~Everything...it's life itself~
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
สอบทักษะ...แนวคิดแปลกที่มีจริง



ย้อนไปเมื่อวันสอบ เราคงจำกันได้ดีกับการนั่งห่างกับเพื่อนเป็นฟุต ความอัดอั้นที่จะพูดแต่พูดไม่ได้ ถามก็ไม่ได้แถมยังมีคุณครูยืนสอดส่องสายตาเป็นเรดาร์ที่แทบจะร้องทุกเมื่อ เมื่อเด็กเริ่มออกอาการ 'คอยาว'

ขณะกำลังนั่งอ่านหนังสือพิมพ์เพลินๆ สายตาก็เหลือบขึ้นไปเห็นคอลัมน์หนึ่งซึ่งเอ่ยเกี่ยวกับการสอบไว้ แต่ไม่ใช่การสอบทั่วไปที่นั่งท่องๆเมื่อถึงเวลาก็แจกกระดาษ จับเวลา แต่เป็นการสอบทักษะที่มีเด็กเป็นคนทำและมีผู้ปกครองเป็นผู้ให้คะแนน

อาจจะแปลกแต่แนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นจริงที่ “โรงเรียนวนิษา” ของคุณหนูดี วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอัจฉริยภาพ ปริญญาโทด้านสมองและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แนวคิดมาจากพ่อแม่ของเจ้าของโรงเรียนพากันบ่นว่า “เด็กรุ่นใหม่ๆ จบปริญญาตรีที่รับเข้ามาทำงานทำไมคิดกันไม่เป็นเท่าไหร่ ทำงานได้แค่ตามสั่ง แถมที่สั่งไปยังทำได้ไม่ดีอีก” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสอบปลายภาคแบบปฏิบัติ คือเด็กๆจะต้องแสดงฝีมือและทักษะโดยผ่านการทำงานร่วมกันโรงเรียนชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่ง ซึ่งทางโรงเรียนกำหนดวันสอบเป็นเต็มวัน และยังมีผู้ปกครองให้คะแนนโดยที่ต้องไม่ใช่ลูกตัวเอง

ข้อส่วนส่วนใหญ่จะหมุนไปในแต่ละปี เช่นปีนี้อยากได้เศรษฐกิจพอเพียง เด็กๆก็จะประชุมกัน แล้วก็สร้างเครื่องไม้เครื่องมือขึ้นมาซึ่งจะสอดคล้องกับหัวข้อหลักเช่นเศรษฐกิจพอเพียงก็มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกผัก ปลูกข้าว ถึงวันสอบก็พาพ่อแม่มาเยี่ยมชมหมู่บ้าน

ที่สำคัญคือเด็กๆจะถ่ายทอดความคิดของพวกเขาให้ “ผู้ตรวจสอบและให้คะแนน” และหลังจากผ่านการสอบแปลกๆนี้พบว่า เด็กๆมีความกล้ามากขึ้น คิดเป็นระบบขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น

...ลองสังเกตดูในโลกที่เป็นจริง เวลาเราทำงาน เคยมีไหมคะ ที่หัวหน้าของเราจะบอกว่า ให้เราเอาข้อมูลโปรเจกต์นี้ไปดูนะ หัวหน้าจะล็อกเราไว้ในห้องทำงาน ห้ามติดต่อพูดคุยกับใครจนกว่าจะคิดออก หลังจากนั้นให้มาพรีเซนต์คนเดียวโดยไม่ให้ทำร่วมทีม ต่างคนต่างทำไม่เช่นนั้นถือว่าลอกกัน...

เป็นอีกย่อหน้าหนึ่งที่ส้มเองอ่านแล้วคิดตามแถมหัวเราะอีกนิดหน่อย ถึงแม้ตัวเองจะยังไปไม่ถึงจุดที่ต้องดิ้นรนทำงานเลี้ยงชีพ แต่ก็ไม่คิดว่าจะมีหน่วยงานไหนทำอย่างนั้นจริงๆ เพราะนั่นเลียนแบบการสอบของเด็กๆมาทั้งหมดเลยค่ะ การสอบทักษะแบบนี้ก็ดีไปอีกแบบค่ะ ในมุมมองความคิดเด็ก จะดีใจที่ได้ทำงานกับกลุ่มเพื่อน ได้ฟรีหนึ่งวันที่มีกิจกรรมเยอะแยะให้ทำ(อันหลังนี้ความคิดเด็กโตหน่อยนะคะ) ส่วนในมุมมองผู้ใหญ่ก็จะได้เห็นความคิดและทักษะของเด็กๆ ซึ่งก็เหมือนวันดึงพลังความคิดเด็กออกมาวางตรงหน้าให้ผู้ปกครองได้ดู

เดี๋ยวนี้แต่ละโรงเรียนก็พัฒนาหลักการเรียนการสอนไปมากแล้วค่ะ ไม่ได้ยึดติดกับการสอบเก็บคะแนนเพียงอย่างเดียว(ในบางวิชานะคะ) อย่างตอนที่ส้มอยู่ป.6 มีโครงงานมาให้เด็กกลุ่มละ 8-10 คน เป็นโครงงานบูรณาการเรื่องวิตามินค่ะ คนเก่งเลขก็นั่งคิดว่าจะเอาเลขกับวิตามินมาเกี่ยวกันอย่างไร คนเก่งวาดรูปก็วาดสื่อไป คือทำทุกๆวิชาที่เรียนค่ะ แล้วแต่ว่าแต่ละกลุ่มจะสื่อออกมาในรูปแบบใด และสุดท้ายก็จะเป็นการแสดงของแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ตอนนั้นความรู้สึกคือสนุกสนานที่ได้เล่นละครกับเพื่อน ได้นั่งคิดนั่งเถียงกับเพื่อนค่ะ

ตอนม.2 ส้มก็ทำโครงงานใหญ่อีกโครงงานหนึ่งค่ะ ซึ่งเป็นโครงงานของการไฟฟ้าคือการแสดงละครให้น้องๆประถมดูเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และมีเล่นเกมตอบคำถามในตอนท้าย และสุดท้ายคือนั่งประมวลความคิดกันว่าเราทำอะไรไปบ้าง เราได้อะไร คนดูได้อะไรรวบรวมเป็นรายงานส่งครูค่ะ ตัวเองเป็นพิธีกรคู่กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง หลังจากหมดหน้าที่ตรงนั้นก็วิ่งเปลี่ยนฉากชักม่านอยู่หลังเวที ได้ทำงานกับเพื่อนก็รู้สึกมีความสุขค่ะ มีความสุขเวลาผู้ชมปรบมือ และเวลาเล่นเกมถามคำถามเขาก็สามารถตอบได้

แต่พอโตๆขึ้นมาหน่อย เวลาที่ได้ทำโครงงานบูรณาการซึ่งที่โรงเรียนจะให้ครูวิทยาศาสตร์เลือกพืชมาหนึ่งชนิดเพื่อให้นักเรียนในสายชั้นทำค่ะ(ชั้นที่ทำมีตั้งแต่ป.1-ม.6 แต่ละชั้นอาจไม่เหมือนกันคือเด็กเล็กอาจทำที่คั่นหลังสือบ้าง ทำสิ่งประดิษฐ์บ้าง) มาม.4นี้ได้ว่านหางจระเข้มาทำค่ะ เด็กโตจะได้ทำเป็นใบงานใน 8 วิชาหลักบูรณาการมาแล้วใส่แฟ้มส่งค่ะ ส้มว่าเหมือนโตและทำงานกลุ่มอย่างนี้มันจะมีคนอู้งานค่ะ เพราะตัวส้มเองกลัวปิดเทอมไม่ได้คุยงานกันเลยทำไป 4 วิชา(ที่ถนัด) อีกสี่วิชาต้องโยนให้คนอื่นทำเพราะไม่ถนัด แต่เพื่อนก็ทิ้งกันไว้จนจวนตัวเลยต้องรีบทำหัวปั่น ส้มเลยได้งานเลขมาอีกขิ้น ซึ่งนั่งคิดแทบตายว่าจะบูรณาการอย่างไรไม่ให้มันดูปัญญาอ่อนสำหรับเด็กม.4 ในที่สุดก็ตกลงปลงใจทำเรื่องว่านหางจระเข้กับตรรกศาสตร์ค่ะ

ส่วนตัวเห็นคนอู้งานแล้วหมดกำลังใจทำค่ะ นี่เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ใหญ่ควรปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้แก่เด็กค่ะ

ลองสังเกตเด็กๆที่ทำงานกลุ่มกับเพื่อนแล้วจะเห็นถึงความสุขนะคะ การเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นทางเลือกที่ดีเช่นเดียวกับการสอบทักษะเลยค่ะ ฝึกเด็กให้คิด ให้ทำ ให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แถมยังได้เรียนรู้การทำงานเป็นหมู่คณะด้วยค่ะ และการที่พ่อแม่มีส่วนในการให้คะแนนเด็กๆได้ฟังแนวความคิดของเด็กๆ ทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจเด็กมากขึ้นอีกด้วยค่ะ




ข้อมูล...คอลัมน์ Short cut หนูดี วนิษา เรซ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันอังคารที่ 11 มีนาคม 2551 หน้า c8





Create Date : 11 มีนาคม 2551
Last Update : 11 มีนาคม 2551 9:14:41 น. 1 comments
Counter : 589 Pageviews.

 
หนูส้มเขียนได้น่าอ่านดีจัง
อ่านคำจำกัดความของหนูส้มแล้วคิดถึงตัวเองตอนเด็กๆ

คล้ายๆกันเลยล่ะ


โดย: เพลงเสือโคร่ง วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:11:03:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

โทรโพสเฟียร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




เป็นคนสองจังหวัด คือไปๆมาๆระหว่างนนทบุรีและกรุงเทพ คือวันเธรรมดาจะติดแหงกคาคอนโด ส่วนวันหยุดทั้งปกติและไม่ปกติจะกลับบ้านไปเลี้ยงข้าวน้องหมาค่ะ ตอนนี้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธะรรมศาสตร์(และการเมือง)ท่าพระจันทร์เอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โทโปรตุเกสค่ะ

•แนะนำตัว•

มีชื่อเรียกเล่นๆว่า ส้ม และมีนามแฝงในโลกไซเบอร์อีกชื่อหนึ่งคือ somlim เป็นคนง่ายๆ เงียบๆไม่ค่อยพูดมากนอกจากจะสนิทกับใครจริงๆถึงจะไฟแลบ มีโลกส่วนตัวสูงจึงไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ขี้น้อยใจเอาง่ายๆและอารมณ์แปรปวนยิ่งกว่าฤดูกาล ยามว่างชอบนั่งอ่านหนังสือเล่น ตีขิม ฟังเพลง(เย็นๆ พวกคลาสสิค)และแต่งกลอนบ้างเป็นบางครั้ง

•อนาคต•

ความฝัน(ที่ต้องทำให้เป็นจริง)ตอนนี้คือการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล อยากเป็นนิสิต (โอ้ว...ฝันสูง - -'') อยากเรียนทางด้านประวัติศาสตร์ และมีฝันใหม่ๆเข้ามาเสมอเช่นตอนนี้ก็โอนเอนหารัฐศาสตร์เล็กน้อย ปัจจุบันกำลังวิ่งเก็บเศษส่วนของความฝันมาเรียงร้อยต่อกัน เพราะคิดว่าสักวันหนึ่งสิ่งที่เก็บเล็กผสมน้อย(ปนความโง่นิดๆ) คงเป็นรูปเป็นร่างอะไรสักอย่างหนึ่งให้ได้ชื่นใจค่ะ ^^

•เล็กๆน้อยๆ•

2545...อักษราภรณ์ 2546...สุนทรธิดา 2547...พจนาภิรมย์ 2548...โสมนัสสา 2549...วิชชาวรณ์ 2550...อนุสรณ์ (50 ปี) 2551...อรอนงค์ 2552...ผจงจิต

New Comments
Friends' blogs
[Add โทรโพสเฟียร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.