JOB หางาน สมัครงาน งาน

 
มีนาคม 2558
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
6 มีนาคม 2558
 

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

โรคofficesyndrome

เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น

จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรป พบว่า ส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ โดยอันดับหนึ่งคือ การปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ/ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะออฟฟิศ ซินโดรม นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากต้องทำงานหนัก ประกอบอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ สูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท นอกจากนี้ ปัญหาความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วย โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทยเคยสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คนพบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว

ไม่เพียงแต่อิริยาบถของคนทำงานที่ไม่เหมาะสม สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญด้วย ทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกดแป้นคียบอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ จะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และข้อมือ

ออฟฟิศซินโดรม...เลี่ยงได้ไม่ยาก


ปรับพฤติกรรม

กะพริบตาบ่อย ๆ

ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก ๆ 1ชั่วโมง

พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก ๆ 10นาที

เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที

นั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้

วางข้อมือในตำแหน่งตรง ไม่บิดหรืองอข้อมือขึ้นหรือลง

ปรับอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน

1.คอมพิวเตอร์

ตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไว้ในแนวตรงกับหน้า

ขอบบนของจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ระดับสายตา ในท่านั่งที่คุณรู้สึกสบาย

จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเท่ากับความยาวแขน ซึ่งเป็นระยะที่อ่านสบายตา

ควรให้จออยู่ในมุมที่เหนือกว่าระดับตาเล็กน้อย

ใช้เมาส์ โดยพักข้อศอกบนที่รองแขนและสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่


2.โต๊ะ-เก้าอี้

ควรปรับให้ขอบของเบาะเก้าอี้ต่ำกว่าระดับเข่า

ลองนั่งบนเก้าอี้แล้ววางเท้าลงบนพื้น ให้ขาทำมุมประมาณ 90 องศา

ปรับพนักพิงให้รองรับกับหลังส่วนล่างถ้าไม่สามารถทำได้ใช้หมอนหนุนหลังส่วนล่าง

ปรับที่รองแขนให้อยู่ระดับข้อศอกและไหล่อยู่ในระดับที่ผ่อนคลาย

ปรับให้มีช่องว่างระหว่างขอบเก้าอี้กับขาด้านหลัง

ปรับที่วางคีย์บอร์ดให้อยู่ในระดับข้อศอก ทำมุม 90 องศา


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก สำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ , kapook.com




 

Create Date : 06 มีนาคม 2558
0 comments
Last Update : 6 มีนาคม 2558 17:02:09 น.
Counter : 1241 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

คนที่คุณไม่รู้ว่าเป็นใคร
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add คนที่คุณไม่รู้ว่าเป็นใคร's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com