พระเจ้าจิกมี ซิงเย วังชุก แห่ง ราชอาณาจักรภูฏาน ครั้งที่ 3




The Druk Gyalpo พระเจ้าจิกเม่ สิงหเย วังชุก


ประสูติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1955 ใน พระราชวัง Dechenchholing เมืองทิมพู ประเทศราชอาณาจักรภูฏาน จากนั้นได้เข้ารับการศึกษาภายในประเทศ และ ประเทศสหราชอาณาจักร



ต่อมาในปี 1972 เจ้าชายจิกเม่ สิงหเย วังชุก ได้เข้ามาศึกษาเกี่ยวกับพระราชภาระกิจตามพระบัญชาของพระบิดา พระเจ้า จิกเม่ ดอร์จี วังชุก และได้รับการสถาปนาเป็นมกุฏราชกุมาร จากนั้นเพียงไม่กี่เดือน พระเจ้าจิกเม่ ดอร์จี วังชุก ได้เสด็จสวรรคต เจ้าชายจิกเม่ สิงหเย วังชุก จึงได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระบิดา บริหารประเทศภายใต้ผู้แทนพระองค์



สองปีต่อจากนั้น ในปี 1974 พระเจ้าจิกเม่ สิงหเย วังชุก จึงได้ทำพิธีขึ้นครองราชสมบัติแห่งประเทศราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ



ในปี 1979 พระเจ้าจิกเม่ สิงหเย วังชุกได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสอย่างไม่เป็นทางการกับ เจ้าหญิงสี่พระองค์ตามประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ



ต่อมาในปี 1988 จึงได้มีการจัดพิธีอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการอีกครั้งพร้อมแต่งตั้งพระชายาเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรภูฎานทั้งสี่พระองค์ และ แต่งตั้ง เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก พระโอรสองค์โต เป็นมกุฏราชกุมาร



ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการที่เปิดเผยต่อชาวโลกครั้งนี้เอง เป็นครั้งแรกที่ผู้คนได้รับทราบว่า พระเจ้าจิกเม่ สิงหเย วังชุก ทรงประทับอยู่ ณ เรือนหลังเล็กส่วนพระองค์ แยกต่างหากจากพระราชินีทั้งสี่ ซึ่งมีพระราชวังของพระองค์เองทั้งสี่พระองค์ และ มิได้พำนักในพระราชวัง Tashichhodzong อันงดงามแห่งเมืองทิมพู แต่จะเสด็จไปพำนักตามพระราชวังทั้งหลายเป็นครั้งคราว





ทฤษฎีหลักที่พระเจ้าจิกเม สิงหเย วังชุก ทรงประกาศยึดถือเป็นหลักในปกครองประเทศแห่งดินแดนหิมาลัยแห่งนี้ เป็นที่ทราบกันดีคือ หลักเกณฑ์ "Gross National Happiness" หรือ GHP ที่ตรงกันข้ามกับการวัดระดับความเจริญของประเทศตามแบบประเทศตะวันตกด้วย "Gross National Product" หรือ GDP "Gross National Happiness" หรือ GHP นี้คือ หลักการวัดการพัฒนาของประเทศจากความสุขมวลรวมของประชาชาติ ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและคงรักษาจิตวิญญาณวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศไว้






ประการสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้พระองค์เป็นที่ยอมรับของประชาชนชาวภูฏานและทำให้ข้าราชการภายในประเทศยำเกรง นั่นคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงตัวพระองค์ได้อย่างไม่ถือพระองค์ ในการทำเรื่อง "การทูลเกล้าถวายฎีการ้องทุกข์" ด้วยเหตุนี้ ทำให้ประชาชนชาวภูฏานมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์และสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูงสุด



นับแต่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี 1972 เป็นต้นมา พระเจ้าจิกเม่ สิงหเย วังชุก ประเทศภูฏานได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีการเพิ่มพูนรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศ



ในปี 1988 ได้ทรงเน้นย้ำถึงความเป็นประเทศชาติวัฒนธรรมอันเข้มแข็งของชาวภูฏาน ตามหลักการของพระองค์ พระองค์ประกาศหลักการให้ประชาชนชาวภูฏานแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ คือผู้ชายต้องสวมชุด โค Kho และผู้หญิงสวมชุด Kira และกำหนดให้มีการสอนภาษา Dzongkha อันเป็นภาษาประจำชาติในโรงเรียนทั่วประเทศ



ในปี 1998 ทรงปรับเปลี่ยนระบอบการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เดิมทีทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด Absolute Power มาเป็นการบริหารราชการแผ่นดินผ่านคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระองค์ (the Council of Ministers ) อาทิ การบริหารทางด้านการปกครองท้องถิ่น



และในปี 2003 นี่เองที่ประเทศราชอาณาจักรภูฏานได้ดำเนินการทางทหารขับไล่ผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ จนกลายเป็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนกับทางสหประชาชาติ ที่ทำให้พระองค์ต้องเดินทางระหว่างประเทศบ่อยครั้ง เพื่อหาจุดยืนบางประการเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว



ปี 2005 ได้ทรงจัดทำร่าง รัฐธรรมนูญของประเทศราชอาณาจักรภูฏานขึ้นมา และกำหนดประกาศให้มีผลบังคับใช้ในปี 2008 โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศภูฏาน จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข



นอกจากนั้นพระองค์ได้สร้างความประหลาดใจแก่ชาวโลก ในปี 2005 ที่ผ่านมา ที่ทรงประกาศจะสละราชสมบัติในปี 2008 โดยให้ เจ้าชายจิกเม เคซาร์ นัมเกล วังชุก มกุฏราชกุมาร เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก ภายใต้รัฐธรรมนูญ




ในขณะนี้รัฐบาลประเทศภูฏานจึงได้มีการรณรงค์เรื่องการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนชาวภูฏานมีความคุ้นเคยกับการใช้สิทธิเสรีภาพตามระบอบการปกครองแบบใหม่ ให้ทันเวลาภายในสองปีข้างหน้า







จะเห็นได้ว่า ตลอดรัชสมัย 34 ปีที่ทรงครองราชย์ การบริหารประเทศราชอาณาจักรภูฏานมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยพระองค์ทรงใช้หลักการในการ ทดลอง experiment มาใช้ในการปกครองประเทศ ไม่เคยหยุดนิ่ง

นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงเล็งเห็นเส้นทางการพัฒนาของประเทศในแง่มุมของการลงทุนระหว่างประเทศ อินเดียกับภูฏาน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและสนุบสนุนกันอย่างแน่นแฟ้น อินเดียให้ความร่วมมือทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา หรือแม้แต่ความช่วยเหลือทางทหารต่อประเทศเล็กๆแห่งหิมาลัยประเทศนี้



ในวันที่ 27 กค. 2006 พระเจ้าจิกเม่ สิงหเย วังชุก ได้เสด็จไปลงนามเพื่อต่อสัญญาเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านพลังงานกับทางประเทศอินเดียอีกสิบปี หลังจากสัญญาฉบับดังกล่าวได้สิ้นสุดลงไปแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา



ดังนั้น ภายหลังจากการประกาศสละราชสมบัติในปี 2008 ประเทศรอบข้างควรจับตาดูการเปลี่ยนแปลงของประเทศราชอาณาจักรภูฏานอย่างระมัดระวัง ในจังหวะการก้าวลงจากบัลลังก์มังกรสายฟ้าของพระมหากษัตริย์ผู้เปรียบเสมือนรัฐบุรุษ และ ทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพเฉียบแหลมผู้นี้



...เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับทดลองของภูฏานได้รับการประกาศใช้....
พระองค์จะสร้างปรากฏการณ์ใดให้โลกได้ตื่นตะลึงอีก.....ไม่มีผู้ใด คาดเดา พระเจ้าจิกเม่ สิงหเย วังชุก The Statemanship and wisdom พระองค์นี้ได้เลย....

29/07/2006



อ้างอิง
//www.photius.com/countries/bhutan/government.html
//www.bhutanmajestictravel.com/100_years_of_monarchy.html
//www.hindu.com/2005/12/30/stories/2005123003011000.htm



Create Date : 29 กรกฎาคม 2549
Last Update : 2 กันยายน 2549 10:29:10 น.
Counter : 4541 Pageviews.

8 comments
  


(ไม่มีคำบรรยาย)
โดย: สายลมอิสระ วันที่: 31 กรกฎาคม 2549 เวลา:18:20:20 น.
  
โอ้ววววว สุดยอดมากๆ ค่ะ ขอบคุณมากมายสำหรับเรื่องราวดีๆ

เราว่าต่อให้คุณโตมิโตฯ ประกาศว่าไม่ให้เผยแพร่

อาจมีมือดีเผยแพร่นะคะ แนะนำให้ใส่โค้ดกันก็อปปี้อะค่ะ



แหะๆ มีคนบอกอยากกินหัวเราสองคนแล้วง่ะ

แต่เราชอบรูปนั้นมากๆ นะคะ เราว่ามันฮาดี
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 1 สิงหาคม 2549 เวลา:11:45:50 น.
  
....อิอิ.....รูปนั้นมันน่ารับประทานจริงๆนี่ค๊า....คุณสาวไกด์ ก็ช่าง ทามปายด้าย

เรื่องลงโค้ดนั้น บ๊อกนี้ลงไปแล้วระดับหนึ่งค่ะ ห้ามลอก
แต่ยังแก้ในส่วนของเซิร์ฟเว่อร์ไม่ได้ เพราะ ทำไปไม่ถึง กลัวเวบมาสเตอร์ของบ๊อกแก๊ง จะดีดเอา
โดย: โตมิโต กรูโชว์ดะ IP: 58.9.199.210 วันที่: 1 สิงหาคม 2549 เวลา:23:10:38 น.
  
ตามมากรี๊ดอีกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

พระองค์ท่านหน้าตามีอำนาจเหลือเกิน ...เกินห้ามใจไม่หวายยย

มีอีกมั้ยพี่ กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดตบท้ายอีกทีนะคะ

โดย: หยกค๊า IP: 68.227.55.7 วันที่: 2 สิงหาคม 2549 เวลา:10:05:43 น.
  
....จะพยายามหาค่า..คุณน้องขา....

เวลานี้ คุณพี่นะ....หัวใจบินปร๋อออไปภูฐานแล้ว.....แง๊ อยากไปขอลายเซ็นต์
โดย: โตมิโตฯ (ผู้ท้าทายราชภัย) IP: 202.57.168.24 วันที่: 2 สิงหาคม 2549 เวลา:14:01:36 น.
  
พระองค์ท่านหล่อค่ะ แต่พระเกศาน้อยไปหน่อยนะ - -!
โดย: Elenthari IP: 58.9.142.127 วันที่: 28 ตุลาคม 2549 เวลา:15:56:33 น.
  
เนื้อหาดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆครับ
เพน้องงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง
โดย: ฮันเยจิน IP: 124.121.156.42 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:10:35:49 น.
  
อ่านแล้วรู้สึกขนลุกค่ะ ทึ่งในพระอัจริยภาพมาก ทรงเก่งมากค่ะ
โดย: arnancha IP: 58.9.209.211 วันที่: 14 ตุลาคม 2554 เวลา:7:21:49 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

โตมิโต กูโชว์ดะ
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ร่างทรงของ "วรรณวรรธน์" โปรดอย่าถามว่าเป็นใครในอดีต รู้แต่ว่าตอนนี้ยังมีลมหายใจอยู่ เท่านั้นก็มากเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งได้รู้จักกันแล้ว
New Comments
กรกฏาคม 2549

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog