Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 

กลับไปอีกครั้ง .. กับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ .. ภาคจบ ..

| ภาคแรก | ภาคจบ |

ในเอนทรี่ก่อนทิ้งท้ายเอาไว้ว่า จะพาไปชมอาคาร 2 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และอาคาร 3 พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งต้องเดินออกจากอาคาร 1 ที่เราเข้าชมไปเมื่อเอนทรี่ก่อนนั้น ผ่านไปทางลานจอดรถแล้วเข้าสู่อาคาร 2 โดยที่พื้นที่รอบๆ ก่อนเข้าสู่ตัวอาคารก็จะมีเหล่าบรรดาสัตว์เลื้อยคลานตัวใหญ่ยักษ์ที่ใช้ชีวิตครองโลกอยู่เมื่อ 65 ล้านปีล่วงมาแล้ว นำทีมโดยพระเอกรูปหล่อมาดเท่ห์ยอดฮิตของไทยเราอย่างสยามโมไทแรนนัส อิสานเอนซิส หรือว่าจะเป็นเจ้ายักษ์ใหญ่ใจดีอย่างภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน หรือแม้แต่เจ้าตัวเล็กสุดแสบอย่างเวโลซิแร็พเตอร์ มาจนถึงยุคต่อมาอย่างเสือเขี้ยวดาบ  และเมื่อยุคของไดโนเสาร์จากไป โลกก็ผ่านช่วงเวลาเข้ามาสู่ยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ได้วิวัฒนาการขึ้นมาครองโลกทดแทนกัน จนวิวัฒนาการล่าสุดมีมนุษย์ถ้ำในยุคต่างๆ ก่อนจะมาถึงจุดสุดท้ายกลายเป็นโฮโมเซเปี้ยน เซเปี้ยนในปัจจุบันนี้


สยามโมไทแรนนัส อิสานเอนซิส อยู่ในตอนต้นของยุดครีเตเชียส ขุดค้นพบในประเทศไทยของเราเองที่จังหวัดขอนแก่นครับ

จากตรงนี้ก็เข้าสู่ตัวอาคารที่มีการจัดแสดงโดยค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ตั้งแต่เริ่มกำเนิดของโลก จนเริ่มมีน้ำมีต้นไม้และเกิดสัตว์ในทะเล จนคืบคลานขึ้นมาสู่พื้นดินกลายเป็นไดโนเสาร์ และเข้าสู่วิกฤติมหันตภัยที่จบชิวิตของไดโนเสาร์ทุกตัวให้ล้มตายหายไปพร้อมๆ กันจนหมดทั้งโลก แล้วโลกต้องเข้าสู่ช่วงของการเริ่มซ่อมสร้างตัวเองจนเกิดชีวิตใหม่ที่ขึ้นมาทดแทน หากว่าเมื่อ 65 ล้านปีก่อนไม่เกิดมหันตภัยครั้งนั้น และเหล่าสัตว์เลื้อยคลานอย่างไดโนเสาร์ยังเดินเพ่นพ่านครองโลกใบนี้อยู่ กลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal) อาจไม่มีโอกาสได้วิวัฒนาการมาจนเป็นอย่างทุกวันนี้ รวมถึงมนุษย์ก็อาจจะไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยซ้ำ


ไปดูมนุษย์ถ้ำเสียหน่อย ..


ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ไดโนเสาร์คอยาว (ซอโรพอด)ขนาดกลางแห่งยุคครีเตเชียส เป็นชนิดแรกที่พบในประเทศไทย

เส้นแบ่งแห่งวิวัฒนาการเมื่อ 65 ล้านปีก่อนนั้น ช่วยแบ่งแยกยุคของเรากับยุคดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ออกจากกันและยังทำให้พวกเรามีตัวตนขึ้นได้จนถึงทุกวันนี้อีกด้วย ส่วนของด้านในอาคารนั้น การจัดให้เราเดินไปตามเส้นทางที่เป็นไปตามลำดับผ่านยุคสมัยต่างๆ ทำให้เราสามารถเข้าใจและมองเห็นภาพของวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ประจำตามจุดต่างๆ เพื่อคอยให้ข้อมูลความรู้กับเด็กๆ และผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดี

จากบรรทัดนี้ให้ภาพถ่ายและคำบรรยายช่วยเล่าเรื่องต่อเลยแล้วกันนะครับ

 
เข้าประตูมาก็ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานก่อนจะเข้าไปผ้านอุโมงค์กาลเวลา .. / เข้ามาชมวิดีทัศน์จำลองปรากฎการณ์การกำเนิดของโลกสีฟ้าใบนี้ครับ ตั้งแต่การก่อเกิดดวงอาทิตย์จนมาเป็นระบบสุริยะและดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบ

 
เดินเข้ามาก็เจอกับแผนภูมิขนาดใหญ่เต็มผนัง แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของชีวิต เป็นการศึกษาถึงเรื่องของอะตอมและโมเลกุลต่างๆ ที่รวมตัวกันก่อให้เกิดเป็นชีวิตเล็กๆ แล้วค่อยๆ วิวัฒนาการทีละเล็กทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานับหลายๆ ล้านปีจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้นอย่างเฉกเช่นในปัจจุบัน / เข้าสู่อุโมงค์แห่งกาลเวลาเพื่อย้อนไปดูวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในแต่ละยุคแต่ละสมัย

เอาล่ะไหนๆ เราก็พูดถึงเรื่องนี้กันแล้ว ผมก็จะลองเรียบเรียงลำดับของยุคต่างในแต่ละช่วงของวิวัฒนาการไว้ในเอนทรี่นี้เพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจซักหน่อยก็แล้วกัน ทราบไว้เป็นความรู้รอบตัวเอาไว้ไปเล่าให้ลูกๆ หลานๆ ฟังได้นะ  เพราะเด็กๆ แทบจะทุกคนจะชอบและให้ความสนใจกับเรื่องของไดโนเสาร์มากๆ ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน พอเล่าเรื่องเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ยุคน้ำแข็ง หรือยุคหินเมื่อไหร่ ลูกชายผมเป็นต้องเข้ามานั่งฟังอย่างสนอกสนใจ มีคำถามมาถามได้ไม่หยุดหย่อน แล้วก็ชอบให้เล่าให้ฟังอีกบ่อยๆ ด้วยนะ แม้ว่าจะเล่าเหมือนเดิมก็เถอะ (ก็เค้าได้ศึกษามาแล้วเขียนตำรับตำราออกมาแบบนั้น ไม่ว่าจะเล่าซักกี่ทีมันก็เหมือนเดิมนั่นแหละ .. แต่ก็ชอบฟังนะนั่น) มาเริ่มต้นกันเลยครับ ..


(ซ้าย) ภาพจาก //ontario-geofish.blogspot.com/2011/11/massive-permian-co2-spill-exactly-same.html
(ขวา) ภาพจาก //mail.colonial.net/~hkaiter/paleontology.html

อาจแตกต่างกันนิดหน่อยในช่วงปีของแต่ละยุคนะครับ ต่างสำนักต่างสถาบัน ไม่มีใครถูกทั้งหมดหรอกครับ การพิสูจน์ตัวอย่างฟอสซิลด้วยวิธีการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี หรือคาร์บอน-14 ซึ่งอาจจะยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เราไม่ใช่นักวิชาการก็เพียงแค่อาศัยดูไว้เป็นแนวทางแล้วก็สังเกตว่าแต่ละยุคมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้างเท่านั้นก็พอ หากสนใจในเรื่องนี้คงต้องศึกษาเพิ่มเติมกันอีกเยอะเลยทีเดียวล่ะ


(ซ้าย) ภาพจาก //www.geol.umd.edu/~tholtz/G102/102meso1.htm (ขวา) ยุคเมโสโซอิค ที่จัดแสดงในอาคาร 2

เริ่มต้นจากมหายุคพรีแคมเบรียน (Pre-Cambrian Era : ประมาณ 4,567 - 545 ล้านปีก่อน) ตั้งแต่กำเนิดโลกใบนี้ ที่โลกยังร้อนอยู่ มีแต่หินหลอมละลายเต็มไปหมด มีแต่ก๊าซพิษอยู่ทุกอณูของชั้นบรรยากาศ สภาพแวดล้อมของโลกยังไม่เหมาะสมกับการกำเนิดชิวิต จึงยังไม่มีชีวิตใดๆ จะสามารถมีชีวิตอยู่บนโลกในสภาพเช่นนั้นได้

จนมาสู่ยุคพาเลโอโซอิค (Paleozoic Era : 545 - 251 ล้านปีก่อน) ที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกิดจากการรวมตัวกันของโปรตีนในอะตอมต่างๆ มาเกาะเกี่ยวเข้าหากันจนเกิดเป็นชีวิตที่มีรูปแบบง่ายๆ ขึ้นในท้องทะเล ส่วนบนพื้นดินก็มีเหล่าพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์เริ่มเติบโตเผยแผ่กิ่งก้านสาขาจนสูงใหญ่เต็มไปทั่วบริเวณ เริ่มมีสัตวฺเลื้อยคลานกำเนิดขึ้นและแมลงปีกแข็งที่บินได้รวมถึงพืชกลุ่มที่มีสปอร์ ทั้งหมดใช้เวลานานถึงกว่า 294 ล้านปีในการวิวัฒนาการจนเกิดรูปแบบชีวิตที่หลากหลายมากขึ้น

แล้วก็เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 251 ล้านปีก่อนที่นักวิชาการเรียกว่า Permian-Triassic Extinction
จากก็เริ่มเข้าสู่ยุคเมโสโซอิค (Mesozoic Era : 251 - 65 ล้านปีก่อน) เป็นช่วงเวลาเกือบ 200 ล้านปีที่สัตว์เลื้อยคลานตัวใหญ่ยักษ์หลากหลายสายพันธุ์ที่วิวัฒนาการจากรูปแบบชีวิตง่ายๆ ในยุคพาเลโอโซอิคจนเป็นชีวิตที่ซับซ้อนมากขึ้นในยุคนี้ พวกมันเติบโตขึ้นมาครองโลกในยุคนี้ไปทั่วทุกหัวระแหง ยุคนี้แหละที่เป็นต้นเนิดของตำนานไดโนเสาร์หลายๆ เรื่องที่มีชื่อเสียงของฮอลลี่วู๊ด

ในยุคนี้จะแบ่งเป็นยุคย่อยๆ อีก 3 ยุคคือ ไทรแอสสิค (251 - 205 ล้านปีก่อน), จูราสสิค (205 - 141 ล้านปีก่อน) และครีเตเชียส (141 - 65 ล้านปีก่อน) ซึ่งไดโนเสาร์ที่ถูกขุดค้นพบในประเทศไทยนั้นว่ากันว่าเคยมีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสนี่แหละ รวมถึงทั้งสองสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงอย่างสยามโมไทแรนนัส สยามเอนซิสและภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเนด้วย ในยุคเมโสโซอิคนี้ จะเริ่มมีนกตัวแรกถือกำเนิดเกิดขึ้นบนโลก และเมื่อเข้าสู่ในช่วงปลายยุคนี้ทวีปออสเตรเลียก็เริ่มแยกตัวออกจากแอนตาร์กติก้า จากนั้นโลกก็ต้องเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ..

เพราะเกิดมหันตภัยล้างโลกที่เรารู้จักกันดีในชื่อ World-wide Extinction เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ The Last Dinosaur แล้วโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคต่อไป


ช้างแมมมอธ มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคน้ำแข็ง (Ice Age) ของยุคซีโนโซอิค .. ส่วนนายแบบใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานในยุคนี้แหละ .. 555+


(ซ้าย) ภาพจาก //www.student.chula.ac.th/~53370766

นั่นก็คือยุคซีโนโซอิค (Cenozoic Era : 65 ล้านปีก่อน จนถึงปัจจุบัน) ถ้าหากยังมีไดโนเสาร์ พวกเราเหล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคงไม่มีโอกาสถือกำเนิดแน่ๆ อุกาบาตล้างโลกในครั้งนั้นเป็นเส้นแบ่งทางวิวัฒนาการที่กำหนดให้สายพันธุ์หนึ่งที่เคยยิ่งใหญ่ต้องล้มหายตายจากไปจนหมดสิ้น เพื่อให้เผ่าพันธุ์ใหม่ที่ทรงพลังทางสติปัญญาได้มีโอกาสวิวัฒนาการตัวเองขึ้นมาเพื่อครอบครองโลกสีฟ้าใบนี้ทดแทนยักษใหญ่เหล่านั้นได้อย่างไม่เคอะเขิน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal) หลายสายพันธุ์ได้ถูกทดสอบจากธรรมชาติเพื่อคัดเลือกเผ่าพันธุ์ที่แข็งแกร่งและสามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ โดยใช้ยุคน้ำแข็ง (Ice Age : 1.8 ล้านปีก่อน - 11,000 ปีก่อน) เป็นเครื่องมือ แล้วก็ได้สายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับที่จะขึ้นมาครองโลกในยุคนี้ นั่นก็คือสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” นั่นเอง

เอาเป็นว่าเราไปชมพิพิธภัณฑ์กันต่อดีกว่า ถ้าเล่าต่ออีกคงไม่จบง่ายๆ แน่นอนเพราะรายละเอียดมันยังมีอีกเยอะ


(ซ้าย) ภาพสามมิติ เข้าไปยืนแล้วถ่ายภาพมาเหมือนอยู่ในดอกไม้
(ขวาบน) อาณาขักรเห็ดรา หรือพืชจำพวกมีสปอร์


(ขวาล่าง) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคซีโนโซอิค นายแบบของผมก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีก(ตัว)คน แต่ดูๆ ไปเหมือนจะเลี้ยงด้วยคอมพิวเตอร์กับทีวีมากกว่านะ .. 555+

เดินออกจากอาคาร 2 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ก็เดินเลาะไปทางด้านหลังเพื่อไปสู่อาคาร 3 กันบ้างนะครับ ที่อาคารนี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์สารสนเทศ  เข้าไปทำความรู้จักกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราในยุคสมัยนี้ ตั้งแต่ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดของแต่ละยุคสมัยของการประมวลผลข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีดาวเทียม, ระบบใยแก้วนำแสง (Optical Fiber), ระบบ Simulation, ระบบการออกอากาศวิทยุ โทรทัศน์, การทำงานของระบบโทรศัพท์เซลลูล่าร์, การเขียนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้บังคับหุ่นยนต์ให้เคลื่อนไหว และอีกหลายๆ เทคโนโลยีที่กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราในอนาคตอันใกล้นี้ ลองตามไปชมพร้อมๆ กันนะครับ


(ซ้าย) มีสัญลักษณ์นี้เป็นอนุสาวรีย์อยู่ด้านหน้าอาคาร 3
(ขวาบน) ด้านหน้าทางเข้าอาคาร


(ขวาล่าง) เข้าประตูมาใส่ล็อบบี้ก่อนจะเข้าสู่ส่วนใน

 
ทางเดินลาดขึ้นไป ลักษณะของทางเดินจะบังคับให้เราเดินผ่านไปตามเส้นทางขึ้นสู่ด้านบนก่อนจะลงมาทีละชั้นจนถึงชั้นเพื่อชมส่วนจัดแสดงจนถึงชั้นล่างสุดเพื่อกลับออกสู่ประตูอีกด้านหนึ่ง

 
ความเร็วในการส่งสัญญาณ / เทคโนโลยีการพิมพ์ / การสื่อสารเชื่อมโลก

 
การแผ่สัญญาณวิทยุกระจายเสียง / มองจากด้านบน จะเห็นส่วนจัดแสดงด้านล่างที่จัดไว้อย่างสวยงาม


(ซ้าย) รู้จักกับคอมพิวเตอร์
(ขวาบน) ชุมสายอัตโนมัติ


(ขวาล่าง) ระบบโทรศัพท์ไร้สายแบบเซลลูล่าร์


เทคโนโลยีของระบบแผงวงจรรวม ที่เราใช้ในคอมพิวเตอร์


ทดสอบการใช้คำสั่งภาษาปาสคาล ในการบังคับหุ่นยนต์ ..


Optical Fiber หรือที่เราชอบเรียกกันว่า ใยแก้วนำแสง ที่เป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงในปัจจุบัน


ระบบ GPS ที่เราคุ้นเคยในรถยนต์นั่นเอง ชื่อเต็มๆ ว่า Global Positioning System ที่ผนวกระบบนำร่องด้วยดาวเทียม (Satellite Navigation) เข้าไปด้วย

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาอยู่ใกล้กับเรามากขึ้นทุกวัน เรากำลังใช้เทคโนโลยีเหล่านี้โดยที่ไม่รู้ตัว โดยอยู่ในรูปของสินค้าและบริการในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ / ก่อนออกจากอาคารนี้ก็จะพบกับ IT Theater ไม่ได้เข้าไปดูเพราะไม่มีรอบเย็นหรือรอบค่ำให้ชมกัน

แล้วก็ได้เวลาต้องโบกมือลาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ณ คลองห้า ปทุมธานีแห่งนี้ ได้ความรู้ใส่สมองเพิ่มเติมมากมายทั้งพ่อทั้งลูก นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ที่สรรสร้างความฉลาดให้กับเด็กไทยในรุ่นต่อไปได้เป็นอย่างดี  อดีตเด็กไทยอย่างรุ่นผมก็ได้มารำลึกความหลัง ย้อมกลับมาเก็บเกี่ยวความสนุกสนานในวัยเด็กได้อีกครั้ง ได้ทบทวนหลายสิ่งหลายอย่างที่อาจจะหลงลืมไปบ้างแล้วจากระยะเวลาเนิ่นนานที่ผ่านไป

วันนี้มีความสุขกันมากมายครับ อยากขอเชิญชวนให้พาครอบครัวของคุณเปลี่ยนบรรยากาศการพักผ่อนในวันหยุดจากไปเดินเล่นตากแอร์ตามห้างสรรพสินค้าหรือช็อปปิ้งมอลล์ชื่อดังทั้งหลายมาเที่ยวแบบนี้กันบ้าง แล้วจะรู้ว่าสนุกสนานแบบได้ความรู้นั้นมันก็มีอยู่จริงนะครับ

ขอบคุณที่ติดตามรับชมนะครับ
ชมภาพเพิ่มเติมของทริปนี้ได้โดย คลิ๊กที่นี่ ครับ

| ภาคแรก | ภาคจบ |

เขียนเมื่อ : วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2555 เวลา 23:45 น. GMT+7 TH
ผู้เขียน : Tombass




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2555
2 comments
Last Update : 30 เมษายน 2556 0:12:54 น.
Counter : 2728 Pageviews.

 

 

โดย: Kavanich96 14 ธันวาคม 2555 13:22:27 น.  

 

มีโอกาศจะไปบ้างครับ

 

โดย: บูรพากรณ์ 15 ธันวาคม 2555 13:14:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


tombass
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






You're visitor No.
HTML Counter


Tombass's Bloggang Counter



Welcome to my HOMEPAGE




ไปเที่ยวชมบนเวบบอร์ดครับ ..


http://11maysa.eu5.org



คุณสามารถเข้าชมรูปภาพในบล็อคนี้ได้ที่
G+ Picasa
Photo Bucket



กี่โมงแล้วล่ะเนี่ยะ ..?





ราคาน้ำมันวันนี้ .. by PTT




About me :





Do you hear me? I'm talking to you
Across the water across the deep blue ocean
Under the open sky, oh my, baby I'm trying

Boy I hear you in my dreams
I feel your whisper across the sea
I keep you with me in my heart
You make it easier when life gets hard

I'm lucky I'm in love with my best friend
Lucky to have been where I have been
Lucky to be coming home again
Ooh ooh ooh

They don't know how long it takes
Waiting for a love like this
Every time we say goodbye
I wish we had one more kiss
I'll wait for you I promise you, I will

I'm lucky I'm in love with my best friend
Lucky to have been where I have been
Lucky to be coming home again

Lucky we're in love in every way
Lucky to have stayed where we have stayed
Lucky to be coming home someday

And so I'm sailing through the sea
To an island where we'll meet
You'll hear the music fill the air
I'll put a flower in your hair

Though the breezes through trees
Move so pretty you're all I see
As the world keeps spinning 'round
You hold me right here, right now

I'm lucky I'm in love with my best friend
Lucky to have been where I have been
Lucky to be coming home again

I'm lucky we're in love in every way
Lucky to have stayed where we have stayed
Lucky to be coming home someday

Ooh ooh ooh
Ooh ooh ooh, ooh

Title : Lucky
Artist : Jason Mraz & Colbie Caillat
Friends' blogs
[Add tombass's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.