเดียวภายในโพรงของกาย ช่วงโพรงจมูกกับโพรงภายในปาก แล้วก็ค่อยมีสติชัดขึ้นรู้ทั้งตัวว่า เรายังอยู่ในท่านั่งกรรมฐานแบบเดิมก่อนที่จะปลดหมดไป.

ก็เกิดแปลกใจ เพราะสภาวะแบบนี้ไม่เคยเป็นมาก่อน แตกต่างจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่มีรูป ไม่มีจิต หรือเป็นอรูปฌาน แต่จะเป็นอะไรก็ชั่ง ถือว่าบุญบารมี ย่อมสิ่งผลในสิ่งที่ดีและเหมาะที่สุด

และเมื่อพิจาณาดูในวันหลัง กามราคะ เรายังมีอยู่ ก็ต้องต้องพิจน์กันในกาลต่อไป และสภาวะนั้นอาจเป็นผลเพราะยารักษาก็ได้ หรือสมองอยู่ในสภาวะบอบซ้ำอยู่ก็ได้

แต่ก็เกิดสติมากไม่เหมาะสมกับผู้ที่ป่วยทางสมองที่ไขมั่นอุดตันเพียงชั่วคราว ซึ่งสมองบวมและได้รับบาดเจ็บ ที่ต้องพักผ่อนมาก จึงต้องเพลาๆ กรรมฐานลง

ด้วยการมีสติมาก นึกว่าอาการที่เป็นนั้นเพียงเล็กน้อยและตัวเอง สามารถพื้นตัวได้เร็ว เมื่อออกจากโรงพยาบาล (อยู่โรงพยาบาล 6 -7 วั้น ) ก็ต้องฝึกเดินฝึกความเคยชินใหม่ สมองยังผิดปกติอยู่ และรีบไปทำงาน จนต้องเข้าโรงพยาบาลรอบ 2.

จึ่งกล่าวว่าธรรมที่แท้จริงอย่างไรหรืออะไรที่เกิดในปี 2526 นั้น ก็กล่าวชัดยังไม่ได้ ซึ่งต้องพิสูจน์กันต่อไป และต้องอาศัยกาลามสูตร จนกว่าจะถึงที่สุด หรือจนสิ้นชีวิตนี้.




 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2554
3 comments
Last Update : 20 กรกฎาคม 2554 15:53:20 น.
Counter : 656 Pageviews.

 

ขอกราบอนุโมทนาสาธุในธรรมที่ท่านรู้แจ้ง แล้วกล่าวสอนผู้อื่นอยู่ครับ

 

โดย: shadee829 20 กรกฎาคม 2554 23:29:32 น.  

 

เมื่อมีผู้ถามว่า การ พิจารณา อนัตตา ไม่ให้ สุดขอบ ไปทาง อุจเฉททิฏฐิ

ผมตอบให้พิจารณาดังนี้

ที่เรา่ท่านทั้งหลายมีคาามทุกข์ ก็เพราะกิเลส ตัณหา คือ กามตัณหา(ความชอบ ความต้องการใน รูป รส กลิ่น สิ่ง สัมผัส ธรรมมารมณ์ที่ชอบ) ภวตัณหา(อยากมีอยากเป็น) วิภาวตัณหา(ไม่อยากมีไม่อยากเป็น)

จึงไม่ต้องคิดปรุงแต่งไปมาก ในเรื่องสมมุติหรือไม่สมมุติ ว่าว่าง อนัตตา เพียงแต่ให้ มีสติปัญญา

รู้ทุกข์ ที่ปรากฏอยู่ ไม่ต้องคิดไปไกล

รู้เหตุแห่งทุกข์ ก็คือกิเลสตัณหา ที่ผลักดันให้ดิ้นรน ไม่จบสิ้น

รู้ความดับทุกข์ ก็คือนิพพาน ซึ่งนิพพานไม่ใช่อะไรอื่นเลย นิพพานคือ ความสิ้น ราคะ โทสะ และโมหะ ก็คือความสิ้นกิเลสนั้นเอง

รู้วิธีดับทุกข์ ก็คือมรรคมีองค์ ๘ นั้นเอง เริ่มจากสัมมาทิฏฐิ การปฏิบัติเพื่อให้มรรคสมบูรณ์ ก็ืคือ เริ่มจากศีล แล้วการปฏิบัติธรรม ลงสู่ทางสายเอก คือ สติปัฏฐาน ๔ เมื่อสติปัฏฐาน ๔ สมบูรณ์ โพฌชงค์ ๗ ก็สมบูรณ์ เมื่อ โพฌชงค์ ๗ สมบูรณ์ มรรคมีองค์ ๘ ก็สมบูรณ์ นิโรธ หรือความดับทุกข์ก็บรรลุขึ้น ดับกิเลสเด็ดขาดตามลำดับเป็น ไปตามฐานบุคคล

ถ้าคิดอะไรปรุงแต่งจินตนาการมากมาย ขาดสติ มีทุึกข์ มีกิเลสอยู่ หลุดไปจากกรอบอริยะสัจจะ ๔ เป็นการหลงทางอันควรไปแล้ว

 

โดย: P_vicha (P_vicha ) 3 สิงหาคม 2554 10:59:08 น.  

 

มีคำถามใน กระทู้ว่า

อยากถามรุ่นพี่ทั้งหลายเกี่ยวกับการนั่งสมาธิดังนี้ครับ

ผมได้ตอบไปดังนี้.
***********************************

ควรเจริญสติสัมปชัญญะในขณะที่อยู่ในสมาธิ ก็คือการโน้มใจรู้เท่าทันสภาพแห่งความเป็นจริง ในปัจจุบัน ที่เป็นความไม่เที่ยงของสภาวะที่ปรากฏ

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (ปัญหาที่คุณเป็นอยู่)
สิ่งใดเป็นทุกขื สิงนั้นเป็นอนัตตา (ซึ่งที่คุณบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอย่างนั้นเอง)

(ผู้มีปัญญา[ถ้ามีปัญญาจริง]จึงพิจารณาเนื่องๆ ว่า) นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเช่นนั้นเอง

ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นแหละ ....

ไม่ว่าสมาธิเข้าลึกหรือถอยออกรับรู้กาย ก็พิจารณาอยู่อย่างนั้น เพราะเป็นการเจริญสติให้เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเจริญปัญญา ให้ค่อยเห็นสภาพแห่งความเป็นจริง กับสภาวธรรม ที่มี อายตนะ >ผัสสะ > เวทนา ปรากฏกับใจอยู่เนื่องๆ ด้วยความศรัทธาและควมเพียรในการปฏิบัติ. ซึ่งพละ 5 (สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร) ก็จะเจริญขึ้น

การปรับพละ 5 ให้สมดุลย์ เมื่อเครียดไปจากการพิจารณา ก็ผ่อนลงมา เป็น "สักแต่รู้" หรือ "เป็นเช่นนั้นเอง" ปล่อยวาง เมื่อหวั่นไหว ก็ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือ บุญกุศล ที่ตนเคยทำหรือปฏิบัติมา
เมื่อคลายเครียดใจเบาควรแก่งาน ก็น้อมใจเข้าสมาธิในทางเดิมที่ได้นั้นแล้ว น้อมใจมีสติพิจารณา ดังด้านบนดังนี้
-----------------------------------
สิ่งใดไม่เทียง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา
------------------------------------

พิจาณาจน เห็น(ใจ) มโนมายตนะ ที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยเพราะ ผัสสะหรือการกระทบกัน เป็นความรู้สึก(เวทนา สุข ทุกข์ หรือเฉย) เกิดความนึกคิด(ทั้งที่เผลอ และที่การกำหนดพิจารณาอยู่)

เมื่อเผลอก็กลับมาพิจาณาใหม่ ดังด้านบน
-----------------------------------
สิ่งใดไม่เทียง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา
------------------------------------
และถ้าพละ 5 ไม่สมดุลย์ เช่นเครียดไป ก็ปล่อยวาง "เป็นเช่นนั้นเอง" เมื่อเผลอคิดไปเอง ปรุงแต่ง ก็มีสติน้อมเข้ามาระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือยกสติเข้าการปฏิบัติแห่งตนให้ต่อเนื่องเริ่มจากตั้งต้นใหม่.

สติปัญญาก็จะละเอียดเห็นเองและแยกเองได้ว่า นี้ความรู้สึกทางใจ นี้ความรู้สึกที่เกียวกับกาย นี้ความนึกคิด นี้คือการกำหนดภาวนาอยู่เนื่องๆ ในช่วงที่กำหนดภาวนาอยู่นั้นๆ.

ปัญญาก็จะแจ้งชัดในไตรลักษณ์ ถึงการเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงที่ปรากฏอยู่เนื่องๆ แต่ก็ยังกำหนดพิจารณาอยู่เนื่องๆ โดยตลอด

เมื่อเป็นดังนี้ สติปัฏฐาน 4 ก็เจริญขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปคิดคำนึงถึง โพชฌงค์ 7 ก็สมบูรณ์ขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปคิดคำนึงถึง มรรคมีองค์แปดก็จะเจริญขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปคิดคำนึงถึง
แล้วสติปัญญาก็จะเห็นเท่าทันกับ นามรูป>สฬ่ายตนะ >ผัสสะ > ตัณหา >อุปทาน ที่ปรากฏอยู่เป็นปัจจุบันอยู่เนื่องๆ

เมื่อสมบูรณ์พร้อมแล้วด้วยมรรคมีองค์ 8 (โดยไม่ต้องไปคิดคำนึงถึง เพราะจะกลายเป็นการปลุงแต่ง)แล้ว วิมุติ (นิโรธ) ก็พึงปรากฏขึ้นได้ ดับปฏิสจจมุทปบาทฝ่ายเกิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ปรากฏนั้น เพราะไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา นั้นไปได้ มีดวงตาเห็นธรรมที่เจริญขึ้น ตามฐานะของบุคคลได้.

หมายเหตุ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลาดลึกไปตามลำดับ แต่ไม่เกินวิสัยของบุคคล ที่มีปัญญาหรือศรัทธาในธรรม อย่างแน่วแน่ไปได้.

จากคุณ : P_vicha [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 9 ก.ย. 54 11:16:38

 

โดย: P_vicha 12 กันยายน 2554 10:03:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


P_vicha
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add P_vicha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.