The secret of getting ahead is getting started. (Mark Twain)
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2560
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 มิถุนายน 2560
 
All Blogs
 
ประกันสังคม ตอน 1



ได้ไปเข้าเรียนวิชาเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ภาษีและบัญชีของสวิตเซอแลนด์เลยอยากจะเขียนเล่าให้อ่านเกี่ยวกับประกันสังคม จะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ส่วนแรกจะกล่าวถึงที่มาและโครงสร้างหลักๆ และส่วนที่สองเป็นส่วนรายละเอียด จะกล่าวถึงหลักการของแต่ละชนิดของประกันสังคม

***ออกตัวว่าไม่รู้ภาษาไทยใช้ศัพท์ว่าอะไรและภาษาอังกฤษก็ไม่แน่ใจเพราะแต่ละประเทศก็เรียกกันแตกต่างออกไป แต่ภาษาอังกฤษที่ใช้อ้างอิงจากหน่วยงานประกันสังคมของสวิตเซอแลนด์ เขาทำคู่มือเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยก็ใช้ศัพท์ตามนั้น

***ใครอยากเอาไปทำรายงานก็ขอเตือนว่าอันนี้เป็นข้อมูลหยาบๆ นะคะ ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับมาตราต่างๆหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล หรือประวัติความเป็นมาโดยละเอียดของแต่ละสวัสดิการ/ประกันถ้าอยากได้เพื่อทำรายงานให้ถามได้ค่ะ หรือจะเติมลิงค์ถึงองค์กรต่างๆ ให้ภายหลัง

***ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขจะเปลี่ยนเกือบทุกปีวันที่เขียนนี่ มิถุนายน 2017 หากอ่านปี 2018 2019 ตัวเลขอาจเปลี่ยนได้ค่ะ

ส่วนแรกคือประวัติศาสตร์และที่มาของแนวความคิด

ตั้งแต่สมัยศตวรรศที่ 17 และ 18 จาก Industrial Revolution ในอังกฤษ การค้นพบเครื่องจักรและการใช้แรงงานคนงานทำให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพการทำงาน ผลตอบแทนและการดูแลคุณภาพชีวิตของคนงาน อีกเหตุการณ์ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนคือ French Revolution (ปีคศ 1789-1799) เป็นช่วงที่มีการเรียกร้องให้มีความเท่าเทียมกันในสังคม

ผู้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดที่จะให้ประชาชนได้รับสวัดดิการจากรัฐได้แก่Otto von Bismarck (1815-1898), Franklin D. Roosevelt (1882-1945) และ William Henry Beveridge (1879-1963)

สวิตเซอแลนด์ได้รับแนวความคิดมาจากการปฎิวัติทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมการเมืองเหมือนกับประเทศอื่นๆ เช่นเยอรมัน สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีการทบทวนบทบาทในภาครัฐที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนประชาชนในยามลำบากจากความยากจนเจ็บป่วย ภัยสงครามและผลที่ตามมา ในตลอดร้อยปีที่ผ่านมาได้มีการเริ่ม ปรับใช้กฎหมายต่างๆ ตลอดเวลา ทุกปีจะมีการทบทวนตัวเลขให้ทันสมัยสอดคล้องต่อสภาพเศรษฐกิจและจำนวนประชากรและรายได้ ในสวิตเซอแลนด์มีจำนวนประกันสังคมจำนวน 10 ประเภทได้แก่

    Militärversicherung (MV) ประกันทหาร
    Alters- und Hinterlassenenversicherung (AHV) ประกันตอนเกษียณและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ Old-Age and Survivors’ Insurance (OASI)
    Invalidenversicherung (IV) ประกันการทุพลภาพ Disability Insurance (DI)
    Ergänzungsleistungen (EL) สวัสดิการเสริม
    Unfallversicherung (UV) ประกันอุบัติเหตุ Accident and Occupational Diseases Insurance (AA)
    Berufliche Vorsorge (BV) ประกันอาชีพ Occupational Benefit Plan (BP)
    Arbeitslosenversicherung und Insolvenzentschädigung (ALV) ประกันการตกงานและในกรณีที่บริษัทขาดสภาพคล่อง Unemployment Insurance (AC)
    Erwerbsersatzordnung (EO), Mutterschaftsentschädigung (MSE) ประกันเสริมอาชีพ ประกันการตั้งครรภ์และคลอดบุตร Income Compensation Allowances in case of Service and in case of Maternity (APG)
    Krankenversicherung (KV) ประกันสุขภาพ Health Insurance (AMal)
    Familienzulagen (FamZ) เงินสนับสนุนครอบครัว Family Allowances (AFam)

ในสวิตเซอแลนด์มีการแบ่งระบบการดูแลสวัสดิการสังคมเรียกว่า`สามเสาหลัก’ หรือในภาษาเยอรมันคือ Dreisäulensystem ภาษาอังกฤษคือ Three pillars system

เสาหลักแรกมีจุดประสงค์เพื่อความปลอดภัยในการดำรงชีวิตในยามเกษียณ ต้องการให้คนที่ได้สมทบเงินในวัยทำงานมีรายได้ใช้พออยู่ได้ในยามเกษียณ เป็นเงินช่วยเหลือรายเดือนขั้นต่ำที่มาของเงินก็เก็บจากส่วนหนึ่งของเงินเดือนคนทำงานในปัจจุบันเงินบังคับเก็บเป็นรายเดือน หักจากบัญชีเงินเดือนพนักงาน

เสาหลักที่สอง จุดประสงค์คือเพิ่มเงินเพิ่มความสะดวกสบายให้คนเกษียณให้มากขึ้น อันนี้จะกึ่งสมัครใจ กึ่งบังคับ ในกลุ่มนี้คนวัยเกษียณจะได้รับเงินน้อยมากต่างกันไป ตามแต่ที่แต่ละคนได้สะสมไว้

เสาหลักที่สาม จุดประสงค์คือเพื่อการสะสมเป็นระบบสมัครใจ ไม่มีการบังคับ พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการออมทั่วไปแต่ข้อดีคือส่วนที่ออมไว้ สามารถหักภาษีได้ไม่ต้องจ่ายภาษีเงินออมจนกว่าจะเบิกมาใช้ยามเกษียณอายุ

การหาเงินมาใช้จ่ายเงินบำนาญและสวัสดิการต่างๆมีสองวิธีหลักๆ คือ เงินที่หักรายเดือนจากทุกคนตามเปอเซ็นต์ที่รัฐกำหนด เก็บเข้าสู่กองกลางแล้วนำมาจ่ายเงินบำนาญและอีกวิธีเป็นเงินที่ได้มาจากการออมของแต่ละคน สะสมเข้ากองกลาง พอเวลาจ่ายก็คำนวณตามจำนวนเงินที่ฝากสะสมไว้

หัวใจของการออมเพื่อจ่ายในยามเกษียณคือคำที่เรียกว่า Solidarität ในภาษาเยอรมันหรือ solidarity ในภาษาอังกฤษ หมายถึงทุกคนเท่าเทียมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ว่าจะเงินเดือนน้อยหรือมาก อายุงาน เพศ ทุกคนจ่ายเงินทุกเดือนเข้ากองนี้เท่ากันคือจะกำหนดเป็นเปอเซ็นต์ของรายได้แต่ละเดือน ซีอีโอเงินเดือนๆละล้านหรือพนักงานระดับล่างเงินเดือนเดือนละสี่พัน ก็ถูกหักเปอเซ็นต์เท่ากัน

อีกคำที่สำคัญคือ Generationvertrag หรือ Generation contract สัญญาของรุ่น อธิบายไทยเป็นไทยก็เหมือนกับว่า คนรุ่นพ่อสัญญาว่าจะจ่ายเงินบำนาญให้กับรุ่นปู่แล้วรุ่นเราก็จะจ่ายให้กับรุ่นพ่อ และก็หวังว่ารุ่นลูกจะจ่ายให้กับเราเวลาเราเกษียณ ปัญหาอยู่ที่คนรุ่นเรา (วัยทำงาน) มีจำนวนคนน้อยลง เงินเข้ากองกลางก็น้อยลงกลัวว่าจะไม่พอจ่ายเงินบำนาญให้รุ่นพ่อ เพราะว่าอายุขัยก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะสาธารณสุขที่ดีขึ้นคนรู้จักดูแลตัวเองดีขึ้น ระยะเวลาจ่ายเงินเกษียณก็ยาวขึ้น แต่ปัญหาจะยิ่งทวีเพราะรุ่นลูก เมื่อเข้าวัยทำงาน จะมีจำนวนคนน้อยลง เพราะอัตราการเกิดน้อยลง พอเราเกษียณเกรงว่าเงินจะไม่มีพอจ่ายน่ะสิ อันนี้เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันในเกือบทุกประเทศ

อีกอย่างที่ควรรู้คือเขามีกฏหมายเขียนไว้ชัดตีความว่าอะไรที่เรียกว่า รายได้ รายจ่าย เช่น เงินจ่ายจากการทำงานเป็นพนักงานประจำอันนี้แน่นอนว่าเป็นรายได้ แต่ค่าคอมมิสชั่น เงินชดเชยที่ได้รับตอนตกงานหรือลาคลอดลูกพวกนี้ ถือเป็นรายได้ ค่าน้ำมันรถหากเป็นพนักงานขายที่ต้องไปติดต่องานลูกค้าต่างจังหวัด ค่าที่พักค่าอาหาร ค่าเรียนที่บริษัทออกให้เป็นพิเศษ เงินช่วยแต่งงานจากบริษัท เงินชดเชยที่ได้รับจากอุบัติเหตุ พวกนี้ไม่ใช่รายได้ และอื่นๆ อีกมากมาย




Create Date : 06 มิถุนายน 2560
Last Update : 11 มิถุนายน 2560 22:07:41 น. 0 comments
Counter : 614 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

94025
Location :
Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




เพิ่งเห็น โฆษณาเต็มไปหมดเลย ไม่รู้เอาออกยังไง เราไม่ได้เงินจากค่าโฆษณานะ ขอโทษด้วยค่ะ
Friends' blogs
[Add 94025's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.