ToGethel2
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
การแก้ไขธรรมนูญของจีน, ด้านการเมืองภายในประเทศ, สถานการณ์ทั่วไปด้านเศรษฐกิจ

8. การแก้ไขธรรมนูญของจีน

การเพิ่มแนวคิด “สามตัวแทน” ลงในธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อให้เป็นหลักพื้นฐานในการชี้นำของพรรค ได้ถูกนำเสนอครั้งแรกเมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างพรรค เป็นหลักของการบริหารจัดการ และเป็นแหล่งที่มาของพลังที่เข้มแข็ง ต่อมาได้ขยายความคิดเสนอสุนทรพจน์เนื่องในวันครบรอบ 80 ปีของการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2544 และล่าสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2545 ได้พัฒนาแนวคิดนี้ให้สมบูรณ์
แนวคิด “สามตัวแทน” มีสาระสำคัญคือ เป็นตัวแทนของพลังการผลิตที่ก้าวหน้า เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมที่ก้าวหน้า และเป็นตัวแทนของผลประโยชน์ของมวลชน การนำไปปฏิบัติต้องใช้พลังปัจจัยที่เป็นบวกทั้งมวล รวมทั้งพลังใหม่ ๆ เพื่อสร้างชีวิตชีวาแก่ชาติ ซึ่งรวมไปถึง “นักธุรกิจ เจ้าหน้าที่เทคนิคที่ทำงานในบริษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ไม่ใช่ของรัฐ ตลอดจนผู้จัดการและพนักงานที่ทำงานในบริษัทเอกชนต่างชาติ” เป็น

9. ด้านการเมืองภายในประเทศ

มีความชัดเจนมาตั้งแต่ครั้งประชุมสมัชชาพรรคฯ เมื่อปีกลายแล้วว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะ “เปิดกว้าง” มากขึ้น โดยให้นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้ภาพของ “ตัวแทนพลังการผลิตที่ก้าวหน้า” เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคฯ ตามแนวทางทฤษฎีสามตัวแทน นอกจากนี้ คาดว่ากลุ่มผู้นำจีนชุดนี้จะมีการนำเอาพวกนักวิชาการที่มีการศึกษาเรียนจบจากต่างประเทศและเป็นคนรุ่นใหม่มีความคิด ทันสมัยเข้ามาเป็นที่ปรึกษาหรือร่วมบริหารประเทศ เพื่อนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ซึ่งนัยก็คือการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองที่จะทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ยังคงผูกขาดอำนาจทางการเมืองต่อไปนั่นเอง สำหรับด้านการทหารผู้นำชุดนี้น่าจะใช้งบประมาณด้านการทหารมากขึ้นเพื่อพัฒนาอาวุธที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมทั้งการเปิดโอกาสให้กองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA) ได้ใช้ประโยชน์จากการทหารเชิงพาณิชย์โดยการขายอาวุธให้ต่างประเทศ และการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การพัฒนาด้านอวกาศและการส่งยานอวกาศของจีนที่สามารถนำมนุษย์อวกาศของจีนขึ้นไปโคจรรอบโลกได้สำเร็จเมื่อปลายปี พ.ศ.2546 ก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่จีนคงจะคิดค้นพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อความทันสมัยและความยิ่งใหญ่ของจีน
การเมืองการปกครอง และการบริหารประเทศของจีน ต้องศึกษาถึงรากฐานทางความคิดที่เกิดมาจากวัฒนธรรมของจีน แล้วศึกษาถึงประวัติศาสตร์จีนในปลายศตวรรษที่ 19 ด้วย เป็นช่วงที่จีนตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย มีการกอบกู้ชาติให้พ้นภัยคุกคามจากตะวันตก อีกทั้งมีการแย่งชิงอำนาจระหว่างกันภายในประเทศ อันนำไปสู่การก่อตั้งองค์กรและสมาคมกู้ชาติ ซึ่งจำนวนนี้ก็มีกลุ่มศึกษาลัทธิมาร์กที่รวมตัวกันจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมา มีการเคลื่อนไหวต่อสู้ในรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2464 เป็นต้นมา โดยประสานหลักทฤษฎีลัทธิมาร์ก ทั้งของคาร์ล มาร์ก เฟเดริค เองเกลล์ และของวลาดิเมียร์ เลนิน เข้ากับสภาวะที่เป็นจริงของประเทศจีนในขณะนั้น ทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าในถึงสัจธรรมหรือกฏเกณฑ์ชี้นำที่ถูกต้องในการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิวัติประเทศจีนในช่วงปี พ.ศ.2463-2473 จนในที่สุดก็ได้ก่อเกิดเป็นต้นแบบทางความคิดของเหมา เจ๋อตง หรือทฤษฎีมาร์กซิสม์แบบจีน และนับตั้งแต่นั้นมาแนวความคิด ของเหมา เจ๋อ ตง ก็ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจีน ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เผยแพร่หลักการและบทสรุปเกี่ยวกับสภาวะอันเป็นจริงของสังคมจีน การจัดตั้งองค์กรของพรรค การเดินแนวทางมวลชน การสร้างกองทัพ และการทำสงครามประชาชน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายแนวร่วมรักชาติ ทำให้การติดอาวุธทางความคิดและการเคลื่อนไหวปฏิวัติตามหลักทฤษฎีชี้นำ ซึ่งเป็นแนวทางตามความคิดของเหมา เจ๋อ ตง เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถขยายพรรคและกองกำลังปฏิวัติไปทั่งประเทศจีนได้สำเร็จ จนสามารถก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในปี พ.ศ. 2492 แต่หลังจากนั้นไม่นานนักการพัฒนาประเทศจากแนวทางสังคมนิยมก็ประสบความล้มเหลวเกิดความระส่ำระสาย เศรษฐกิจตกต่ำและประชาชนมีความอดอยากติดต่อกันหลายปีในช่วง พ.ศ.2503-2513 จนกระทั่งมาถึงยุคของ เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ได้เกิดแนวคิดในการเคลื่อนไหวปฏิวัติเปลี่ยนแปลงโลกและเปลี่ยนแปลงตนเอง เป็นแนวทางใหม่ภายใต้ทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิง ที่มีการกำหนดแนวทาง นโยบาย ยุทธ์ศาสตร์ และยุทธวิธีต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการเรียกร้องความต้องการของประชาชน จนมีการปรับปรุงระบบการเมืองการปกครองและการบริหารราชการของจีน
แนวทางในการจัดระบบการเมือง การปกครองและการบริหารราชการที่เหมาะสม ต้องอยู่ บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมของสังคม และสอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการของประชาชน รวมทั้งสามารถปรับตัวให้รองรับต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสมดุล ดังนั้น การที่ประเทศใดจะไปลอกเลียนแบบการเมืองการปกครองและการบริหารราชการของประเทศอื่น ๆ มายึดถือเป็นหลักในการบริหารประเทศ โดยไม่สามารถที่จะประยุกต์ให้เข้ากับสภาวะที่เป็นจริงของสังคมประเทศแล้ว ก็จะเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง
ไทยมีความสัมพันธ์กับจีนมานานตั้งแต่อดีตตามประวัติศาสตร์เพียงแต่ในช่วงปี 1994 จีนได้เข้าร่วมประชุมด้านความมั่นคงกับ ASEAN อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ทำให้จีนเริ่มมีความสัมพันธ์กับ ASEAN ตั้งแต่ปี 1990 โดยเริ่มความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียเป็นประเทศแรกและตามมาด้วยสิงค์โปร จึงน่าสังเกตว่าบทบาทของจีนในเวทีโลกคงจะมีมากขึ้นในเวลาอันใกล้นี้ ศิสซิงเกอรได้กล่าวไว้ว่า พื้นที่แถบ ASIA จะเป็นเวทีการแข่งขันทางยุทธ์ศาสตร์อย่างเข้มข้นระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา
การเจริญก้าวหน้าของจีนจะนำไปสู่การแข่งขันทางอำนาจและผลประโยชน์ ยิ่งจีนมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก ก็จะพยายามมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้นด้วย และเมื่อมีอำนาจทางการเมืองมาก ก็จะพยายามมีอำนาจทางการทหารให้มากขึ้นต่อไป การเจริญเติบโตของจีนอาจจะทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะการใช้พลังงานจากตะวันออกกลางร่วมกัน นอกจากนั้นจะส่งเสริมให้เกิดความรักชาติและความภาคภูมิใจในความเป็นจีนมากขึ้น
การมองจีนนั้นมีการแบ่งนักวิชาการที่มองจีนได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมมองว่าถ้าจีนเจริญเติบโต มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและมีความเข้มแข็งทางการทหารแล้วจะหันไปแข่งขันกันในเชิงยุทธ์ศาสตร์มากขึ้น พยายามสร้างบารมี อยากเป็นมหาอำนาจ เช่น กรณีของเกาหลีเหนือ เรื่องของไต้หวัน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ความสามารถในการพัฒนากำลังทหารของจีนในทะเลจีนใต้ ส่วนนักวิชาการกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มเสรีนิยม เห็นว่าเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบันต้องพึ่งพาต่างประเทศมาก โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ ในสหรัฐอเมริกาเข้าไปลงทุนในประเทศจีนมาก ดังนั้นถ้าจีนกับสหรัฐอเมริกาจะเกิดความขัดแย้งกัน ก็จะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกประการหนึ่งคือลักษณะของผู้นำจีนในปัจจุบัน นิยมอำนาจแบบ Soft Power มากกว่า Hard Power
การมองทั้งสองกลุ่มข้างต้นเป็นการมองจีนในลักษณะ Extreme เกินไปทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น มุมมองของทั้ง 2 ฝ่ายที่ Extreme เหล่านั้นจะค่อย ๆ หมดไปเอง เมื่อจีนเข้าสู่เวทีของโลกาภิวัตน์แล้ว โดยจะมีลักษณะเป็นกลางมากขึ้นจีนต้องการจะมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ต้องการ มีเขตการค้าเสรี ต้องการมีความร่วมมือด้านความมั่นคงกับ ASIA อย่างช้า ๆ โดยใช้การประชุมร่วมกับประเทศภาคีต่าง ๆ แม้จีนจะมีบทบาทสำคัญในการเมืองโลกมากขึ้น แต่จีนก็ใช้อำนาจที่ยืดหยุ่นไม่เน้นอำนาจทางการทหารเป็นหลัก แต่ใช้กำลังอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองแทน จีนยอมรับว่าในปัจจุบันตนเองไม่เข้มแข็งด้านการทหารเหมือนสหภาพโซเวียต เยอรมัน และญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา จีนพยายามเข้าไปร่วมปรึกษาหารือกับกลุ่มประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะประสบปัญหายุ่งยากมากก็ตาม จีนก็พยายามรักษาระยะห่างระหว่างจีนกับยุโรปและสหรัฐอเมริกาเอาไว้พอสมควร แต่ประเทศต่าง ๆ ก็ตั้งข้อสังเกตว่าการที่จีนเข้าไปมีสัมพันธ์กับประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ก็เพราะต้องการลดอิทธิพลของ NATO ต้องการลดการขยายตัวของ NATO ในยุโรปตะวันออก จีนเห็นว่าข้อเสนอของรัสเซียในเรื่องความร่วมมือระหว่างรัสเซีย อินเดีย และจีน เพื่อถ่วงดุลสหรัฐฯไม่ค่อยมีเหตุผลมาตั้งแต่ปี 2541 ที่อินเดียเริ่มมีการสำรองอาวุธนิวเคลียร์ แต่จีนก็ไม่ได้สนใจเรื่องความสัมพันธ์ดังกล่าว และจีนระมัดระวังเรื่องนี้มาก

10. สถานการณ์ทั่วไปด้านเศรษฐกิจ

ก่อนจีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO จีนได้เข้าเป็นสมาชิก OLYMPIC เกิดพลวัตรในการเตรียมตัวเพื่อเข้า OLYMPIC อย่างมาก ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมของคน และสภาพความเป็นอยู่ ให้สามารถก้าวขึ้นสู่ระดับสากลเพื่อเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิคในปี ๒๐๐๘ การเตรียมตัวเข้าเป็นสมาชิก WTO มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กฎระเบียบ และกติกาต่าง ๆ อย่างมาก วัฒนธรรมของจีนมีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเก่าแก่กับวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้จีนเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
 










Create Date : 28 สิงหาคม 2551
Last Update : 20 กันยายน 2551 22:55:36 น. 0 comments
Counter : 388 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

TogetherIB
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ToGetheR ♬ToGeThel2♪

♥ ToGether IBM ♥
Friends' blogs
[Add TogetherIB's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.