Look deep into nature, then you will understand everything.

Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
23 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
>>>>จริยธรรมงานวิจัยที่คนทั่วไปควรรู้ : The General Concept of Ethical Clearance<<<<

"การงานทุกอย่างทุกอาชีพ ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติหากผู้ใดล่วงละเมิด ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้ "

(พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร 4 ก.ค. 40 )

@~~~~@@~~~~@


วันนี้เรามาคุยกันแนวซีเรียสนิดนึงนะจ้ะ เปิดหัวด้วยพระบรมราโชวาทที่เราจำได้แม่น เพราะอาจารย์ที่เคารพท่านนำพระบรมราโชวาทนี้มาสอนเราตั้งแต่ก่อนที่จะมาเรียนปริญาโทเสียอีก

วันนี้นึกอะไรอยู่ไม่รู้สิแต่หลังจากอ่านอะไรบางอย่างก็เลยมีความคิดที่จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมา เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ เพราะว่าตัวเองเป็นนักวิจัยโดยอาชีพเหมือนกัน แต่รู้สึกว่าผู้คนรอบๆ ตัวส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องงานวิจัยสักเท่าไหร่ว่าตัวเองมีสิทธิทำอะไร อย่างไร ได้แค่ไหน ก็เลยรวบรวมข้อมูลเรื่องนี้ขึ้นมาและกลายเป็นหัวข้อที่เราได้เขียนในวันนี้

@~~~~@@~~~~@


งานวิจัย

ก่อนที่จะเริ่มเรื่องอื่นๆ คงต้องอธิบายเรื่องของงานวิจัยสักหน่อยว่ามันคืออะไร มีวัตถุประสงค์ยังไง
งานวิจัย หมายถึงการเสาะแสวงหาความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยใช้วิธีการใช้เหตุผลมีวิธีการ และแบบแผน ขั้นตอนที่ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ผลสรุป และองค์ความรู้

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

  1. เพื่อแก้ไขปัญหา (Problem Soiving Research)

  2. เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory - Development Research) เนื่องจากทฤษฎีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ สามารถนำมา อ้างอิง (Generalization) อธิบาย (Explanation) ทำนาย (Prediction) ควบคุม (Control) ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี มนุษย์จึงจำต้องสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้น

  3. เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี (Theory Testing Research) เนื่องจากทฤษฎีนั้นมีอยู่มากมาย และอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ทฤษฎี และความรู้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานภาพ กาลเวลา ดังนั้นมนุษย์จึงจะต้องทำการศึกษา และตรวจสอบ ทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านั้น ว่ายังเหมาสมหรือไม่

ดังนั้นผลงานวิชาการหรือผลงานการวิจัยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เพราะงานวิจัยและงานวิชาการเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้า หาข้อเท็จจริงที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา ปรับปรุงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้

@~~~~@@~~~~@


การทำวิจัยในมนษุย์

จากข้อความข้างบนจะเห็นได้ว่างานวิจัยหลายๆ เรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะสัตว์ หรือเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งคน คนทั่วไปอย่างเราๆ นี่แหละ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนเราจะเรียกว่า การทำวิจัยในมนษุย์



การทำวิจัยในมนษุย์ หรือการทดลองต่อมนษุย์ หมายถึง การศึกษาวิจัยที่ใช้คนเป็นอาสาสมัครซึ่งอาจเป็นผู้ป่วยหรืออาสาสมัครที่มีสุขภาพสมบูรณ์ สิ่งส่งตรวจจากร่างกายคน เช่น เลือด เนื้อเยื่อ รวมทั้งข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น เวชระเบียน ผลการตรวจ ด้วยวิธีการใด ๆ เช่นการสอบถาม การสัมภาษณ์ การใช้ยา สารเคมี เครื่องมือแพทย์ การถ่ายภาพทางการแพทย ์ การผ่าตัดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และครอบคลุมถึง การวิจัยเกี่ยวกับ กระบวนการ ทางสังคมวิทยา จิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์

ประเภทของการวิจัยในมนุษย์ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้คือ

  1. การวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ (Biomedical research): การทดลองทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์การกีฬา

  2. การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social science research): การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา และ เศรษฐศาสตร์

  3. การวิจัยทางระบาดวิทยา (Epidemiological research): ครอบคลุมทั้งการศึกษาที่จะต้องกระทำต่อผู้ป่วยโดยตรงและการศึกษาวิจัยจากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและอาสาสมัคร


การวิจัยที่มีคุณภาพเป็นสิ่งที่เกิดหรือสร้างได้ยากทั้งนี้ เนื่องจากว่างานที่ดีและมีคุณภาพดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายประการ ต้องใช้ทรัพยากร กำลังคน เงินทุน เวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยในมนุษย์ ดังนั้น การดำเนินงานวิจัยจึงควรรอบคอบที่สุด เพี่อให้ผลวิจัยถูกต้อง มีคุณค่า คุ้มค่า และได้ประโยชน์ งานวิจัยต้องมีรูปแบบที่ชัดเจนตามระเบียบและหลักวิชาการ หลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชากรที่ศึกษาและสิ่งแวดล้อม การวิจัยในมนุษย์ย่อมเกิดความเสี่ยง มีอันตราย เป็นภาระที่ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ จะต้องปกป้องชีวิต สุขภาพ ความเป็นส่วนตัว ความเป็นอยู่ที่ดี และความมีศักดิ์ศรีของอาสาสมัคร รวมไปถึงผลกระทบต่อสังคม ดังนั้น งานวิจัยซึ่งรวมถึงนักวิจัยที่ดีต้องประกอบด้วยคุณธรรม หรือจริยธรรม ไม่ละเมิดและต้องเคารพสิทธิมนุษยชน ไม่กระทำผิดกฎหมาย หรือไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติ และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม จึงจะทำให้ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการดังกล่าวได้รับการยกย่องว่าดี

การขาดจริยธรรมในงานวิชาการ เป็นสิ่งที่ทำให้งานวิจัยหรืองานวิชาการที่ตั้งใจทำขึ้นมีความมัวหมอง โดยที่แม้ว่างานวิจัยหรืองานวิชาการนั้นๆ จะใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือดำเนินการวิจัยถูกต้องทุกประการแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ดำเนินการวิจัยได้ละเมิดจริยธรรมในงานวิชาการ ก็จะทำให้ผลงานของตนด้อยคุณภาพได้

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน คำว่า จริยะ หมายถึง ความประพฤติและกิริยาที่ควรประพฤติส่วนคำว่า ธรรม คือ คุณความดีเมื่อนำมารวมกันเป็น จริยธรรมจะหมายถึง คุณความดีที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า วิชาการ คือ การที่เกี่ยวกับความรู้ จริยธรรมในงานวิชาการ จึงหมายถึง คุณความดีที่ควรประพฤติในการค้นคว้าหาความรู้

การละเมิดจริยธรรมในงานวิชาการที่มักพบเห็นอยู่เสมอ คือ การนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการลอกบทความ รายงานวิจัย ศัพท์ วลี ประโยค การประมวลความรู้ ความคิดจากผลงานวิชาการของผู้อื่น และนำมาปะติดปะต่อรวมกันเป็นผลงานของตัวเอง หรือการคัดลอกเนื้อหาสาระผลงานของผู้อื่นมาทั้งย่อหน้า หรือบางส่วน ด้วยการอ้างอิงไม่ถูกต้องทั้งนี้โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ถือว่าเป็นการละเมิดจริยธรรมในงานวิชาการทั้งสิ้น ซึ่งเหล่านี้เป็นการละเมิดจริยธรรมที่ยังไม่เกี่ยวข้องกับเราเท่าไหร่ แต่ที่เกี่ยวข้องกับเราตรงๆ คงเป็นการละเมิดจริยธรรมการวิจัยในคน

แนวทางจริยธรรมการวิจัยมีหลักการสำคัญที่สอดคล้องกันคือ การปกป้อง ศักดิ์ศรี สิทธิสวัสดิภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี่ของอาสาสมัครหรือผู้เข้าร่วมในโครงการวิจัย ผู้วิจัยต้องทราบข้อจริยธรรม กฎหมาย และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการทำวิจัยในประเทศของตน รวมทั้งข้อกำหนดที่เป็นสากล เช่น ทุนที่ได้รับ สินน้ำใจที่ให้กับอาสาสมัคร และต้องรายงานการดำเนินงานเป็นระยะ โดยเฉพาะรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทุกชนิดอย่างละเอียด และสุดท้ายต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยที่เป็นอิสระ ซึ่งจะต้องตรวจสอบทั้งความถูกต้องของกระบวนการวิจัย และจริยธรรมการวิจัย และปัจจุบันนี้มีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการวิจัยในคนและสัตว์ทดลอง เช่น การผลิตยาหรือการจดสิทธิบัตรยา การตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวกับการทำวิจัยในมนุษย์ จำเป็นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนก่อนจึงจะสามารถจดสิทธิบัตรยาหรือทำวิจัยเรื่องนั้นๆ ได้

@~~~~@@~~~~@


จริยธรรมที่นักวิจัยควรคำนึงถึงในการวิจัย


- นักวิจัยควรรับผิดชอบต่อผู้ร่วมวิจัยและสิ่งที่วิจัย
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะต้องดำเนินการวิจัยอย่างระมัดระวังและรอบคอบทุกขั้นตอน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายและการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้นนักวิจัยจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานไม่ว่าปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ร่วมทีม ผู้ช่วยงานวิจัย หรือลูกจ้างก็ตาม อาสาสมัครที่เข้าร่วมต้องไม่ถูกกระทำเกินกว่าเหตุหรือความจำเป็น เช่น ต้องการเลือดเพียง 5มล. แต่นำไป 20 มล. และกระทำหลายครั้ง และควรจะมีสินน้ำใจ ค่าตอบแทน ค่าชดเชยแก่อาสาสมัคร เช่น ค่าเดินทาง การสูญเสียรายได้จากการวิจัยโดยตรง ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เกิดอันตราย เป็นเงินหรืออื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเป็นการชักจูงเพื่อให้เข้าร่วมโครงการวิจัย

- นักวิจัยควรรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล
นักวิจัยควรเขียนรายงานการวิจัยเป็นภาพรวมและไม่ควรนำเอาข้อมูลหรือเรื่องราวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผยจนทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้ให้ข้อมูล เพราะเนื่องจากข้อมูลบางข้อมูลอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อผู้ให้ข้อมูลนั้นได้ ควรเก็บรักษาข้อมูลในที่ที่ปกปิดมิดชิด และปลอดภัยจากบุคคลทั่วไปที่จะมาหยิบฉวยหรือค้นหาได้

- นักวิจัยควรเคารพสิทธิส่วนบุคคล
ในการทำวิจัย นักวิจัยควรมีการเตรียมการป้องกันอันตราย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวิจัยและหลีกเลี่ยงการใช้กระบวนการวิจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ที่ถูกวิจัย นักวิจัยควรแจ้งหรืออธิบายถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริง เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยและขั้นตอนต่างๆ ของการวิจัยรวมทั้งผลที่จะได้รับจากการวิจัยนั้นๆ อย่างแท้จริง ให้กับผู้ที่ถูกวิจัยทราบทั้งนี้ จะต้องได้รับความยินยอมความสมัครใจจากผู้ที่ถูกวิจัย โดยไม่มีการบีบบังคับขู่เข็ญหรือกดดันแต่อย่างใด ควรปกป้องสิทธิและเคารพในศักดิ์ศรีของอผู้ที่ถูกวิจัยกลุ่มเปราะบางและอ่อนแอ

- นักวิจัยควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริง
นักวิจัยหรือนักวิชาการจะต้องมีความซื่อตรงต่อการให้ข้อมูลและการรายงานผลการวิจัยอย่างตรงไปตรงมาตามสภาพความเป็นจริง ในขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ของการวิจัยที่ค้นพบโดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ค้นพบ ผู้ที่ถูกวิจัยต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติและสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยตามความจริงครบถ้วน เช่น ใช้ยาแล้วทำให้หายใจถี่ แน่นหน้าอก

- นักวิจัยควรวิจัยในเรื่องที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
ในการวิจัยแต่ละเรื่อง นักวิจัยควรคำนึงว่างานวิจัยที่ตนทำอยู่นั้นมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมมากน้อยเพียงใด และนำผลงานวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริงหรือไม่ ไม่ควรนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้เพื่อทำลายผู้อื่น หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อกลุ่มของตนในทางมิชอบ

- นักวิจัยควรมีความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัย
นักวิจัยจะต้องตระหนักถึงว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำงานวิจัยนั้นมากน้อยเพียงใด เพราะเนื่องจากกระบวนการทำวิจัยและขั้นตอนต่างๆ ในการทำวิจัยอาจก่อให้เกิดผลเสียหายตามมาภายหลังได้ หากทำการวิจัยหรือรายงานผลการวิจัยผิดพลาด ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานวิจัยเป็นไปอย่างมีประ-สิทธิภาพ นักวิจัยควรมีความรู้ความสามารถในการทำงานวิจัยนั้นๆ อย่างแท้จริง

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัญหาการขาดจริยธรรมในงานวิชาการ เป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นในสังคม เป็นปัญหาที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนในสังคมมาโดยตลอด ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรหันมาร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้อง ดีงาม และความเหมาะสมโดยการสำนึก และตระหนักถึงการพึ่งตนเอง การมีระเบียบวินัย การมีความซื่อสัตย์สุจริตและการมีความยุติธรรม ควรรู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้งรู้จักใช้สิทธิเสรีภาพของตนเองในขอบเขตที่สังคมกำหนด ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านวิชาการให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งยังก่อให้เกิดความก้าวหน้าต่อประเทศชาติอีกด้วย

@~~~~@@~~~~@


ที่มา

  1. “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

  2. “จริยธรรมในงานวิชาการ” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2540 หน้า 7-10

  3. “ความหมายของการวิจัย” //researchers.in.th/blog/cafe/281


จากที่เขียนมาทั้งหมดก็หวังว่า จะทำให้คนที่อ่านรู้เท่าทันงานวิจัยเพิ่มขึ้นมาอีกสักหน่อย(ถึงแม้จะงงไปบ้างก็เถอะ) ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาสิทธิพื้นฐานของตนเองในการที่จะเลือกทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย แต่อย่าคิดว่าตัวเองต้องยอมเค้าไปเสียหมด ถ้าเจอทีมนักวิจัยที่ดีก็ดีไป แต่ถ้าเจอคนไม่ดีก็เศร้าไป ชีวิตเรา ตัวเราเท่านั้นที่มีสิทธิเลือก อย่าให้ใครมาช่วยคุณเลือกโดยที่คุณไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจ






Create Date : 23 กรกฎาคม 2551
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 18:32:04 น. 11 comments
Counter : 510 Pageviews.

 

หุหุ แล้วจะทำตามนี้จ้า

อ่านแล้วได้ อ่านแล้วโดนนนนนนนน



โดย: ช่อกุหลาบสีส้ม IP: 58.137.102.18 วันที่: 23 กรกฎาคม 2551 เวลา:18:03:58 น.  

 
มาอ่านตามสัญญา ไหนล่ะ น้ำชากับคุ้กกี้ชอพชิพประกอบการอ่านพี่สาวววววววว หุหุ

ละเอียดดีมากเลยค่า


โดย: อุ๋ม IP: 58.9.81.159 วันที่: 23 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:51:05 น.  

 
อ่านแล้วววววววว โดนมั่กมากกกป้าเอ๋

เป็นความรู้ที่ดีเลยค่ะ หวังว่าคนมีคนทำตาม หึหึ

ปล. นอกเรื่องนิดนึง เข้ามาแล้วเห็นหัวแถบเขียวๆๆๆด้านบน นึกว่าเข้ามาในกาแลกซี่ ทางช้างเผือกก แอบเหมือนอ่ะป้าเอ๋ หุหุ


โดย: cassper_W IP: 202.133.139.164 วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:0:31:13 น.  

 
โดนนนนนนนซะแล้ว

อ่านแล้วโดนเนอะ



โดย: Mint-Mint555 วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:5:24:21 น.  

 
ใครที่ทำอะไรไม่ดีๆ เอาไว้ก็ระวังตัวนะ
มิเช่นนั้นเจ้เอ๋จะตามไปเอาคืน 555


โดย: หมูจอย (◕‿◕✿) (pigarea ) วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:42:03 น.  

 
เอ่อ.... ตอนทำวิทยานิพนธ์ ทำตามระเบียบของทางบัณฑิตวิทยาลัยอ่ะ แล้วก็ถูกต้องตามจริยธรรมทุกอย่างอ่ะ (ยิ่งได้ทุนมาด้วย เขาไม่กล้าทำผิดจริยธรรมในการทำวิจัยหรอก เพราะว่ากลัวเสียชื่อสถาบัน คณะ สาขาวิชา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการ แล้วก็ตัวเองด้วยยยยยย-*-)

เค้าอยากบอกว่า โดนมาก ๆ แถมให้ความรู้กับคนอื่น ๆ ให้ได้เข้าใจเรื่องจริยธรรมในการทำวิจัย ขอบคุณพี่เอ๋ค่ะ ^^


โดย: MeiJi IP: 222.123.127.145 วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:56:51 น.  

 
เฮ้อ!!!! อ่านแล้วเหนื่อย

ดีใจจัง ที่เราเป็นแค่ แม่บ้านสุดสวย (ลูกชายบอก ^^) มะได้เป็นนักวิจัย หุหุ

ว่าแต่ รีบน โดนอะไรกันอ่ะ โดนจริยธรรมของนักวิจัยหล่นใส่เหรอ เอิ๊กๆๆๆๆ

ดีน๊า ที่เป็นช่วงเข้าพรรษา เราเลยไม่โดน เอ! หรือโดนไปแระ กร๊ากกก


โดย: แม่บ้านเล็ก IP: 116.58.231.242 วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:43:10 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

นักวิจัยที่ได้มาอ่านกรุณานำไปใช้ซะบ้างนะคะ

เบื่อพวกช่างแถ...=*=


โดย: Non-nY IP: 58.9.166.28 วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:18:52:37 น.  

 
ป้าเอ๋ กราบบบบบบบบบบบบค่ะ


อิอิ


มาอ่านเรื่องนี้แล้วตาลาย มึน @__@ พอดีพึ่งตื่น 55555++ แต่จับใจความได้ดีทีเดียว ขอบคุณสำหรับหน้านี้ค่ะ ^____^Y


นันชอบเฮดบลอคป้าเอ๋จังค่ะ นันชอบดอกไม้อันนี้อ่ะ แต่ลืมชื่อไปล่ะ ถ้าเห็นชื่อจะจิ้มถูก ==' ที่มันปลิวๆๆๆในการ์ตูนโดราเอมอนอ่ะ 55555555555++++


เทคแคร์ง้าป (พึ่งตื่น แต่ยังง่วงอยู่เลยอ่ะ ==' )


โดย: นันคุงงงงง (LadyZSeNorA* ) วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:27:26 น.  

 
ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆสักคำให้ลึกซึ้ง

รักป้าเอ๋จ้า



โดย: รวิษฎา วันที่: 5 สิงหาคม 2551 เวลา:19:55:07 น.  

 
โห ป้าคระ อย่างยาวอ่ะ
แต่ อ่านแล้ว...ตามนั้น อิอิ

ว่าแต่จะดองงงงงงงบล๊อกเพื่ออออออออออออออ -*-

อ่ะ ขอบคุณนะค๊าที่ไปอวยพรวันเกิด -/\\-
ขอให้พี่เอ๋มีความสุขมากๆเช่นกันนะคะ ^^

ปล ช่วงนี้งานเยอะและเร่งหนักหนา แง๊ๆ


โดย: kapolo_girl (Friday_Inlove ) วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:22:54:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Gloriosa
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Friends' blogs
[Add Gloriosa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.