“ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์คือการเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว”

ติช นัท ฮันท์

211 .. เสียงอ่านเพชรพระอุมา - ภาคแรก # 6 (76 - 90)










เสียงอ่านเพชรพระอุมา – ภาคแรก #6

ลำดับที่ 76-90





เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่มีความยาวทั้งสิ้น 48 เล่ม แบ่งออกเป็นสองภาค คือภาคแรกและภาคสมบูรณ์ ภาคละ 24 เล่ม


ภาคแรกของเพชรพระอุมาแบ่งเป็น 6 ตอน ได้แก่ ไพรมหากาฬ, ดงมรณะ, จอมผีดิบมันตรัย, อาถรรพณ์นิทรานคร, ป่าโลกล้านปี และแงซายจอมจักรา


สำหรับภาคสมบูรณ์ก็แบ่งเป็น 6 ตอนเช่นกัน ได้แก่ จอมพราน, ไอ้งาดำ, จิตรางคนางค์, นาคเทวี, แต่ปางบรรพ์ และมงกุฎไพร


ป้า เป็นแฟนคลับ เพชรพระอุมา ค่ะ ได้ติดตามอ่านมาตลอด และอ่านจบหลายรอบ หลังจากป้าวางงานประจำแล้ว ป้าได้ใช้เวลาว่างไปอ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตาฟัง โดยอ่านที่ ‘ห้องสมุดคอลฟิลล์เพื่อคนตาบอด’ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ‘ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด’ เริ่มอ่านมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2541 ถึงวันนี้ ป้าอ่านจบไปแล้วประมาณเจ็ดสิบเรื่อง และในจำนวนนั้นมีเรื่อง เพชรพระอุมา รวมอยู่ด้วยค่ะ


เรื่อง เพชรพระอุมา จะมีผู้อ่านสองคน คนแรกคือ คุณศศวรรณ อรรถจรรยากุล ท่านอ่านมาถึงลำดับที่ 140 ค่ะ หลังจากนั้น ท่านมีความจำเป็นไม่อาจจะมาอ่านต่อให้จบได้ ทางศูนย์ ฯ จึงได้ขอให้ป้ารับหน้าที่อ่านต่อจนจบค่ะ


เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่ยาวมาก กว่าจะอ่านจบต้องใช้เวลาอ่านนานมากทีเดียว ภาคแรก ป้าเริ่มอ่านเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2545 อ่านจบเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ส่วนภาคสมบูรณ์ ป้าเริ่มอ่านเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 และอ่านจบเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 ค่ะ


เนื่องจาก เพชรพระอุมา เป็นงานเสียงที่ป้าชอบมาก จึงอยากจะนำมาเก็บไว้ในบล็อก และหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของแฟนคลับ เพชรพระอุมา ที่ไม่สะดวกหรือมีข้อจำกัดในการอ่านค่ะ


ขอเชิญฟังเสียงอ่านนวนิยาย เพชรพระอุมา – ภาคแรก ลำดับที่ 76-90 ค่ะ





ลำดับที่ 76-78





ลำดับที่ 79-81





ลำดับที่ 82-84






ลำดับที่ 85-87





ลำดับที่ 88-90






ขอเชิญติดตามตอนต่อไปค่ะ




ขอขอบคุณ "พนมเทียน" เจ้าของผลงาน "เพชรพระอุมา"


ขอขอบคุณ ณ บ้านวรรณกรรม ผู้จัดพิมพ์วรรณกรรมเรื่องนี้


ขอขอบคุณ ห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้จัดทำเป็นหนังสือเสียง


ขอขอบคุณ คุณศศวรรณ อรรถจรรยากุล อาสาสมัครผู้ให้เสียงอ่าน ตั้งแต่ต้น จนถึง ลำดับที่ 140


ขอขอบคุณภาพจากทุกเว็บที่เกี่ยวเนื่องกับเพชรพระอุมา


และขอขอบคุณ คุณ treetree6969 ผู้จัดทำวิดีโอนี้











เ พ ช ร พ ร ะ อุ ม า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี









คำนิยมเพชรพระอุมา



ตลอดระยะเวลาที่เพชรพระอุมาได้รับการตีพิมพ์ฉบับรวมโดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ได้มีคำนิยมของ "เพชรพระอุมา" จากผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิหลายท่าน ได้ให้คำนิยมส่วนตัวแก่นวนิยายที่ถือได้ว่าเป็นสุดยอดของนวนิยาย และเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของเมืองไทย ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่นักอ่านหลายๆรุ่น ซึ่งได้รับความบันเทิง ความสนุกสนานจากการอ่านเพชรพระอุมา แม้เนื้อเรื่องจะมีความยาวเป็นอย่างมากก็ตาม


คำนิยมของ "เพชรพระอุมา" ในแต่ละเล่มและแต่ละตอน จึงเป็นการรับรองถึงความเป็นนวนิยายที่มีความบันเทิง ตื่นเต้นเร้าใจและการผจญภัยตามแต่จินตนาการของพนมเทียน ที่นอกจากสามารถทำให้นักอ่านได้สนุกสนานไปกับเนื้อเรื่องที่ชวนติดตามและลุ้นระทึกแล้ว ยังได้รับความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการเดินป่า การล่าสัตว์ รวมทั้งอาวุธปืนอีกด้วย



กระแสตอบรับและคำวิจารณ์



เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่ ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดียิ่ง กระทั่งสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าไม่ยอมให้พนมเทียนยุติการเขียน ขนาดที่ว่า "...ในช่วงที่พนมเทียนกำลังเขียนเรื่องนี้ตีพิมพ์ขายเป็นเล่ม พ็อกเก็ตบุ๊ค ติดต่อกันนั้น ถึงกับมีผู้อ่านมาเข้าคิวรอซื้อกันหน้าโรงพิมพ์เลยทีเดียว..."


ความสำเร็จดังกล่าวนี้ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการประพันธ์ของพนมเทียน ซึ่ง ว.วินิจฉัยกุล ได้เอ่ยถึงว่า "...พนมเทียนเป็นผู้พิถีพิถันทั้งในด้านรูปทรง สีสัน แสงและเงา ตลอดจนความเคลื่อนไหวที่แปรเปลี่ยนไม่หยุดนิ่ง มีแม้กระทั่งเสียง ด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างวิจิตรบรรจง มีกลิ่นอายของวรรณคดีอยู่ในภาษาที่ใช้ เหมือนกับการแกะสลักลายซ้อนลงไปทีละชั้นจนเป็นหลายชั้นลึกละเอียด ไม่ใช่เพียงแต่ร่างคร่าวๆ พอให้เป็นรูปขึ้นมาเท่านั้น..." หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ผู้มีชื่อเสียง ตรัสถึงนวนิยายชุดนี้ว่า "เพชรพระอุมาคือมหากาพย์แห่งวรรณกรรมที่ไม่มีหนังสือเรื่องไหนที่จะเทียบ ได้"


แม้จะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า เพชรพระอุมา ลอกเค้าโครงเรื่องมาจาก King Solomon's Mine หรือ สมบัติพระศุลี เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของตัวละคร วัตถุประสงค์ในการเดินป่า รวมถึงแผนที่ลายแทงของทั้งสองเรื่อง ที่มีเนื้อความใกล้เคียงกันมาก วิทยานิพนธ์ของ สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา ได้รายงานการศึกษาเชิงเปรียบเทียบสำหรับวรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้ ในบทคัดย่อปรากฏความตอนหนึ่งว่า "นวนิยายผจญภัยเรื่อง เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่มีลักษณะเป็นแบบฉบับของพนมเทียนเอง เนื่องจากการได้รับอิทธิพลนั้น เป็นการได้รับอิทธิพลแล้วนำอิทธิพลที่ได้รับนั้นมาสร้างสรรค์และขยายเรื่องราวการผจญภัยใน เพชรพระอุมา ให้สนุกสนานและน่าติดตามมากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มประสบการณ์ในการเดินป่า และความรู้ในด้านต่างๆ ของตนเองเข้าไปได้อย่างเหมาะสม" ว.วินิจฉัยกุล ให้ความเห็นว่า "...'เพชรพระอุมา' ภาค 1 เป็นงานที่สร้างยากกว่า King Solomon's Mines และมีลักษณะเฉพาะของตัวเองชัดมาก ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับว่า การที่สถาปนิกไทยใช้กระเบื้องมุงหลังคาและเสาปูนของฝรั่ง ตลอดจนหน้าต่างกระจกติดเครื่องปรับอากาศ มาสร้างบ้านไทย ก็หาได้ทำให้บ้านไทยนั้นกลายเป็นบ้านฝรั่งไปไม่ และยิ่งเมื่อใช้พื้นไม้สัก ฝาปะกน ฝาเฟี้ยมแบบไทย มีประตูที่มีธรณีประตูสูง มีหย่อง หรือแผ่นไม้สลักใต้หน้าต่าง มีคันทวยสลักค้ำชายคา นอกชานตั้งเขามอ และไม้ดัดตลอดจนอ่างปลาเงินปลาทอง มันก็กลายเป็นบ้านไทยประยุกต์ที่คนไทยคุ้นตากันนั่นเอง..."


ร่มไม้เย็น ค่ะ








 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2555
5 comments
Last Update : 30 มีนาคม 2558 12:36:37 น.
Counter : 5892 Pageviews.

 

รอเช้ารอเย็นเลยนะครับ สนุกมาก thumb ups ครับ

 

โดย: นะนะ IP: 202.28.9.75 20 กุมภาพันธ์ 2555 15:04:25 น.  

 

เครื่องนาถมีปัญหา
ไม่ได้ยินค่ะ

 

โดย: nart (sirivinit ) 28 กุมภาพันธ์ 2555 18:46:58 น.  

 

ขอขอบคุณคุณป้านะครับที่อ่านเรื่องเพชรพระอุมาให้ฟัง เป็นเรื่องที่เคยคิดจะอ่านเองแต่ไม่สำเร็จ ตอนนี้ฟังจากที่คุณป้าอ่านจนจะจบภาคสมบูรณ์แล้ว คุณป้าอ่านสนุกมากครับ ทั้งน้ำเสียงและเสียงประกอบ ชอบมากๆครับ

 

โดย: ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ IP: 101.108.120.7 24 เมษายน 2555 12:17:01 น.  

 

ขอขอบคุณคุณป้านะครับที่อ่านเรื่องเพชรพระอุมาให้ฟังชอบมากครับ

 

โดย: คอนหวัน IP: 49.48.183.123 9 กันยายน 2555 22:16:21 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ยินดีต้อนรับ เชิญแวะเข้ามาฟังได้ทุก

เวลา บ้านเปิดตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ

 

โดย: ร่มไม้เย็น 10 กันยายน 2555 18:43:17 น.  


ร่มไม้เย็น
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 127 คน [?]







เริ่มเขียน Blog เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2551


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยม เมื่อเวลา 18.15 น.



Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
20 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ร่มไม้เย็น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.