ลองเขียนดู
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
6 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

บารายตะวันตกยามเย็น( เสือกมาถึงตอนเย็นเองนี่หว่า)



            เนื่องจากเวลาเย็นแล้ววันนี้เราคงได้แต่เที่ยวบารายและประสาทแม่บุญตะวันตก(คือตะวันตกของนครวัดนครธม) เรานั่งรถออกนอกเมืองไปได้สัก 20 นาทีก็ถึงสันบาราย มีเรื่อบริการท่องเที่ยวสำหรับไปเที่ยว ประสาทแม่บุญตะวันตกซึ่งอยู่กลางบารายถ้าดูจากภาพตรงกลางแบ่งครึ่งระหว่างด้านกว้างและด้านยาวจะมีจุดอยู่ จุดนั้นแหละเป็นที่ตั้งเกาะกลางน้ำเป็นที่ตั้งประสาทแม่บุญตะวันตก ซึ่งเราจะต้องนั่งเรื่อไปเที่ยวกัน

            กูสังเกตเห็นว่าสันบารายบริเวณท่าเรือที่รถจอด สูงจากระดับน้ำ 5-6 ม. แถมยังมีคลองส่งน้ำต่อออกจากด้านหลังเขื่อนต่อออกไปสุดลูกหูลูกตา ก็รู้สึกไม่ค้อยเชื่อสายตาเท่าไหร่ว่าสมัยก่อนมันจะทำขนาดนี้เลยหรือ สอบถามดูก็ได้ความว่า อันนี้มาทำทีหลังไม่ได้เป็นของโบร่ำโบราณ

            สภาพบารายถ้าเราไม่ได้ดูภาพ bird eye view มาก่อน เราจะไม่รู้ว่าเป็นรูป 4 เหลี่ยม เพราะมองไปเห็นแต่เวิ้งน้ำไกลริบ ๆ มองเห็นแนวทิวต้นไม้บนฝั่งบารายตรงกันข้าม (ถ้าดูตามรูปเรามาจอดรถอยู่ทางทิศใต้ของบาราย) น้ำในบารายก็สีดำ ๆ คล้ำ ๆ เหมือนว่ามันจะลึกมาก (ถามไกด์ดูมันว่าลึกประมาณ 2-3ม.) คณะ ทัวร์ 80 กว่าชีวิตนั่งเรือประมาณ 4-5 ลำตรงไปเกาะกลางบาราย กูสังเกตว่าเรือที่เขาใช้ต่างจากเรือของเรา เพราะถ้าเป็นของเราคงเป็นเครื่อง ดีเซล ดัดแปลงมาจาเครื่องรถยนต์แล้วต่อหางออกไปเป็นเรือหางยาว แต่ที่นี้เขาเดินเครื่องด้วยเครื่องคูโบต้า และไม่ได้ต่อหางใบพัดออกไปเป็นเรือหางยาวเหมือนของเรา เวลาวิ่งอยู่ก็ได้กลิ่นน้ำมันลอยมาปะจมูก ทำความรำคาญให้แก่นักท่องเที่ยวเล็กน้อย ลูกทัวร์ต่างก็พากันถ่ายรูปพยายามซึมซับกับบรรยากาศสุด romanctic (ถ้าได้มากับกิ๊ก เอ๊าะ ๆ)

            เราใช้เวลาวิ่งมาประมาณ 20 กว่านาที่ก็ถึงเกาะกลางบารายปรากฏว่าน้ำช่วงนี้เต็มจนเกือบจะมิดเกาะอยู่แล้ว เหลือที่เป็นเกาะจริง ๆ ขนาด ประมาณ 30 ม.x 30 ม. ตัวปราสาทที่ว่าก็ตอนนี้พังทลายหมดแล้วและจมอยู่ในน้ำ ยังคงเหลือแต่กำแพงด้านนอกอยู่ด้านเดียว ทำด้วยหินทรายมีประตูทางเข้า(ต่อไปจะเรียกว่า โคปุระ) อยู่ด้านเดียว ที่ยังค้างอยู่ อ. วีระและอาจารย์สุเนตร ซึ่ง่เป็นผู้บรรยายพิเศษก็เริ่มบรรยายประวัติความเป็นมาของบารายว่าสร้างในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1( ไม่ต้องสนใจชื่อกษัตย์พวกนี้มาก เดี๋ยวจะเซ็ง) ด้วยความเป็น engineer กูมีความสงสัยในวิธีการสร้างบารายแห่งนี้เป็นอย่างมาก มันรู้สึกขัด ๆ สามัญสำนึกกูเป็นอย่างมาก

       ประการแรกเนื่องจากบารายเป็นอ่างเก็บน้ำที่ไม่ได้ขุดลงไปเหมือนสระน้ำ ใช้วิธีเก็บน้ำบนผิวดินเดิม บริเวณที่เป็นเกาะก็คงจะต้องใช้ดินพูนขึ้นมาทำเป็นภูเขา (คติในการทะประสาทของพวกเขมรโบราณที่เป๋นพวกพราหม์ คือทำให้เป็นภูเขาพระสุเมร มีน้ำล้อมรอบ ) ช่วงที่กูไปนี้น้ำขึ้นค่อนข้างจะสูงสุดของปัจจุบันแล้ว (ถ้าดูในรูปจะเห็น ว่าน้ำยังไม่ถึงกลางเกาะ แสดงว่าน่าจะถ่ายในหน้าแล้ง) ถ้าชาวเขมรต้องการให้น้ำเต็มบารายแล้วทำไมจึงสร้างระดับของปราสาทต่ำแบบนี้ นี่ขนาดน้ำยังไม่เต็มบารายนะ ถ้าเต็มจริงน้ำน่าจะท่วมมิดเกาะ สอบถามไกด์ชาวเขมร มันบอกว่าตะกอนน้ำปิดทางน้ำทำให้น้ำเข้าไม่ได้อีก ก็ไม่น่าจะใช่เพราะตะกอนอะไรจะล่อเข้าไปครึ่งบาราย ได้แต่คิดว่าน่าจะเป็นความผิดพลาดในการคำนวณของ engineer โบราณ เนื่องจำไม่มีกล้องทำระดับว่าจะเก็บน้ำที่ระดับใหน ควรจะสร้างปราสาทที่ระดับใหน หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเนื่องจากบริเวณเกาะเป็นดินถม มีน้ำหนักของตัวปราสาทกดทับหลาย ๆ ร้อยตัน นาน ๆ เข้าประกอบกับมีน้ำอยู่รอบ น้ำสามารถซึมเข้าถึงกันได้ ทำให้ดินยุบตัวลงอีกประสาทจึงพังลงมา เรื่องอย่างงี้ อาจารย์ทั้ง 2 คงไม่มีความรู้เลยตอบกูไม่ได้ ทั้งหมดกูเลยสรุปว่า น้ำไม่น่าจะเคยเต็มทั้งบารายนับตั้งแต่สร้างมา น้ำมีระดับสูงสุดเท่าที่เห็นนี่แหละ มิฉะนั้นปราสาทจะต้องจมน้ำอยู่ตลอดเวลา อันนี้ให้เครดิตช่างชาวเขมรหน่อยว่าเขาคำนวณระดับไม่ผิดพลาด แต่ก็ยังงงว่าแล้วมันทำสันไว้รอบทำไม ส่วนที่ไม่เจอน้ำก็ไม่ควรทำ ต้องขอสันนิฐานก่อนว่าระดับที่บริเวณนั้นมันเป็น slope เอียงลงมา ตามภูมิประเทศ(ถ้าดูจะเห็นว่าเขมรจะเห็นแอ่งตรงกลาง( บริเวณ โตเลสาบ ทะเลสาบน้ำจืดกลางประเทศ) ทั้งหมดนี่ต้องขอให้จารย์เอ๊กช่วยวิเคราะห์ให้ฟังหน่อย

        ประการที่ 2วิธีที่เขมรเขาชักน้ำเข้ามาในบาราย ผู้บรรยายพิเศษบอกเฉย ๆว่าเขมรชักน้ำเข้าบาราย แต่ไม่บอกรายละเอียด กูก็สงสัยว่าจะชักน้ำกันอย่างไรมีวิธีเดียวที่จะหาน้ำปริมาณมหาศาลมาเข้าบารายได้ ก็ต้องผันน้ำจากแม่น้ำเข้ามา นั่นคือต้องขุดเป็นคลองเข้ามาในบารายที่เตรียมไว้ แต่จะต้องขุดให้ลึกขนาดใหน เพราะระดับดินในบารายก็อยู่ที่ระดับปกติไม่ได้ขุดเป็นหลุมลงไป เหมือนขุดบ่อ มิต้องขุดกันทั้งผืนบารายหรอกหรือจึงจะมีน้ำลึก 2-3 ม. สมัยก่อนก็ไม่มีกล้องจะเช็คระดับ กูจึงสันนิฐานว่าพื้นดินเดิมคงจะต้องเอียงลงมาทางด้านที่มีน้ำอยู่แล้ว และพวกเขมรโบราณอาจจะสังเกตได้จากเดิมเป็นป่าอาจจะมีร่องน้ำพาน้ำไหลลงมาเป็นแอ่งเล็ก ๆ อยู่ในบารายอยู่แล้ว แล้วจะผันน้ำก็ได้เฉพาะตอนที่น้ำทางด้านเหนือไหลหลากลงมาเหมือนเมืองไทยทางภาคกลางแถว ๆ อยุธยาอ่างทอง คือไหลล้นแม่น้ำออกมา ฉะนั้นจุดที่จะเป็นทางน้ำไหลเข้ามาต้องมีประตูขวาง เมือน้ำหลากสูงสุดใหลเข้าไปในบารายแล้วพอน้ำจะลดลงในหน้าแล้งก็ปิดไม่ให้น้ำภายในบารายไหลกลับมา เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาโบราณ ที่ภายในเกาะมีคูน้ำตัดขวางพาน้ำมาเก็บในบึงพระรามซึ่งเปรียบเสมือนบารายแบบหนึ่ง เนื่องจากอยุธยามีกำแพงล้อมรอบเกาะและมีช่องกุด (ช่องเปิดเล็ก ๆ ที่กำแพงเมืองกว้าง 1-2 ม.สูงพ้นดินมานิดหน่อย) ไว้ที่ปลายคลองบริเวณติดแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก เมื่อน้ำหลากลงมาน้ำจะใหลมาตาช่องกุดใหลเข้าคลองในตัวเกาะลงสู่บึงพระราม เมื่อน้ำในแม่น้ำเริ่มลดลง เขาจะเอาซุงมาปักปิดช่องกุดเอาดินถมกลับเป็นเขื่อนกันน้ำใหลย้อนกลับ เท่านี้ก็จะมีน้ำใช้ในบึงพระราม

            แต่ปัญหาหนึ่งที่กูคิดยังไม่ออกคือต้องมีโครงสร้างเขื่อนที่แข็งแรงพอสมควร มิฉะนั้นจะทนแรงกัดเซาะของน้ำไม่ใหวเวลาน้ำหลากมาแยะ ๆ ดังจะเห็นถนนในปัจจุบันขนาดบดอัดอย่างดีถนนยังขาดได้ กูก็ปล่อยให้คิดไม่ออกจนวันสุดท้ายที่เขาพาไปดูสะพาน 800ปี ที่พวกเขมรทำสะพานขวางแม่น้ำ กูเห็นเข้าก็เข้าใจได้ว่าเขมรโบราณก็มีศักยภาพที่จะทำแบบที่กูคิดได้

ยังมีต่อครับ




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2552
0 comments
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2552 13:13:19 น.
Counter : 2022 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


วรรณเกษม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ลองเขียนเล่น ๆ ดูครับ
ลองดุ .........
Friends' blogs
[Add วรรณเกษม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.