เพลงประกอบ Chanukah Song By Adam Sandler

Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
13 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 

รู้จักตะวันออกกลาง (4)

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดาชาติอาหรับที่ถูกออตโตมานปกครองมาหลายศตวรรษ ต้องเปลี่ยนไปอยู่ใต้อิทธิพลของยุโรป ความรู้สึกชิงชังออตโตมานเปลี่ยนเป็นความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับชาวยุโรป

ในปี 1920 การลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของอังกฤษในอิรัก ทำให้รัฐบาลอังกฤษปรับกลยุทธ์จากการปกครองในระบบดินแดนในอาณัติ ไปสู่การเข้าไปจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น อิรักได้เอกราชอย่างเป็นทางการในปี 1932

ที่ซีเรีย ฝรั่งเศสต้องรับมือกับการต่อต้านของประชาชนอย่างขนานใหญ่ ระหว่างปี 1925-1927 มีการเจรจาต่อรองในปี 1938 ที่จะให้ชาวซีเรียปกครองตนเองได้มากขึ้น แต่ในที่สุดซีเรียก็บรรลุเอกราชในปี 1946

เลบานอนได้เอกราชจากฝรั่งเศสในปี 1943 อียิปต์ซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 1914 ก็ได้เอกราชในปี 1922 แต่อังกฤษก็ยังคงกำลังทหารขนาดใหญ่ไว้ที่นั่นจนกระทั่งปี 1954



กำเนิดรัฐอิสราเอล

ในช่วงปีแรก ๆ ของปาเลสไตน์ภายใต้อาณัติของอังกฤษ ชาวยิวได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 1922 สัดส่วนชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์มี 11% พอถึงปี 1936 ก็เพิ่มเป็น 29%

ชาวอาหรับไม่เห็นด้วยที่อังกฤษสนับสนุนลัทธิไซออนนิสต์ อันเป็นขบวนการที่พยายามจะให้มีประเทศของชาวยิวขึ้นในปาเลสไตน์ จึงพากันก่อการจลาจลต่อต้านขึ้นระหว่างปี 1936-1939

อังกฤษทานกระแสในเวลานั้นไม่ไหว จึงเอาใจโลกอาหรับ ด้วยการออกหนังสือปกขาวในปี 1939 จำกัดการเข้าตั้งหลักแหล่งและการซื้อที่ดินของชาวยิว และให้คำมั่นถึงการก่อตั้งรัฐเอกราชปาเลสไตน์ภายใน 10 ปี

เมื่ออังกฤษรามือจากการสนับสนุนขบวนการไซออนนิสต์ ประกอบกับเกิดกรณีนาซีเยอรมันฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในยุโรปนับล้าน ในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 1939-1945) ทำให้ชาวยิวในปาเลสไตน์และทั่วโลก เร่งเร้าเรียกร้องขอก่อตั้งรัฐยิว

ในปี 1947 อังกฤษตัดสินใจวางมือจากปาเลสไตน์ แล้วขอให้สหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นแทนสันนิบาตชาติ เป็นผู้เสนอทางออกสำหรับอนาคตของดินแดนแห่งนี้

เดือนพฤศจิกายน 1947 สหประชาชาติตกลงใจจะแบ่ง ปาเลสไตน์ออกเป็นพื้นที่ของชาวอาหรับกับของชาวยิว ขณะที่อังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาคนั้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 ฝ่ายยิวยอมรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ฝ่ายอาหรับปฏิเสธ เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิกำหนดชะตากรรมตนเองของฝ่ายตัว ความรุนแรงจึงปะทุขึ้น แล้วบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบ

ต้นปี 1948 กองกำลังจรยุทธ์ต่าง ๆ ของอิสราเอล ลงมือก่อการร้ายโจมตีชุมชนชาวอาหรับ กดดันให้ชาวอาหรับจำนวนมากทิ้งถิ่นฐานบ้านช่องหลบหนีไป เมื่ออิสราเอลประกาศเอกราชในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 พร้อมกับการถอนตัวของอังกฤษ บรรดาชาติอาหรับคือ ปาเลสไตน์ อียิปต์ ซีเรีย และเลบานอน ก็ได้เปิดฉากสู้รบกับอิสราเอล

เมื่อสงครามยุติลงในปี 1949 อิสราเอลได้เขตแดนขยายจากที่สหประชาชาติเคยแบ่งไว้ให้ และชาวปาเลสไตน์ราว 900,000 คน ได้กลายเป็นผู้อพยพอยู่นอกรัฐอิสราเอล

ฝ่ายอาหรับกับอิสราเอลหาข้อตกลงสันติภาพกันไม่ได้ จึงเกิดการสู้รบตามมา ในปี 1956 อังกฤษกับฝรั่งเศสร่วมมือกับอิสราเอลเล่นงานอียิปต์ในวิกฤตการณ์คลองสุเอซ สหรัฐกับสหภาพโซเวียตได้ยื่นมือเข้าไกล่เกลี่ยเป็นผลสำเร็จ

ในสงคราม 6 วัน ปี 1967 อิสราเอลขยายเขตแดนออกไปอีก โดยเข้ายึดเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา ที่ราบสูงโกลัน และคาบสมุทรซีนาย ซึ่งรวมเรียกว่าเขตยึดครอง (Occupied Territories)

ความขัดแย้งในครั้งนี้และอีกครั้งในปี 1973 มหาอำนาจทั้งสอง ได้เข้าถือหางกันคนละฝ่าย ต่างส่งอาวุธเข้าไปอย่างขนานใหญ่ โดยสหรัฐเข้าข้างอิสราเอล สหภาพโซเวียตเข้าข้างชาติอาหรับ

ในเดือนตุลาคม 1974 สันนิบาตอาหรับให้การรับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (พีแอลโอ) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1964 เพื่อรณรงค์ให้มีรัฐปาเลสไตน์ ว่าเป็นตัวแทนอันชอบธรรมของประชาชนชาวปาเลสไตน์ นอกจากนี้ สหประชาชาติยังให้สถานะผู้สังเกตการณ์แก่พีแอลโอด้วย ทำให้พีแอลโอเข้าร่วมในการประชุมของยูเอ็นได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ

ข้อตกลงแคมป์เดวิด ปี 1978 ทำให้อิสราเอลคืนคาบสมุทรซีนายให้อียิปต์ และข้อตกลงสันติภาพที่ตามมาระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลในเดือนมีนาคม 1979 ส่งผลให้อียิปต์พ้นไปจากความขัดแย้งอาหรับ - อิสราเอล

อย่างไรก็ตาม อิสราเอลไม่ได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพกับชาติอาหรับอื่น ๆ และไม่มีการกำหนดอนาคตของเขตยึดครองต่าง ๆ ในปี 1987 ขบวนการอินติฟาดา ซึ่งเป็นการเดินขบวนนัดหยุดงาน และก่อจลาจลต่อต้าน การปกครองของอิสราเอล ได้เกิดขึ้นในฉนวนกาซา แล้วแพร่ไปทั่วเขตยึดครองต่าง ๆ




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2549
0 comments
Last Update : 25 มีนาคม 2550 12:17:34 น.
Counter : 1739 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


vad
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add vad's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.