สอนจระเข้ว่ายน้ำ


การวิจารณ์ คนอ่านชอบ คนเขียนหน้าใหม่อยากได้ เพระาเหมือนโปรโมทงาน แต่พออยู่ๆไปจะรู้ว่า...ถ้าไม่เปิดใจกว้างจริงๆ คุณจะอยู่กับมันอย่างหน้าชื่นอกตรม คนเขียนงานที่อยู่ได้ทุกวันนี้ ล้มลุกคลุกคลานกับบทวิจารณ์มานักต่อนัก ทำไมกันหนอ

การวิจารณ์งานเขียนก็เป็นสิ่งที่ ทั้งคนเขียนและคนอ่าน ก็คงอยากฟังจากนักวิจารณ์หนังสือ มากกว่า แต่หลายครั้งเราจะได้ยินแค่คำบอกเล่าว่า หนังสือเรื่องนั้น เป็นเรื่องอะไร จบแฮปปี้ไหม หรือ...หนุกไหม....เพราะแค่บอกกล่าวพวกนั้น มันเหมือนกับ คำโฆษณาชวนเชื่อเวลาที่เราเดินไปถามพนักงานขายในบู้ทงานสัปดาห์

บางครั้งเราเจอการวิจารณ์งานชนิดสับเละ จนเรายังสงสัยว่าตัวเองเขียนมาไม่ได้อยากให้เขาคิดแบบนั้นเลย...แต่เขาเข้าใจมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ จนอาจกลายเป็นเรื่องไม่มองหน้า

เราเจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยเหลือเกินในเนต...จนเราเริ่มสับสนแล้วว่า เราควรจะหังใครพูดถึงหนังสืออย่างไรดี ....แต่กระนั้น เราก็ยังไม่หยุดที่จะเปิดหาอ่านการวิจารณ์ในเนตต่อไป เพราะว่าในเนตมีการพูดถึงหนังสือ มากกว่า สื่อตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร

เพราะบทวิจารณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ วิจารณ์หนังสือ...มันหมดไปกับ หนังสือในสัดส่วนของ สนพ.ยักษ์ใหญ่ การวิจารณืพวกนั้นมันมุ่ง เพื่อการโปรโมท ทำกำไรของสำนักพิมพ์ มากกว่าจะมุ่งหวังทำไปเพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสืออย่างแท้จริง


แต่วิธีการที่จะวิจารณ์ เราจะทำได้อย่างไร คนในเนต ก็ล้วนแต่เป็นนักอ่าน ที่อยากวิจารณ์ ส่วนตัว ก็เคยคิดอยากเป็นนักวิจารณ์กับเขา ได้อ่านหนังสือเรื่อง "ทางไปสู่วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์" ของ อ.เจตนา นาควัชระ ซึงก็แทบไม่เคยเห็นหนังสือของคนไทยกล่าวถึงเรื่องของการวิจารณ์งานศิลปะ หรืองานวรรณกรรม อีก นอกจากไปเก็บตำราเมืองนอกมาอ่าน อ่านแล้วก็ทำให้ความคิดอยากทำงานวิจารณ์มันหายไปหมด เพราะรู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึง อีกทั้งยังมีความเกรงใจเพื่อนร่วมอาชีพอยู่มาก.....พูดไป โดนยิงถล่มM 79 55555

แล้วอย่างนี้จะมีคนสนใจเขียนงานกันเยอะแยะได้อย่างไร จริงไหมคะ อันที่จริงหากเราวิจารณ์อย่างเป็นระบบที่ดี มันก็สามารถส่งเสริมการเขียนงานทีีดีให้เกิดขึ้นได้เหมือนกัน ......อยากไปยึดติดกับระบบพวกมากลากกัน หรือ ระบบเชียร์กันตาม สนพ. หรือพอมีใครเสี่ยงตายหาญกล้าวิจารณ์แหกคอกมาสักคน ก็....เผชิญกับมรสุมชีวิตดินฟ้าอากาศ ปรวนแปร กันไป หากเขาวิจารณ์อย่างมีเหตุผล ก็รับฟังกันบ้าง หูไว้หู แล้วจะได้ช่วยกันพัฒนา การวิจารณ์ หรือพัฒนาการเขียนงานบ้านเราให้เติบโตตามตลาดกันไป


แล้วอย่างไร ถึงจะเรียกว่า การวิจารณ์ที่ดีีละคะ....

บอกไม่ถูกเหมือนกันค่ะ เพราะตัวเองก็ไม่ได้เรียนมาทางนี้...จะมาทำเป็นวางตัวเท่ากูรูทางวิจารณ์ก็ไม่ใช่ แต่เขียนบ่นๆตามบล๊อคบ้าของตัวเองไปอย่างนั้น พูดไม่ดีก็เจอ อี๊ แปะบล๊อค เหมือนอย่างที่เคยตามลบๆๆไป แต่ก็คิดว่าเดี๋ยวก็มีมาอีก ก็ตามลบอีก .....ถือคติ อันอวบโตเป็นเสาไฟฟ้าสูงใหญ่ได้ฉันใด ก็ย่อมมี หมามาฉี่รดเสาไฟฟ้าได้ในฉันนั้น 555 เครียดไปก็ฉี่เหลืองเปล่าๆ


แต่ที่แน่ๆ การวิจารณ์งานนิยายมันมีบรรทัดฐาน ของมันอยู่หมือนกันค่ะ
ลองดูแนวทางที่อยากนำเสนอไว้ นะคะ

การประเมินโดยพิจารณาจากรูปเล่ม นวนิยาย
1.ชื่อเสียงของสำนักพิมพ์
2.ราคา
3.การแนะนำและวิจารณ์
4.รายชื่อนวนิยายที่เป็นมาตรฐาน (ในแนวเรื่องใกล้เคียงกัน)

ประเมินค่าด้านอื่นๆอย่างละเอียด--
1.โครงเรื่อง
2.ตัวละคร
3.บทสนทนา
4.ทัศนคติของผู้ประพันธ์
5. ท่วงทำนองการแต่ง(สำนวน การไหลลื่นของภาษา)
6. คุณค่าที่ได้จากการอ่าน

โดย ยึดหลักการวิจารณ์หนังสือ ที่ว่า...เป็นการพิจารณาหนังสือแต่ละเล่มอย่างละเอียดถึงลักษณะ รูปเล่ม เนื้อเรื่อง และการเขียน เพื่อหาข้อดีและข้อบกพร่อง แล้วชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นคุณค่าของหนังสือเล่มนั้นๆว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร

ในการวิจารณ์ที่ดีนั้น ควรมีการรวบรวมสรุปอย่างกว้างๆ ครอบคลุมทุกๆประเด็น โดยอาศัยหลักการประเมินคุณค่าของหนังสือแต่ละประเภท

ควรมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นในสาขาวิชาหรือหนังสือที่มีลักษณะเดียวกันด้วย


...ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับจากการวิจารณ์งานที่ดี จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจวรรณกรรมนั้นๆ ได้สะดวก ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาไปอ่านงานนั้นเองเพื่อนำมาวิจารณ์ แต่อาจจะนำมาอ่านเพื่อวัตถุประสง๕์ตามชิ้นงานนั้นเลย เช่น อ่านเพื่อความบันเทิง อ่านเพื่อความรู้ เป็นต้น ทั้งการวิจารณ์งานที่ดีช่วยให้เกิดความรู้ ความคิดกว้างขวางในแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมนั้น ช่วยให้ผู้วิจารณ์เอง หรือนักอ่านรู้จักใช้วิจารณญาณของตนให้เป็นประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้เป็นผู้รอบคอบมีเหตุผล

ที่สำคัญ การวิจารณ์งานที่ดี ผู้วิจารณ์ควรคำนึงว่าเป็นการ ช่วยย่นย่อเวลาให้กับผู้อ่านที่ไม่มีเวลาศึกษาวรรณกรรมด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมนั้นเพิ่มเติม....เยี่ยมไปเลย ใช่ไหมคะ

ส่วนบางคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องของ การวิจารณ์ กับ การ บรรณนิทัศน์ อยากบอกว่า การวิจารณ์นั้น ลงลึกในเนื้อหา และวิเคราะห์และให้เกณฑ์มาตรฐานของชิ้นงาน แต่ บรรณนิทัศน์ (Annotation) คือ การบอกกล่าวให้ทราบถึงสาระหรือเนื้อเรื่องของเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือวัสดุแต่ละชิ้น เป็นเครื่องช่วยการตัดสินใจเลือกเอกสาร และยังเป็นเครื่องมือแจ้งให้แก่ผู้ใช้ทราบถึงคุณค่า สาระของหนังสือเล่มนั้นๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านและเป็นการช่วยแนะนำหนังสือเล่มนั้นๆๆ เพื่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อได้รวดเร็ว
ให้ผู้ที่ตัดสินใจจะซื้อสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้นได้อย่างรวดเร็ว

บล๊อคนี้อาจจะเป็นการสอนจระเข้ว่ายน้ำ แต่ที่เขียนมาทั้งหมด ก็เพราะเรา็เชื่อว่า ตะเภาแก้ว บางคนก็เบื่อท่าฟรีสไตล์ มาหัดว่ายท่ากรรเชียงบ้างก็ได้

....หวังว่า ใครที่หลงเข้ามาอ่าน ก็น่าจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ

เรามาช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในการวิจารณ์ ให้เป็นการวิจารณ์เพื่อคนอ่านและคนเขียนอย่างเป็นจริงกันด้วยเถิดค่ะ



Create Date : 21 เมษายน 2552
Last Update : 21 เมษายน 2552 13:58:52 น.
Counter : 2606 Pageviews.

14 comments
  

ได้เวลาร่วมลุ้นร่วมเชียร์แล้วค่ะ!!

ขอเชิญชวนร่วมโหวด นางงามวุ้นไทยที่บ้านแพรวานะคะ

ปิดรับการดหวดวันที่ 21 เวลาเที่ยวคืนค่ะ




โดย: praewa cute วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:19:17:15 น.
  
เท่าที่ประสบพบเจอกับตัวเอง

"บางคน" ไม่ค่อยกล้ายอมรับคำวิจารณ์เท่าไหร่นะ แล้วมันดันเจอ ประโยคต่อมาว่า "แล้วเขียนได้อย่างที่วิจารณ์หรือเปล่าละ" เอาละซิ...ที่นี่เลยไม่รู้จะอธิบายยังไง ว่าระหว่างคนเขียนกับคนวิจารณ์ คนละหน้าที่กัน
โดย: สายลมอิสระ วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:19:25:01 น.
  





ขอความช่วยเหลือด่วนคับ
คุณพ่อของเพื่อนเรา คุณอุ๊
กำลังรอรับการผ่าตัด
หลอดเลือดหัวใจ
ต้องการเลือดกรุ๊บ
group B (Rh-)


โดย: พลังชีวิต วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:19:31:34 น.
  
ไม่กล้าวิจารณ์ใครเหมือนกันค่ะ
ทั้งๆที่บางทีก็อยาก
แต่ก็กลัวโดนย้อนเหมือนความเห็นที่ 2
โดย: ปณาลี วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:19:53:39 น.
  
ตัวเราเองไม่เคยคิดว่าการที่เราเขียนเกี่ยวกับหนังสือที่เราอ่านเป็นการวิจารณ์เลยนะ เพราะเราไม่มีความรู้และความสามารถขนาดนั้น

เราคิดว่าการเขียนของเราเป็นเหมือนกับการแสดงความคิดของเราว่า เราชอบหรือไม่ชอบหนังสือเรื่องนี้ตรงไหน และยังไงมากกว่า

เราไม่เคยคิดว่าหนังสือที่เราชอบ หมายถึงหนังสือที่เขียนดี มีคุณภาพ สำหรับตัวเราแล้ว หนังสือที่เราชอบคือหนังสือที่เราอ่านแล้วสนุกค่ะ

เพราะงั้นเราไม่คิดว่าเราเป็นนักวิจารณ์หรอกค่ะ เพราะเราเป็นแค่คนชอบอ่านหนังสือที่ชอบคุยโม้มากกว่าค่ะ อิอิ..







โดย: โอ-พิน (o_pinP ) วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:21:25:59 น.
  

กรณีนี้อยากให้ไปดูเรื่องRatatouille พูดถึงการวิจารณ์ได้คมมาก เล่นเอาอิฉันน้ำตาซึม ฉากที่นักวิจารณ์เขียนบทวิจารณ์นั่นแหละค่ะ ขนาดชื่อตัวละครEgoยังเสียดสีเลยค่ะ
การวิจารณ์ในบ้านเรายึดติดกับรสนิยมส่วนตัวของผู้วิจารณ์มากค่ะ เหมือนที่ห้องเฉลิมไทยมีประโยคที่ว่า"หนังดีคือหนังที่ชอบ" ขนาดอิฉันเขียนนิยายแค่เรื่องเดียวคำวิจารณ์จากคนอ่านนี่ก็ทำให้หงายหลังได้เลยค่ะ แต่ทำอย่างไรได้เล่าในเมื่อเลือกเดินเส้นทางสายนี้แล้ว

ถ้าคำวิจารณ์นั้นระคายหูก็อย่าไปดูไปอ่านเลยค่ะ มีกันทุกวงการอยู่แล้ว ในเมืองนอกยิ่งเผ็ดร้อนกว่านี้อีก แต่จะว่าไปวัฒนธรรมการวิจารณ์ของเมืองไทยมันก็ยังไร้ระเบียบอยู่ดีนั่นแหละ ไม่เป็นไรหรอกค่ะถ้าเขาวิจารณ์ก็แสดงว่าเขาอ่านงานของเราแล้ว นี่ขนาดคนเขียนหนังสือข้อมูลแน่นอย่างเจ้าของบล็อกยังโดนวิจารณ์ แล้วเด็กๆที่เขียนนิยายรักใสๆจะไม่ยิ่งโดนมากกว่าเหรอคะ
โดย: จโกระ&ลาชา วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:2:06:49 น.
  
ขอบคุณค่ะ..จะอ่านและจำไว้

ส่วนตัว..ไม่กล้าวิจารณ์หรอกค่ะ
แต่จะรีวิวแล้วบอกว่าชอบหรือไม่ชอบมากกว่า
และออกตัวไว้ว่าหนังสือที่ดีสำหรับเราคือหนังสือที่เราชอบ



โดย: nikanda วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:4:37:42 น.
  
ไอซ์ไม่ค่อยได้อ่านบทวิจารณ์งานเขียนในหนังสือหรือนิตยสารสักเท่าไหร่ ขอเว้นไว้ไม่พูดถึงนะคะ


ส่วนตามเว็บไซต์และบล็อกต่างๆ อย่างเช่นใน bloggang นี่ เกือบทั้งหมด ((ขอใช้คำว่า "เกือบ" เพราะไม่ได้อ่านทุกบล็อก)) เป็นการ "บอกความรู้สึกส่วนตัว" ค่ะ ไม่ใช่วิจารณ์


สไตล์การเขียนก็แล้วแต่คน บางคนก็เกริ่นคร่าวๆ แล้วก็บอกความรู้สึกว่าอ่านแล้วเป็นอย่างไร ชอบไม่ชอบตรงไหน ละเอียดมากน้อยก็แตกต่างกันไป


ถึงจะใช้คำว่า "รีวิว (review)" ก็ไม่ได้แปลตรงตัวว่า "วิจารณ์" หรอกค่ะ ^^"


....


หลายปีก่อนตอนที่ไอซ์ยังเล่นอยู่ที่ถนนนักเขียนอยู่ ได้มีโอกาสสนิทกับพี่ที่เรียนด้าน literature โดยตรงหลายคน พี่ๆ เหล่านั้นใจดีมากๆ คอยสอนผ่าน icq ((โบราณจัด ฮา)) ถึงเรื่องต่างๆ

ไอซ์ได้หัดวิจารณ์งานตั้งแต่ตอนนั้นเลยค่ะ

จะเริ่มต้นวิเคราะห์ก่อนเลยว่า งานชิ้นนั้นเป็นงานแนวไหน ((คืนครูไปหมดแล้ว ฮา จะได้แต่ Romantic กับ Postmodern 555))

ธีมเรื่อง สิ่งที่ต้องการนำเสนอคืออะไร

แล้วก็ไล่ใหม่เลยคล้ายๆ กับที่พี่โตมิฯ เขียนไว้ข้างบน

1.โครงเรื่อง
2.ตัวละคร
3.บทสนทนา / สำนวน

คุณค่าที่ได้จากการอ่านนี่ ละไว้ค่ะ เพราะแต่ละคนตี "คุณค่า" ได้ไม่เหมือนกัน

แล้วก็ดูว่า ในแต่ละส่วนเป็นอย่างไร ด้วยใจที่เป็นกลางที่สุด ((แต่แน่นอนว่า "จริต" และ "ความชอบ" มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฮา))


เมื่อก่อนตอนที่ "คนอยากเขียน" ไม่ได้แปะงานเพื่อโปรโมท และงานก็ไม่ได้รับการตีพิมพ์ง่ายๆ เหมือนสมัยนี้นี่ ไอซ์ทำวิจารณ์ให้งานเขียนในถนนฯ บ่อยค่ะ

บรรยากาศในถนนฯ สมัยโน้นไม่เหมือนตอนนี้ค่ะ แต่ละคนเอางานเขียนมาแปะเพราะอยากได้รับคำวิจารณ์จริงๆ

ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ดีมากๆ สำหรับคนถูกวิจารณ์และคนวิจารณ์ คนวิจารณ์สามารถมองจุดแข็งและจุดอ่อนของคนอื่นได้ชัดเจนและนำไปปรับใช้กับงานของตัวเองในอนาคตได้


งานวิจารณ์ที่ดีเป็นอย่างไร?

ในส่วนตัวของไอซ์ งานวิจารณ์ที่ดีคือ งานวิจารณ์ที่ชี้จุดอ่อนและจุดแข็งของงานในแต่ละด้านได้อย่างชัดเจน คนถูกวิจารณ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถนำไปพัฒนาฝีมือของตัวเองได้

งานวิจารณ์ที่ดี ไม่ใช่การ "จิก" ในจุดบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ จนกลบภาพใหญ่ไปทั้งหมด


...


หลังๆ นี่ไม่ทำแล้วค่ะ นอกจากว่าจะมีคนรู้จักกันขอให้ดูเรื่องให้ เพราะ...ใช้เวลาเยอะมาก และบอกตรงๆ ค่ะ ไม่ใช่ว่านักเขียนทุกคนจะอยากได้รับบทวิจารณ์ประมาณนี้

เชื่อค่ะว่า นักเขียนแต่ละคนรู้อยู่แก่ใจว่า งานเขียนของตัวเองแต่ละชิ้นดีหรือไม่ดีอย่างไร มีจุดบกพร่องแค่ไหน


...


เขียนมาตั้งยาว เลยอยากจะบอกว่า อ่านรีวิวจากที่ต่างๆ แล้วอย่าเครียดมากค่ะ สิ่งที่เห็นว่าใช่ก็เก็บมาใช้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ ก็ปล่อยไป

มีบ่อยไปค่ะที่คนอ่านตีความห่างจากคนเขียนไปเป็นโยชน์ ก็...ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนต่างกันน่ะค่ะ


((แต่...ถึงจะพูดอย่างนี้ ส่วนตัวก็ทำไม่ค่อยได้นะคะ เจอคำรีวิวที่ไม่ดี แถมบางทีเข้าใจผิดจากสิ่งที่ต้องการเสนอไปไกล ก็พาเอาจิตตกไปเหมือนกัน ฮา))

โดย: Clear Ice วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:8:20:39 น.
  
ส่วนตัวแล้วสำหรับเราคงไม่ถึงขั้นวิจารณ์เพราะยังไม่สามารถขนาดนั้น แต่เรียกว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นมากกว่า แล้วก็เป็นความคิดเห็นจากความชอบส่วนตัวซะด้วย ก็เลยจะแค่เขียนๆ ระบายๆ ลงบลอกตัวเอง ไม่คิดว่ามันจะมีประโยชน์อะไรกับคนเขียน แต่น่าจะพอเป็นแนวทางสำหรับคนอยากจะอ่านบ้าง (มั้ง) 55555



แต่จากล่าสุดอิชั้นก็เชียร์ให้เพื่อนซื้อฤกษ์สังหารไปอ่านจนได้ โดนมันขู่เล็กน้อย "ถ้าไม่สนุก แกรับผิดชอบ" 5555 แล้วจะรู้ว่ามันจะต้องไปตามซื้อเส้นทรายสีเงามาอ่านอีก วะ ฮะ ฮ่า
โดย: หัวใจสีชมพู วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:8:59:02 น.
  
ตอนหลังนี้ตัวเองได้คิดว่า การวิจารณ์ ติชม หรือแสดงความเห็น
มันเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าค่ะ

มันคือการพูด การใช้วาจา และย่อมไม่สามารถแยกความรู้สึกส่วนตัวออกไปได้เด็ดขาด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเชิงวิชาการ หรือ แค่บอกเพื่อนๆ ว่าสนุกหรือไม่ มันก็อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือการสื่อสารความคิด ความรู้สึกของคน

ถ้าเป็นคนที่อยากแยกแยะ มองงานวรรณกรรมอย่างละเอียดเพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการ เค้าก็จะวิจารณ์อย่างมีหลักเกณฑ์ มีรายละเอียด คนที่อ่านก็ได้ประโยชน์ หากอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น "โดยไม่ต้องอ่าน" ก็ได้

แต่คนที่บอกเพื่อนๆ ว่าชอบ ไม่ชอบ หนุกไม่หนุก ก็คือนักอ่าน แต่ไม่ใช่นักวิเคราะห์ ความเห็นแบบนี้ก็ช่วยให้คนที่คิดจะซื้อ(คือนักอ่านเพื่อความบันเทิงเหมือนๆ กัน)ได้รู้ความรู้สึกคร่าวๆ และ ลองไปซื้อมาอ่าน ซึ่งนักอ่านประเภทนี้ก็ไม่ต้องการการวิเคราะห์เจาะลึกถึงเนื้อเรื่อง เพราะเดี๋ยวสปอยล์อ่านไม่สนุกอีกเหมือนกันค่ะ

และถ้าลองซื้อตามที่คนนี้บอกว่าสนุกแล้ว ไม่สนุก ต่อไปก็รู้ว่า ความเห็นของคนนี้ ไม่ตรงกับเรา ชอบไม่เหมือนกัน
เราก็จะไปฟังความเห็นคนที่ชอบเหมือนกัน เอามาเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ แทนคนเดิม

ในทางตรงข้าม ถ้าคนนี้ด่าเล่มนี้ซะเหลือเกิน แต่วันหนึ่งเราได้มีโอกาสไปอ่านแล้ว กลับชอบ ก็รู้ว่า รสนิยมของคนนี้ไม่เหมือนเราอีกเช่นกัน เราะก็เลิกฟังเขา

คนเป็นอย่างไร พูดจาอย่างไร ก็ดึงดูดคนที่มีรสนิยมเหมือนๆ กัน
และนักวิจารณ์ ก็คือคนที่แสดงความเห็นคนหนึ่งเท่านั้น เช่นเดียวกับนักเขียน ก็เป็น คนๆ หนึ่งเช่นกัน แต่ชอบที่จะเล่าเรื่อง

บางคน ไม่เข้าใจและหลงลืมไป คิดว่า เขาสวมหมวก "ลูกค้า" และ "นักวิจารณ์" แล้วหลงลืมความเป็นคน ที่มีจิตใจ ของทั้งตนเอง และผู้ถูกวิจารณ์ คิดว่าเธอขายของก็ต้องทนทุกคำพูดของคนซื้อ (ตามแนวคิดตะวันตก) ทำให้ ลดความรู้สึกเกรงใจ แสดงความคิดเห็นรุนแรงไปบ้าง คนถึงกับไม่มองหน้ากัน อย่างที่จขบ.ว่านั่นเอง

ตอนหลังจะเขียนถึงหนังสือ ตัวเองก็ต้องระวังมากขึ้นเหมือนกันค่ะ ต้องคิดว่า กำลังพูดให้คนเขียนฟังเลย และคนเขียนนั้นก็เป็นเหมือนเพื่อนคนหนึ่ง มีหัวจิตหัวใจด้วย เค้าอาจเสียกำลังใจ เสียใจ หรือหมดไฟเขียนไปเลยเพราะคำพูดที่ไม่ตั้งใจของเราก็ได้ ถ้าจะติงก็ต้องติงด้วย ความหวังดี และในอารมณ์ที่ดี ไม่งั้นอาจมีโกรธกัน

ต้องคิดว่า เหมือนเราไปร้านอาหาร แม่ครัวทำรสไม่ถูกใจ ไม่อร่อย ก็ไม่มีใครไปเรียกแม่ครัวออกมาว่า จริงไหมคะ เราก็แค่เก็บความรู้สึกไว้ในใจแล้วไปร้านอื่น (ถ้าไปเรียกแม่ครัวมาต่อว่าจริงๆ อาจเจอด่ากลับได้เหมือนกัน)

การวิจารณ์ในอินเตอร์เน็ตมันเหมือนกับการพูดลอยๆ ซึ่งเค้าอาจมาได้ยินก็ได้ ดังนั้นก็ต้องระวังเหมือนกัน ถ้าไม่อยากถูกใครไม่ชอบเอา

เคยเห็นคนที่แสดงความเห็นดีๆ หลายคน เวลาเค้าไม่ชอบอะไรเค้าก็มักบอกแค่ว่า ส่วนตัวไม่ประทับใจมาก ชอบตรงไหน ไม่ชอบตรงไหน ชี้จุดที่ไม่ชอบพอสังเขป (ไม่ใช่ จิกในจุดบกพร่องเล็กน้อยจนลบภาพใหญ่ไป อย่างที่คุณไอซ์ว่า) การวิจารณ์ที่ดี ไม่ทำร้ายทั้งคนเขียนและยอดขาย ในขณะที่ยังคงความเป็นกลางในการติชมอย่างจริงใจไว้ ได้ด้วย คนเขียนก็ได้ประโยชน์ รู้จุดบกพร่องโดยไม่ช้ำใจ คนอื่นๆ ก็ได้ประโยชน์เช่นกัน อย่างนั้นน่าจะดีนะคะ


โดย: ศรีสุรางค์ วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:11:07:54 น.
  
อื้มมมม

เราไม่เคยเรียกงานรีวิวตัวเองว่าการวิจารณ์ได้เต็มปากหรอกค่ะ

เรียกว่ารีวิว เขียนความรู้สึกที่ได้อ่านมากกว่า

เพราะรู้ว่า การวิจารณ์ที่แท้จริงน่ะ ต้องละเอียดมากๆ ซึ่งบางที..มันไม่เหมาะกับบล็อกเรานัก แล้วก็..ขี้เกียจเกินกว่าจะทำ 555+ (ถ้าไม่ได้ทำงานแล้วเรียนหนังสืออยู่คงจะพอมีเวลาทำได้ค่ะ)

แต่เวลาอ่านการวิจารณ์หรือรีวิว ก็ต้องทำใจส่วนหนึ่งด้วยนะคะ เพราะมันอดเอารสนิยมตัวเองไปใส่ไว้ไม่ได้หรอก

ซึ่งรสนิยมแต่ละคน มันก็ทำให้มีเกณฑ์การตัดสินว่าอะไรดี-ไม่ดีต่างกันน่ะค่ะ
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:12:58:25 น.
  
การวิจารณ์ ? ฟังดูเหมาะจะใช้กับคนที่ร่ำเรียนหรือมีความชำนาญในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะมากกว่านะคะ แต่อย่างที่จิ๊บเคยอ่าน หรือเขียนมาบ้าง จะเป็นการบอกเล่าความรู้สึกส่วนตัวหลังการอ่านซะมากกว่า มิหาญกล้าวิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นขอรับ
โดย: Kitsunegari วันที่: 28 เมษายน 2552 เวลา:16:51:37 น.
  
แวะมาเยี่ยมบลอคเจ้าป้าค่ะ
พอพูดถึงการวิจารณ์ก็ทำให้ได้แง่คิดในการรีวิวนิยายมากขึ้น
ขอบคุรมากค่ะ
โดย: โรส (lekouy ) วันที่: 21 ตุลาคม 2552 เวลา:17:46:52 น.
  
My frontal lace wigs https://youtu.be/3KO3e4I3_24 are truly lovely. Its wonderful and roomy.worth the rate.
โดย: frontal lace wigs IP: 188.40.113.83 วันที่: 14 มกราคม 2563 เวลา:16:02:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

โตมิโต กูโชว์ดะ
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ร่างทรงของ "วรรณวรรธน์" โปรดอย่าถามว่าเป็นใครในอดีต รู้แต่ว่าตอนนี้ยังมีลมหายใจอยู่ เท่านั้นก็มากเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งได้รู้จักกันแล้ว
New Comments
เมษายน 2552

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30