Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
ป้าๆเตรียมตัวไปท่องเที่ยวลาว (Backpacker)


สงกานต์ปีนี้ ป้าๆวางแผนไว้จะไปท่องเที่ยวแบบ Backpacker ที่ลาว


ดังนั้นจึงต้องการวางแผนและเสาะหาข้อมูลให้มากๆ

เป้าหมายการท่องเที่ยวครั้งคือ
1. ใช้เงินให้น้อยที่สุด
2. ปลอดภัย
3. สนุก
4. ได้ความรู้

โปรมแกรมที่วางไว้สำหรับใช้เวลา 5 วัน


วันที่ 10/4/2008 : 18.00 น. => ไปขึ้นรถที่หมอชิต เพื่อไปหนองคาย
วันที่ 11/4/2008 : 06.00 น. => ถึง หนองคาย (หาสถานที่ล้างหน้า - แปรงฟัน - ทำธุรกิจส่วนตัว)
07.30 น. => ไปขึ้นรถอินเตอร์บัส เพื่อไป นครเวียงจันทร์
- ค่ารถอินเตอร์บัสประมาณ 55 บาท (หนองคาย - เวียงจันทร์) รถเที่ยวแรก 07.30 น. (เตรียมพลาสปอร์ต)
- เมื่อขึ้นรถให้ขอใบเข้าเมืองลาว
08.00 น. => ถึงด่าน ตม. สะพานมิตรภาพ
- ลงไปตรวจหนังสือเดินทาง (พอถึง ตม. ไทยไม่ต้องเข้าคิว ให้วิ่งไปขอใบกรอกเข้า-ออก (ตม. 6) นอกราชอาณาจักรไทย)
08.30 น. => เข้าสู่ประเทศลาว เตรียมเอกสารยื่นกับตม.ลาว
- เสียค่า Entry fee for Passenger carrying Passport 10 บาท
09.30 น. => รถจอดที่ตลาดเช้า (เวลากลับมาขึ้นที่นี้)
- รถจัมโบ้(สามล้อติดเครื่อง) จะจอดอยู่นอกตลาดเช้า (40 บาท พาไปซื้อ ซิมของลาว กับซื้อตั๋วรถไป วังเวียง)

11.00 น. => เดินทางสู่วังเวียง โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชม.
- ซื้อตั๋วไป วังเวียงตั้ง 65000 kip (235 บาท) (ประเภทรถ express bus)
- เข้าที่พักที่ ……เรือนพักสายซอง (ไม่มีเบอร์โทร)
วังเวียงเลอจาดีนเกสต์เฮ้าส์ Tel: (020) 547 4643, (020) 9811878

- เช่ารถจักร ไปเติมน้ำมันแล้วเลยไปที่สนามบิน
- เที่ยวชมสนามบินวังเวียงซึ่งเป็นสนามบินที่ใช้ในช่วงสงครามของลาว เดินเล่นถนนคนเดิน กับบรรยากาศสบายๆ
- ไปแอ่ว ถ้ำปูคำ กับเล่นน้ำ ที่บลูลากูน(น้ำสีน้ำเงินใสๆ)
- เย็นๆแวะไปดูตลาดยามเย็น(ตลาดใหม่)
ถ้ามีเวลา => - เดินทางเข้าสู่ถ้ำจัง ซึ่งเป็นถ้ำเป็น คือเป็นถ้ำที่ยังมีหินงอกหินย้อยเกิดอยู่ เมื่อขึ้นสู่ถ้ำจังจะเห็นตัวเมืองของวังเวียงและลำน้ำซอง
เป็นสายและ สะพานสีส้มสดที่เป็นสัญลักษณ์ของวังเวียง
'- กินข้าวเย็น
- ไปจองตั๋วไปหลวงพระบาง

วันที่ 12/4/2008 : 06.00 น. - ไปเที่ยวตลาดเช้า
- กินข้าวเช้า
09.00 น. => เดินทางสู่ หลวงพระบาง โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 6 ชม. (คาดว่าถึงประมาณ 15.00 น.)
- จองรถกลับ เวียงจันทร์ ในวันที่ 15/4/2007
- เข้าที่พักที่ เฮือนพักนำโซค โทร 009856205080600
- สักการะ อนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์
- พระราชวังหลวงพระบาง นมัสการ พระบาง พระคู่บ้านคู่เมือง
- ร้านกาแฟประชานิยม
- ตลาดมืด และ กินข้าวเย็น
- ไปเต้นรำที่ ดาวฟ้า บันเทิง หรือ เธคเมืองสั่ว
วันที่ 13/4/2008 : 06.00 น. - ตักบาตรข้าวเหนียว
- เช่ารถจักรยาน
- เที่ยวตลาดเช้า
- วัดเชียงทอง ค่าเข้าชม ซาวพันกีบ
- พืพิธภัณฑ์
- วัดใหม่สุวันนะพูมาราม
- วัดวิชุน หรือชาวลาวเรียก พระธาตุหมากโม
- น้ำตกกวางสีดี
- ขึ้นภูสี เก็บภาพอาทิตย์ลับขอบฟ้า
- ตลาดมืด

วันที่ 14/4/2008 : 06.00 น. - ตักบาตรข้าวเหนียว
- กินข้าวเช้า
- น้ำตกกวางสี
- วัดแสนสุขาราม
- ถ้ำติ่ง

วันที่ 15/4/2008 : 06.00 น. - ไปเที่ยวตลาดเช้า หาข้าวเช้ากิน
วันที่ 15/4/2008 : 08.30 น. => เดินทางกลับ นครเวียงจันทร์ โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 16.30 น.
- เหมารถจัมโบ
- วัดสีสระเกศ, หอพระแก้ว, ประตูชัย, พระธาตุหลวง,
16 .00 น. => เดินทางสู่ หนองคาย
20 .00 น. => เดินทางสู่กทม.กท




สิ่งของที่ต้องเตรียมไว้เพื่อยีงชีพ


ยาสามัญ

1. ยาแก้ปวด (para)
2. ยาแก้เมารถ
3. ยาแก้ท้องอืด (อีโน)
4. ยาแก้ทองเสีย
5. พลาสเตอร์ยา
6. ยาแก้แพ้
7. ยาดม

รองเท้า
1. รองเท้าประเภททน , เบา สวมใส่ได้ทุกสถานะ (ซื้อใหม่ ราคา 199 บาท)



อุปกรณ์ยังชีพ1. ม่ามา
2. ขนมขบเคี้ยว
3. ขวดเก็บน้ำเย็น (มีแล้ว ไม่ต้องซื้อ)




ประวัติแหล่งท่องเที่ยว


สะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว



ประตูสู่ลาวและกลุ่มประเทศอินโดจีน
- เปิดเวลา 05.00-20.00 น.
      เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อม จ. หนองคายกับเมืองเวียงจันทน์เมืองหลวงของประเทศลาว และสามารถเดินทางต่อไปยังหลวงพระบางและคำม่วนได้ ทั้งยังมีเส้นทางเชื่อมต่อไปถึงเวียดนามอีกด้วยบริเวณเชิงสะพานฝั่งไทยเป็นย่านบริษัทนำเที่ยว ส่วนฝั่งลาวมีร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี

ประวัติ
     สะพานนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 30 ปี จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2537 ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย ลาว ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดสะพานแห่งนี้ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2537 หลังเสร็จพระราชพิธี พระองค์เสด็จฯ ไปประทับแรม ณ หอคำ พระบรมมหาราชวังของเจ้ามหาชีวิตหรือกษัตริย์ลาวในอดีตเป็นเวลา 1 คืน ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
     ชาวอีสานและชาวลาวเรียกว่า “ขัวมิดตะพาบ” (ขัวหมายถึงสะพาน) สะพานแห่งนี้กว้าง 15 ม. ยาวประมาณ 1,200 ม. สร้างเชื่อมระหว่างบ้านจอมมณี ต. มีชัย อ. เมืองหนองคาย ไปยังบริเวณท่านาแล้ง แขวงนครเวียงจันทน์ มีทางเดินรถสองช่องทาง ช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับรางรถไฟ เพื่อเตรียมขยายเส้นทางรถไฟจากหนองคายไปลาวนักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมบนสะพานได้ โดยมีช่อง ทางขึ้นอยู่ใต้สะพาน ในช่วงเย็นทัศนียภาพแม่น้ำโขงจะสวยงามน่าชมมาก

คำเตือนสติ
เมื่อขับรถข้ามสะพาน แล้ว ต้องท่องเตือนสติตลอดเวลา “เลี้ยวซ้าย ชิดขวา .. เลี้ยวขวา ชิดขวา”



นครเวียงจันทร์
            "................. เดิม เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทร์ ลงมาช่วยในการพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ กรุงเทพฯ ครั้นเจ้าอนุวงศ์จักกลับขึ้นไปเวียงจันทร์ จึ่งได้เข้าไปกราบทูลถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ(ขณะนั้นทรงกรม เป็นพระราชวังบวรฯ) แล้วเจ้าอนุกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพวกหม่อมละครเล็ก ๆ ผู้หญิงข้างในซึ่งเป็นละครชั้นเล็กในรัชกาลที่ ๒ นั้น กับขอพระราชทานเจ้าคำลาว ชาวเวียงจันทร์ซึ่งตกมาแต่ครั้ง พระเจ้าตากกรุงธนบุรีนั้นด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ไม่พระราชทานให้ตามเจ้าอนุ ขอสักอย่างเดียว
               ฝ่ายเจ้าอนุไม่ได้สมตามความปราถนา จึ่งมีความอัปยศแก่ข้าราชการแลทูตนานาประเทศ เป็นอันมาก จึ่งบังเกิดความโทมนัสขัดเคืองเป็นกำลัง ด้วยไม่สมประสงค์ที่ตนปราถนาแต่สักอย่างหนึ่ง จึ่งได้คิดอาฆาตต่อกรุงเทพตั้งแต่วันนั้นไปเจ้าอนุข้ามมาหาเจ้าฟ้าพระที่วัดสมอราย ถูกอัชฌาสัยเกลอกันดีกับบาดหลวงทั้งหลายเป็นยิ่ง การพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ไม่พระราชทานให้ตามเจ้าอนุขอนั้น เจ้าอนุมิได้กล่าวใดคงจำนิ่งทนไปจนจักได้โอกาส จักได้ทำร้ายแก่กรุงเทพฯ สักคราวหลังกลับขึ้นไปเวียงจันทร์ก่อน
        ก็การลงมากรุงเทพฯ ของเจ้าอนุนี้ ได้พาเจ้าอุปฮาดเวียงจันทร์ลงมาพร้อมกัน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปฮาดพักอยู่กับพระยาราชสุภาวดี ต่างก็สนิทสนมกลมเกลียวเป็นเกลอกันดี จนรู้เหตุเจ้าอนุขัดเคืองใจต่อพระนั่งเกล้าฯ อาฆาตแค้นใจใคร่คิดกบถ พระยาราชสุภาวดีเลี้ยงสุราอาหารเจ้าอุปฮาดเวียงจันทร์ เมื่อกินเมากันได้ที่เจ้าอุปฮาดเวียงจันทร์ก็เผยความลับของเจ้าอนุแก่พระยาราชสุภาวดีว่า "เจ้าอนุคิดจักกบถต่อกรุงเทพฯ เมื่อกลับไปบ้านเมือง ก็จักรวมพลลงมาตีกรุงเทพฯ ล้างอาย ในครั้งนี้เราสองคนยังเป็นสหาย ภายหน้าเราคงต้องเข่นฆ่าเป็นสัตรูกัน" พระราชสุภาวดีฟังเจ้าอุปฮาดเวียงจันทร์เช่นนั้น ก็พูดปัดป่ายเปลี่ยนเรื่องเสียเป็นทางอื่น
         ในปีระกา สัปตศก จุลศักราช ๑๑๘๗ เดือนสี่ ปีนั้น เจ้าอนุกราบถวายบังคมลา ยกรี้พลกลับขึ้นไป บ้านเมืองเวียงจันทร์ ครั้งนั้น เจ้าอนุไม่ได้ลาเจ้านายขุนนางผู้ใหญ่ แลท่านเสนาบดีเลยสักแห่งเดียว เพราะมีความขุ่นเคืองกับกรุงเทพฯ เหตุดั่งนี้ก็เป็นที่สำแดงแห่งกริยาของเจ้าอนุว่าโกรธแก่สยามได้แน่แล้ว
          ฝ่ายเจ้าอนุ ตั้งแต่กลับมาจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปเถิงเมืองเวียงจันทร์แล้ว ก็คิดตรึกตรองที่จักมาประทุษ ร้ายตีกรุงเทพมหานครมิได้เว้นเลย อยู่มาวันหนึ่งเจ้าอนุสั่งแสนท้าวพระยาลาว ที่เป็นขุนนางผู้ใหญ่ ให้มาประชุมพร้อมกันในท้องพระโรง เป็นหลายนาย แล้วให้เชิญเจ้าอุปฮาด๑ เจ้าราชวงศ์๑ เจ้าสุทธิสาร๑กับเจ้าบุตรหลานผู้ใหญ่ ที่ชำนาญในการศึก สงครามมา พร้อมกันที่ประชุม พร้อมด้วยเพี้ยกวานแม่ทัพใหญ่ด้วย เจ้าอนุจึ่งปรึกษาว่าดั่งนี้ " ทุกวันนี้ที่กรุงเทพมหานคร มีแต่เจ้านายเล็ก ๆ หนุ่ม ๆ ที่ไม่ชำนาญในการทัพศึกเลย แต่ขุนนางผู้ใหญ่ ก็มีน้อยตัวแล้ว ฝีมือทัพก็อ่อนแอ เพราะเว้นว่างการศึกมาช้านาน เจ้านายขุนนางที่ชำนิชำนาญในการทัพศึก เคยทำสงครามกับพม่ามีชัยมานั้น ก็ล้มหายตายจากกันไปหมดไม่มีตัวแล้ว กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ก็หย่อนกำลังลงกว่าแต่ก่อนมาก
         อนึ่ง เดี๋ยวนี้เจ้าพระยานครราชสีมาก็ไม่อยู่ที่บ้านเมืองราชสีมา เพราะไปขัดตาทัพอยู่ไกลบ้านเมืองเขา ตามหัวเมืองรายทางก็ไม่มีที่กีดขวางเลย การเป็นทีเราหนักหนาแล้ว ไม่ควรเราจักเป็นเมืองขึ้นกับกรุงเทพมหานครต่อไป
         อนึ่ง อีกไม่นานทัพเรือพวกบาดหลวง แลอังกฤษก็จักมารบกวนปากน้ำกรุงเทพฯ ในช่วงน้ำนี้เหนเป็นทีเราหนักหนา น่าที่จักยกทัพใหญ่ลงไปตีกรุงเทพฯ ก็เหนจักได้โดยง่าย เพราะเราจักเป็นทำกระหนาบทัพอังกฤษ ๆ เป็นทัพหน้าอยู่ปากน้ำ สยามก็จักพะว้าพะวัง ทั้งข้างหน้าข้างหลัง คงจักเสียท่วงทีแก่เราเป็นมั่นคงไม่สงสัย เจ้านายขุนนาง เพี้ย ท้าวผู้ใหญ่จักเหนเป็นอย่างไรบ้างให้ว่ามา ? "

         ขณะนั้นเจ้าอุปฮาด ผู้ประกอบไปด้วยปัญญาอันสุขุม จึ่งว่าขึ้นในที่ประชุมดั่งนี้

                " กรุงเทพมหานครเป็นบ้านเมืองใหญ่โตนัก มีพลเมืองมากมาย มาทแม้นเราตีได้แล้วเราจักไปตั้งปกครองบ้านเมืองอยู่ที่กรุงเทพฯ นั้นจักได้แล้วฤๅ เกรงไพร่พลเมืองจักคุมกันลุกขึ้นเป็นขบถต่อเรา เราก็จักระงับเมื่อภายหลังได้ยาก เพราะพลเมืองราษฏรไม่เต็มใจรักใคร่นับถือด้วยต่างชาติกัน สยามก็จักเป็นเสี้ยนหนามศตรูเราเสมอไม่หยุด เหมือนเรานอนอยู่บนขวากหนามทุกวัน "

                ฝ่ายเจ้าอนุ ได้ฟังดั่งนั้นก็โกรธจึ่งตอบไปว่าดั่งนี้

                        "  ถ้าเราตีกรุงเทพฯ ได้แล้วเหนจักตั้งรักษาบ้านเมืองไม่ได้ จักมีภัยแล้ว เราก็จักกวาดต้อนพาครอบครัว พลเมืองที่ฉกรรจ์ดีดี อพยพขึ้นมาไว้ในบ้านเมืองเรา แล้วเราก็จักเก็บสรรพพัสดุเงินทองสิ่งของในท้องพระคลัง แลททรัพย์เศรษฐีคหบดีขุนนาง ผู้ใหญ่ผู้น้อยแลราษฏร บรรทุกโคต่างช้างม้าขั้นมาไว้ในบ้านเมืองเรา ๆ ก็จักสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปกว่าเก่าหลายพันเท่า แล้วเราก็จักแต่งกองทัพ ไปรักษาด่านทางช่องแคบ ที่เป็นท่าทางสยาม จักขึ้นมารบกวนบ้านเมืองเรา เราก็จักรักษาให้แข็งแรง ทุกช่อง ทุกทาง พวกสยามที่จักคิดติดตามขึ้นมา ทำศึกกับเราก็ยาก เพราะทางที่จักส่งเสบียงอาหารกันนั้นเป็นทางไกลกันดาร เถิงมาทว่าสยามจักคิดขึ้นมาทำศึกแรมปีกับเรา เราก็ไม่กลัว เพราะ ทางไปมายากแสนลำบากนักไม่เหมือนเราลงไป เพราะเราเป็นชาวป่าไม่กลัวการยากลำบากเดิรป่า พวกสยามจักขึ้นมาทำอะไรกับเราได้

                เราคิดเป็นศึกรีบเร่งเร็ว ลงไปตีก็จักได้โดยง่าย ซึ่งอุปฮาดคิดกลัวสยามไปต่าง ๆ นานานั้น ก็เพราะความขลาดกลัว สยามฝ่ายเดียว แต่เราหากลัวไม่  ให้จงเร่งจัดกองทัพเถิดเราจักลงไปเอง"                         


วัดองค์ตื้อ

พระอาจารย์มหาผ่อง สมเหล็ก วัดองค์ตื้อ เวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่ออายุ 83 ปี" (ท่านพระอาจารย์มหาผ่อง ได้ถึงแก่มรณภาพลงขณะมีอายุ 83 ปี)


"พระพุทธรูปสีดำขนาดใหญ่สร้างด้วยโลหะเนื้อสำริด มีพระนามว่า ""พระเจ้าใหญ่ตื้อ"" เป็นองค์ประธาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อตื้อ สร้างสมัยพระเจ้าไชยะเชษฐาธิราช เมื่อปีพ.ศ.2109 ภายหลังทรงพระราชดำเนินย้ายนครหลวงพระบางมายังนครเวียงจันทน์ พร้อมสร้างพระพุทธรูปอีก 3 องค์ ได้แก่ พระสุก พระใส และพระเสริม เป็นองค์ประกอบข้างพระเจ้าใหญ่ตื้อ
"


"หลังคาพระอุโบสถ์วัดองค์ตื้อมหาวิหาร ดูสวยงาม ซึ่งได้รับการบรูณะมาหลายครั้ง เพราะหลังคาที่แอ่นโค้งลงมาอาจจะสืบทอดจากสถาปัตยกรรมศิลปหลวงพระบาง ตกแต่งด้วย ""โห่ง"" และ ""ช่อฟ้า"" หน้าบันมีแกะสลักรูปพระอินทร์ทรงประทับช้างเอราวัณ
"


บานประตูไม้สักแผ่นหนาทาสีแดง แกะสลักจารึกปิดทอง หลังจากได้บรูณะแต่งสีใหม่ มีตราสัญญลักษณ์ของพระเจ้าไชยะเชษฐาธิราช
บานประตู..มีเขียนว่า "โดยพระบรนราชสัตทาของพระองค์สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตสีสว่างวัฒนา และ สมเด็จอังรักคะ มเหสี คำ...(เขียนแปลไม่ออก)



Create Date : 14 มีนาคม 2551
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 13:49:34 น. 10 comments
Counter : 1135 Pageviews.

 
เป็นทริปที่น่าสนจังเลยค่ะ จินก็คิดว่าจะไปแบบนี้เหมือนกันเพราะว่าไปเครื่องไม่ไหว แพงมากตอนนี้เช็คราคาตั๋วจากลาวแอร์เชียงใหม่-หลวงพระบาง 300 กว่า ยูเอสดอลล่าร์
เลยกะว่าจะนั่งรถบัสไปเอา แต่ก็เก็บข้อมูลเหมือนกันค่ะ จะแวะมาเก็บข้อมูลด้วยคนนะคะ


โดย: jinjin IP: 222.123.21.198 วันที่: 17 มีนาคม 2551 เวลา:1:00:20 น.  

 
เยี่ยมค่ะเยี่ยม สีกลมกลืนนะค่ะ มีแต่หน้าแพนด้าทั้งนั้น แม่แพนด้าไม่มีอ่ะ ขอให้เที่ยวให้สนุกนะค่ะ อย่าลืมเอายาดมกะทิชชูนะจ้ะ


โดย: เหมียว IP: 118.174.20.255 วันที่: 17 มีนาคม 2551 เวลา:20:26:38 น.  

 
ที่หลวงพระบางไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวปั่นจักรยานเที่ยวเองแล้วนะคะ..
แต่ก็พอเดินไหวค่ะ แต่ละที่ไม่ไกลกันมาก
อันไหนไกลๆ ค่อยเช่าสกายแลปเอานะคะ
ขอให้เที่ยวให้สนุกนะคะ..


โดย: CINNAMONSTER วันที่: 18 มีนาคม 2551 เวลา:17:11:38 น.  

 
ขอขอบคุณ CINNAMONTER ค่ะ จะได้เป็นข้อมูลค่ะ


โดย: เจ้าบ้าน (nipapornv ) วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:9:20:36 น.  

 
ขอบคุณนู๋เหมียว ค่ะที่ติชอบ Blog ถ้าจะเอารูปแม่แพนด้าลง กลัวว่าจะเต็ม Blog


โดย: เจ้าบ้าน (nipapornv ) วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:9:22:11 น.  

 
ให้รวยๆสวยๆสุขสบายนะค่ะ


โดย: เหมียว IP: 125.26.200.246 วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:11:55:51 น.  

 
พี่ฮับๆๆ พอจะมีเวลารอบรถจากเวียงจันไปวังเวียงมั้ยฮะพี่ แบบว่ากำลังจะไปแล้วแต่ไม่รู้ว่ารอบรถมีอะไรมั่งหง่ะ ช่วยหน่อยนะฮับพี่ ส่งมาทางอีเมล์ก้อได้หง่ะ sirisanthiti@hotmail.com ฮับ


โดย: Kids IP: 58.10.9.125 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:39:17 น.  

 
พระอาจารย์มหาผ่อง ชมาฤกษ์ ปัจจุบันยังไม่มรณภาพ(ตรงรูปปั้นเขียนผิด)


โดย: จรูญ IP: 203.113.0.206 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:05:57 น.  

 
พระอาจารย์มหาผ่อง นามสกุลท่านคือสมาฤกษ์หรือชมาฤกษ์ เป็นนามสกุลอันเดียวกันแต่เขียนต่างกัน เพราะสมัยก่อนอาจจะออกเสียงเหมือนแต่เขียนต่าง


โดย: หลานท่านเอง IP: 203.113.0.206 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:14:33 น.  

 
ได้ความรู้ในการเที่ยวลาวมากเลยขอขอบคุณป้ามากๆๆๆๆๆ


โดย: dong@.com IP: 113.53.47.178 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:10:32:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nipapornv
Location :
สุราษฏร์ธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Google
Friends' blogs
[Add nipapornv's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.