ToGethel2
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
ข้อมูลทั่วไป


ที่ตั้ง


ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ โดยรอบ 15 ประเทศ คือ
ทิศเหนือ ติด มองโกเลียและรัสเซีย
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติด เกาหลีเหนือ
ทิศตะวันตก ติด คาซักสถาน เคอร์กิชสถาน ทาจิกิสถาน ปากีสถาน
อัฟกานิสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน
ทิศใต้และทิศตะวันออก ติด พม่า ลาว เวียดนาม
ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้

พื้นที่


9,596,960 ล้านตารางกิโลเมตร มีเส้นพรมแดนทางบกยาวกว่า 2 หมื่นกิโลเมตร
พรมแดนทางบกของจีนมีความยาว 28,000 กิโลเมตร และมีชายฝั่งทะเลยาว 18,000 กิโลเมตร
เกาะที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 6,536 เกาะ คือเกาะไต้หวันและรองลงมาคือเกาะไหหลำ

ภูมิประเทศ


หลายล้านปีก่อนที่ราบสูงชิงซั้งโผล่ขึ้นมาซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเปลือกโลกที่สำคัญมากใน
ประวัติศาสตร์โลกครั้งนี้ได้ก่อรูปเป็นลักษณะพื้นภูมิของประเทศจีนดังดูประเทศจีนบนท้องฟ้าจะดูพบว่า
ภูมิประเทศของประเทศจีนเหมือนบันได โดยจากตะวันตกไปตะวันออก มีการลดลงตามลำดับ เนื่องจาก
ได้รับการชนกันของแผ่นดินอินเดียกับแผ่นดินยุโรปเอเชียที่ราบสูงชิงซั้งโผล่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสูงกว่า
ระดับน้ำทะเล 4,000 กว่าเมตรและได้ชื่อว่าอกไก่ของโลก โดยเป็นบันไดขั้นแรกในภูมิประเทศ
ของประเทศจีน ยอดเขาหลักจูมู่หลังหม่าของภูเขาซีมาลายาที่อยู่ที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล
8,848 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก บันไดขั้นที่สองประกอบด้วยที่ราบสูงมองโกเลียใน
ที่ราบสูงหวงถู่ ที่ราบสูงหยุนกุ้ย พื้นที่ที่ต่ำเป็นต้องกะทะ คือ ถาหลี่มู่ และเสฉวน ซึ่งโดยเฉลี่ยสูงกว่า
ระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 เมตร พอข้ามภูเขาต้าซิงอันหลิ่งภูเขาไท่หังซาน ภูเขาอูซาน
และภูเขาเฉียวเพงซาก ที่อยู่ทิศตะวันออกของบันไดขั้นที่สองทางตะวันออกอีกไปทิศตะวันออก
อีกจนถึงฝั่งสมุทรแปซิฟิคเป็นบันไดขั้นที่สามซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500-1,000 เมตร โดยมี
ที่ราบตุงเป่ยผิงหยวน ที่ราบหัวเป่ยผิงหยวน ที่ราบฉางเจียงจุงเซียโหยว ผิวหยวนจากเหนือลงไป
ใต้ข้างๆ ที่ราบมีภูเขาต่ำกับภูเขาเล็กๆ ถัดไปทางทิศตะวันออกอีกก็เป็นเขตทะเลตื้น
โครงสร้างผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีนซึ่งน้ำทะเลลึกไม่ถึง 200 เมตร เป็นบันไดขั้นที่สี่

ภูมิอากาศ


ฤดูใบไม้ผลิ
- ภาคเหนือ 5-10 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้ 15-20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน
- ภาคเหนือ 20-25 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้ 25-33 องศาเซลเซียส
ฤดูใบไม้ร่วง
- ภาคเหนือ 13-20 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้ 25-28 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว
- ภาคเหนือ ติดลบ 5 -5 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้ 10-18 องศาเซลเซียส

ประชากร


1,306.3 ล้านคน (ความหนาแน่นของประชากร 135 คนต่อตารางกิโลเมตร)

ชนชาติ


มีชนชาติต่างๆ อยู่รวมกัน 56 ชนชาติ โดยเป็นประชากรชาว “ฮั่น” มีมากที่สุดประมาณ 1.1
พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 93.3 ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยต่างๆ ซึ่งรวมแล้วมีประมาณ 160 ล้านคน
หรือประมาณร้อยละ 6.7 ซึ่งชนชาติที่สำคัญได้แก่ ชนเผ่าจ้วง หุย อุยกูร์ หยี ทิเบต แม้ว แมนจู มองโกล
ไตหรือไท เกาซัน ชนกลุ่มน้อยทุกชนชาติในจีนจะมีความเท่าเทียมกัน ตามกฎแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการบริหารภาครัฐอย่างเสมอภาคกันโดยไม่คำนึงจำนวนประชากรของแต่ละเชื้อสายและ
ขนาดของพื้นที่ที่อาศัยอยู่ แต่ละกลุ่มชนชาติจะมีตัวแทนเข้าร่วมประชุมผู้แทนชนชาติซึ่งเป็นการประชุม
ที่สำคัญในการกำหนดอำนาจและสิทธิของสาธารณรัฐประชาชนจีน
กลุ่มชนในแต่ละพื้นที่จะมีอิสระในการปกครองและปฏิบัติตามเขตการปกครองที่อาศัยอยู่
โดยการปกครองในแต่ละท้องถิ่นจะมีกฎระเบียบและการปฏิบัติเป็นของตนเองและแต่ละเขตการปกครอง
ตนเองเหล่านี้ก็จะรวมเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน
จะเห็นว่าความหลากหลายขององค์ประกอบทางประวัติศาสตร์นั้นทำให้บริเวณที่ชนกลุ่มน้อยอาศัย
อยู่จะมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมได้ช้ากว่าบริเวณอาณาเขตของกลุ่มชาวฮั่น ในช่วง 3
ศตวรรษที่ผ่านมานี้ รัฐบาลจีนได้วางนโยบายเกี่ยวกับอำนาจสิทธิของประชากร นโยบายการเงิน
และการสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อช่วยพัฒนาเขตพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ ให้มีถนนหนทาง และช่วย
พัฒนาเศรษฐกิจให้เหมือนกับบริเวณที่ชาวฮั่นอาศัยอยู่

ภาษา


ภาษาจีนกลาง (ผู่ทงฮว่า 普通话) เป็นภาษาราชการ ชาวจีนในมณฑลต่างๆ มีภาษาพูดท้องถิ่น
ที่แตกต่างกัน เช่น เสฉวน หูหนาน กวางตุ้ง ไหหลำ และฮกเกี้ยน ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีนแบบย่อ
(Simplified Chinese) มีอักษรทั้งหมดประมาณ 56,000 ตัว ใช้ประจำ 6,763 ตัว ถ้ารู้เพียง 3,000 ตัว
ก็อ่านหนังสือพิมพ์และข้อความที่ใช้โดยทั่วไปได้

ศาสนาและความเชื่อ


ในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิ
ความเชื่อเดิม นั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่ จะเป็น
หลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น
ครั้นมาถึงยุคคอมมิวนิสต์ ศาสนากลับถูกว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมืองโดยตรง แต่ในช่วงหลังๆ นี้
ทางการก็ได้ยอมผ่อนปรนให้ กับการนับถือศาสนาและความเชื่อต่างๆ ของประชาชนมากขึ้นอีกครั้ง
ลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนา อิสลาม ( ในเขตตะวันตกของจีน ) และศาสนาคริสต์จึงได้
กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ชาวจีน ยังเชื่อถือในเรื่องตัวเลขนำโชคหมอดู และการพยากรณ์กันมา
ตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ เฟินสุ่ยและตัวเลขนำโชค

แนวคิดเรื่องพรหมลิขิตของจีนเริ่มมีขึ้นในยุคสังคมศักดินาที่ผู้คนเชื่อกันว่า " เทพเจ้า " ( จักรพรรดิ )
สามารถตัดสินชะตาของคนได้ แต่เมื่อเกิดกบฏโค่นล้มราชวงค์ลงได้สำเร็จ ความเชื่อที่ว่าจักรพรรดิ
เป็นผู้ไร้เทียมทานก็พลอยดับสูญไปด้วย ประชาชนได้หันมาบูชาม้าและวัว จนนำไปสู่การสังเกตุเห็นว่า
เป็นรูปร่าง ขน และสีผิวที่ต่างกันย่อมส่งผลให้สัตว์แต่ละประเภทมีความสามารถ อารมณ์ อายุที่ยืนยาว
แตกต่างกันไป สุดท้ายจึงหันมาสังเกตุดูลักษณะของคนด้วยกันเองบ้าง

เฟิงสุ่ย ( ฮวงจุ้ย/ลมและน้ำ ) เป็นศาสตร์แห่งการพยากรณ์ที่มีมาแต่โบราณ ใช้ดึงดูดโชคลาภและ
ปัดเป่า เคราะห์ร้ายนานา ผู้เชื่อถือศาสตร์นี้จะไปขอคำแนะนำจากอาจารย์ดูเฟินสุ่ยทุกเรื่อง
ทั้งการออกแบบ หาฤกษ์ยาม การตกแต่งบ้านหรือสำนักงาน เป็นต้น

อาจารย์ดูเฟินสุ่ยส่วนใหญ่จะเชื่ยวชาญการดูโหงวเฮ้ง ดูลายมือ ดูดวงจากวันเดือนปีเกิด และเวลา
ตกฟากด้วย นักปรัชญจีนในสมัยราชวงค์ฮั่น ได้คิดค้นระบบ 12 นักษัตร อันประกอบด้วย ปีชวด ฉลู ขาล
เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุนขึ้น โดยแบ่งคนออกเป็น 12 กลุ่มตามปีเกิด และนำเอา
หลักปรัชญากับตัวเลขมาคิดคำนวณเพื่อพยากรณ์โชคเคราะห์ และอนาคตของบุคคล เช่น เลขสอง
หมายถึงความสบาย เลขสามคือชีวิตหรือการให้กำเนิดบุตร เลขหกคือการมีอายุยืน เลขแปดคือ
ความมั่งคั่งร่ำรวย เลขเก้าคือความเป็นนิรันดร์ เมื่อนำตัวเลขมารวมกันก็จะได้ความหมายที่แตกต่างกัน
ออกไป เช่น 163 หมายถึง "การมีอายุยืนยาว" หรือ "การมีลูกดก" เป็นต้น

ความเชื่อตามประเพณีจีน


วัฒนธรรมของจีนมีประเพณี ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมมากมาย ในที่นี้จะกล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับ
ขนบธรรมเนียมประเพณีในการ ดำเนินชีวิต จะสังเกตได้ว่าประเพณีนั้นมีความแตกต่างหลากหลาย
ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับกลุ่มชนชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก บางประเพณีไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง
ของวัฒนธรรมของจีน

ความเชื่อเกี่ยวกับสี


ในประเพณีของคนจีนจะมีสีหลัก 3 สี คือ สีแดง สีดำ และสีขาว
สีแดง - เป็นสีเลือด มีทัศนคติทางด้านบวก เช่น ความสุข ความมั่งคั่ง ชื่อเสียง เป็นสีแห่งความโชคดี
สีดำ - เป็นสีที่สกปรก บาป ความหายนะ ความเศร้าโศก ความโชคร้าย มีความหมายทางแง่ลบ สื่อถึง
ความโชคร้าย ไม่สวมแต่งในงานเฉลิมฉลองต่างๆ หรือใช้ตกแต่งบ้าน สีดำยังแสดงถึง
ความล้าหลัง และไม่มีอารยะธรรม
สีขาว - เป็นสัญลักษณ์ของน้ำนมแม่ เป็นสีที่อยู่ระหว่างสีดำกับสีแดง บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ บางครั้งใช้
ในพิธีศพ และใช้ในงานพิธีและเฉลิมฉลอง

การสวมใส่เครื่องแต่งกาย


การแต่งกายของคนจีนไม่มีระเบียบแบบแผน ประเพณีการแต่งกายจะไม่เรื่องมาก ขึ้นอยู่กับความ
สะดวกสบาย ตามสมัยนิยม ส่วนใหญ่จะใส่สีสว่างมากกว่า แต่ส่วนใหญ่จะเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม
กับสภาวะแวดล้อม เช่นเช่นชาวนาจะสวมเสื้อผ้าที่ทำด้วยมือและมีสีเข้ม และมักจะเลือกสวมใส่เสื้อผ้า
ตามช่วงวัย คนแก่จะไม่ใส่เสื้อผ้าอย่างวัยรุ่น จะไม่สวมเสื้อยืดหรือชุดยีนส์

การทักทาย


ชาวจีนมักพูดเสียงดัง อาจทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจว่าเป็นกริยาที่ไร้มารยาท แต่ชาวจีนจะให้
ความสำคัญกับคำพูดที่สุภาพ ไม่ใช่เน้นที่น้ำเสียง ชาวจีนให้ความสำคัญต่อการทักทายอย่างมาก
ซึ่งจะกล่าวกันเป็นภาษาจีนว่า “หนีห่าว” (สวัสดี) และในปัจจุบันชาวจีนจะทักทายกันด้วยการจับมือ
ส่วนการกุมมือแบบคารวะอาจจะยังใช้ในชนบท หรือหมู่คนที่มีอายุ แต่ก็นับว่าพบได้ยากมากแล้ว
นอกจากนี้การแลกนามบัตรก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันสำหรับผู้ที่เพิ่งจะรู้จักกันเป็นครั้งแรกถือเป็น
ส่วนหนึ่งของมารยาทในการทักทาย

ตัวเลข


ตัวเลขก็มีบทบาทมากที่สุดในความเชื่อของคนจีนในวัฒนธรรมของเขาเองผู้คนสามารถที่จะกำหนด
ความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่นเด็กก็มีความเชื่อแบบเด็กๆ คนจีนเชื่อว่าตัวเลขมีทั้งตัวเลขที่โชคดี
และโชคร้ายอย่างเช่นเลข 8 ในวัฒนธรรมของจีนเชื่อว่าเลข 8 เป็นเลขที่โชคดี ส่วนเลข 4 เป็นเลขที
่โชคร้ายมากมันดูเหมือนชอบคำสำหรับความตาย ดังเช่นคนจีนที่เคร่งในจารีตจะพยายามหลีกเลี่ยง
ตัวเลข ‘4’ เช่นว่าในป้ายทะเบียนรถ,บ้านเลขที่เป็นต้น และเลขเจ็ดยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความตาย
และเลข ‘1’ สื่อถึงความโดดเดี่ยว

วันชาติ


1 ตุลาคม (สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ภายหลังจากที่
พรรคคอมมิวนิสต์ จีนมีชัยชนะในสงครามกลางเมืองเหนือพรรคก๊กหมินตั๋ง)
รูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง (ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่ง
เป็นผู้นำ ดาวเล็กๆ ทั้งสี่ดวงหมายถึง “ชนชั้น” ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ
ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ)

เมืองหลวง


กรุงปักกิ่ง (ภาษาราชการจีนเรียกว่า “เป่ยจิง” – 北京– Beijing) เป็นเมืองขึ้นตรงต่อส่วนกลาง
เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นศูนย์กลางทั้งการเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์
การศึกษา และการคมนาคม เมืองปักกิ่ง ตั้งอยู่ที่ขอบเขตภาคเหนือของที่ราบหัวเป่ย ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ และทิศตะวันออกมีภูเขาล้อมรอบ ภาคตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบภูมิอากาศเขตอบอุ่น
ปีหนึ่งแบ่งเป็นสี่ฤดูอย่างชัดเจน ฤดูใบไม้ผลิ มีเวลาไม่นาน ฤดูร้อนมีฝนตกบ่อยๆ อากาศชุ่มชื้น
ฤดูหนาวมีเวลายาวนานและหนาวจัด แต่ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่ดีงามที่สุด

ในสมัยซีโจว ก็มีการจัดตั้งเมืองที่นี่ ซื่อจี้ และกลายเป็นเมืองหลวงของก๊กเยี่ยน ในสมัยจิ้งกั๋ว
หลังจากนั้นพันกว่าปี เมืองจี้ เป็นเมืองที่สำคัญทางทหารและศูนย์กลางการค้าขาย ที่อยู่ภาคเหนือ
ของประเทศจีน ในต้นศตวรรษที่ 10 กลายเป็นเมืองหลวงรองของราชวงศ์ เหลียว 3 ชื่อ เยี่ยนจิง
นับตั้งแต่ปี 1115 ถึงปี 1911 เนื่องจากราชวงศ์จิน หยวน มิ้ง ชิง 4 ราชวงศ์ได้ตั้งเมืองหลวงที่ปักกิ่ง
ทำให้ปักกิ่งได้สะสมวัฒนธรรมของจีน และมีมรดกทางประวัติศาสตร์ที่เป็นสุดยอดของโลกหลายที่
เช่น ประตูเทียนอันเหมิน กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่เป็นจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในตัวเมืองของโลก
ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นสัญลักษณ์ของปักกิ่ง และของประเทศจีนด้วย กู้กง (เมืองต้องห้าม
หรือพระราชวังโบราณ) ซึ่งเป็น กลุ่มสิ่งก่อสร้างโบราณที่ใหญ่ที่สุดและครบสมบูรณ์ที่สุดของโลก
กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดของสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (กำแพงเมืองจีนปาตาหลิ่ง
มีบางส่วนอยู่ที่ปักกิ่ง)

กู้กง (พระราชวังโบราณ / พระราชวังต้องห้าม)


เป็นพระราชวังที่สำคัญของจีน ใช้เป็นที่ว่าราชการ
และเป็นที่ประทับของจักรพรรดิจีนในสมัยราชวงศ์หมิง
และชิง มีห้องน้อยใหญ่กว่า 9,999 ห้อง

กำแพงเมืองจีน


หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นสิ่งก่อสร้าง
ของมนุษย์อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนด้วย
ตาเปล่าจากยานอวกาศที่โคจรรอบโลก ก่อสร้างสำเร็จตั้งแต่สมัยจิ๋นซีฮ่องเต้เพื่อป้องกัน
การรุนรานจากชนต่างเผ่าทางเหนือของจีน
มีความประมาณ
5,000 กิโลเมตร

อี๋เหอหยวน (พระราชวังฤดูร้อน)


เป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นโดยพระราชเสาวนีย์
ของพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งใช้งบประมาณมหาศาล
จนเกือบสิ้นเงินทั้งหมดของท้องพระคลัง
มีทะเลสาบคุนหมิงจำลอง และมีระเบียงที่ยาวที่สุด
ในโลกโดยมีภาพเขียนจากเรื่องไซอิ๋วตลอด
แนวทางเดิน

หอฟ้าเทียนฐาน


ได้รับการจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก
จากองค์กรการศึกษาวิทยา ศาสตร์ วัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ และเป็นสัญลักษณ์แทน
ความเป็นศูนย์กลางของจีนในพิภพนี้

หลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949
โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ
มีการเปลี่ยน จากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษา
สภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก

เมืองสำคัญ

กรุงปักกิ่ง (Beijing) นครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) นครกวางโจว (Guangzhou)
นครฉงชิ่ง (Chongqing) เมืองต้าเหลียน (Dalian) เมืองเซินเจิ้น (Shenzhen)
เมืองเซียะเหมิน (Xiamen) เมืองเจิ้งโจว (Zhengzhou) เมืองชิงเต่า (Qiandao)
เมืองนานจิง ( Nanjing) เมืองฮาร์บิน (Harbin) เมืองคุนหมิง (Kunming)
เมืองเฉิงตู (Chengdu)







Create Date : 28 สิงหาคม 2551
Last Update : 29 สิงหาคม 2551 12:27:16 น. 0 comments
Counter : 242 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

TogetherIB
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ToGetheR ♬ToGeThel2♪

♥ ToGether IBM ♥
Friends' blogs
[Add TogetherIB's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.