Welcome to my blog..
<<
พฤศจิกายน 2557
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
8 พฤศจิกายน 2557

12 คำถาม เจาะลึกวิกฤติอีโบลา กับ ผอ.ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคสหรัฐ

หลากหลายประเด็น ข้อมูลเจาะลึก วิกฤติอีโบลา จากผอ. ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ซีดีซี
330770517

อีโบลา ในบริบทสำหรับคนไทย เชื่อว่ายังคงเป็นเรื่องราวที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัวอยู่มาก แต่ในความเป็นจริงแล้วปัญหานี้เป็นปัญหาที่นานาประเทศกำลังกังวลว่าจะยกระดับความรุนแรงมากขึ้น กว่าที่ผ่านมา

นี่ไม่ใช่โรคที่พบขึ้นใหม่ หากแต่เป็นเชื้อมรณะที่มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 1976 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และไม่เคยหยุดระบาดในพื้นที่ประเทศแถบแอฟริกา นับจนกระทั่งปัจจุบัน

นายโธมัส ฟรายเดน ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ หรือ ซีดีซี ได้ให้สัมภาษณ์ กับ นิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 3 พ.ย. เกี่ยวกับเรื่องราวเจาะลึก แบบถาม-ตอบ ของเชื้อไวรัสมรณะอีโบลาที่กำลังแพร่ระบาดกลายเป็นวิกฤตที่นานาประเทศให้ความสำคัญ เพราะเป็นปัญหาที่ค่อนข้างร้ายแรงยิ่ง

ซีดีซีมีนโยบายหรือท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อเกิดวิกฤตอีโบลา ?

ได้มีการประกาศเตรียมความพร้อมในสหรัฐฯเป็นอันดับแรก แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่คาดไว้ แต่เมื่อเกิดกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ จึงเกิดกระแสความตื่นตระหนกว่าจะเกิดการแพร่ระบาดขึ้น

นายโธมัส ฟรายเดน เป็นผู้ที่มีบทบาทในเรื่องนี้เพราะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากท่ามกลางแรงกดดัน เขาพยายามส่งสารไปยังผู้คน โดยยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต

หลายคนเคยได้ยินว่าไวัรัสสามารถกลายพันธ์ุได้ เป็นไปได้ไหมที่อีโบลาจะกลายพันธ์ุและแพร่กระจายทางอากาศ ?

เป็นไปไม่ได้ !! ถึงอีโบลาจะสามารถกลายพันธ์ุได้ก็จริง แต่การแพร่กระจายทางอากาศนั้นเป็นไปไม่ได้ การแพร่กระจายยังคงเกิดขึ้นได้จากสารคัดหลั่ง หรือของเหลวที่หลั่งออกมาจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ อีโบลาอาศัยการแพร่กระจายผ่านของเหลว เช่น น้ำลาย อุจจาระ เลือด อาเจียน เป็นต้น กล่าวโดยสรุปคือเชื้อไม่สามารถแพร่กระจายในระยะไกลๆได้

ใครบ้างที่สามารถออกมาตรการในการกักตัวผู้ต้องสงสัย-ผู้ป่วยอีโบลา 

ในสหรัฐฯ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น จะเป็นผู้ออกมาตรการกักบริเวณผู้ที่อยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยง ซึ่งมาตรการกักตัวผู้ต้องสงสัย จะใช้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ประเทศในพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าว จะต้องอยู่ในข้อบังคับเป็นเวลา 21 วัน ซึ่งเป็นระยะฟักเชื้อ และเป็นระยะเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นในระยะนี้อาจจะกักตัวในโรงพยาบาล หรือ ที่บ้านก็ได้

แนวทางในการรักษาเป็นอย่างไรบ้าง ?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ใช้วิธีการสังเกตสภาพแวดล้อมมาทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยและได้ผลเมื่อนำมารักษาผู้ป่วย ซึ่งเริ่มจากการทดลองกับสัตว์ ผลการทดลองคือ ยาสามารถเยียวยาผู้ป่วยอีโบลาได้ในระยะสั้นๆ ส่วนวัคซีนได้มีการทดลองใช้กับมนุษย์ ด้วยการใช้สารคัดหลั่งของผู้ป่วยอีโบลามาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งองค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ได้เริ่มจากการทดลองใช้กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่สีแดง

เชื้ออีโบลาสามารถติดต่อได้ทางใดบ้าง ?

เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ทาง เลือด น้ำลาย และ อุจจาระ  จากผู้ติดเชื้อโดยตรงหรือโดยการสัมผัสกับเวชภัณฑ์ที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข็มและกระบอกฉีดยา

-497704 (1)

จำเป็นต้องแบนการเดินทางผู้ที่มาจากประเทศในพื้นที่สีแดงหรือไม่ ?

เรามีมาตรการอื่นที่ดีกว่าการยกเลิกวีซ่าของผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเหล่านี้ เพราะการกีกกันเช่นนี้จะส่งผลให้เกิดการปล่อยทิ้งให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ติดค้างอยู่ในพื้นที่อันตราย ดังเช่นสหรัฐฯ ที่ใช้วิธีเฝ้าระวังหรือกักตัวผู้ต้องสงสัยเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยจากการติดเชื้อ และการตรวจร่างกาย การตอบคำถาม ที่สนามบิน โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สุ่มเสี่ยงเป็นต้น

ถ้าติดเชื้ออีโบลาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นไปได้ไหมว่าจะติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง?

เป็นไปได้ คนเราสามารถติดเชื้ออีโบลาได้มากกว่า 1 ครั้ง เพราะเคยเกิดกรณีเช่นนี้มาแล้ว ที่ผ่านมานักวิจัยยังพบกรณีเดียวกันกับลิงที่ป่วยเป็นอีโบลา และกลับมาป่วยซ้ำสอง

เชื้ออีโบลามีจุดกำเนิดมาจากคองโกในปี 1976 เนื่องจากเป็นประเทศด้อยพัฒนา ระบบสาธารณสุขยังไปไม่ถึง และสภาพความเป็นอยู่รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ค่อนข้างต่ำ วิกฤตนี้ร้ายแรงถึงขั้น ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่สีแดง ต้องทิ้งถิ่นฐาน เพื่อแสวงหาพื้นที่ที่มีนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ดีกว่า

ebola_-_cdc_ethleen_lloyd_-_wiki

โรงพยาบาลใช้มาตรการยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อจากผู้เป็นพาหะอย่างไร   

ในส่วนของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จะมีการจัดสรรแบ่งเป็นประเภท เมื่อใช้แล้วจะทิ้งเลย ซีดีซีแนะแนวทางการใช้ชุดคลุมป้องกัน หากมีการสัมผัสกับผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์จะต้องทำการฆ่าเชื้อโรคก่อนออกจากโรงพยาบาลทุกครั้ง หลังปฏิบัติหน้าที่ โรงพยาบาลมีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน รวมทั้งระบบท่อน้ำทิ้งที่รองรับของเสียจากผู้ป่วยก็มีระบบกำจัดเชื้อ

พูดถึงวิกฤตอีโบลาในอนาคต ?      

ในอนาคตจะมีการพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านเภสัชกรรม ซึ่งเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันความก้าวหน้าในด้านการผลิตยา และวัคซีนมาใช้แก้ไขปัญหา ทั้งในด้านการรักษาและป้องกันก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละประเทศด้วย

มีไม่กี่กรณีที่เกิดการติดเชื้อนอกพื้นที่สีแดง แต่ทำไมคนถึงตื่นตระหนกกับวิกฤตนี้ ?

การหวาดระแวงกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งคือธรรมชาติของมนุษย์ แน่นอนว่าเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ย่อมมีคนเอามาเปรียบเทียบ หรือหมายรวมว่าปัญหานี้จะบานปลาย และระบาดไม่หยุด ดังเช่น HIV

เราจะมีส่วนช่วยวิกฤตอีโบลาได้อย่างไร            

นานาประเทศสามารถช่วยได้ด้วยการบริจาคเงิน เพราะเงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ขอขอบคุณข้อมูลจากนิตยสารไทม์


ที่มา - mthai.com






 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2557
4 comments
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2557 11:08:40 น.
Counter : 1066 Pageviews.

 

ตามมาอ่าน ข่าว ครับ... ตามความจริงแล้ว
ในไทย ดูจะเหมือนห่างไกล กับอีโบล่า

แต่มาคิดดู คนเดินทางสายการบิน มีโอกาศผ่าน
มาถึงได้ น่ากลัวครับ

ขอบคุณที่แวะไปเยือนที่บล๊อก แม้จะอ่านไม่จบ
ต้องรีบไปทำตามที่ ภรรเมียบอกก็ตาม 555

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 8 พฤศจิกายน 2557 19:17:58 น.  

 

โรคนี้น่ากลัวมากค่ะ

พิกุลหอมอ่อน ๆ ค่ะ
คนไม่ชอบดอกไม้ไทยอาจจะเวียนหัวได้

 

โดย: tuk-tuk@korat 9 พฤศจิกายน 2557 14:02:41 น.  

 

ด้วยการเดินทาง ก็ทำให้โรคจากอีกซีกโลกระบาดไปได้ทั่วโลกนะคะ

น่ากลัวจริงๆ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 10 พฤศจิกายน 2557 13:37:01 น.  

 

โรคนี้น่ากลัวจริงๆ นับวันโลกเราจะมีโรคใหม่ๆเกิดขึ้นแทบทุกวัน
เหมือนว่านับวันจะอยู่ยากขึ้นจริงๆนะคะ

ขอบคุณที่แวะไปชมชบาค่ะ


 

โดย: mambymam 13 พฤศจิกายน 2557 22:42:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Usurijiba
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Usurijiba's blog to your web]