การควบคุมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินโดยใช้ Copper Sulphate









จากที่มีประสบการณ์เรื่อง ทรัพยากรน้ำ มาอยู่บ้าง ที่มักเจอบ่อย ๆ

ในช่วงแล้ง ๆ ก็คือ น้ำผิวดินในบ่อ นิ่ง ๆ จะมีสีเขียว เป็นคราบ ๆ
(บางทีสีอื่น แล้วแต่ชนิดสาหร่าย เช่นแดง - น้ำตาล)

ปลาเริ่มมาลอยคอ รอความตาย
(ออกซิเจนที่ละลายในน้ำน้อยลง - หมด เพราะสาหร่ายเปลี่ยนจากผู้ให้ออกซิเจนมาเป็น ผู้ใช้ออกซิเจนในเวลากลางคืน)
เอ๊ยมาหายใจ ช่วงดึกถึงเช้ามืด
เป็นมาก ๆ ก็ตายลอยให้เห็นเป็นแพเลย ก็มี



pH ระหว่างวัน แปรปรวน ในระดับความลึก ไม่เกิน 1 เมตรจากผิวน้ำ
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินส่วนใหญ่ จะสังเคราะห์แสงในระดับ ไม่เกิน 1 เมตรจากผิวน้ำ
ในช่วงเวลากลางวัน จะได้ออกซิเจนมาก คาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
pH สูงขึ้นซะงั๊น มากที่สุด 4 โมงเย็น
และระดับลึกลงไปก็แตกต่างกันมาก ไม่เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประมาณว่าอยู่ได้แต่ไม่สืบพันธุ์ เป็นต้น

หายนะ กำลังจะมาเยือน

สิ่งผิดปกติเหล่านี้ รวม ๆ เรียกว่า "Algea Bloom" หรือ "ขี้ปลาวาฬ"เป็นต้น
ก็คือ การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาอันสั้น ของสาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงิน

เกิดได้ก็เพราะในแหล่งน้ำนั้น ๆ มีธาตุอาหาร N P K เจือปน
เช่น อาจมาจาก น้ำทิ้ง หรือแหล่งเกษตรกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

แก้ไขได้หลายวิธี เช่น เติมโคลน
กวนน้ำให้ขุ่นรบกวนการสังเคราะห์แสง
เติมอากาศให้ปลาในเวลากลางคืน
ทำให้น้ำไหลวน เช่น น้ำตก น้ำพุเทียม
ทำร่มบังแดดไม่ให้ส่องถึง
หรือกรองเอาสาหร่ายบริเวณผิวหน้าออกไป

เหล่านี้เป็นวิธีละมุนละม่อม ดีต่อสิ่งแวดล้อม

แต่บางที สภาพบ่อ กว้างใหญ่มาก วิธีการข้างบนมันทำได้ยาก
ก็มีหลายที่ใช้วิธีลัดอยู่ เช่น
(ไปได้ข้อมูลนี้มาจาก University of Florida และทดลองใช้แล้วล่ะ)

การใช้Copper Sulphateในการควบคุมปริมาณสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

ทำได้ดังนี้

1.เก็บน้ำมาวิเคราะห์ว่า Plankton พืชที่พบเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินหรือไม่

2.เก็บตัวอย่างส่งวิเคราะห์ ค่า Total Alkalinity (mg/l as CaCO3)
ถ้า Alk < 50 mg/l วิธีนี้ไม่แนะนำนะ เพราะ pH หลังใช้จะ Drop ลงมาก

3.ถ้า Alk > 50 mg/l แนะนำว่า ควรใช้ CuSO4 โดยคำนวณจาก


ความเข้มข้น CuSO4 (mg/l) = Total Alkalinity / 100



4.หาก ความเข้มข้น CuSO4 (mg/l) ที่คำนวณได้ > 2.50
ให้ใช้ได้มากที่สุด เพียง 2.50 mg/l เท่านั้น
ด้วยเหตุผล ป้องกันการสะสมอยู่ในน้ำ และเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และผู้ใช้น้ำ

5.นำความเข้มข้นที่ได้ มาเทียบบัญญัติไตรยางค์กับปริมาตรน้ำในบ่อโดยคิดความลึกเพียง 0.50 เมตร

ปริมาตร (ลบ.ม.) = พื้นที่บ่อ (ตารางเมตร) * ความลึก 0.50 เมตร เท่านั้น

(สาหร่ายอยู่มากที่สุด บนผิวน้ำ 50 เซน เท่านั้น)

แล้วอย่าลืมคูณความเข้มข้นกลับมาเป็น ความเข้มข้นของ CuSO4 ที่ใช้ด้วยล่ะ
(ที่มีขายเป็นผง 25 % เรียกว่า จุนสี ไงล่ะ ในสูตรเป็น CuSO4 100 % จ๊า)

6.เอาผงจุนสีมาละลายน้ำ แล้วพ่นเป็นละอองที่ผิวน้ำให้ทั่วทั้งบ่อ
ห้ามเทเพราะไม่มีประโยชน์ จุนสีมี ค่าความถ่วงจำเพาะสูง
ถ้าเทลงไปก็ไม่กระจายตัว ไม่ได้ผล
และต้องทำในวันที่แดดออก ช่วง 7 - 10 โมง เพราะสาหร่ายจะลอยอยู่ผิวน้ำมากที่สุดค่ะ



ที่บ่อที่เราดูอยู่ 4-6 เดือนใช้ 1 ครั้ง แหละ
(อันนี้แล้วแต่น้ำ แล้วแต่ปริมาณสาหร่าย และอากาศเป็นต้น)

7.แต่ ๆ ๆ ๆ มีดี ก็ต้องมีเสีย
ซากสาหร่ายที่ตาย ใหม่ ๆ จะเป็นคราบสีเขียวและฟองขาว ที่ขอบบ่อ



แล้วจะจมลงก้นบ่อ นานวันก็สะสม อาจต้องมีการขุดลอกด้วย
ไม่งั้นน้ำดิบก็จะเน่า (นานเป็นหลายปีล่ะ)
แล้วต้องเก็บน้ำ มาวิเคราะห์ หา AlK, pH, Cu และปริมาณสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ที่พบหลังพ่น เป็นประจำ
เช่นเดือนละครั้ง แล้วทำสถิติของเราไว้

หลายคนกลัวว่า Cu จะสะสมในน้ำ
ตั้งแต่ทำตามสูตรนี้ ก็ 2 ปีแล้ว วัด Cu < 0.10 mg/l ตลอด
และจะบอกว่าปริมาณ Cu ในอาหารที่เรากินเข้าไปทุกวันนี้ มี Cu มากกว่าในน้ำมาก
เช่น ในเนื้อปลานิลก็มี 30 mg/kg ทีเดียว

ไว้มีไร จะมาบอกใหม่น๊า สงสัยใคร่รู้ก็ Comment ไว้น๊า

- - -

อัพบล็อกนี้ครั้งแรก : 27-12-05

- - -


Create Date : 27 ธันวาคม 2548
Last Update : 16 กันยายน 2550 11:47:20 น. 17 comments
Counter : 5988 Pageviews.

 
มีความรู้คู่คุณธรรม
เย้ป้าแก่ขึ้นอีกปีแล้ว
ขอบคุณที่ป้าคอยเป็นคลังสมอง(ขี้เลื่อย อิอิ)ให้น้องๆนะจ๊ะ


โดย: ส้มซ่า IP: 202.183.225.250 วันที่: 29 ธันวาคม 2548 เวลา:8:31:31 น.  

 
สงสัยต้องให้ไปช่วยทำที่บ้านแล้วล่ะค่ะ



บ่อกว้าง หนึ่ง คูณ หนึ่ง นะ


โดย: jaa_aey วันที่: 21 มกราคม 2549 เวลา:1:23:48 น.  

 
^
^
บ้านอยู่ไหนล่ะ คุณเอ๋


โดย: varissaporn327 วันที่: 22 มกราคม 2549 เวลา:16:16:06 น.  

 
มาเก็บเอาความรู้จ้า


ปล. พี่แป๋มจบ ม.5 ที่สกลราชวิทยานุกูล(เป็นสาวสกลค่ะ).
จบ ม.6 กศน. ค่ะช่วงนั้นฮิตสอบเทียบกัน



โดย: หยิ๋งแป๋ม วันที่: 23 มกราคม 2549 เวลา:12:58:28 น.  

 
^
^
อะโห เก่งจัง


โดย: varissaporn327 วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:9:29:58 น.  

 
โห..ความรู้ดีดีมีประโยชน์ทั้งนั้น ขอบคุณค่ะ


โดย: jingsija วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:9:11:44 น.  

 
ท่าทาง จขบ จะเกิดมาเพื่อมวลชนนะคะเนี่ย แฮ่ แต่เราว่าดีนะคะ เพราะเราก็เป็นคนอีกคนที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศไม่ใช่แค่ผู้อาศัย มันต้องร่วมแรงกันค่ะ

ปล.เข้า blog นี้แล้วทำเป็นมีสาระเชียวเรา


โดย: โจเซฟิน วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:14:04:51 น.  

 
เดินผ่านกันบ่อยๆ ใน blog อื่น ไม่ได้มาเยี่ยมทำความรู้จักสักที แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ สนใจเรื่อง environment เหมือนกัน วันหน้าจะมาคุยด้วยค่ะ


โดย: Tinglish วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:20:54:44 น.  

 
มาอ่านสาระน่าสนใจ
แสดงว่าคุณทำงานทางด้านสิ่งแวดล้อมแน่เลย


โดย: VA_Dolphin วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:8:29:20 น.  

 
Now I see you in the profile block... พวกรู้ตัวว่าสวยแร้วชอบบอกว่าตะเองไม่สวย คนอื่นจะได้ ชมแล้วชมอีก เราพูดทีเดียว แระไม่พูดอีกแระ สวยย่ะ อย่ามาหลอกให้ชมอยู่เรยยย


โดย: Tinglish วันที่: 2 มีนาคม 2549 เวลา:9:26:14 น.  

 
Come quick!! NOW!!!
มาเด๋วนี้เรยยย ยัย น้องนกคนสวย ไม่ต้องเถียงเรยงานนี้ ตามพี่มาที่ Tinglish blog แร้วไปอ่านที่คุณโลมาขาแจมเค้าเมนท์ถึงหร่อนว่าไง จะหาว่าชั้นใส่ไคร้รรร เด๋วนี้ blog ชั้นกลายเป็นคุยเริ่ง ส้วมไปแระ


โดย: Tinglish วันที่: 2 มีนาคม 2549 เวลา:9:34:00 น.  

 
ความรู้คู่ความงาม ผมล่ะชอบสาหร่ายซะจริงๆ เคยเลี้ยงด้วยนะ


โดย: kipz (kipz ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:17:52:13 น.  

 
เพิ่งจะเห็น พี่ คูทิง มาเม้นท์

ไหงมาหน้านี้อ่ะคะ มะเป็นไร

จะตามไปป่วน ค่ะ


โดย: varissaporn327 วันที่: 29 มีนาคม 2549 เวลา:8:24:40 น.  

 
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล เนื่องจากทางเรากำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการบลูมของสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงินพอดี ถ้ามีเอกสารเพิ่มเติมรบกวนขอรายละเอียดด้วยครับ

พิสิทธิ์
บจก. ไทย ปังก้า ฟาร็ม


โดย: พิสิทธิ์ IP: 125.25.208.78 วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:19:38:25 น.  

 
ถ้าALK ไม่เกิน 50 จะทำยังไง (ถ้าเป็นไปได้ติดต่อเมล์จะขอบคุณมาก)orathai_thongmee2@hotmail.com



โดย: อรทัย IP: 125.27.102.62 วันที่: 7 มกราคม 2554 เวลา:9:57:54 น.  

 
ปกติน้ำที่ค่าความเป็นด่างต่ำจะไม่นิยมใช้วิธีนี้กันนะคะ เพราะการเติม CuSO4 ลงไปจะยิ่งทำให้ค่า pH ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิตในน้ำค่ะ

ลองใช้วิธีอื่น เช่น เติมอากาศ เติมโคลนให้ขุ่น รบกวนการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายดูค่ะคุณอรทัย


โดย: varissaporn327 วันที่: 2 มีนาคม 2555 เวลา:9:23:51 น.  

 
มีคำถาม เกี่ยวกับการใช้ CuSO4 สอบถามมาได้ที่ varissaporn@etc1992.co.th ค่ะ

บล็อกนี้ไม่ค่อยได้อัพเดทแล้วค่ะ


โดย: varissaporn327 วันที่: 2 มีนาคม 2555 เวลา:9:24:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

varissaporn327
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




(รูปน้องซอน เยจิน ไม่ใช่ จขบ.ค่ะ)

บ ล็ อ ก ล่ า สุ ด


บ ล็ อ ก เ ก่ า ๆ




หลังไมค์ถึงนกจ้า

ฟังเพลงกับ ดีเจ ต่าย

คำ ข อ บ คุ ณ

ป้ามด - บล็อกศาสตร์
หมอปอ - บล็อกแบบนี้
พี่อ้อย - Codeเก็บเพื่อน
คุณต่อฯ - ทดสอบ link
ต่าย - เพลงในบล็อก
ชิดชิด - linkอัพเดทบล็อก
ชิดชิด - Emotion2
ต่าย - Emotion3(รุ่นดัดแปลง)

93 Cool FM



Since 23-04-07
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 ธันวาคม 2548
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add varissaporn327's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.