Khantī paramam tapo tītikkhā [Buddhist Proverbs]
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
11 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
หมากรุกไทย - หมากไล่-หนี นกกระจาบทำรัง(?)


.....นกกระจาบทำรังข้างหมากหนี .............. นั้นเบี้ยมีอยู่กับม้าท่าสับสน
ข้างหมากไล่ได้เรือเจือระคน .................... เข้าปะปนเบี้ยหงายรายระดม
เรือกับม้าท่าทีก็พอสู้ .............................. ตำราครูกล่าวไว้ให้เห็นสม
หกสิบสี่หนีได้โดยนิยม ........................... เข้าเกลือกกลมแอบเบี้ยไม่เสียที
ถ้าเบี้ยผูกถูกกันท่านให้ต่อ ....................... เอาเบี้ยล่อรอรับขับให้หนี
ข้างหมากไล่ก็จะเหลิงในเชิงที .................. ถึงแต้มมีก็คงหมดกำลังลง



รูปแบบที่ ๑๐ นกกระจาบทำรัง
ฝ่ายไล่: ขุน, เรือ ๑, เบี้ยหงาย ๑
ฝ่ายหนี: ขุน, ม้า ๑, เบี้ยหงาย ๑ (ตรงกันกับฝ่ายไล่)




หมากไล่-หมากหนี นับศักดิ์กระดาน ๖๔ รูปนี้คือ รูปแบบที่ ๑๐ จากเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุก ตามที่นำเสนอไว้ในบล็อกชื่อ หมากรุกไทย - ๑๒ รูปแบบ หมากไล่-หมากหนี


สำหรับหัวข้อของบล็อกนี้ที่ใส่เครื่องหมาย ? ไว้ เพราะมีข้อควรพิจารณาอยู่ กล่าวคือ ตัวอย่างการไล่-หนีที่นำมาแสดงในบล็อกนี้ ซึ่งนำมาจาก ตำราหมากรุกไทยเซียนป่อง ฉบับลูกสูตรสะท้านฟ้า จินตนาการไร้ขอบเขต โดย อ.ป่อง สุชาติ ชัยวิชิต (โดยปรับเล็กน้อยคือ เปลี่ยนจากเม็ดเป็นเบี้ยหงาย) จะเป็นรูปเบี้ยหงายไม่ตรงกัน ซึ่งถ้าพิจารณาจากคำกลอนแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ารูปแบบนกกระจาบทำรังนี้ จะกำหนดเฉพาะเบี้ยหงายตรงกัน แต่ถ้าอ้างอิงจากตำราหมากรุกไทย โดย สุนทร ศราภัยวานิช จะอธิบายว่า หมากไล่-หนีที่เข้ารูป นกกระจาบทำรัง จะต้องมีเบี้ยหงายตรงกัน ซึ่งในตำราของอ.ป่องก็กล่าวในทำนองเดียวกัน และขยายความว่า รูปนกกระจาบทำรัง ซึ่งเบี้ยหงายตรงกันนั้น วิธีหนีคือพยายามต่อเบี้ยออกให้เหลือม้ากับเรือ ซึ่งจะทำให้ไล่ไม่จน (สอดคล้องกับคำกลอนที่ว่า 'ถ้าเบี้ยผูกถูกกันท่านให้ต่อ')

และหากเบี้ยหงายไม่ตรงกัน อ.ป่องกล่าวว่าจะไม่เข้ารูป นกกระจาบทำรัง เพราะเป็นรูปหมากที่หนียากมาก โดยในคำอธิบายของอ.ป่องครั้งแรก ยังแสดงวิธีไล่ให้จนด้วยซ้ำไป พร้อมทั้งตั้งชื่อว่ารูปหมากที่เบี้ยหงายไม่ตรงกันนี้ว่า 'นกกระจอกแตกรัง' คือหนีไม่ออก

แต่ต่อมาอ.ป่องได้พัฒนาวิธีการหนีให้เสมอ สำหรับรูปหมากที่เบี้ยหงายไม่ตรงกันนี้ขึ้นมา พร้อมทั้งตั้งชื่อว่ารูปหมาก 'นกกระจอกทำรัง' ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่มีลักษณะ 'คารวะคนรุ่นเก่า' อยู่มาก

ดังนั้น ผมจึงใส่เครื่องหมาย ? ไว้ที่บล็อกนี้ว่าตัวอย่างนี้จะเป็นรูปแบบ นกกระจาบทำรัง ได้หรือไม่ โดยตอนนี้ผมจะถือตาม อ.ป่อง ไปก่อนนะครับ เพื่อเป็นการคารวะอ.ป่อง ที่ได้พัฒนาการหนีรูปหมากนี้ขึ้นมา ว่ารูปหมากนี้คือ นกกระจอกทำรัง ซึ่งเป็นการหนีที่ยากมาก ฝ่ายหนีจะต้องใช้วิธีตั้งรูประหว่างม้ากับเบี้ยหงายไว้ โดยอ.ป่องเปรียบกับนกกระจอกที่ทำรังไว้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไล่เข้ามาในรูปการรุกจน แล้วใช้ขุนหนีวนไปมา ซึ่งในหนังสือของอ.ป่องดังกล่าวนี้ จะมีคำอธิบายที่ละเอียดมากกว่าในบล็อกนะครับ





1) ง, ค3 - ข2             ร, ญ8 - ญ3
2) ง, ข2 - ค3             ง, ค4 - ง3+
3) ข, ค2 - ข3             ร, ญ3 - ญ8




4) ข, ข3 - ก4             ร, ญ8 - ข8
5) ข, ก4 - ก3             ง, ง3 - ค2
6) ข, ก3 - ก2             ร, ข8 - ข6
7) ข, ก2 - ก3             ง, ค2 - ข1
8) ง, ค3 - ข2             ง, ข1 - ค2
9) ง, ข2 - ค3             ร, ข6 - ข8



10) ข, ก3 - ก2             ง, ค2 - ง3
11) ข, ก2 - ก3             ร, ข8 - ก8+
12) ข, ก3 - ข3             ร, ก8 - ก7
13) ข, ข3 - ข2             ง, ง3 - ค4
14) ข, ข2 - ค2             ร, ก7 - ข7
15) ม, ง2 - จ4+           ข, ค5 - ง5



16) ม, จ4 - ง2             ร, ข7 - ข8
17) ง, ค3 - ข2             ข, ง5 - ง4
18) ง, ข2 - ค3+           ข, ง4 - ง5



19) ง, ค3 - ข2             ร, ข8 - ญ8
20) ง, ข2 - ค3             ร, ญ8 - ญ2
21) ข, ค2 - ข2             ง, ค4 - ง3
22) ข, ข2 - ข3             ร, ญ2 - ญ8
23) ข, ข3 - ข2             ร, ญ8 - ข8+
24) ข, ข2 - ก3             ง, ง3 - ค2
25) ข, ก3 - ก2             ข, ง5 - จ5
26) ข, ก2 - ก3             ข, จ5 - ฉ4
27) ง, ค3 - ข4             ข, ฉ4 - จ3
28) ม, ง2 - ค4+           ข, จ3 - ง4
29) ม, ค4 - ก5             ร, ข8 - ข6



30) ข, ก3 - ข2             ง, ค2 - ง3
31) ข, ข2 - ข3             ข, ง4 - ง5
32) ข, ข3 - ก4             ง, ง3 - ค4
33) ข, ก4 - ก3             ร, ข6 - ญ6



34) ข, ก3 - ข2             ร, ญ6 - ญ3
35) ข, ข2 - ก2             ข, ง5 - ง4
36) ข, ก2 - ข2             ข, ง4 - ง3



37) ข, ข2 - ก3             ข, ง3 - ค2 เปิด+
38) ข, ก3 - ก4             ร, ญ3 - ญ4
39) ม, ก5 - ข7





อ้างอิง
- ตำราหมากรุกไทยเซียนป่อง ฉบับลูกสูตรสะท้านฟ้า จินตนาการไร้ขอบเขต
โดย สุชาติ ชัยวิชิต
- สนุกกับหมากรุกไทย โดย วินัย ลิ้มดำรงค์ชิต
- หมากรุกไทย โดย นายแพทย์ ประกอบ บุญไทย
- หลักการและวิธีการเดินหมากรุกไทย โดย สุนทร ศราภัยวานิช
- ภาพ และข้อความบันทึกหมากส่วนใหญ่ นำมาจากโปรแกรมถอดหมาก thaichess.net/chess ที่พัฒนาโดยคุณเอก และคุณไพรัฐ ศรีดุรงคธรรมพ์ (ข้อมูลจาก thaichess.net/?page_id=673)




Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2555 11:34:21 น. 7 comments
Counter : 2780 Pageviews.

 
หวัดดีค่ะอาจารย์พี่กระแช่ จำนู๋ได้ไม๊น๊ออ


โดย: ตุ๊กตาซัง วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:1:27:15 น.  

 
จำได้ซิศิษย์หลาน สาวที่ชอบเล่นเพลง Zombie มีไม่มากหรอก


โดย: อุปนิกขิต วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:36:40 น.  

 
พี่แช่ ผมไม่ค่อยได้เข้าบล็อกเลย เล่นแต่ เฟส สวัสดีครับ หวังว่าสบายดีนะครับ


โดย: Thanunchaisa วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:13:26 น.  

 
สบายดีครับ


โดย: อุปนิกขิต วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:17:41:54 น.  

 
แล้วหลานคนนี้ล่ะจ้า จำได้มั้ย ^^


โดย: ลิงน้อย IP: 223.207.144.41 วันที่: 18 มีนาคม 2555 เวลา:1:28:56 น.  

 
นี่มีกล หณุมานอาสา หรือป่าวอะ
ถ้ามีขอดูได้ไหม


โดย: เก่ง IP: 110.49.233.116 วันที่: 20 เมษายน 2555 เวลา:18:01:59 น.  

 
#5 จำได้สิ คนที่เหมือนอั้ม พัชราภาน่ะ

หมายถึงแคุ่่ความผอมนะ

==================================

ยังหา ๔ รูปนี้อยู่ครับคือ

หนุมาณอาสา, พรานไล่เนื้อ, คลื่นกระทบฝั่ง, หมูหลบหอก


โดย: อุปนิกขิต วันที่: 22 เมษายน 2555 เวลา:20:53:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุปนิกขิต
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




อุปนิกขิต น. คนสอดแนม, จารบุรุษ



Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
New Comments
Friends' blogs
[Add อุปนิกขิต's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.