พอใจและมีความสุขอยู่กับสิ่งที่มีอยู่จริง แค่นี้ก็เพียงพอ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
11 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

สู้ๆ...ค่ะ fightingggggggggggggggggggggggggg

มาเรียนรู้พร้อมๆกันค่ะ เพื่อนๆ อิ อิ

บทความทั้งหมดเป็นของ อาจารย์เด็กลาดพร้าว ขอขอบพระคุณค่ะ


ทุกท่านสามารถอ่านบทความเต็มๆของอาจารย์เด็กลาดพร้าว ได้ที่ facebook 

ตามลิงค์นี้นะคะ 

กด LIKE ให้กำลังใจจานกันคร่ะ https://www.facebook.com/talktodekladprao





 

Create Date : 11 เมษายน 2554
27 comments
Last Update : 28 สิงหาคม 2556 4:40:44 น.
Counter : 864 Pageviews.

 

โหมโรง .... พื้นฐานของการเล่นหุ้น

......ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า "การเล่นหุ้น" ในเพจนี้หมายถึงการเล่นหุ้นเพื่อหวังกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่เคลื่อนไหว (Capital Gain) ดังนั้นเราจึงจะไม่สนใจการปันผล หรือการซื้อขายบริษัท หลายคนยังมีความสับสนในแง่การศึกษาเกี่ยวกับการเล่นหุ้นในเรื่องนี้ โดยการนำการลงทุนแบบซื้อบริษัทเพื่อเอามูลค่าของบริษัทและเงินปันผลของ วอร์แรน บัฟเฟตต์ มาทำการศึกษาเพื่อเล่นหุ้นทำกำไรจากส่วนต่างของราคา (Trader) ทำให้ศึกษาผิดแนวทางอย่างมาก

สรุปคือ Value Investor ลงทุนในบริษัท และเงินปันผล ส่วน Trader ลงทุนในการซื้อขายส่วนต่างของราคา และราคาหุ้นในตลาด ไม่ได้แสดงมูลค่าของบริษัทในสายตาของ Trader เป้าหมายของราคา ไม่ใช่ Fair Value เพราะราคาจริง ๆ แล้ว เป็นเพียงการบ่งบอกถึงจิตใจของผู้ซื้อขายหุ้น และการคาดการณ์ผลในอนาคต ตรงกันข้ามกับ VI ที่จะศึกษาและลงทุนในอนาคตของบริษัทที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ Trader จะศึกษาในสิ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้ว (การเคลื่อนไหวของราคา) การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นจึงขึ้นอยู่กับคนเล่นหุ้นเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานของบริษัท แต่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่มีต่อบริษัท การศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของราคา จึงควรศึกษาความรู้สึกของผู้เล่นหุ้นในตัวนั้น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นผลรวมในรูปของกราฟราคาหุ้นนั่นเอง

เมื่อท่านได้เข้าใจแล้ว ท่านก็คงจะมีความชัดเจนว่าควรจะลงทุนแบบใด และศึกษาสิ่งใดต่อไปในอนาคต (หากเลือก VI เพจนี้อาจไม่เหมาะสำหรับท่าน)

ข้อควรจำ ..

1. Trader เชื่อในความเป็นจริงที่เห็น (จากกราฟ) ส่วน VI เชื่อในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
2. Trader ไม่สนใจราคาที่เหมาะสม (Fair Price) แต่สนใจราคาเป้าหมายจากกราฟ
3. Trader ไม่สนใจว่าหุ้นจะดีหรือไม่ แต่จะสนใจหุ้นที่ขึ้น
4. Trader มีแต่หุ้นขึ้นกับลง ไม่มีหุ้นปั่น และหุ้นพื้นฐานดี

เด็กลาดพร้าว
21 ก.ค. 56

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:11:28 น.  

 

กระบวนการวิเคราะห์หุ้นอย่างเป็นระบบ (Systematic Analysis)

ก่อนจะไปต่อในรายละเอียดของบทต่อไป ขอแทรกเรื่องกระบวนการวิเคราะห์หุ้นอย่างเป็นระบบก่อน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้แน่น โดยจะขอนำเอาหลักการของ Kepner-Tregoe ที่ผู้เขียนเคยเป็นผู้บรรยายให้กับผู้บริหารในองค์กรทั่ว ๆ ไป มาเล่าให้ฟัง

กระบวนการในการวิเคราะห์จะประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ข้อมูล (Input) หรือหากเป็นกระบวนการผลิิตจะเรียกว่า วัตถุดิบ
2. กระบวนการทางความคิด (Thinking Process) หรือในกระบวนการผลิต ก็คิือ กรรมวิธีในการผลิตนั่นเอง
3. ผลลัพธ์ (Solution) หรือในกระบวนการผลิตคือ ผลผลิตนั่นเอง

หากเราพิจารณาดูจะเห็นว่า หาก ข้อ 1. ดี ข้อ 2. ก็ดี คงเชื่อแน่ว่า ข้อ 3. ต้องดีด้วยแน่

เช่น สมมติเราต้องการทำน้ำส้มคั้น หากเรามีวัตถุดิบดี เช่นส้มดี มีคุณภาพ เกลือสะอาด น้ำอุ่นไม่มีสารเจือปน แล้วเราก็มีกระบวนการผลิตดี แน่นอนเราต้องได้น้ำส้มคั้นที่ดี
กลับกัน หากวัตถุดิบเราไม่ดี ส้มไม่มีคุณภาพ แม้เราจะมีกระบวนการผลิตดี มันก็ไม่แน่ว่าจะได้ผลผลิตดีหรือไม่ แต่แน่นอนที่สุด หาก ข้อ 1. ก็ไม่ดี ข้อ 2. ก็ไม่ดี ข้อ 3. ก็ชัวร์ป้าดว่าไม่ดี

ในการวิเคราะห์หุ้นก็เช่นกัน ข้อมูลที่เราได้ก็ต้องดี ต้องเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่เป็นสมมติฐานหรือคิดเอาเอง ซึ่งเท่าที่ผมเจอมาส่วนใหญ่เอาแค่สมมติฐาน คิดเอาเองมาใช้ เช่น ข่าวลือ เขาเล่าว่า วงใน ฯลฯ
แล้วข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง มาจากไหน หลัก ๆ คือ ข้อมูลการซื้อขายของตลาด ที่เรามาทำเป็นกราฟ ข่าวหัวเหม่งแถลง QE (แต่ถ้าเป็นการคาดการณ์ว่าตาเหม่งจะแถลงว่า ....แบบนี้ไม่ใช่) เป็นต้น

แต่สิ่งที่ผมจะสอนให้ คือกระบวนการทางความคิดที่ใช้วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ส่วนข้อมูลนั้นทุกคนจะหามาได้อย่างไร ดีหรือเลว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน บางคนอาจจะดีกว่าผมมากมาย

เห็นจะต้องจบแค่นี้ก่อน เลยเถิดไปเป็นวิชาบริหารไปซะแล้ว

เด็กลาดพร้าว
21 ก.ค. 56 14.12 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:12:35 น.  

 

ตอนที่ 1 ความสามารถในการยอมรับความสูญเสีย : หัวใจของการเล่นหุ้น

Trader ที่เริ่มเข้ามาในวงการหุ้นใหม่ ๆ ส่วนใหญ่มักจะอยากทำกำไรมาก ๆ และรวดเร็ว ซึ่งที่จริงแล้วหากเรามีความรู้และประสบการณ์เพียงพอเราก็สามารถทำได้ แต่เมื่อเราเป็นมือใหม่ ชั่วโมงบินยังไม่สูง เรายังทำเช่นนั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนครูมวย สิ่งแรกที่จะสอนนักมวยที่เพิ่งเริ่มเข้าค่าย คือวิธีการป้องกันตัว จะตั้งการ์ดอย่างไร จะบล็อกอาวุธคู่ต่อสู้อย่างไร ครูมวยจะไม่มีการสอนการโจมตีก่อนการรู้จักป้องกันตัว Trader ที่ดีก็เช่นกัน ต้องรู้จัก และมีการฝึกปรือจนเป็นนิสัยในเรื่องการป้องกันตัว หรือที่รู้จักกันก็คือ การ Cut loss (แต่ถ้าเป็น Trader ระดับพอร์ตใหญ่ ๆ เค้าอาจจะมีวิธีป้องกันอย่างอื่นเข้ามาร่วมด้วย เช่น Tfex Option SSF เป็นต้น ที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะว่า

1. มีวิธีการอื่นที่ลงทุนแล้วเสี่ยงน้อยกว่าการเล่นหุ้นอยู่มากมาย ถ้ารับการสูญเสียไม่ได้ ก็จะโทษตัวเอง โทษคนอื่น มีปัญหาจิตใจเกิดขึ้น จนในที่สุดไม่สามารถเล่นต่อไปได้ ต้องออกจากตลาดไปในที่สุด
2. การยอมรับความสูญเสีย เพื่อจะได้ยอมรับว่าเราซื้อหุ้นผิดพลาด เมื่อยอมรับได้รวดเร็วก็แก้ไขได้ทันที ถ้าไม่ยอมรับว่าเราซื้อหุ้นผิด (หรือผิดจังหวะ) ก็จะเกิดความรู้สึกหลอนหรือจินตนาการไปว่า หุ้นจะขึ้นกลับไปที่เดิม ทำให้เสียเวลา หรือเสียโอกาสในการนำเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่นที่ดีกว่า หรือหุ้นอาจตกไปเรื่อย ๆ (บางตัวมันตกแบบให้ความหวังไปตลอดทาง มีการชักกระตุกให้ดีใจเป็นบางระยะ) ในที่สุดเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ทำให้หมดเงินไม่สามารถเล่นหุ้นต่อไปได้อีก
3. การยอมรับความสูญเสีย ทำให้เราคิดที่จะแก้ไขการเล่นที่ผิดพลาดได้ มีการวิเคราะห์การซื้อขายที่ผ่านมา ทำให้ผู้เล่นมีการพัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆ
4. การยอมรับความสูญเสีย เป็นการประกันความเสียหายได้ เหมือนการประกันรถยนต์ โดยยอมเสียเบี้ยประกัน เพื่อลดความสูญเสียเผื่อรถชนกันแล้วเสียหายมากกว่า แต่ถ้าไม่ชนก็ไม่เสียดายเบี้ยประกัน การเล่นหุ้นก็เช่นกัน ถ้ามีการประกันภัยไว้ก็จะไม่เสียหายมาก แต่ถ้าไม่มีการเคลม ก็ไม่ต้องเสียเบี้ยประกันด้วย โดยเบี้ยประกัน เท่ากับ 7 % ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อมา ซึ่งจะยอมเสียเพียงแค่นี้เท่านั้น จะไม่ยอมเสียมากกว่านี้โดยเด็ดขาด บางคนยอมเสียเบี้ยต่ำกว่านั้น เช่น 3 % 5 % เป็นต้น
5. เราไม่สามารถซื้อขายหุ้นได้ถูกต้องเสมอไป มือใหม่อาจซื้อ 10 ตัว ผิด 7 ตัว การซื้อผิดพลาดพบได้บ่อยมาก และไม่ใช่เรื่องน่าอาย การยอมรับความสูญเสียความสูญเสียไม่ใช่ความพ่ายแพ้ แต่เป็นเรื่องธรรมดาของการเล่นหุ้น
6. กำไรจากการเล่นหุ้น คือผลต่างระหว่างการได้กับการสูญเสีย ถ้าได้มากกว่าเป็นกำไร ถ้าเสียมากกว่าเป็นขาดทุน ดังนั้น ถ้าเสียให้น้อยที่สุด ได้ให้มากที่สุด จะมีกำไรในที่สุด ซึ่งในบทหลัง ๆ จะแสดงให้เห็นว่า ซื้อหุ้น 10 ตัว ผิด 7 ตัว ก็ยังได้กำไร หากเทรดตามระบบ ไม่ไร้ซึ่งวินัย

ข้อเตือนใจ การประกันความสูญเสีย คือการ Cut loss ให้เร็วที่สุด เมื่อรู้ตัวว่าซื้อผิด และการผิดบ่อยครั้งมาก ไม่สำคัญเท่ากับกำไรมากกว่าขาดทุน

ปล. ถ้าใครเล่น Option จะเห็นพวกระดับแนวหน้าที่ระหว่างซีรี่ยส์ จะมีแต่การทำ Realize Loss แต่สุดท้ายปิดซี่รี่ส์ กำไรบาน

เด็กลาดพร้าว
22 ก.ค. 56
12.45 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:14:30 น.  

 

ตอนที่ 2 วิธีการเล่นหุ้น (Trading System)

ตอนนี้เราจะมาพูดถึงหลักทั่วไปของวิธีการเล่นหุ้น ซึ่งจะแตกต่างกับการวิเคราะห์หุ้น
การวิเคราะห์หุ้น จะเป็นตัวกำหนดว่าซื้อหุ้นถูก หรือผิด แต่วิธีการเล่นหุ้น จะเป็นตัวกำหนดกำไรขาดทุน
เราซื้อหุ้น 10 ครั้ง ซื้อถูก 2 ครั้ง ซื้อผิด 8 ครั้ง ถ้าเรามีวิธีการเล่นที่ดี อาจมีกำไร ไม่ขาดทุน ดังนั้นวิธีการเล่นหุ้นที่ดี จึงต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะวิเคราะห์หุ้นเก่ง เพราะถึงแม้ไม่เก่ง ก็อาจไม่ขาดทุนถ้ามีวิธีที่ดี
ตัวอย่างวิธีการเล่นที่ดี สมมติมีเงินในพอร์ต 1 ล้านบาท เราจะกำหนดวิธีการดังนี้

1. แบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 2.5 แสนบาท
2. เริ่มซื้อหุ้นจากการวิเคราะห์ หรือจากการบอกเล่า หรือจากเสียงเชียร์ของมาร์ หรือมั่ว ๆ เอา
3. ซื้อครั้งแรก 1 ส่วน แล้วรอ
4. ถ้าหุ้นตกลงมา 7 % ขายออกทันที ขาดทุน 17500.- บาท หรือเท่ากับ 1.75 % ของพอร์ต
5. ซื้ออีก ผิดอีก ทำเหมือนเดิม จะขาดทุนครั้งละประมาณ 2 % ของพอร์ต
6. ถ้าซื้อถูก หุ้นขึ้น ปล่อยต่อไป จนขึ้นไป 3 % ซื้อครั้งที่ 2 อีก 1 ส่วน
7. หุ้นขึ้นต่อ อีก 3 % ซื้ออีก 1 ส่วน
8. หุ้นขึ้นต่อ อีก 3 % ซื้อจนหมด
9. หุ้นขึ้น 12 % ซื้อหมดพอร์ต ราคาเฉลี่ยอยู่ที่สูงกว่าราคาซื้อครั้งแรก 7 - 8 %
10 หุ้นขึ้น 20 - 25 % ขายออกทั้งหมด กำไรประมาณ 12 - 17 % ของพอร์ต
11. สรุป ซื้อหุ้นผิด 6 ครั้ง ซื้อถูก 1 ครั้ง ไม่ขาดทุนเลย แต่ถ้าทำได้ดีกว่านี้ จะเริ่มมีกำไร

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงหลักวิธีกว้าง ๆ ซึ่งในแรก ๆ อาจจะทำลำบาก เพราะยังไม่คุ้นเคย จิตใจยังวอกแว่ก ใจยังไม่เพชรฆาต ความกลัวยังอาจมาบังตาเรา เช่น

- หากแรก ๆ ซื้อผิดใจจะเสีย เพราะมันกินทุน
- พอทำตามไปถึงการซื้อครั้งที่ 2 - 3 จะมีความกลัวว่าที่ซื้อมาก่อนหน้ามีกำไร กลัวจะกลายเป็นขาดทุน เลยไม่กล้าเดินต่อ (ต้องพาไปออกคนอวดผี)
- ซื้อแล้วพอยังไม่ครบ ใจอยากจะเอากำไร จนอดทนไม่ได้ รีบขาย ไม่ทำตามหลักการ (เข้าข่ายตบะแตก ต้องไล่ออกจากสำนัก เพราะอาจเข้าข่าย ศิษย์ทรยศ ทำตัวเป็นแนวต้านกับเพื่อนคนอื่น)

ที่จริงความกลัวข้างต้นมันมีวิธีแก้ไขหมด หากได้เรียนไปเรื่อย ๆ ถึงเทคนิคต่าง ๆ แบบพอร์ตฝรั่งเค้าเล่นกัน และหากดูดี ๆ จะเห็นว่าเมื่อเราซื้อไปถึง Lot 3 แล้ว หากเล่นตามวิธี จะปิดประตูขาดทุนแล้ว

คำถามที่น่าถาม คือ ทำไมเราต้องค่อย ๆ แหย่เข้าไปทีละ lot
อยากให้เราเปรียบเวลาเราเดินข้ามบ่อโคลน การที่เราจะข้ามให้ปลอดภัย เราต้องค่อย ๆ แหย่ไปทีละก้าว พอก้าวแรกมั่นคงเราจึงตามด้วยก้าวสอง หากก้าวแรกทำท่าจะจม เราก็ถอนเท้าออก ไม่ไปต่อ และเล่นแบบนี้เราไม่ต้องซื้อหุ้นหลายตัว เป็นหลักการ Cut Loss and Let Profit Run

ข้อห้ามที่ต้องสักไว้ที่หน้าผากเราเลย คือ ห้ามซื้อเฉลี่ยขาลง แต่เฉลี่ยขาขึ้นแทน

เด็กลาดพร้าว
22 ก.ค.56
17.53 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:16:00 น.  

 

ตอนที่ 3 ให้อยู่เหนืออารมณ์ในการเล่นหุ้น

Trader จะมีจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดที่แตกต่างจากพวก VI คือ อารมณ์ขณะที่เล่น โดยจะมีอารมณ์ที่อ่อนไหวไปตามสถานการณ์ คือถ้าหุ้นขึ้นมักจะโลภมาก แต่เวลาหุ้นลงมักจะกลัวมาก

เห็นหุ้นขึ้นก็มักคิดว่า หุ้นจะขึ้นต่อไป
เห็นหุ้นลงก็คิดว่า หุ้นจะลงไปเรื่อย ๆ
พอหุ้นขึ้นแล้ว เห็นหุ้นขึ้นก็กลัวจะตกกลับลงมา รีบขายออกเร็ว ๆ กำไรนิดหน่อยก็เอา
พอหุ้นตกก็กอดหุ้นไว้ คิดว่าหุ้นจะขึ้นกลับมาเท่าราคาเดิม ไม่ยอมขายออก

ดังนั้น อารมณ์คนเล่นหุ้นคือ
1. ถ้าถือเงินสด กลัวซื้อหุ้นไม่ทัน รีบซื้อ โดยไม่ดูจังหวะเลย บางทีเลยจังหวะซื้อแล้ว ก็ยังฝืนซื้อ กลายเป็นซื้อหุ้นราคาดอย
2. ถ้าถือหุ้นไว้ ราคากำลังแรลลี่ กลัวตกกลับ รีบขายเร็ว กลายเป็นขายหมู
3. หุ้นตก มีเงินสด คันมือ รีบซื้อ เพียงคิดว่าซื้อแล้วไม่ขาดทุน ซึ่งผิดปรัชญาในการเล่นหุ้น กลายเป็นถูกแล้วมีถูกกว่า หรือกอดแช่แข็งรอเวลามันจะวิ่ง กลายเป็นเงินไม่ทำงาน
4. หุ้นตก ถือหุ้นไว้ไม่ขาย คิดว่าจะกลับขึ้น

แล้วเราจะทำอย่างไร ให้อยู่เหนืออารมณ์ได้
ซื้อตามระบบที่คิดไว้อย่างเคร่งครัด คือต้องมีวินัยในการเล่นหุ้น เช่นซื้อแล้ว หุ้นตก 7 % คัททันที ถ้าหุ้นขึ้น ปล่อยให้ขึ้นต่อ หรือซื้อเพิ่มทันที คือใช้ระบบเล่น ไม่ใช้อารมณ์เล่นนั่นเอง

เทรดเดอร์ชื่อดัง ๆ ของโลก เข้าจะใช้เวลาที่หลังตลาดปิด ทบทวนการเล่นที่ผ่านมาของวันนั้ และจดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ลงในบันทึกพร้อมแนวทางป้องกัน และแก้ไขไว้อย่างละเอียด และเตรียมแผนการเล่นอย่างละเอียดสำหรับวันรุ่งขึ้น และในเวลาเทรด เขาจะเดินตามแผน โดยไม่พะวงกับสิ่งเร้ารอบตัว

สมัยที่ผู้เขียนยังทำงานเป็น Prop. Trade เวลาเทรดก็ยังนั่งเพียงลำพัง พร้อมพนักงานคีย์ข้อมูลในห้องเทรดส่วนตัว เท่านั้น ไม่มีการรับ หรือโทรศัพท์ หรือ Chat โดยเด็ดขาด

ข้อควจจำ. .. สาเหตุที่ทำให้คนเสียหุ้นมากที่สุด คือ เล่นตามอารมณ์ และไม่มีวินัยในการเล่น

เด็กลาดพร้าว
25 ก.ค. 56
10.45 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:17:18 น.  

 

ตอนที่ 4 เล่นหุ้นต้องรู้จักแก้ไขอยู่เสมอ

เมื่อเราซื้อหุ้นแล้วหุ้นตก นั่นไม่ใช่เพราะโชค แต่เป็นเพราะเรามีความบกพร่องที่ต้องแก้ไขทุกครั้งที่ผิดพลาด ให้วิเคราะห์หาสาเหตุว่าการซื้อขายมีจุดใดที่ผิดพลาด ก็จะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ อุทธาหรณ์ที่เกิดในวันนี้ก็เช่นกัน เราจะต้องมาทบทวนว่าเราผิดพลาดในส่วนใด และวางแผนสำหรับป้องกัน และแก้ไขสำหรับวันพรุ่งนี้ สมัยที่ผู้เขียนยังเปิดบล๊อกที่สินธร จะให้สมาชิกเข้ามาทำ Workshop โดยกำหนดให้ทุกคนมารายงานแผนสำหรับวันว่าจะจัดการอย่างไรกับพอร์ต แล้วผมจะเป็นคน Comment ให้

หลายครั้ง เราฟังจากคนอื่นแล้วซื้อถูก ซึ่งการซื้อถูกยังไม่สำคัญเท่ากับการที่ต้องรู้ว่าทำไมเราต้องซื้อหุ้นตัวนี้

ขอให้เรานำวิธีการจากผู้รู้หลาย ๆ คนมาวิเคราะห์ แล้วประยุกต์ให้เหมาะสมกับนิสัยเล่นของตัวเอง และยอมที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอยู่เสมอ ถ้าทำได้แบบนี้ เราจะเป็น Trader ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตอย่างแน่นอน

ปล. วันนี้ถ้าใครเล่น Option จะเห็นได้ว่ามีช่วงเวลา และจังหวะให้เราสามารถเข้าไปทำ Spread เอากำไรแทบจะเรียกว่า 99.99 % เลย ไว้วันหลังใครสนใจจะมาสอนให้ แต่เบื้องต้นจะไม่สอน ต้องไปหาอ่านเอาเอง จะสอนเฉพาะเทคนิคอย่างเดียว เล่นอย่างไร หุ้นขึ้นก็กำไร ลงก็กำไร เค้า Panic กันเราก็กำไร

ในบทต่อ ๆ ไป จะเริ่มเข้าใกล้กับภาคปฎิบัติมากขึ้นแล้ว

เด็กลาดพร้าว
25 ก.ค. 56
20.25 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:18:22 น.  

 

SCORE : รูปแบบการเล่นหุ้นอีกวิธีหนึ่ง

วันนี้จะยังไม่ไปต่อนะครับ แต่จะขอแทรกวิธีการเล่นหุ้นในอีกรูปแบบหนึ่ง
ก่อนหน้าเคยบอกวิธีการเล่นหุ้นออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสร้างพอร์ต ระยะจัดการพอร์ต และระยะจัดการกำไร แต่วันนี้จะมาแบ่งการเล่นหุ้นเป็นอีกแบบหนึ่ง (แต่ที่จริงก็คล้ายกันกับที่เคยสอนมา) แล้วแต่ใครจะชอบวิธีไหน วิธีนี้คือ SCORE โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ

1. Select The Investment คือขั้นตอนการเลือกว่าจะลงทุนอะไร จะซื้อหุ้น หมายตาหุ้นตัวไหนอยู่ หรือจะซื้อ TFEX หรือ จะเปิดเกมส์ด้วย SSF หรือ Option หรือจะผสมผสานกัน ตรงนี้ท่านต้องเลือกให้ชัดเจน ขั้นตอนนี้เปรียบเทียบกับที่เคยเขียนไว้ ก็คือ ขั้นตอนการหาหุ้นเข้า Hit List นั่นเอง
2. Choose The Best Strategy เป็นขั้นตอนการเลือกกลยุทธที่จะใช้ในการ Opening Port โดยเราอาจจะมีแผนที่ดีที่สุดสำหรับหุ้น หรือ TFEX/Option/SSF แต่ละตัว เช่น หุ้นตัวนี้เราจะเล่นแค่ Sideway หุ้นตัวนี้เราจะเลือกเข้าแบบ Aggressive Approah ครึ่งหนึ่งก่อน หุ้นตัวนี้เราจะเข้าแบบ Wait For Retacement ที่ราคาอะไร หุ้นตัวนี้เราไม่แน่ใจแต่อยากจะเข้าพร้อมเตรียม Hedge ด้วย Option เป็นต้น สำหรับคนที่งงเรื่องการเข้าซื้อ กลับไปอ่านบทก่อนหน้านี้ หรือ Option ตัวนี้เราจะเข้าทำ Carlendar Spread ทันที หุ้นตัวนี้เราจะติดตามใกล้ชิด เป็นต้น
แต่เหนือสิ่งใด เราจะต้องกำหนดแผน Cut Loss หรือ Hedge ป้องกันความเสียหายไว้ด้วย หลายคนถามว่า แล้วเราจะใช้กลยุทธเดียวไม่ได้หรือ ขอตอบว่า ไม่มียาปฎิชีวนะใดในโลก ที่ฉีด หรือกิน เข็ม/เม็ด เดียวแล้วรักษาได้ทุกโรค
3. Open the Trade with a Plan เป็นขั้นตอนหลังจากข้อ 2 ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการซื้อหุ้น/Option เข้าพอร์ต เราจะต้องทำตามแผนอย่างเคร่งครัด เช่นเราเลือกว่าจะเข้าแบบ Aggressive บางส่วน ขั้นตอนนี้เราก็อาจจะเป็น เช่น ไปตั้งรอที่ Bid ส่วนหนึ่ง ของไม้แรก และยิง Offer ทันที ครึ่งหนึ่งของไม้แรก แบบนี้ หรือหุ้นกำลังย่อ อาจจะถอย Bid ลงมา เป็นต้น

แต่สิ่งที่เป็นข้อห้ามเลย คือ อย่าซื้อเมื่อพลาดจังหวะ บางคนเป็นเดือดเป็นแค้น ต้องซื้อให้ได้ ไล่ตามซื้อเหมือนกลัวตกรถ ผลก็คือ เราโกยเอาหุ้นที่ซื้อคร่อมจังหวะมาไว้ตรึม เวลาคัทจะเจ็บหนัก แม้ทำตามระบบ
4. Remember Your Plan and Stick to It อันนี้ก็เพิ่งสอนไปเมื่อวานว่าต้องทบทวนการเทรดในแต่ละวัน ว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหน ส่วนไหนที่ไม่ไปตามที่เราคาดไว้ แต่ที่สำคัญ คือต้องเทรดตามแผนของเราอย่างเคร่งครัด ต้องมี นายวินัยเป็นเพื่อนตลอด
5. Exit Your Trade เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเทรด คือเอากำไรออกมา แต่การเอากำไร ไม่ใช่นึกอยากจะขายเมื่อมีกำไรแบบนั้นไม่ได้ เราจะต้องวางแผนไว้เช่น ดูว่าเมื่อหุ้นถึงจุด Peak แล้ว เราจะทะยอยขาย หรือจะ Take Profit 1/2 เมื่อกำไร หรือเมื่อหุ้นถึงจุดไหน หรือเมื่อหุ้นแสดงอาการอย่างไร เป็นต้น เพราะมีหลายคนเอากำไรออกจากตลาดไม่เป็น สุดท้ายมายืนเสียดายร้องไห้ส่งรถหมู เป็นต้น

เล่นหุ้นต้องใจเพชรฆาต ถึงคราวฆ่า ต้องฆ่าให้ตาย ต้องเป็นคนใจบาป ขายหุ้นแล้ว คนอื่นแทบเอาไปทำกำไรอีกไม่ได้ (คือเรายอมบาปคนเดียว)

ผมเคยตั้งกระทู้ไว้เมื่อตอนต้นเดือนแสดงให้เห็นถึงการทำกำไรทันทีในตลาด Option ยังจำได้ มีคนมาแขวะว่าทำแบบผมแล้วขาดทุนแน่ ผมบอกกำไรแน่ มากด้วย มาถึงตอนนี้ ที่ผมซื้อเข้าให้พอร์ตหลานผม (ผมกำลัง Workshop ให้หลานผมดู) ยังกำไรตลอด ไม่ว่าตลาดจะ Panic ไปทางไหน

วันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ โชคดีทุกคนครับ

เด็กลาดพร้าว
26 ก.ค. 56
18.30 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:20:19 น.  

 

Workshop กับความรู้ที่เรียนไป

วันนี้เราจะมาเริ่มองทำ Workshop กันดู โดยจะใช้ความรู้เฉพาะที่เราได้เรียนไป แล้วจะดูว่าผลเป็นอย่างไรกันบ้าง โดยความรู้เราจะมีเพียงแค่

1. วิธีการเลือกหุ้น (ย้อนหลังไปอ่านตอนเก่า ๆ ดู) แต่สรุปคือ
1.1 ต้องเป็นหุ้นขาขึ้น
1.2 ต้องมีโวลุ่มสม่ำเสมอ และมีปริมาณมากพอ
1.3 ต้องมีการ Breakout มาก่อน โดยองค์ประกอบของการ Breakput คือ
1.3.1 วันเบรคกราฟจะต้องเป็นแท่งยาวใส (เรียกว่ามี Spread กว้าง)
1.3.2 ราคาจะต้องทะลุเลย High เก่า (เรียกว่าทำลายสถิติ) อาจจะเป็น 20 วัน 60 วัน 100 วัน 200 วัน All time High
1.3.3 Volume วันเบรคยิ่งมากยิ่งดี และไม่ควรจะน้อยกว่า Moving Average Volume 15 -20 วัน
2. เรารู้แต่เพียงว่าแบ่งเข้าเป็น Lot รวม 4 Lot
3. เรายังไม่รู้เรื่องแนวรับ แนวต้าน จุด Take Profit จุด Cut loss รู้เพียงว่าลง 7 % คัท
4. เราไม่มีความรู้เกี่ยวกับบริษัทที่เราจะซื้อหุ้นเลย
5. เราไม่เคยอ่านหนังสือพิมพฺ์ ไม่เคยติดตาม ดาวน์โจนส์ ไม่รู้เรื่องการเมือง ฯลฯ
6. เราจะไม่นำการคาดการณ์ หรือข่าวรอบข้างมาประกอบทั้งสิ้น
7. เราตั้งเป้าจะดูผลเมื่อจบไตรมาส 3
8. เราจะเล่นหุ้นอย่างเดียว ไม่มีการ Hedge กับ Derivative ทั้งสิ้น

เราจะดูว่า เรามีความรู้เพียงแค่นี้จะเอาตัวรอดจากตลาดหุ้นได้หรือไม่ เปิดโอกาสให้ทุกคนเสนอรายชื่อหุ้นที่เข้าองค์ประกอบ โพสต์มาได้ แล้วเดี๋ยวผมจะคัดไว้ 4 ตัว จะสมมติว่าได้เข้าซื้อไปเมื่อวานนี้ 1/4 ของพอร์ตเฉพาะตัวนี้ โดยสมมติว่าเรามีเงิน 4 ล้าน เข้า 4 ตัว ๑ ละ ล้าน

สำหรับ Option เปิดโอกาสให้ลองฝึกฝน โดยสมมติว่าเมื่อวานท่านได้เข้า Option ไป 1 สัญญา ตรงไหนก็ได้ ราคาอะไรก็ได้ (แต่ไม่ใช่แบบซื่อบื้อสุด ๆ ) แล้วผมจะ Demo ให้มีกำไรให้ดู

วันนี้เป็นการเล่นสนุก ๆ กันนะครับ เพื่อคลายเครียด

เด็กลาดพร้าว
27 ก.ค. 56
12.30 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:21:05 น.  

 

ตอนที่ 5 ปริมาณการซื้อขายจะเป็นสิ่งยืนยันแนวโน้มหุ้น

สวัสดีเช้าวันหยุดครับ แฟนเพจทุกท่าน

วันนี้เราจะเริ่มเข้าสู่การใช้ความรู้เท่าที่เรียนมา มาผสมผสารกันเป็นกลยุทธเบื้องต้นพร้อมกับทำ Workshop ไปพร้อม ๆ กัน สำหรับมือใหม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะค่อย ๆ ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และไต่ step ขึ้นไปอย่างช้า ๆ แต่แน่นหนา เมื่อวานนี้เราได้เริ่ม workshop โดยจำลองว่าเราจะเข้าเทรดหุ้นตามวิธีการเบื้องต้น และผมได้เลือกหุ้นไว้ จำนวน 3 ตัว ในการ Demo ดังนี้

1. PTL ได้จำลองว่าได้เข้าซื้อที่ราคาปิดวันศุกร์ จำนวน 1/4 ของที่ต้องการ ราคา 11.70 จำนวน 20000 หุ้น เหตุผลที่ตัดสินใจเช่นนี้เพราะ หุ้นตัวนี้มีองค์ประกอบของกระทิงอย่างครบถ้วน อันได้แก่ หุ้นมีการ Breakout 100 วัน มีการเปิด Run away gap รวมถึงการ Breakout มีช่วงกว้างราคา และโวลุ่มสนับสนุน (ประมาณ All time high ซึ่งอาจนับเป็นการ Break ด้วย Free float ได้) ด้วยเหตุนี้จึงต้องเข้าไม้แรกด้วยวิธี Aggressive Entry (อ่านวิธีการเข้าซื้อหุ้น) เพราะถ้าช้าหุ้นอาจจะไม่รอเราอีก และถ้าซื้อช้าจะเป็นการเข้าคร่อมจังหวะ และเราจะเข้าที่ 12.00 เป็นล็อต 2 เพราะเป็นช่วงที่ราคาขยับไป 3 % ตามวิธีของเรา (ที่จริงมันจะทะลุ High ตรงนั้นพอดี ซึ่งหากเราแตกฉานแล้ว จุดนั้นเราจะเข้าล็อต 2 และ 3 พร้อมกันเลย)
2. Hmpro ที่จริงหุ้นตัวนี้ ว่าไปยังไม่เด่นมากนัก เพียงต้องการแสดงให้เห็นว่าการเล่นหุ้นต้องมีการรอคอยจังหวะ ไม่ใช่แค่มีเงินกับความอยากเท่านั้น หุ้นตัวนี้เบรคอ่อน ๆ ขึ้นมาเมื่อ 24/7/2556 และพักตัวซับแรงขายด้วยโวลุ่มที่ลดน้อยลง และราคาไม่ลงต่ำกว่า จุดเบรค 12.30 แต่เรายังไม่มั่นใจว่าหุ้นจะมีแนวโน้มทะลุขึ้นไปหรือไม่ ซึ่งต้องรอโวลุ่ม และการเบรคที่ 13.10 ก่อนเท่านั้น จึงจะซื้อ ซึ่งการซื้อแบบนี้เป็นการซื้อแบบ Wait for Second Breakout ต่างจาก PTL ตัวนี้จึงต้องมีการรอคอยการ Confirm
3. PTTGC เราจะสมมติว่าซื้อราคาปิดวันศุกร์ที่ 74.00 จำนวน 3000 หุ้นเช่นกัน และซื้อ Lot 2 ที่ 75.00 หุ้นตัวนี้เป็นกระทิงย่อม ๆ เช่นกัน แต่เหตุผลที่เอามาสาธิตก็เพราะว่า หุ้นนี้มีข่าวที่จะมีผลกระทบต่อราคาหุ้น แต่เราบอกแล้วว่าเราจะไม่รับรู้กับข่าว และการซื้อของเราเป็นการซื้อแบบ Wait for Retracement เพราะวันพฤหัสเกิด Panic แต่วันศุกร์หุ้นดีดกลับมาได้ทันที เชิงจิตวิทยาบอกว่าหุ้นเริ่มอยู่ในความสนใจของนักลงทุนแล้ว และโวลุ่มวันศุกร์ Support ใช้ได้เลย

สิ่งที่จะอธิบายในวันนี้คือ หุ้นนั้นถ้าไม่มีการซื้อขาย ราคาก็จะไม่เคลื่อนไหว ราคาจะเคลื่อนไหวได้จะต้องมีการซื้อขาย นั่นก็คือต้องมีโวลุ่มเข้ามา แต่หุ้นหากเปรีัยบเหมือนรถยนต์ ราคาก็คือพวงมาลัย และโวลุ่มก็คือเชื้อเพลิง รถจะวิ่งได้ไกล ต้องมีเชื้อเพลิงบรรจุมากพอ แต่รถจะวิ่งไปทางไหน ขึ้นอยู่กับพวงมาลัย หรือราคาของหุ้นนั่นเอง

ดังนั้น การดูแนวโน้มของหุ้น จะบอกได้ว่าหุ้นจะไปในทิศทางขึ้น หรือลง ในขฯะที่ปริมาณการซื้อขาย จะช่วยยืนยันแนวโน้มว่าจะเป็นจริงหรือไม่

ถ้าราคาขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อมด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าหุ้นมีแนวโน้มขาขึ้น เช่น PTL
ถ้าราคาตกลงมาเรื่อย ๆ พร้อมด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าหุ้นมีแนวโน้มขาลง เช่น KK

ดังนั้น ถ้าหุ้นราคาสูงขึ้น แต่ปริมาณการซื้อขายกลับลดลงเรื่อย ๆ แสดงว่าหุ้นจะกลับตัว หรือพักตัวหรือพักตัวในไม่ช้า
ถ้าหุ้นตก แต่โวลุ่มน้อยลงเรื่อย ๆ แสดงว่าหุ้นจะหยุดตกในไม่ช้า

เด็กลาดพร้าว
28 ก.ค. 56
11.35 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:22:22 น.  

 

ตอนที่ 6 ปริมาณการซื้อขายนำหน้า หรือไปพร้อมกับราคา

โดยปกติแล้วการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นนอกจากจะดูปริมาณการซื้อขายเป็นสิ่งยืนยันแล้ว เราอาจจะต้องดูจังหวะการเปลี่ยนแปลงของโวลุ่มด้วย

โดยปกติปริมาณการซื้อขายจะต้องนำหน้าการเปลี่ยนแปลงของราคา ถ้าราคาขึ้นแต่ไม่มีโวลุ่ม แสดงว่าหุ้นไม่ขึ้นจริง แต่ถ้ามีโวลุ่มขึ้นนำไปก่อน แล้วราคาขึ้นตามมา จะยืนยันการขึ้นจริงแน่ๆ
แล้วถ้าเผื่อว่าราคาวิ่งนำไปก่อนหน้าหลายช่วงตัว แล้วโวลุ่มเพิ่งจะวิ่งตามมาล่ะ แบบนี้จะมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการชักรอกขึ้นไปเพื่อโยนหุ้น (โวลุ่มที่ตามมานั่นแหละ)
ในช่วงราคาตกก็เช่นกัน ถ้าราคาตกโดยไม่มีโวลุ่ม แสดงว่าไม่ตกจริง แต่ถ้าโวลุ่มเพิ่มขึ้นก่อน ต่อมาราคาจึงตก จะยืนยันการตกจริงของหุ้น

คราวนี้กลับมาเรื่อง Workshop ของเรา เช้านี้ตลาดออกสีแดงเข้มลบไป 21.12 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 12577.02 ล้านบาท ซึ่งดูแล้วมูลค่าการซื้อขายเทียบกับวันก่อน ๆ ถือว่าเบาบาง ถ้าบอกแบบนี้แล้วเราพอจะวิเคราะห์เท่าที่ความรู้ให้ไปได้ไหม เอาความรู้ ย่อหน้าแรก ๆ นี่แหละ

ส่วนสถานการณ์หุ้นที่เรา Demo ในครึ่งวันนี้

1. PTL เช้านี้ขึ้นไปแตะ 12.40 กาอนจะมาปิดที่ 12.20 ถ้าตามกลยุทธที่เราวางไว้ เราจะเข้าที่ 12.00 ล็อต 2 อีก 20000 หุ้น และล็อต 3 ที่ 12.30 อีก 20000 หุ้น เป็นอันว่าตอนนี้เรามี PTL 60000 หุ้น ราคาเฉลี่ย 12.00 แต่เราจะยังไม่ขาย รอจนกว่าจะมีสัญญาณขายเกิดขึ้น และรอเข้าล็อตสุดท้ายที่ 12.60 อีก 20000 หุ้น

ขอแถมวิเคราะห์ตัวนี้ให้อีกนิด วันนี้ Breakout ขึ้นไปอีก ด้วย Spead ที่กว้าง และมีโวลุ่ม Support พอประมาณ ซึ่งเราจะเห็นว่ากาอนปิดภาคเช้า หุ้นกำลังทำ Correction สลัดพวกศิษย์ทรยศให้ออกไปจากตลาดก่อน เดี๋ยวบ่ายหากแรงขายทำกำไรเริ่มน้อยลง ๆ (ราคาลง โวลุ่มไม่มา แสดงว่า...) จนหมดไป และมีโวลุ่มทะลักเข้ามา จะดึงหุ้นขึ้นเบรคไปอีก แต่ทั้งนี้เป็นการวเคราะห์จากความรู้ที่ให้ไปเท่านั้น

ให้เราลองหลับตาแล้วคิดว่าเราเป็นเม่าใหม่ และซื้อ PTL เมื่อวันศุกร์ เอาราคาเดียวกับเราก็ได้ วันนี้เค้าจะคิดอย่างไร ผมเชื่อแน่ว่าจิตใจมันจะสั่น ใจหนึ่งก็อยากได้กำไรมาก ๆ อีกใจหนึ่งก็กลัว ยิ่งตลาดลบแบบนี้ มันยิ่งบีบหัวใจจอร์จมาก ยิ่งชั่วโมงสุดท้ายก่อนตลาดปิด การซื้อขายยิ่งลดลง ๆ ราคาก็ลดลง ๆ ไม่ไปต่อ ผมเชื่อว่าเม่าส่วนใหญ่จะรีบคายหุ้นออกเพื่อเอากำไร พอขายเสร็จก็ไปนั่งโม้กับเพื่อน บางคนก็จะประกาศตัวเป็นเซียนสอนคนอื่นทันที 555
ไอ้ที่ขายออกมานี่แหละครับ มันเป็นกลยุทธตัดไฟต้นลม ให้กำไรนิดหน่อยแล้วให้ออกไปจากตลาดตัวนี้ซะ ดีกว่าให้ไปเป็นแรงต้านในราคาสูงกว่านี้ และบางทีกลุ่มคนเหล่านี้ พอยืนร้องไห้ส่งรถหมูเสร็จ จะเข้ามาช่วยซื้ออีกครั้งในราคาที่สูงกว่านี้ แล้วแบบนี้หุ้นมันจะไม่ไปได้อย่างไร

2. Hmpro เช้านี้ลบไป 2 ช่องถือว่าเรายังนั่งดูเฉย ๆ
3. PTTGC เข้าล็อตแรก ตอนนี้โดนไป 1.69 % ยังห่างไกลกับจุดคัทมาก ซึ่งเราก็รอต่อไป

จากการที่เรา Workshop จะเห็นว่าหากเรามีวิธีการเล่นที่ดี (นี่แค่เบื้องต้นนะ) เราจะไม่เครียดกับการเล่นหุ้น ไม่ประสาทเสีย วันนี้ถือว่าเราใช้ยุทธวิธี SCORE เล่นกับมัน ใครยังไม่รู้กลับไปอ่านได้

บทความวันนี้ อยากให้เม่าใหม่ได้อ่านมาก ๆ อ่านซ้ำซัก 10 เที่ยวก็ได้ ให้เข้าเนื้อไปเลย

เด็กลาดพร้าว
29 ก.ค. 56
12.55 น.

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:23:17 น.  

 

ตอนที่ 7 แนวรับ และแนวต้าน

สวัสดีครับ วันนี้เราจะคุยกันเรื่องแนวรับ แนวต้าน ของหุ้นกัน เรื่องนี้ว่าไปแล้วเป็น Topic ที่มีข้อกังขา และสงสัยกันมาก เราจะมาดูกันว่าแนวรับ แนวต้านจะดูกันอย่างไร

1. บริเวณที่เป็นแนวรับเมื่อหุ้นตกลงมาถึงบริเวณนั้นแล้วจะลดลงไปกว่านั้นอีก ส่วนแนวต้านคือบริเวณที่เมื่อหุ้นขึ้นไปถึงตรงนั้นแล้วจะไม่ขึ้นต่อไปอีก
2. หากบริเวณดังกล่าว ทั้งแนวรับและแนวต้านมีการไปถึงส่วนนั้นบ่อยครั้ง และทุกครั้งที่ไปถึงจะเกิดอาการเดียวกัน จะยิ่งยืนยันการเป็นแนวรับ แนวต้านมากยิ่งขึ้น
3. สิ่งที่จะยืนยันว่าบริเวณนั้นเป็นแนวรับแนวต้านอีกปัจจัยหนึ่งคือโวลุ่ม หากบริเวณนั้นยิ่งมีการซื้อขายมากเ่ท่าไร ก็จะยืนยันได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
4. หากหุ้นหยุดตก หรือหยุดขึ้น และในกรณีที่หุ้นกลับมา ณ บริเวณนั้นอีก แต่ปริมาณการซื้อขายน้อยกว่าครั้งแรกมาก เป็นการยืนยันว่าบริเวณนั้นเป็นแนวรับ แนวต้านจริง

วันนี้อาจจะเขียนไม่ค่อยดี มีงานกองเต็มข้างหน้า ขอยกยอดไปเขียนเรื่อง แนวรับ แนวต้านกับ Nicolas Darvas เจ้าของทฤษฎีกล่องตอนเย็นแล้วกัน

ส่วน Woskshop ตอนนี้ถือว่าเรายังใช้ความรู้เบื้องต้น ดังนั้น ผมถือว่าเราได้คัท PTL ไปที่ 11.90 ทั้งหมด ซึ่งจะขาดทุนทั้งหมด 6000 บาท จากเงินทุน 720000 บาท

ปล. PTL ที่จริงมันยังไม่เลิกนะครับ มันกำลังหลอกรับประทานอยู่ คนไม่ยอมคายของ เลยสร้างความน่ากลัวให้เห็น

 

โดย: thungphet 31 กรกฎาคม 2556 5:24:16 น.  

 

ตอนที่ 8 ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวรับ แนวต้าน

วิธีการหาแนวรับ แนวต้านง่าย ๆ
1. จุดสูงสุดและต่ำสุดเก่า เป็นจุดที่นักลงทุนใช้เป็นข้อมูลว่า ควรจะซื้อและขายบริเวณนี้
2. จุดราคาที่เป็นเลขถ้วน ๆ เช่นแนวต้านที่ราคา 40 หรือ 100 เป็นต้น
3. จุดทางจิตวิทยาที่แข็งแกร่ง ได้แก่จุดที่หุ้นเปิดช่องว่าง (Gap) ไว้ก่อนหน้านี้ เช่น หุ้นปิดเมื่อวานราคา 40 เปิดวันนี้ 41 แล้วขึ้นไป จุดราคา 41 จะเป็นแนวรับทันที หุ้นขาลงก็เช่นกัน
4. จุดที่แนวค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่พาดผ่าน เป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้าน
5. จุดที่ราคาตกลงมาพัก (Retracement) เช่น Fibronacci คือหุ้นขึ้นไปแล้วพักตัวลงมาจากจุดสูงสุด เป็น 1/3 , 1/2 , 2/3 ของราคาสูงสุดถึงต่ำสุด เป็นต้น เช่น หุ้นขึ้นจากราคา 40 ไปถึง 60 จะตกมาพักตัวที่ราคา 53, 50 , 46 แล้วขึ้น เป็นต้น

เมื่อเราหาจุดที่น่าจะเป็นแนวรับ แนวต้านได้แล้ว วิธีการที่จะดูว่าแนวเหล่านั้น น่าเชื่อถือเพียงใด มีหลักการดังนี้.-
1. จุดนั้น ถ้ามีปริมาณการซื้อขายมากเพียงใดก็ยิ่งน่าเชื่อถือมากตามด้วย
2. จุดนั้นเป็นจุดที่หยุดหุ้นที่ขึ้น หรือลงมาอย่างแรงเพียงใด ก็น่าเชื่อถือตามไปด้วย เช่น หุ้นขึ้นมาอย่างแรงมาก เช่นขึ้นมา 50 % รวดเดียว ถ้าไปเจอจุดที่หยุดตกการขึ้นได้ทันที ก็น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นแนวต้านที่แข็งแรง
3. จุดที่อ้างอิง ถ้ายิ่งใกล้จะยิ่งน่าเชื่อถือมากกว่า เช่นจุดสูงสุดเมื่อ 1 ปีก่อนที่ราคา 40 บาท และจุดสูงสุดเมื่อ 6 เดือนก่อนที่ 38 จะได้ว่า 38 เป็นแนวต้านที่น่าเชื่อถือมากกว่า

เด็กลาดพร้าว
3 ส.ค. 56
15.45 น.

 

โดย: thungphet 5 สิงหาคม 2556 6:23:08 น.  

 

ตอนที่ 9 การเคลื่อนไหวของหุ้น

การเคลื่อนไหวของหุ้นจะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ 1. การเคลื่อนไหวออกแนวข้าง (Sideway) 2. การเคลื่อนไหวขึ้น (Moving Up) และ 3. การเคลื่อนไหวลง (Moving Down)

1. Sideway คือการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น ระหว่างแนวรับ กับแนวต้าน โดยหากมองดูกราฟจะเห็นเป็นลูกคลื่น ซึ่งอาจจะมีการขึ้นลงได้หลายรอบ ผู้เล่นที่สันทัดจะอาศัยจังหวะที่หุ้นอยู่ในช่วงนี้ เล่นรอบ หรือเล่นตามกรอบ โดยใช้หลัก ซื้อให้ใกล้แนวรับ และขายใกล้ ๆ แนวต้าน ดังนั้น การอ่านแนวรับ แนวต้านที่แม่นยำ จะช่วยในการเล่นกรอบได้ดี
2. Moving Up เป็นการเคลื่อนที่ของราคาหุ้นทางขึ้น ต่อจากการการ Sideway โดยเมื่อหุ้นเคลื่อนตัวมาแบบ Sideway นานพอสมควร ก็ทะลุแนวต้านขึ้นไปด้วยโวลุ่มที่มากอย่างมีนัยสำคัญ และขึ้นต่อไปกลายเป็นขาขึ้น
ข้อสังเกตของหุ้นที่ sideway แล้วจะทะลุขึ้นนั้น ให้สังเกตว่าหุ้นจะค่อย ๆ ทำ Higher Low คือยกจุดต่ำสุดขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่แนวต้านจะไม่มีการขยับ หรือขยับน้อยมาก หากดูในกราฟแล้วจะเห็นเป็นรูปชายธง ยิ่งไซร้นานเท่าไหร่ ยิ่งสร้างความสยิวและ/หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้ถูกไซร้มากเท่านั้น แบบนี้เมื่อหุ้นทะลุจะไปได้ไกลกว่า อธิบายทางจิตวิทยามวลชนคือ ผู้ที่อยากได้หุ้นเมื่อไม่ได้หุ้นก็พยายามขยับให้ราคาสูงขึ้น จุด Low จึงยกขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อราคาหุ้นก็พยยามกดราคาหุ้นเอาไว้เพื่อให้ได้ราคาที่ต่ำ และสร้างแรงกดดันให้กับคนที่อยากขายหุ้น ราคาแนวต้าน (กรอบบนจึงไม่มีการขยับ หรือขยับน้อยมาก) คราวหลังเมื่อเราเจอแบบนี้จะได้ดูภาพออก
3. Moving Down จะเป็นการเคลื่อนที่ของหุ้นต่อจาก sideway ในทางลง โดยเมื่อหุ้นเคลื่อนตัวแบบ Sideway นานพอสมควร ก็ทะลุแนวรับลงไป ด้วยโวลุ่มที่มากอย่างมีนัยสำคัญ และลงต่อไปกลายเป็นขาลง

จุดสำคัญที่ต้องจำคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะทะลุกรอบบน หรือลงกรอบล่าง จะต้องมีปริมาณการซื้อขายที่มากมาสนับสนุนเสมอ ร่วมกันกับช่วงการซื้อขายที่กว้างมากในวันที่เปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวนั้นจึงจะมีนัยสำคัญ พูดง่าย ๆ ถ้าเป็นการขึ้น แรงซื้อก็ชนะแรงขายดดยสิ้นเชิง ถ้าเป็นการลง แรงขายชนะแรงซื้อ แต่ถ้าหุ้นตกต่ำกว่าแนวรับแต่โวลุ่มน้อย แสดงว่าไม่ตกจริง อาจเป็นการเขย่าให้ลิงตกต้นไม้เท่านั้น เพราะการจะเอาหุ้นจากมือต้องสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น หรือหากทะลุแนวต้านด้วยโวลุ่มที่น้อย แสดงว่าเป็นการลากโชว์เพื่อดูว่ามีรายย่อยตามมากน้อแค่ไหน จะได้ประเมินถูกว่ามีใครพร้อมจะเข้ามาแย่งหุ้นมากน้อยแค่ไหน แบบนี้โอกาสจะตกกลับเพื่อเอาหุ้นกลับคืนมีมาก

วันนี้ขอเขียนเท่านี้นะครับ

เด็กลาดพร้าว
4 ส.ค. 56
17.50 น.

 

โดย: thungphet 5 สิงหาคม 2556 6:24:28 น.  

 

ตอนที่ 10 วิธีการเล่นหุ้น

วิธีการเล่นหุ้นนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ เล่นขาขึ้นกับเล่นขาลง

ในการเล่นขาขึ้นนั้น ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย ๆ คือ

1. เล่นรอบ หรือเล่นในกรอบ หุ้นที่เหมาะจะเล่นในรูปแบบนี้ควรเป็นหุ้นที่อยู่ในช่วง Sideway คือจะซื้อบริเวณแนวรับ และจะไปขายบริเวณแนวต้าน ความยากของการเล่นแบบนี้คือ เราต้องแม่นในเรื่องแนวรับ แนวต้าน มิฉะนั้นจะกลายเป็นซื้อแนวต้าน มาขายแนวรับ (เห็นกันเป็นประจำ)
2. เล่นแบบ Breakout คือเล่นเมื่อหุ้นทะลุแนวต้านขึ้นไปแล้ว ที่เล่นแบบนี้ เพราะมีหลักว่า หุ้นเมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปแล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่ขายหุ้นออกมา เพราะเห็นว่าหุ้นทะลุขึ้นมาแล้ว แรงซื้อชนะแรงขายอย่างแน่นอนแล้ว ในช่วงที่เริ่มทะลุขึ้นมาจะเป็นการ Follow Through กระหน่ำซัดแรงขายที่เพลี่ยงพล้ำแล้ว หุ้นจึงขึ้นต่อได้อย่างง่าย และมากด้วย ยิ่งถ้าทะลุแนวต้านสุดท้าย คือทำจุดสูงสุดตั้งแต่เข้าตลาด (All time high) จะยิ่งมีความสำคัญมาก เพราะแรงขายจะน้อย หุ้นจะไปไกลมว๊าก ๆ

ความยากของการเล่นแบบนี้ อยู่ที่นอกจากจะดูแนวต้านเก่งแล้ว ยังจะต้องดูเรื่องการ Breakout ให้เป็นอีกด้วย (อ่านทบทวนย้อนหลังดู) แต่จะสรุปเรื่อง Breakout ให้ฟังสั้น ๆ คือ
-- หุ้นจะต้องทะลุผ่านแนวต้าน และ
-- ในวันที่หุ้นทะลุแนวต้าน จะต้องมีโวลุ่มในการเทรดมาก (คำว่ามากอาจเทียบจากโวลุ่มการเบรคครั้งก่อนได้ หากยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี และ
-- ในวันเบรคจะต้องมีช่วงกว้างราคาที่มากเพียงพอ (ยิ่งมากยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าแรงซื้อชนะแล้ว)
ถ้าเข้าเงื่อนไข 3 ข้อนี้ ถือว่า Breakout ตัวอย่างวันนี้เช่น หุ้นที่เราจับมาทำ Demo แล้วรอซื้อ นั่นคือ Hmpro นั่นเอง จะเห็นว่ากว่าจะซื้อได้ต้องอดทนรอ

ส่วนการเล่นขาลง คือ ถ้าเห็นว่าหุ้นจะตกแน่ ๆ เราอาจจะขายหุ้นที่อยู่ในมือออกไปก่อน หรือยืมหุ้นจากโบรกเกอร์มาขายก็ได้ แล้วเมื่อหุ้นตกไปเรื่อย ๆ ก็ไปซื้อคืนที่ราคาที่ต่ำกว่ากลับเข้าพอร์ต หรือคืนโบรกเกอร์ แต่การเล่นแบบนี้ค่อนข้างเสี่ยง และผู้เล่นนอกจากจะต้องแม่นยำในแนวรับ แนวต้านแล้ว ยังต้องเชี่ยวชาญในการดูจุด Swing high - low ด้วย มิฉะนั้นจะเสียหายมากกว่าการ Cut loss

สิ่งที่ควรจำคือ เซียนจะเล่นหุ้นเมื่อ Breakout แล้ว , รายย่อยจะเล่นตามรอบ ส่วนแมงเม่า จะเล่นตามข่าว

ต่อไปคือวิธีการเล่นที่อันตราย คือเล่นแล้วเสียแน่ ๆ ได้แก่

1. เล่นโดยไม่รู้แนวรับ แนวต้าน เช่น เล่นตามข่าว เล่นตามแห่ เล่นตามอารมณ์ ซื้อเพราะราคาต่ำกว่าครั้งก่อน ซื้อเพราะวิเคราะห์ด้วยจินตนาการ จากสิ่งที่จินตนาการ ซ้อนกันเข้าไปอีก เช่น ได้ข่าวลือมาว่าการชุมนุมจะยืดเยื้อ วิเคราะห์ไปอีกว่าเมื่อยืดเยื้อแล้ว น่าจะมีความรุนแรง วิเคราะห์ซ้ำไปอีกว่าเมื่อรุนแรงแล้วหุ้นจะตก ต่างชาติจะทิ้ง เรียกว่าจินตนาการซ้อนจินตนาการ เลยตัดสินใขขายทิ้งซะเลย ผลอาจจะเป็นยืนร้องไห้ส่งรถขายหมู
2. ซื้อเฉลี่ยขาลง เป็นสิ่งที่โคตรอันตรายในการเล่นหุ้น เคยบอกแล้วให้สักไว้ที่หน้าผากเลยว่าห้ามซื้อเฉลี่ยขาลง ยกเว้นหุ้นที่กำลังทำ Correction เพราะมันอาจจะทะลุแนวรับไปเลยก็ได้ (ดู kk ) กลายเป็นดับเบิ้ลเสีย ไม่ใช่ลดการเสีย เช่น ซื้อที่ 40 จำนวน 1000 หุ้น ตกลงมาซื้อที่ 36 อีก 1000 หุ้น เฉลี่ย 38 แต่ก็เสียเท่าเดิมนั่นแหละ คือ 4*100 = 4000 เหมือนเดิม ถ้าลงอีก เสียเพิ่มอีก แทนที่จะเสีย 1000 หุ้น กลายเป็นเสีย 2000 หุ้น
3. พวกวัยรุ่น มือใหม่ กลัวรวยช้า ซื้อทีเดียวตัวเดียวเต็มพอร์ต แบบนี้จะกลับตัวไม่ได้เมื่อหุ้นตก เสียมากทันที
4. ซื้อหุ้นหลายตัวเกินไป บางคนมีเกือบ 20 ตัว จำนวนหุ้นที่ควรมีในพอร์ตไม่ควรเกิน 5 ตัว จะได้ดูแลทั่วถึง
5. ข้อนี้เจอมาบ่อยมาก และสำคัญที่สุด คือหุ้นขึ้นรีบขาย ประเภทเป็นคนกลัวกำไรมาก อยาก Realize กำไร ออกมาเป็นเงินสด แต่เวลาหุ้นตกกลับเก็บไว้ ในที่สุดกำไรนิดเดียว เหลือแต่หุ้นกาก ๆ เต็มพอร์ต พร้อมกับหลอกตัวเองว่า ตราบใดที่ไม่ขาย ไม่ขาดทุน หรือไม่ก็พร่ำบอกคนอื่นว่าขอเป็นนักลงทุนระยะยาว รับปันผลไปเลย

วันนี้ขอแค่นี้ก่อน พรุ่งนี้จะมาตอบคำถามแฟนเพจ (ไม่รู้ไปสืบมาได้อย่างไร มีการส่งมาทาง E-mail และ Line ซะด้วย )

เด็กลาดพร้าว
5 ส.ค. 56
18.20 น.

 

โดย: thungphet 5 สิงหาคม 2556 18:48:52 น.  

 

Nicolas Datvas กับ ทฤษฎีกล่อง (Box Theory)

เมื่อวานเป็นอีกวันหนึ่งที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนค่อนข้างแรง เม่ามือใหม่ทั้งหลายร้องโอดครวญผ่านหน้าเวบเป็นทิวแถว ยังไม่รู้เลยว่าเมื่อคืนจะหลับกันลงหรือไม่ แต่ขอให้สังเกตดูดี ๆ นะครับว่า มูลค่าการซื้อขายลดลงเบาบางมาก ลักษณะอย่างนี้อนุมานได้ว่า นักลงทุนเกิดความลังเลใจ และชะลอการเทรดลง และเป็นโอกาสที่จะให้รายใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อตลาด สามารถลากดัชนีขึ้นลงได้โดยง่าย

แต่ไม่่ว่าตลาดจะผันผวนอย่างไรก็ตาม หากเรามีวิธีการเล่นที่ดี (แม้จะวิเคราะ์หุ้นยังไม่เก่งก็ตาม) เราก็สามารถที่จะเอาตัวรอดจากตลาดได้ เรามาดูหุ้นที่เรา Workshop กัน 1. PTL ลงทุนไป 720000.- บาท คัทไปที่ 11.90 ขาดทุน 6000.- บาท 2. Hmpro ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะไม่ขึ้นมาถึงจะหวะซื้อ 3. PTTGC เพิ่งลงล็อตแรก ยังไม่ถึงจุดคัท (7 %) แต่เหนือสิ่งอื่นใด ลองคิดดูว่าหากสถารณ์เป็นเช่นนี้ เราจะนอนหลับสบายมั้ย จะเห็นว่าไม่ต้องมานั่งเครียดอะไรทั้งสิ้น

แต่จุดอ่อนของเม่าใหม่ก็คือ เมื่อคัทหุ้นไปแล้ว พอเห็นหุ้นลงนิดหน่อยเป็นคันมือ ถือเงินสดไม่ได้ กลัวตัวที่คัทจะเด้งขึ้นมา รีบเข้าซื้อกลับทันที โดยลืมหลักการในการเข้าซื้อ หุ้นไม่ได้มีตัวเดียวในตลาด มีเป็นร้อย เลือกได้ตามสบาย

หันมากลับมาคุยเรื่องแนวรับ แนวต้านกันต่อ วันนี้จะเล่าเรื่อง Nicolas Darvas เทรดเดอร์ชื่อดังของโลกที่สร้างทฎษฎีกล่องขึ้นมา ผมไปค้นหนังสือเก่าที่ฝังอยู่ในลัง (ผมไม่คิดว่าจะหวลกลับมาตลาดหุ้นอีก เลยเก็บเข้ากรุหมด) หนังสือนั้นชื่อ Lessons from the Greatest Stock Trader of All Time ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมเอาผลงานข้อผิดพลาดของเทรดเดอร์ชื่อก้องโลกมาให้พวกเราได้อ่านเป็นอุทธาหรณ์ อีตา Darvas ก็เป็นหนึ่งในนั้น

เดี๋ยวบ่ายขอมาต่อนะครับ พอดีมีงานมาให้ทำขอปลีกตัวไปก่อน อย่าลืมว่า ตลาดลงแต่โวลุ่มไม่มี แสดงว่ายังควาญหาจุดหยุดตกไม่เจอ (อ่านแนวรับแนวต้าน เมื่อวาน) และมันก็ไม่ได้ตกจริงจัง เวลาเด้งจะแรง โดยปกติจะเด้งขึ้นไปถึงวันที่ตลาดตก และมีโวลุ่มจร้า (อ่านปริมาณการซื้อขาย นำหน้าราคา)

เด็กลาดพร้าว
31 ก.ค.56
10.18 น.

 

โดย: thungphet 5 สิงหาคม 2556 18:49:33 น.  

 

Nicolas Darvas : The Persistent "Outsider"

Darvas เกิดที่ ฮังการี่เมื่อปี 1920 ถ้าอยู่ถึงตอนนี้คงเป็นคุณทวดของพวกเราแล้ว แกจบทางด้านเศรษฐศาสตร์ และได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนจะย้ายมาปักหลักในอเมริกา และตั้งคณะแดนซ์เซอร์ขึ้นกับเพื่อน ตระเวณเต้นกินรำกินไปทั่ว แต่ชีวิตแกต้องผกผันเข้ามาเกี่ยวข้องกับการลงทุนก็เพราะว่า วันหนึ่งแกนำคณะไปเล่นที่ไนท์คลับแห่งหนึ่ง เล่นเสร็จเจ้าของไนท์คลับบอก กรูไม่มีเงินสดเว้ย เอางี้แล้วกัน เอาเป็นหุ้นไปแทน

Darvas ถึงกับอึ้ง แต่ผีหามมาถึงป่าช้าแล้ว ไม่เผาก็ต้องฝังแล้วแหละ แกก็รับมา หุ้นที่แกรับมาเป็นหุ้นทำเกี่ยวกับเหมืองแร่ เล็ก ๆ ราคาหุ้นแค่ 50 เซ็นต์ แกรับมา 6000 หุ้น
หลังจากได้มาแล้ว แกก็ไม่ได้คิดอะไรอีก จนกระทั่ง 2 เดือนผ่านไป แกก็ลองเช็คราคาหุ้นเป็นครั้งแรก โอว แม่เจ้า แกแทบไม่เชื่อสายตา หุ้นที่แกได้มา ราคาขึ้นมาเป็น 1.90 เหรียญ แกแทบไม่เชื่อสายตา สิ่งแรกที่แกทำคือ ขายแม่มหมดเลย ได้กำไรมาประมาณ 8000 เหรียญ ประสาคนไม่เคยลิ้มลองเรื่องหุ้น พอได้กำไรก้อนโตครั้งแรก ก็เริ่มคลั่งไคล้กับหุ้นทันที และหลังจากนั้นแกก็เริ่มศึกษาหุ้นอย่างจริงจัง เริ่มคันมืออยากจะได้กำไรอีก เพราะเห็นมันหาเงินได้ง่ายดี

สิ่งแรกที่แกเริ่มศึกษาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเม่าไทยนักหรอก แกเริ่มศึกษา Pattern ของหุ้น เส้นรุ้ง เส้นแวง สารพัดเส้น และยังมีการไปหาข่าววงในอีกด้วยนะ ด้วยความที่แกยังละอ่อนในวงการ แกก็เสาะถามคนในวงการหุ้นไปทั่ว พวกเซียนน้อยใหญ่ก็ระดมให้ข้อมูลแกซะเหลือเฟือ ใครแนะนำหุ้นอะไรว่าดี แกซื้อหมด แกเล่นซื้อขายถี่ยิบ เรียกว่าเล่นแบบเดย์เทรดเลย บางครั้งแกถือหุ้นไว้ในมือคราวเดียว 25 - 30 ตัว แต่ผลที่ได้รับก้ไม่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้แกจะไม่ขาดทุน แต่กำไรที่แได้ แกเอาไปซื้อปูนถอนขนรักแร้แกยังไม่เกลี้ยงเลย จนกระทั่งแกไปเจอผู้อาวุโสวงการหุ้น ที่บอกแกว่า Darvas เอ๊ย เอ็งไม่มีทางจะเดินบนถนนหุ้นได้ หากเอ็งยังมุ่งหวังแต่กำไรแค่ขนแมว Darvas ได้ยินก็ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ แต่ตอนนี้ใกล้ตลาดเปิดแล้ว เห็นทีจะต้องไปต่อหลังตลาดปิด จะมาดูกันว่า เม่า Darvas แกจะใช้วิธีอะไรต่อไป ใบ้ให้ก็ได้ เหมือนเม่าไทยนี่แหละ

ปล. ตลาดเช้านี้เป็นไปตามคาด บรรยากาศมันไม่เอื้อ มูลค่าซื้อขายยังเบาบาง แสดงว่ายังหาจุดจบไม่เจอ มันจะหยุดตกตอนไหน กลับไปอ่าน แนวรับ แนวต้านเมื่อวานอีกครั้ง และเมื่อหุ้นหยุดตกแล้วอย่าหวังว่ามันจะกลับขึ้นเหมือนคนหายป่วยรุ่งขึ้นวิ่งได้เลย ไม่มีหรอก เพราะยิ่งตกแรง ๆ เร็ว ๆ โวลุ่มน้อย หมายถึงว่าคนที่ติดหุ้นยังหวังว่ามันจะกลับขึ้นมา เลยไม่ขาย หรือคัท อีกพวกหนึ่งคือ พวกคิดช้า อาซิ้ม อาม่า พวกยึดคติ ไม่ขายไม่ขาดทุน คนพวกนี้ไม่ขายทิ้ง จึงทำให้โวลุ่มน้อย
แล้วลองคิดดูว่าพอหุ้นขึ้นกลับ คนพวกนี้จะคิดอย่างไร ก็เห็นมาคร่ำครวญกันทั่วไป ช่วยมารับบนดอยหน่อย ประมาณนี้ พวกนี้แหละจะเป็นแรงต้านเมื่อหุ้นขึ้นมาอีกครั้ง คนอีกพวกที่จ้องขายคือ พวกรับต่ำ ๆ พวกนี้พอหุ้นเด้ง มีกำไร จะปวารณาตัวเป็นแรงต้านทันที

ทั้งหลายทั้งปวงลองอ่านวิธีวิเคราะห์ และการทำ workshop ดู ว่าเราจะอิงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเท่านั้นที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ เราจะไม่นำสมมติฐานมาใช้วิเคราะห์โดยเด็ดขาด หรือหากใช้ ก็ต้องรีบกลับไปดูสมมติฐานนั้นว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ได้เขียนไว้แล้วในบทที่ว่าด้วย กระบวนการทางความคิด

เด็กลาดพร้าว
31 ก.ค.56
14.25 น.

 

โดย: thungphet 5 สิงหาคม 2556 18:50:09 น.  

 

Nicolas Darvas เส้นทางของเม่า (ต่อ)

ต้องขอโทษแฟนคลับด้วยครับ ที่หายไป 2 วัน เนื่องด้วยคอมพิวเตอร์จับพิษไข้ ต้อง Format เครื่องใหม่ กว่าจะเซ็ตเข้าที่ก็เปิดตลาดวันนี้ไปแล้ว เรามาต่อเรื่อง Darvas กันดีกว่า

หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในเส้นทางที่เคยทำ คราวนี้อีตา Darvas แกเลยเริ่มต้นใหม่ ด้วยการไปสมัครเป็นสมาชิก นิตยสาร และ บริการข้อมูลการลงทุน ซึ่งแกมั่นใจว่าคนพวกนี้แหละคือผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำแนะนำ (และหุ้นเด็ด) ให้แกได้ ซึ่งหลังจากที่แกตามไปสักพัก ก็พบว่า นอกจากแกจะขาดทุนจากหุ้นแล้ว ยังเสียค่าสมาชิก และค่าปรึกษา (ในไทยก็มี) ไปเป็นจำนวนเงินอีกมากโข

เมื่อไม่เวิร์ค Darva ก็หาแหล่งข้อมูลใหม่ ซึ่งแกคิดว่าคราวนี้แหละเจ๋ง นั่นคือพึ่งพาโบรกเกอร์เลย แกเริ่มไปตลาดทุกวัน เข้าไปตีสนิทกับบรรดาโบรกเกอร์ขาใหญ่ รวมทั้งอ่านหนังสือหุ้นไปอย่างน้อยกว่า 200 เล่ม ศัพท์แสงในวงการหุ้นต่าง ๆ แกเริ่มรู้หมด ไม่ว่าปอบ ดอย คัท บีกสีดา ฯลฯ หลังจากที่อ่านหนังสือไปเยอะ เริ่มรู้สึกว่าทางที่ถูกในการเล่นหุ้นคือ ต้องรู้พื้นฐานเกียวกับบริษัทให้ดี แกอ่านงบการเงิน รายงานประจำปี รวมทั้งศึกษาพื้นญานของบริษัทในตลาด งานวิจัยชิ้นไหนดังเอามาอ่านหมด ในที่สุดแกก็ตัดสินใจว่า จะเลือกหุ้นที่เป็นตัวนำในกลุ่มต่าง ๆ มาเล่น มีโวลุ่มเข้าสม่ำเสมอ (พูดง่าย ๆ ไม่ใช่หุ้นปั่นแปะ) แกเลือก หุ้น Leader ของกลุ่มเหล็กชื่อ Jones & Laughlin คราวนี้เล่นมาร์จิ้นด้วย แกมั่นใจมาก เพราะเป็นหุ้นลีดเดอร์ เลยเอาเงินที่มีทั้งหมดลงไปในตัวนี้ตัวเดียว

หลังจากผ่านไปไม่กี่วัน Darvas แทบไม่เชื่อสายตา หุ้นที่เค้าลงไปทั้งหมด ราคามันไหลลง ๆ (ประเภทซื้อปุ๊บ ดอยปั๊บ) และแกยอมรับไม่ได้ เฝ้าแต่คิดว่า หุ้นมันดี เดี๋ยวก็ดีด แต่จากความเป็นจริง หุ้นมันไม่ดีด หนำซ้ำไหลรูดลงอีก สุดท้ายแกต้องคัทลอส ขาดทุนไป 25 % ของเงินทั้งหมด

Darvas ต้องกลับไปเลียแผลจนตกสะเก็ด แต่ยังไม่เข็ด แต่เหมือนฟ้าหลังฝน วันหนึ่งแกนั่งอ่านหนังสือหุ้นไปเรื่อยเปื่อย พลัยสังเกตเห็นราคาของหุ้นตัวหนึ่ง ที่มันวิ่งขึ้นเอา ๆ แกเอะใจหุ้นอะไรวะ ไม่เคยผ่านสายตากรูมาก่อนเลย (ซึ่งที่จริงแกไม่สนใจ) พอไปดู Profile บริษัท ก็ไม่มีอะไรหวือหวา พื้นฐานก็ไม่ได้ดีมากมาย แกเลยลองซื้อไป 1000 หุ้น ราคา 37.25 เหรียญ หลังจากนั้น 5 สัปดาห์ แกขายไปได้ในราคา 43.25 เหรียญ ฟันกำไรซะ 5000 เหรียญ
หลังจากนั้น แกมานั่งทบทวนสิ่งที่ผ่านมาว่าแกมีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง และเริ่มรู้ว่า ราคาของหุ้นที่มันจะวิ่งขึ้นน่ะ มันเกิดจากตัวหุ้นเองส่วนหนึ่ง ซึ่งจะมีพฤติกรรมซ้ำไปซ้ำมา และเกิดจากความสนใจของผู้คนในตลาด จนส่งผลมาถึงราคา ที่จะมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทั้งขึ้น และลง สำหรับพื้นฐานนั้น จะเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัจจัยเท่านั้น Darvas บอกว่า ในตลาดไม่มีหุ้นดี หุ้นเลว จะมีแค่เพียง หุ้นที่ราคาขึ้น กับหุ้นที่ราคาลงเท่าั้นั้น หลังจากนั้นแกก็เริ่มศึกษาทั้งกราฟ ทั้ง Pattern ของหุ้นแต่ละตัว จนในที่สุดก็กลายมาเป็น ทฤษฎีกล่อง (Box Theory) ที่ดังกระฉ่อนไปทั่วโลกนั่นเอง

คราวหน้าเราจะมาสรุป BoxTheory ต่อนะครับ

ตลาดวันนี้ลงแบบไม่ปกติครับ เกิด Panic ขึ้น จำไว้เลยนะครับ กรณีเกิด Panic แบบนี้ เดี๋ยวพอหายตกใจ หุ้นจะขึ้นพรวดเลย เล็งตัวที่มันแข็ง ๆ (เป็นขาขึ้นอยู่) แต่มาซวนเซวันนี้ ตัวที่ตกลึก ๆ แต่ไม่มีโวลุ่ม นั่นแหละทองคำเลย แต่กรณีแบบนี้ใช้ได้เฉพาะเกิด Panic เท่านั้นนะครับ

เด็กลาดพร้าว
2 ส.ค. 56
13.51 น.

 

โดย: thungphet 5 สิงหาคม 2556 18:50:50 น.  

 

Box Therory ตอนจบ

หลังจากล้มลุกคลุกคลานมาหลายวิธี ในที่สุด Darvas ก็ค้นพบว่าวิธีที่จะสร้างกำไรให้ได้ดีที่สุดในตลาดหุ้นคือต้องศึกษา เทคนิคัล (Price Action) ด้วยเหตุที่แกเป็นคนเต้นกินรำกิน ต้องเดินทางตลอด โอกาสที่จะเข้าถึงข้อมูลจึงยาก บางครั้งข้อมูลที่แกจะได้รับก็ล่วงเลยไปแล้วกว่าสัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคเลย แกเชื่อว่าการวิเคราะห์ด้วยเหตุผล มีวิธีการที่ดี ย่อมดีกว่าพวกที่ใช้วิธีหาข่าวลือ ข่าวลวง บางทีก็ใช้ไสยศาสตร์ เช้ามาก็โพสต์ในพันทิพ XXX...Goodddddddddddddd อะไรประมาณนี้ ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไร

Darvas สังเกตเห็นว่าการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเมื่อไปถึงระดับหนึ่ง มักจะหยุดพักเล็ก ๆ ราคาจะลงมาทำ Correction ในระดับหนึ่ง เหมือนการกระเด้งของลูกบอลในกล่อง และในที่สุดหากมันกระเด้งทะลุฝากล่องขึ้นไป มันก็คือการ Breakout นั่นเอง และจะเริ่มสร้างกล่องขึ้นมาใหม่อีกกล่องที่มีระดับสูงกว่าเดิม และราคาหุ้นก็จะเคลื่อนไหวอยู่กรอบกล่องใบใหม่ต่อไป แต่หากราคาหล่นกลับลงมาในกล่องล่างอีกครั้ง นั่นคือเราจะต้อง Stop Loss ทันที

หลักการของ Darvas จะไม่มีการ SAP โดยเด็ดขาด เพราะการทำเช่นนั้นเหมือนเลียน้ำผึ้งบนปลายดาบ ต้องซื้อหุ้นที่เป็นขาขึ้น หรือภาวะตลาดกระทิงเท่านั้น จึงจะทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ

เด็กลาดพร้าว
3 ส.ค. 56
14.05 น.

 

โดย: thungphet 5 สิงหาคม 2556 18:51:34 น.  

 

ทำไมหุ้นขึ้นแล้วจึงต้องมีการพักตัว

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า "หุ้นพักตัว" และรู้ความหมายของมันดี แต่ก็เชื่ออีกว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้เบื้องหลังว่าทำไมมันจึงต้องพักตัว ทำไมหุ้นแล้วไม่ขึ้นไปเลย แล้วพักตัวจะมีวิธีดูอย่างไร ว่าสิ่งนั้นคือการพักตัว เป็นต้น วันนี้เราจะเฉลยให้ท่านฟัง

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าหุ้นเมื่อมีการ Sideway หากหุ้นนั้นเลือกทิศทางที่จะเดินขึ้น ก็จะมีการ Breakout แนวต้านขึ้น โดยในระยะที่จะผ่าน หรือไม่ผ่านแนวต้านนั้น ปริมาณการซื้อขายในช่วงจะมีจำนวนมากขึ้น อธิบายได้ว่าจะมีคน 2 กลุ่มที่คิดต่างกัน กลุ่มแรกคิดว่าหุ้นตัวนั้นมีอนาคตดี โอกาสที่หุ้นจะขึ้นต่อไปมีมาก จึงระดมแรงซื้อหุ้นเข้าไว้ ในคนกลุ่มนี้ยังมีอีกจำพวกหนึ่งแฝงตัวอยู่ในนั้นด้วย คือกลุ่มที่หวังเก็งกำไรระยะสั้น เราเรียกพวกนี้ว่าเป็นแรงซื้อ ส่วนอีกกลุ่มมีความคิดเห็นตรงกันข้ามคือเห็นว่า หุ้นมาระยะนี้แล้วคงจไปต่อไม่ไหว และคิดจะแยกทางออกจากหุ้นตัวนี้ ในจำพวกนี้ยังมีกลุ่มที่ฝังตัวรวมอยู่ด้วย คือพวกที่ถือไว้ในราคาต้นทุนต่ำ และประสงค์จะขายทำกำไรออกมา เราเรียกพวกนี้รวมๆ ว่า แรงขาย

การประลองกำลังระหว่างแรงซื้อกับแรงขายจึงเกิดขึ้น ถึงได้บอกว่าหุ้นจะ Breakout หรือ Breakdown ต้องดูที่โวลุ่มในตอนนั้น การที่หุ้นทะลุแนวต้านขึ้นไปได้จึงหมายถึงแรงซื้อชนะแรงขายแล้ว และหากยิ่งมีช่วงกว้างมากเท่าไหร่ ก็เรียกว่าชนะขาดลอย โอกาสไปต่อก็จะมีสูงขึ้น

หลังจาก Breakout แล้ว หุ้นมักจะมีสิง่ที่เรียกว่า Follow Through ตามมา ซึ่งก็คือจะมีลูกเตะตามน้ำแบบบัวขาวคือหุ้นอาจจะขยับขึ้นไปอีกในวันถัดมา แต่โวลุ่มจะน้อยลง ๆ (พวกคิดช้า ซื้อช้า ซื้อคร่อมจังหวะจะอยู่ในกลุ่มนี้) หลังจากนั้นหุ้นจะมีอาการค่อย ๆ ซึมลง ๆ โวลุ่มก้เริ่มน้อยลง ๆ พวกซื้อช้า คิดช้า ก็จะออกมาบ่นหน้าเวบว่าซื้อแล้วดอยเลยบ้าง สงสัยมันจำชื่อกรูได้บ้าง พอกรูซื้อปุ๊บ มันลงปั๊บ แต่ไม่เคยคิดบ้างเลยว่า เมิงน่ะซื้อคร่อมจังหวะ 555

สาเหตุที่หุ้นเริ่มซึมลง เค้าเรียกระยะนี้ว่า หุ้นพักตัว บางคนเรียกหุ้นทำ Correction บางคนเรียกทำ Retracement ซึ่งก็คือสิ่งเดียวกันน่ะแหละ เป็นเพราะเมื่อหุ้นยกตัวเบรคไปแล้ว หุ้นได้ถูกเปลี่ยนมือจากคนที่คาดหวังกับหุ้นกับคนที่ต้องก่ารออกจากหุ้นเป็นจำนวนมาก จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการกำไรระยะสั้นจะขายหุ้นออกมาทำกำไร ซึ่งกลุ่มนี้จะมีจำนวนน้อย ถ้ามีมากมันไม่เรียกพักตัว แต่จะเรียกว่าออกของเลย หุ้นจึงลดลงมาบ้าง แต่โวลุ่มตอนนี้จะน้อยลง (เพราะส่วนใหญ่ไม่ขาย) ถ้าหุ้นมีเจ้าสิงอยู่ เจ้าจะทำสิ่งที่เรียกว่าสะบัดเห็บหมัด หรือเขย่าลิงตกต้นไม้ ทั้งนี้เพราะหากไม่กำจัดศิษย์ทรยศที่แปรพักตร์ไม่ยอมร่วมทางออก พวกนี้หากให้เดินทางต่อไปจะกลายเป็นแรงต้านในราคาที่สูงขึ้น ต้นทุนเจ้าจะสูงขึ้น การพักตัวเพื่อซับแรงขายจะดำเนินไประยะหนึ่ง แต่ราคาจะไม่ลงมาต่ำกว่าแนว Breakout โดยเด็ดขาด (อาจลงมาต่ำบ้างแต่จะรีบกลับมายืนทันที) ทั้งนี้เพราะเมื่อลงมาใกล้แนวรับใหม่แล้ว กลุ่มคนที่คาดหวังจะไปด้วยแต่ตกรถ จะมาซื้อตอนนี้แหละ (กลุ่มนี้จะซื้อแบบ Wait for Retracement ไงล่ะ) และจะส่งผลให้มีโวลุ่มกลับเข้ามาพร้อมราคาขึ้นไปอีก

แต่ช้าก่อน บางครั้งอาจจะมีพวกไม่อยากร่วมทางแต่อยากขายได้ราคาสูง ๆ (แบบว่ารู้ทันเจ้า) หากเจ้าเขี้ยว ๆ จะมีการนับหุ้นด้วยนะว่าหุ้นยังอยู่กับพวกศิษย์ทรยศอีกเท่าไหร่ เจ้าจะมีการรีดเอาออกมาจนได้ (สมัยผู้เขียนยังใหม่ ๆ ก็เคยถูกรีด) วิธีการรีดที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ การทำให้กลัว ดังนั้นบางทีเราอาจจะเห็นหุ้นไหลปรู๊ดโดยไม่มีโวลุ่ม พวกนี้จะกลัวและจะรีบขายทันที (วิธีดูว่ารีดคือดูโวลุ่มตอนเบรคขึ้นมามีเท่าไหร่ ตอนพักตัวไหลปรู๊ดมามีเท่าไหร่ ถ้ามีเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตอนเบรค นั่นแหละมันกำลังรีด เพราะหุ้นยังอยู่ในมือมันหมด แบบนี้ไม่ต้องกลัว ถ้าฝึกจนได้ระดับแล้วต้องมีซื้อสวนกลับไป เพราะถ้ามันไม่เล่นต่อมันจะเสียหายมากกว่าเรา มันมีเป็นล้านหุ้น เรามี 2000 หุ้น เอาสิใครพังก่อนกัน)

หลังจากรีดจนหมดแล้ว (ตอนนี้โวลุ่มกว่าจะหล่นมาใส่ฝั่ง Bid แต่ละหยดมันจะช้ามาก ๆ ) หุ้นก็จะเริ่มมีโวลุ่มซื้อเข้ามา และราคาก็เริ่มขยับขึ้นอีกครั้ง และจะ Breakout ไปอีก

อาจมีคำถามแล้วถ้าไม่พักตัวเลยล่ะ หุ้นจะเป็นอย่างไร ตอบคือ ไปไม่ไกล เพราะหุ้นจะไปอยู่ในมือผู้ซื้อหมด แล้วจะเอาแรงซื้อที่ไหนมาอีก แต่อาจจะมีบ้างประเภทหุ้น "ดีเดี๋ยวเดียว" หรือ "ดีวันเดียว" คือเจ้าเงินน้อยร้อนเงิน ทำหุ้นขึ้นพรวดเดียวแล้วทิ้งเลย เห็นบ่อยในพวกหุ้นไม่เต็มบาท

ข้อสังเกตในการพักหุ้น

1. การพักตัวโวลุ่มจะต้องน้อยลง และการซื้อขายส่วนใหญ่จะเป็นการโยนใส่ Bid นาน ๆ จะมียิง Offer (ถ้ามียิงไม้ใหญ่ เจ้าจะตบลงทันที เพราะไปแย่งหุ้นเค้า)
2. ระยะในการพักตัวจะต้องไม่เกินระยะที่ทำ Breakout ขึ้นมา เพราะคนทำราคาก็มีต้นทุนนะ ทำ Breakout ขึ้นมาแล้วพักตัวนาน ไม่ได้
3. การพักตัวราคาจะต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่ Breakout ถ้าต่ำกว่าแล้วกลับขึ้นไปยืนไม่ได้ แสดงว่า Break แล้วยืนไม่ได้ ต้องหนีออกทันที ยกเว้นกรณีรีดเอาหุ้น
4. สำหรับเรา พวกเหาฉลาม หากจะซื้อตอนหุ้นพักตัวให้ไปต่อแถวรอเค้า หากจะยิง Offer อย่ารีบร้อน จับฉลาก เข้าแถวกันยิง ยองทีละน้อย เจ้าจะได้รู้ว่าให้เศษให้เลยรายย่อยไปบ้าง
5. สิ่งที่แสดงว่าหุ้นพักตัวเสร็จคือ เริ่มมีโวลุ่มทั้ง Bid และ Offer เข้ามา และราคาสูงขึ้นพร้อมด้วยโวลุ่ม

ขอจบเรื่องหุ้นพักตัวแค่นี้ก่อนนะครับ
เด็กลาดพร้าว
11 ส.ค.56
15.00 น.

 

โดย: thungphet 13 สิงหาคม 2556 5:40:58 น.  

 

เซียนมวย VS. เซียนหุ้น : ความเหมือนที่แตกต่าง
บทความนี้เคยเขียนลงบล็อกมาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน แต่ด้วยความประมาทไม่ได้เก็บต้นฉบับไว้ พอคอมแฮ้งก์ บล็อกปิดไป ต้นฉบับเลยพลอยหายสาบสูญไปด้วย การกลับมาเขียนครั้งนี้จึงอาจจจะไม่เหมือนเดิม แต่สาระยังคงเดิมเว้นแต่สำนวนอาจจะไม่สะใจโก๋เท่านั้น
พวกเราอาจจะเคยดูมวยมาแล้ว รวมทั้งบางท่านอาจจะได้เคยสัมผัสบรรยากาศของการเล่นมวย รวมทั้งบรรดาเซียนน้อยใหญ่ที่เล่นเดิมพันต่อรองกันอย่างเคร่งเครียด แต่ใครจะรู้บ้างว่าไม่ว่าจะเซียน หรือเซียนหุ้น หมูในสนามมวยกับเม่าในสนามหุ้นต่างมีวิวัฒนาการแทบจะไม่แตกต่างกันเลย ซึ่งวันนี้จะเอาเกล็ดเล็ก ๆ มาเล่าสู่กันฟังเผื่ออาจจะได้แนวคิดกลับกันไปบ้าง
1. เซียนมวยก่อนที่จะตัดสินใจเล่นฝ่ายไหน เค้าจะศึกษาประวัตินักมวย ผลการชกในครั้งก่อน ๆ ติดตามดูแลการฝึกซ้อม และการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
เซียนหมด จะเล่นมวยตามเสียงบอกเล่า ตามความชอบนักมวย ตามข่าวลือ ไม่มีการศึกษาประวัตินักมวย หรือศึกษาแต่ก็เข้าข้างตัวเอง
เซียนหุ้น ก่อนจะตัดสินใจเลือกหุ้น จะต้องศึกษาตัวหุ้นว่ามีความแข็งแกร่งแค่ไหน พื้นฐานเป็นอย่างไร หุ้นอยู่ในช่วงระยะขาขึ้นหรือไม่ เคย Breakout มาแล้วหรือยัง
เม่าหุ้น จะเลือกหุ้นเพราะเชื่อถือในชื่อหุ้น ไม่เคยติดตามประวัติหุ้น เลือกหุ้นตามคำบอกเล่า ไม่เคยวิเคราะห์อะไร เสาะหาเอาตามหน้าเวบ (ดีนะเมิงไม่ไปขูดต้นกล้วยตานีเชื่อหุ้น) บางทีหุ้นอยู่ในขาลงชัดเจนก็ยังเล่น เพราะยังติดใจว่าเคยทำกำไรให้มาก่อน
2. เซียนมวยจะไม่นิยมเล่นมวยตั้งแต่ยกแรก แต่จะค่อย ๆ ดู ว่าฝ่ายไหนได้เปรียบ และเมื่อได้เปรียบแล้วจะรีบเข้าไปต่อราคาทันที ยิ่งยก 5 ที่ฝ่ายได้เปรียบพยายามถีบหนี + เตะเก็บต๋งแล้ว ยิ่งจะรีบต่อทันที เพราะเป็นการกินแน่
เซียนหมด จะเริ่มเล่นตั้งแต่ระฆังยกแรกดังทันที บางทีเล่นก่อนหน้าวันชกเลย เรียกว่าเล่นวัดดวง ยิ่งมวยกำลังชกกันสูสี เกิดความมันขึ้นมายิ่งต่อรองกันมากขึ้น
เซียนหุ้น จะไม่นิยมซื้อหุ้นตอนที่หุ้นกำลังชุลมุน จะเบรกได้หรือไม่ แต่จะเข้าซื้อเมื่อแรงซื้อชนะแรงขายแล้วเท่านั้น ยิ่งเบรกช่วงกว้างยิ่งซื้อ สำหรับพวก Option หากยิ่งใกล้วันหมดอายุ ยิ่งพยายามหาของฟรีกันจ้าละหวั่น (ไม่เชื่อดูต้นเดือนหน้าสิ หน้าสลอนไล่ Short พวกที่เป็น OTM กันหมด แย่งกันอย่งกะหงส์ลง
เม่าหุ้น เล่นไม่รู้เวลาว่าตอนไหนควร ตอนไหนควร ตอนไหนไม่ควร ตลาดยังไม่เปิดก็ตั้ง ATO มันเลยกลัวไม่ได้เลน หารู้ไม่ตลาดหุ้นยังเปิดต่ออีกนาน เราตายไปตลาดก็ยังไม่ปิด บางคนตั้งมันข้ามคืนเลย บางทีหุ้นกำลังไหลทะรูด เค้าออกของกันก็ยังพยายามเข้าไปรับ จะมีข้ออ้าง ข้อแก้ตัวตลอด หุ้นลงมามากแล้วถูกมว๊าก ซื้อตรงนี้ไม่มีวันขาดทุน เพราะมันไม่ลงอีกต่อไปแล้ว
3. เซียนมวยจะรู้จักออกตัวเพื่อป้องกันความเสียหาย ยามใดที่นักมวยที่ตัวเองเล่นอยู่ทำท่าจะเสียเปรียบ จะออกตัวทันที ไม่มีการรีรอ
เซียนหมด จะกำเดิมพันไว้กับตัวตลอด ไม่มีการออกตัว ถือคติว่า เดี๋ยวมีพลิก แต่โทษทีจะมาคิดได้อีกที ก็ใกล้จะหมดยก 5 หรือนักมวยทำท่าจะไปแล้ว
เซียนหุ้น รู้จากฉากหลบตลอด เวลาที่หุ้นไม่ไปในทิศทางที่ตนเองคาดหมาย พูดง่าย ๆ คือ คัทลอสเร็วมาก
เม่าหุ้น จะทำมึนไม่รู้ว่าคัทลอสคืออะไร แต่จะยึดคติ เดี๋ยวมันกลับขึ้น ไม่ขายไม่ขาดทุน หรือไม่ก็ไประบายหน้าเวบเรียกร้องกำลังใจ ตกกลางคืนก็นอนไม่หลับกระส่ายกระสับว่าพรุ่งนี้มันจะลงอีกไหม ยิ่งวันนี้ยุโรปแดง แล้วพรุ่งนี้ปู่จะเป็นยังไง ใครเข้าใกล้ตัวมาเชียร์ว่าลงไม่ได้ ขัดใจกรูทันที
4. เซียนมวยจะช่างสังเกต เช่นระหว่างชกทำไมราคาฝ่ายหนึ่งมันจึงวิ่งเหลือเกิน แบบนี้มันน่าจะมีงาน เค้าจะรีบออกมาไม่เล่นทันที (ยกเว้นตัวมันเป็นคนจ้างล้มเอง)
เซียนหมด ไม่สังเกตอะไร เห็นอีกฝ่ายโดนกระชากคอมาตีเข่านิดเดียวทำท่าจะหาที่นอนทันที ก็ไม่สนใจยังตะบันเล่นเข้าไป
เซียนหุ้น ถ้าเค้าเห็นราคาตัวไหนผิดสังเกต เช่น ราคาไม่เคยสวิงมาเป็นชาติ วันนี้สวิงซะเกือบเพดาน โวลุ่มเท่าเยี่ยวมด แบบนี้เซียนจะไม่ยุ่ง (ยกเว้นเมิงเป็นคนทำราคาเอง)
เม่าหุ้น จะไม่เคยสังเกต เห็นหุ้นขึ้นผิดปกติ รีบเข้าซื้อ เท่านั้นไม่พอยังไปโพสต์หน้าเวบชวนคนอื่นมาเข้าอีก XXX Goodddddd 555 พอเข้าไปครบ ถูกเชือดทันที

ที่จริงยังมีอีกหลายอย่างนะ แต่เวลาหมดซะก่อน ขอจบเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ แบบนี้นะ

เด็กลาดพร้าว Gooddddddddddd
12 ส.ค.56
17.45 น.

 

โดย: thungphet 13 สิงหาคม 2556 5:50:29 น.  

 

Jack In the BOX : JIB

สถานการณ์ตลาดหุ้นวันนี้ บรรดาเม่าใหม่คงยิ้มกันออกถ้วนหน้านะครับ เพราะ SET ปิดบวกไปถึง 26.83 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ไม่ถือว่าขี้เหร่มากนัก แต่ก็อาจจะมีบางคนอาจไม่สมหวัง เพราะหุ้นตัวที่ตนเองถืออยู่ ไม่ตามตลาด หนำซ้ำบางตัวยังโชว์ลบให้เห็นอีกด้วย

ดังที่เคยบอกแล้วว่าการเล่นหุ้นต้องมีความอดทน และต้องเดินตามแผนที่เตรียมไว้ ในกรณีที่หุ้นตัวที่เราถืออยู่ หากเป็นหุ้นดี (ตามที่เคยสอนการเลือกหุ้นไปแล้ว) การตกลงของวันนี้ อาจจะเป็นเวลาพักตัวพอดี หุ้นบางตัว เจ้าอาจจะถือโอกาสสร้างความน้อยเนื้อต่ำใจ และความกลัวให้กับคนไม่รู้เรื่องเส้นทางเดินของหุ้น ในที่สุดด้วยความน้อยใจ ผนวกกับความกลัว หรืออยากจะไล่ตามหุ้นที่ขึ้น ก็อาจจะขายหุ้นตัวนั้นทิ้งไปแล้วไป(ติดดอย) ซื้อตัวอื่นเลยก็ได้ (หวานเจ้าเลย)

SET ยังไม่มีสัญญาณว่าจะเป็นขาลงแต่อย่างใด (อ่านบทวิเคราะ์ห์ย้อนหลัง) ยังคงเดินหน้า Sideway Up ต่อไป ไม่ต้องไปสนใจว่าฝรั่ง หรือ ปอบ จะซื้อหรือขายแต่อย่างใด ให้ดูโวลุ่ม และทิศทางราคาเป็นหลัก หากโวลุ่มนำ แล้วราคาตาม ชัวร์ป้าดว่ามันจะเดินไปทิศทางที่มันเดินแน่นอน

แต่สำหรับวันนี้ อยากจะให้พวกเราได้ดูกราฟหุ้นบางตัวที่ทำ Jack In the Box (JIB) นั่นคือ PS รู้สึกเหมือนว่ามีสมาชิกเราเคยเข้ามาถาม JIB คือ Pattern ของกราฟขาขึ้น หรือ Sideway ที่วันแรกหุ้นจะเปิด gap ด้วยโวลุ่ม และวันต่อมาหุ้นจะพักตัว (โดยโวลุ่มจะลดลงตามสูตร) และช่วงราคาของวันจะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงราคาสูงสุด - ต่ำสุดของวันก่อน ลักษณะเหมือน Jack เข้าไปอยู่ในกล่อง หากในวันถัดมา หากหุ้นเปิดโดดขึ้นมานอกกล่องวันที่ขึ้นแล้วเดินหน้าต่อไป (Run away Gap) เค้าบอกว่าหุ้นตัวนั้นจะกลายเป็นกระทิงวิ่งไปต่อแบบเนื้อ ๆ ซึ่งอยากให้พวกเราลองศึกษาตามไปด้วย สำหรับคนที่สนใจแนะนำให้ไปอ่านหนังสือ Hit and Run เล่ม 2 ดู

ในวันพรุ่งนี้จะมาต่อด้วยเรื่อง การ EXIT หุ้น เพื่อ Take Profit สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ครับ

เด็กลาดพร้าว
13 ส.ค.56
18.45 น.

 

โดย: thungphet 14 สิงหาคม 2556 4:55:02 น.  

 

End Game : การ Exit หุ้น

หลังจากที่เราได้เรียนวิชามาหลายขั้นตอนแล้ว เริ่มตั้งแต่วิธีการคัดเลือกหุ้น การหาจังหวะ และวิธีการเข้าซื้อหุ้นแบบต่าง ๆ มาจนถึงวิธีการดูแนวรับ แนวต้าน รวมไปถึงการวางแผนเทรด และการสิเคราะห์หุ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งนับตั้งแต่นี้คงจะไม่มีใครที่เข้ามาเป็นแฟนเพจ แล้วได้เรียนรู้ไป จะเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "ติดดอย" ให้ได้เห็นอีกนะครับ พวกลูกศิษย์เก่า ๆ ที่พยายามดั้นด้นมาจนเจออีกครั้งหากรู้ว่ายังเล่นหุ้นแล้ว "ติดดอย" อีก จะถูกขับออกจากสำนักทันที (วิธีขับออกคือ อาจารย์จะปลีกกายหนีไปแบบไร้ร่องรอย 555) วันนี้เราจะมาเรียนถึงวิธีการ Exit หุ้น ซึ่งจะรวมไปถึงการเอากำไร และออกแบบหนีเอาตัวรอด แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น อยากให้เราเป็นคนช่างสังเกตกันบ้าง โดยเฉพาะพวกนักเรียนเทคนิค ต้องบี้ข้อมูลให้ละเอียดจริง ๆ

เช้านี้ตลาดเปิดมาแบบซบเซา จะเห็นว่าปริมาณการเทรดเบาบางมาก เมื่อโวลุ่มไม่มีการขยับของราคาก็จะไปไหนไม่ไกล ถ้าไปไกล ก็ไปแบบหลอก ๆ จะเริ่มมีโวลุ่มมาตอนครึ่งชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดตลาด อยากให้ลองสังเกต OI ใน TFEX กันด้วย เมื่อวันศุกร์ OI นิดหน่อย ซึ่งก็เป็นธรรมดาที่เมื่อตลาดยังไม่แน่นอน ก็จะเล่น Day trade กัน ไม่ค่อยมีใครห่อกลับบ้าน แต่เมื่อวานนี้ OI เพิ่มขึ้นมาเกือบ 2000 สัญญา แสดงว่า ต้องมีการห่อกลับบ้านกัน ซึ่งเราต้องระวังด้วย

PS เช้านี้ทำท่าเหมือนจะพักตัว ราคายังอยู่เหนือจุดเบรค แต่มีจุดเสียคือโวลุ่มมันเข้า ดังนั้นต้องตามติด แต่ถ้าเล่นระยะยาวไยังไม่น่าห่วง แต่ถ้าเล่นสั้น อาจต้องดูจังหวะดีดหนีกันบ้าง คราวนี้มาดูวิธี Exit หุ้นกันต่อว่าจะ Exit เมื่อไหร่

1. เมื่อหุ้นลงมาถึงจุดที่เราตั้งเป็นจุดคัทลอส แบบนี้เป็นการตั้งเพื่อป้องกันตัวเองเอาอวัยวะสำคัญไว้ก่อน การคัทไม่ต้องไปอิดออดตั้งที่ offer โยนเข้า Bid ไปทีเดียวเลย อย่าทำตัวเหมือนจะเลิกกับกิ๊กแล้วยังมีเยื่อใย ตัดขาดไม้เดียวเลย
2. เมื่อหุ้นมีสัญญาณขายเกิดขึ้น ในข้อนี้เราสามารถค่อย ๆ หนีได้ เพราะสัญญาณขายแสดงว่าเจ้าจะออกจากร่าง แต่กว่ามันจะออกได้หมดต้องใช้เวลา อาจจะมีเลี้ยงไว้บ้าง แกล้งให้เด้งดึ๋งขึ้นไปบ้าง แบบนี้เราก็กลมกลืนทะยอยขายตามเค้าไป วิธีดูสัญญาณขาย
2.1 เมื่อหุ้นขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยโวลุ่ม แล้ววันต่อมา ปรากฏว่าโวลุ่มทะลักเข้ามามากผิดปกติ แต่ช่วงราคากลับไม่ไปไหน หรือลดลง ยิ่งโวลุ่มมากเท่าไหร่ แสดงสัญญาณชัดยิ่งขึ้น
2.2 คล้ายกับแบบแรก เพียงแต่โวลุ่มเข้ามาจนถึง Free Float คือเท่ากับปริมาณหุ้นที่เวียนกันในตลาด วิธีดู Free float แบบหยาบ ๆ คือ ดูว่าโวลุ่มมันมากที่สุดตั้งแต่มันเข้าตลาดมาหรือไม่ เรียกว่ามันทำ All time high ด้านโวลุ่ม แต่อย่าสับสนกับการ Breakout นะครับ ต้องเข้าทั้งสององค์ประกอบ 1 โวลุ่ม Peak 2. ราคาไม่ไป เกิด Resistance Power สูง (ดูค่าเฉลี่ยว่า ไป 1 ช่องต้องใช้โวลุ่มเท่าไหร่) แบบนี้ออกมาจากตลาดก่อนทันที แต่ถ้าโวลุ่มมา ราคาไปกว้าง แบบนี้ไปต่อ เป็น Breakout อย่าสับสน เดี๋ยวจะกลายเป็นขายหมู
2.3 สัญญาณต่อจากข้อ 2 หากยังลังเลจนเกิดอาการวันต่อมาหุ้น เปิด Gap ขาลง แล้ว Run away แบบไม่มีโวลุ่ม แบบหนีให้ยึดคติ "เพื่อนรักกรูไม่ทิ้ง ขอให้วิ่งทันเพื่อน" ขายทิ้งทันทีไม่ต้องรีรอ ช้านิดเดียวอาจดอยเป็นปี เพราะอาการแบบนี้เรียกว่าเจ้าเลิกเล่นแล้ว ปล่อยของหมดแล้ว
2. หุ้นขึ้นมาแล้วอดใจไม่ไหว เดิดอาการตัวสั้น กลัวว่าหุ้นจะตก แบบนี้ให้ขายออก 1/2 เมื่อขายออกแล้วให้ถือที่เหลือไปเรื่อย ๆ จนกว่ามันจะมีสัญญาณขาย ถ้ามันไปก็ Let Profit run ถ้ามันลง ทุนที่เหลือของเราจะต่ำลงจากการขาย หากมันลงมาอีกแบบพักตัว ค่อยสอยเอากลับคืน วิธีนี้พวกกองทุนที่ ผจก. หัวใจปลาซิวใช้กัน
3. ใช้วิธียกระดับการ Stop Profit ตามขึ้นไปเรื่อย ๆ เช่นเคยตั้งไว้ 40 มันขึ้นไปอีก ขยับไปตั้งอีกเป็น 43 เป็นต้น และอาจใช้ผสมกับแบบ 2 ได้
4. ขายทิ้งเพราะถือแล้วมีความรู้สึกไม่สบายใจ ข้อนี้เห็นเกิดขึ้นเนือง ๆ ไปซื้อมาแล้วเมียบ่น เป็นหุ้นที่ไม่ถูกโฉลกเป็นต้น (ผู้เขียนเองก็มี ทั้งชีวิตยังไม่เคยได้กำไรจาก Cpall เลย) แบบนี้ต้องขายทิ้งครับ เพราะมิฉะนั้นจะเสียสุขภาพจิต
5. ขายทิ้งทั้งกำไร หรือขาดทุนก็ตาม เพราะต้องการใช้เงิน เช่นถึงกำหนดจ่ายค่าเทอมกิ๊ก เป็นต้น
6. ขายเพราะเห็นว่ามีหุ้นตัวอื่นที่สามารถทำกำไรได้มากกว่า และ/หรือเร็วกว่า
ทั้งหมดนี้ก็คือหลักการที่เราต้องขายหุ้น อาจจะมีมากกว่านี้ แต่ยังนึกไม่ออก หากใครนึกออกก็มา คอมเม้นท์ต่อท้ายได้

เด็กลาดพร้าว
14 ส.ค. 56
13.20 น.

 

โดย: thungphet 15 สิงหาคม 2556 9:01:03 น.  

 

ตามรอยเจ้า : เทคนิคเก็บตกยามเย็น

เรื่องตามรอยเจ้านี้ ผมต้องให้เครดิต อ. ท่านหนึ่งที่เปิดสอนเรื่องว่าด้วย "ตามรอยเงิน" ซึ่งยอมรับตามตรงว่าจำชื่อไม่ได้จริง ๆ เป็นครั้งแรก และครั้งเดียวที่ผมเสียเงินไปอบรมเรื่องหุ้น ซึ่งก็สิบกว่าปีแล้วนะ ซึ่งจำได้ว่ามีผมนี่แหละซักถามเกี่ยวกับ Methodology ในการหาตัวเลข ซักกันมากจนกระทั่ง อ.ท่านนั้นให้เบอร์ผมไว้เลย (อิอิ ก็ผมมันจบด้านคณิตศาสตร์มานี่เลยช่างสงสัย) ในขณะทีท่านอื่น ๆ มุ่งเน้นถามแนวโน้มของชื่อหุ้นต่าง ๆ ซึ่งผมในตอนนั้นก็คิดว่าเป็นธรรมชาติของรายย่อยอยู่แล้ว

หลักการที่ผมนำมาประยุกต์ก็โดยหลักการคิดในเรื่องโวลุ่ม ว่าจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าทิศทางของหุ้นมีแนวโน้มจะเป็นเช่นไร ดังที่ได้อธิบายไปก่อนหน้าแล้ว ผมเลยจินตนาการเปรียบเทียบว่า ตลาดหลักทรัพย์เปรียบเสมือนลูกโป่งใบใหญ่ที่ภายในบรรจุไว้ด้วยลูกบอลใบเล็ก ๆ ซึ่งผมเปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นตัวหุ้นแต่ละตัว
การที่ลูกโป่งจะพอง หรือแฟบนั้นก็เกิดจากลูกบอลภายในที่บรรจุไว้แฟบตัวนั่นเอง แต่ในขณะที่ลูกโป่งเปลี่ยนแปลงบอลภายในที่บรรจุอยู่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย บางลูกอาจจะแฟบลง บางลูกอาจจะพองใหญ่ขึ้น ผมถือว่าลูกบอลเหล่านั้นเป็นมูลค่าการเทรดของหุ้นแต่ละตัว

ผมจึงมาวิเคราะห์ต่อว่า หากเม็ดเงินในตลาดแต่ละวันไหลไปเข้าสู่หุ้นตัวไหนมาก แสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีคนสนใจมากนั่นเอง ซึ่งที่เราเห็นก็คือ หุ้น Most Active Value นั่นเอง แต่หากเราคิดแบบนี้ ก็จะมีแต่หุ้น Market Cap ใหญ่ ๆ เท่านั้นที่จะเป็นที่สนใจของตลาด วิธีการดูแบบนี้จึงไม่ Make sense เพราะจะเป็นการเปรียบระหว่างหุ้นด้วยกัน

แต่หากเรานำมูลค่าการเทรดของหุ้นแต่ละตัวมาเปรียบเทียบกับตัวมันเองว่า แต่ละวันมูลค่าการเทรดเป็นอย่างไร แล้วดูไปเรื่อย ๆ มันก็จะบอกได้แค่มูลค่าการเทรดของตัวนั้น ๆ เท่านั้น

ผมจึงจับเอามูลค่าการเทรดของแต่ละวันของหุ้นทุกตัวว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรกับมูลค่าการเทรดของตลาด แล้วจัดเรียงลำดับเป็น 1 2 3.......ไปเรื่อย ๆ แบบนี้หุ้นตัวเล็ก ๆ ก็จะอยู่ท้ายตาราง แล้วเราก็จะจัดทำทุก ๆ วันเรื่อยไป

การจัดทำตารางแบบนี้ สิ่งที่เราจะได้เห็นคือ การเปลี่ยนแปลงของลำดับสัดส่วนมูลค่าการเทรดของหุ้นแต่ละตัวเทียบกับตลาด หากตัวไหนมีสัดส่วนต่อตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตัวอื่น ๆ ลำดับก็จะขยับขึ้น ตรงกันข้ามตัวไหนน้อยก็จะขยับลง

การจัดทำแบบนี้จะทำให้เราเห็นการไหลของเม็ดเงินว่าีการไหลเข้าไปในหุ้นตัวไหน ซึ่งตอนนั้นผมจะดูว่าหากตัวไหนมีการขยับขึ้นของ Ranking 5 วันติด แสดงว่าเจ้าน่าจะเริ่มเข้าประทับร่าง แล้วจากนั้นผมก็จะไปดูกราฟว่ามันมีลักษณะอย่างไร หากเข้าองค์ประกอบ และมี Indicator ตัวนี้บ่งชี้อีก ก็มั่นใจมากขึ้น

สมัยนั้นผมเขียนโปรแกรม ให้สรุปออกมาทุกภาคเช้า และภาคบ่าย และนำมาใช้งาน ต้องบอกว่า สรรพคุณมันดีมากครับ แต่ตอนนี้ทำไม่ไหว ได้แต่ส่งต่อไอเดียให้พวกเราไปทำกัน ผมเลยเรียก Indicator นี้ว่า "ตามรอยเจ้า"

เด็กลาดพร้าว
25 ส.ค.56
19.45 น.

ปล. ลืมไปเลยนะเนี่ย หันไปดู อ้าว วันคล้ายวันเกิดกรูนี่หว่า 555 ผมไม่ค่อยซีเรียสเรื่องพวกนี้ครับ เลยไม่ค่อยได้สนใจ

 

โดย: thungphet 27 สิงหาคม 2556 14:10:18 น.  

 

สวัสดีตอนเย็นครับแฟนเพจ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับวันนี้ ลองมาเล่าสู่กันฟัง ถ้าให้ดีบอกมาด้วยว่า เราพลาดกันตรงไหน
ตลาดหุ้นนับแต่นี้จะเล่นกันยากขึ้น ไม่มีทางจะมาหลับตาปาชื่อหุ้นแล้วซื้อก็ได้กำไรอีกต่อไป จะต้องใช้ความอดทน และการเทรดแบบระบบมากขึ้น ใจร้อนก็ไม่ได้ รวมทั้งขาเก่าต่างชาติก็จะลดความสำคัญลง เรียกว่าตั้งแต่นี้กินเนื้อกันเองแล้ว
สำหรับสถานการณ์ตลาดวันนี้ ออกเขียวมาเกือบทั้งวัน มาตายตอนจบออกลบเฉยเลย แต่วันนี้มีบางสิ่งที่จะทำให้พวกติดดอยพอมีความหวังขึ้นบ้าง สิ่งแรกคือโวลุ่มวันนี้ไม่หนาแน่นเหมือนทุกวัน เรียกว่าโวลุ่มลดระดับการเทรดลง ดังที่เคยบอกแล้วว่าหากโวลุ่มไม่นำมา ตลาดจะไปก็ไม่ได้ไกล จะลงก็ไม่มากแล้ว สิ่งที่สองที่ขอให้สังเกตคือ แม้วันนี้ต่างชาติจะขาย แต่สัดส่วนการเทรดของต่างชาติเทียบกับทั้งตลาดลดลงมาก ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่าแรงขายจากต่างชาติจะมีอิทธิพลต่อตลาดน้อยลงเหมือนคนท้องเสียพอได้ยาฆ่าเชื้อเข้าไปก็ถ่ายน้อยลง เดี๋ยวดูต่อไปถ่ายมาจะออกมาแต่ลม 555
ผมยังเน้นย้ำให้พวกเราต้องฝึกปรือการรู้จักป้องกันตัวเองให้รัดกุมขึ้น เพราะจะเป็นอาวุธเดียวที่เราจะทำได้ด้วยตัวเราเอง ถ้าใครเคยฝึกมวยกับครูมวย ลำดับแรกเลยนั้นครูมวยจะสอนให้รู้จักป้องกันตัวเองก่อน ก่อนที่จะเรียนรู้วิธี Punch คู่ต่อสู้
วิธีการที่ผมให้พวกเราแยกการเข้าซื้อเป็นล็อต ๆ โดยจะเพิ่มล็อตต่อไปเมื่อล็อตแรกสามารถยืนได้ และ/หรือหุ้นผ่านจุดสำคัญ ๆ ขึ้นไปได้ และให้ถือราคาที่เราเข้าซื้อล่าสุดเป็นแนวรับหากหลุดมาแม้แต่ช่องเดียว ขายทิ้งหมด แบบนี้ชาตินี้ไม่มีวันติดดอย และไม่มีทางเสียหายโดยเด็ดขาด และจะเล่นหุ้นอย่างมีความสุข ไม่มีเครียด
กลยุทธต่อไปในสถานการณ์นี้คือ ยุทธการตีหัวเข้าบ้าน ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นไว้ยาวเกินไป มีความเสี่ยงเกิดขึ้นตอนไหน ถอนเอากำไรออกมาก่อนเลย ที่กล่าวเช่นนี้เพราะในช่วงภาวะตลาดถดถอย หุ้นแต่ละตัวจะมาไปไว เคลมเร็ว เราจึงต้องไหลตามเค้าไปให้ทัน
ข้อห้ามสุดท้ายคือ ห้ามเล่นหุ้นต่ำกว่า 1 บาทโดยเด็ดขาด บางคนบอกดี ได้กำไรเร็วดี แต่ให้คิดว่า ถ้าเสียเอาคืนลำบาก และเราจะเป็นรองเจ้ามาก เจ้าเขย่าไป 5 ช่อง แล้วตบกลับ ได้กำไรไปแล้ว 5 % ในขณะที่เรายังย่ำอยู่กับที่ แถมมีเสียวว่าจะขาดทุนอีก หุ้นลักษณะนี้ปล่อยให้คนที่อยากหมดตัวเร็วเค้าเล่นไป
Last but not least ห้ามเล่นเดย์เทรดโดยเด็ดขาด เพราะจากประสบการณ์มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่จะได้กำไรแบบยัง่ยืน ค่าคอมจะกินท่านหมด
ผมเชื่อว่าถึงตอนนี้ แฟนเพจในนี้น่าจะเหลือค้างอยู่บนดอยไม่มากแล้ว ขออย่างเดียว อย่าสร้างมันขึ้นมาใหม่ เล่นตามแบบที่ผมบอก ไม่มีดอยโดยเด็ดขาด

เด็กลาดพร้าว
26 ส.ค.56
18.15 น.

 

โดย: thungphet 28 สิงหาคม 2556 4:33:11 น.  

 

ตามรอยเจ้า : เทคนิคเก็บตกยามเย็น

เรื่องตามรอยเจ้านี้ ผมต้องให้เครดิต อ. ท่านหนึ่งที่เปิดสอนเรื่องว่าด้วย "ตามรอยเงิน" ซึ่งยอมรับตามตรงว่าจำชื่อไม่ได้จริง ๆ เป็นครั้งแรก และครั้งเดียวที่ผมเสียเงินไปอบรมเรื่องหุ้น ซึ่งก็สิบกว่าปีแล้วนะ ซึ่งจำได้ว่ามีผมนี่แหละซักถามเกี่ยวกับ Methodology ในการหาตัวเลข ซักกันมากจนกระทั่ง อ.ท่านนั้นให้เบอร์ผมไว้เลย (อิอิ ก็ผมมันจบด้านคณิตศาสตร์มานี่เลยช่างสงสัย) ในขณะทีท่านอื่น ๆ มุ่งเน้นถามแนวโน้มของชื่อหุ้นต่าง ๆ ซึ่งผมในตอนนั้นก็คิดว่าเป็นธรรมชาติของรายย่อยอยู่แล้ว

หลักการที่ผมนำมาประยุกต์ก็โดยหลักการคิดในเรื่องโวลุ่ม ว่าจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าทิศทางของหุ้นมีแนวโน้มจะเป็นเช่นไร ดังที่ได้อธิบายไปก่อนหน้าแล้ว ผมเลยจินตนาการเปรียบเทียบว่า ตลาดหลักทรัพย์เปรียบเสมือนลูกโป่งใบใหญ่ที่ภายในบรรจุไว้ด้วยลูกบอลใบเล็ก ๆ ซึ่งผมเปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นตัวหุ้นแต่ละตัว
การที่ลูกโป่งจะพอง หรือแฟบนั้นก็เกิดจากลูกบอลภายในที่บรรจุไว้แฟบตัวนั่นเอง แต่ในขณะที่ลูกโป่งเปลี่ยนแปลงบอลภายในที่บรรจุอยู่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย บางลูกอาจจะแฟบลง บางลูกอาจจะพองใหญ่ขึ้น ผมถือว่าลูกบอลเหล่านั้นเป็นมูลค่าการเทรดของหุ้นแต่ละตัว

ผมจึงมาวิเคราะห์ต่อว่า หากเม็ดเงินในตลาดแต่ละวันไหลไปเข้าสู่หุ้นตัวไหนมาก แสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีคนสนใจมากนั่นเอง ซึ่งที่เราเห็นก็คือ หุ้น Most Active Value นั่นเอง แต่หากเราคิดแบบนี้ ก็จะมีแต่หุ้น Market Cap ใหญ่ ๆ เท่านั้นที่จะเป็นที่สนใจของตลาด วิธีการดูแบบนี้จึงไม่ Make sense เพราะจะเป็นการเปรียบระหว่างหุ้นด้วยกัน

แต่หากเรานำมูลค่าการเทรดของหุ้นแต่ละตัวมาเปรียบเทียบกับตัวมันเองว่า แต่ละวันมูลค่าการเทรดเป็นอย่างไร แล้วดูไปเรื่อย ๆ มันก็จะบอกได้แค่มูลค่าการเทรดของตัวนั้น ๆ เท่านั้น

ผมจึงจับเอามูลค่าการเทรดของแต่ละวันของหุ้นทุกตัวว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรกับมูลค่าการเทรดของตลาด แล้วจัดเรียงลำดับเป็น 1 2 3.......ไปเรื่อย ๆ แบบนี้หุ้นตัวเล็ก ๆ ก็จะอยู่ท้ายตาราง แล้วเราก็จะจัดทำทุก ๆ วันเรื่อยไป

การจัดทำตารางแบบนี้ สิ่งที่เราจะได้เห็นคือ การเปลี่ยนแปลงของลำดับสัดส่วนมูลค่าการเทรดของหุ้นแต่ละตัวเทียบกับตลาด หากตัวไหนมีสัดส่วนต่อตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตัวอื่น ๆ ลำดับก็จะขยับขึ้น ตรงกันข้ามตัวไหนน้อยก็จะขยับลง

การจัดทำแบบนี้จะทำให้เราเห็นการไหลของเม็ดเงินว่าีการไหลเข้าไปในหุ้นตัวไหน ซึ่งตอนนั้นผมจะดูว่าหากตัวไหนมีการขยับขึ้นของ Ranking 5 วันติด แสดงว่าเจ้าน่าจะเริ่มเข้าประทับร่าง แล้วจากนั้นผมก็จะไปดูกราฟว่ามันมีลักษณะอย่างไร หากเข้าองค์ประกอบ และมี Indicator ตัวนี้บ่งชี้อีก ก็มั่นใจมากขึ้น

สมัยนั้นผมเขียนโปรแกรม ให้สรุปออกมาทุกภาคเช้า และภาคบ่าย และนำมาใช้งาน ต้องบอกว่า สรรพคุณมันดีมากครับ แต่ตอนนี้ทำไม่ไหว ได้แต่ส่งต่อไอเดียให้พวกเราไปทำกัน ผมเลยเรียก Indicator นี้ว่า "ตามรอยเจ้า"

เด็กลาดพร้าว
25 ส.ค.56
19.45 น.

ปล. ลืมไปเลยนะเนี่ย หันไปดู อ้าว วันคล้ายวันเกิดกรูนี่หว่า 555 ผมไม่ค่อยซีเรียสเรื่องพวกนี้ครับ เลยไม่ค่อยได้สนใจ

 

โดย: thungphet 28 สิงหาคม 2556 4:34:01 น.  

 

จุดอ่อนของเม่าเรื่องการเข้าพรวด

วันนี้จะมาพูดถึงจุดอ่อนของเม่าใหม่ทั้งหลายเกี่ยวกับอาการลนกับการเข้าซื้อ นั่นก็คือการเข้าพรวดนั่นเอง
"เข้าพรวด" ในภาษาฟุตบอลหมายถึงอาการของนักฟุตบอลโดยเฉพาะมือใหม่ที่เล่นกอลหลัง และเวลาฝ่ยตรงข้ามเอาบอลเข้ามาหาในระยะใกล้ ๆ ตัว แล้วมีการใช้ร่างกายโยกหลอกให้ฝ่ายตั้งรับเข้าสกัดแบบพรวดพราด ส่งผลให้คู่ต่อสู้ใช้จังหวะเพียงนิดเดียวก็เอาบอลผ่านไปได้
"เข้าพรวด" ในภาษาหุ้นหมายถึงอาการของเม่าใหม่ ที่ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเข้าซื้อหุ้นให้ได้ ณ บัดนาว โดยไม่สนใจว่าสถานการณ์ของหุ้นตัวนั้นจะเป็นอย่างไร เสมือนหนึ่งกลัวหุ้นตัวนั้นจะถูกขายไปจนหมดเกลี้ยงตลาด
เหตุการณ์แบบนี้มักจะเห็นได้ในวันที่ตลาดมีข่าวดี และ/หรือตลาดข้างบ้านเปิดเขียวเข้มกัน และส่งผลจิตวิทยาว่าตลาดบ้านเราน่าจะเป็นเช่นเดียวกัน และเม่าทั้งหลายจะเหมือนกลัวจะตกรถ ไม่ได้หุ้น ฯลฯ บางคนเลยเข้า ATO เลย บ้างก็เปิดตลาดแล้วไล่ยิง Bid ยิ่งราคาถูกลากแรงเท่าไหร่ เม่าก็ไล่ยิงเท่านั้น

เม่าจะทำตัวเช่นนี้ เหมือนกับเป็นตำรวจกำลังไล่จับนักพนันโดยคิดว่าจะไม่มีการต่อสู้เกิดขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าบางทีเรากำลังไล่จับพ่อค้ายาบ้า ที่มีอาวุธพร้อมต่อสู้เรา ถ้าเป็นแบบนี้หลายคนอาจจะหงายเงิบกลับมา เพราะซื้อแล้วดอยทันทีได้

นักจิตวิทยาได้ศึกษาเรืองนี้ และมีผู้นำมาเขียนลงในหนังสือ "How to Trade in 10 O'Clock Bull Market" ว่า ในช่วงเริ่มเปิดตลาดจนถึง 30 นาทีผ่านไปนั้นจะเป็นช่วงซื้อขายของคนที่ได้มีการวิเคราะห์หุ้นว่าจะต้องซื้อตั้งแต่คืนก่อนหน้าแล้ว และยังมีอีกกลุ่มที่มาได้รับสิ่งเร้ารอบตัวก่อนตลาดเปิด พร้อมที่จะเข้าเทรดทันที กับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้ามก็คิดแบบเดียวกัน ข้อมูลใหม่ต่าง ๆ จึงไม่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์อีก เสียงเชียร์ อารมณ์ของเทรดเดอร์ จะเป็นตัวกระตุ้นสั่งงานให้สมองทำตามที่สั่งทันที ผลที่ปรากฎคือบ่างครั้งตลาดจะเปิดโดดทั้งบวก และลบได้ ซึ่งเค้าบอกว่าการเข้าซื้อแบบนี้ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง

เค้าได้วิเคราะห์ต่อไปอีกว่า เหตุการณ์แบบนี้ทำให้เราสามารถมาหาจุดต่ำสุด สูงสุด ของวันได้แบบรวดเร็ว โดยนำเอาจุดสูงสุด - ต่ำสุดของ 30 นาทีแรกมาเป็นตัวกำหนด แนวรับ แนวต้านในวันได้ โดยเฉพาะในการเล่นเดย์เทรด

ทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เป็นผลของการศึกษาของต่างประเทศเท่านั้น ผมเพียงแต่นำมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น ส่วนใครจะนำไป Enhance ต่อไม่ว่ากัน

เด็กลาดพร้าว
26 ส.ค. 56
11.00 น.

ปล. ขอบคุณสำหรับทุกคำอวยพรที่มอบให้กับผมนะครับ ขอให้พรนั้นกลับคืนสู่ทุกท่านด้วยเช่นกันครับ

ปล2. TMB เช้านี้ โวลุ่มเข้ามาเกิน 2 แสนหุ้นภายใน 30 นาทีแรกแล้ว สิ่งที่จะดูคือ เมื่อโวลุ่มมา พวงมาลัย (ราคา) จะเลี้ยวไปทางไหน ถ้าเลี้ยวลง หยุดนิ่งก่อนเลยครับ แบบนี้ราคาต้องบวกอย่างน้อย 2 - 3 ช่องจึงจะปลอดภัยในการเข้าครับ

 

โดย: thungphet 28 สิงหาคม 2556 4:35:12 น.  

 

คลินิคพิเศษนอกเวลาทำการ เปิดแล้วจร้า

สภาพตลาดหุ้นไทยเป็นไปตามคาด เมื่อเพดานคอนกรีตสูง 1300 แตก สิ่งปฎิกูลและอิฐหินทรายที่ทุบทิ้งทับถมกันไว้ข้างบนย่อมทะลักลงมา เคราะห์ดีที่ยังไม่ถือว่าแรงเท่าไหร่ต่ำกว่า 1300 แค่ 6 จุดเท่านั้น แต่เป็นเพียงแค่วันนี้นะ พรุ่งนี้ต้องติดตามต่ออีกที
สำหรับแฟนเพจ ที่เมื่อวานส่งเสียงเจื้อยแจ้วว่าเข้า BMCL และ TMB ไป หวังว่าคงได้ใช้วิธีเผ่นพันลี้ที่สั่งสอนไปเอาตัวรอดออกมาได้นะ เว้นเสียแต่จะไปฝืนเพลงกระบี่ ก็อาจเจ็บตัวกลับมาได้ ส่วน siri ก็เป็นอย่างที่บอก แรงขายเริ่มหดหายไปเรื่อย ๆ (ที่จริงต้องบอกว่าเลิกเล่นจึงจะถูก) กำลังปัดกวาดไล่พวกขี้เมาที่ยังตกค้างออก แต่มันจะขึ้นต่อเมื่อไหร่ยังไม่รู้
วันนี้คงไม่มีอะไรจะเน้นพวกเรามากมาย เพราะบรรยากาศยังไม่น่าเสริมความรู้เข้าไปอีกในตอนนี้ เพียงแต่อยากจะเตือนความจำพวกเราถึงวิธีการเล่นว่า
1. กลั่นออกมาจากสมองเลยว่า จะเลือกหุ้นตัวไหน (ต้องเข้าองค์ประกอบด้วยนะ) หุ้นขาลงไม่เล่น หุ้นยิ่งเบรคยิ่งต้องหาทางเข้า ไม่ต้องกลัวติดดอย
2. กลั่นให้สุด ๆ ถึงจังหวะการเข้าซื้อไม้แรก ถ้าเข้าได้จังหวะดี โอกาสได้กำไรจะง่าย ซื้อไม้แรกเหมือนกำหนดเราเลยว่าเราเลือกหุ้นผิดหรือถูก ถ้าซื้อแล้วมันลงก็นั่งเฉย ๆ ถึงจุดคัทก็คัทไป ถือว่าเราเลือกหุ้นผิด ให้มันกินไปแค่นั้นพอ ถ้าเลือกถูกเราก็ไปข้อ 3
3. มาถึงข้อ 3 สมองคงแล่นแล้วเพราะหุ้นขึ้น เข้าซื้อไม้ 2 อย่างแม่นยำ ถือว่าเราเล่นเกมส์สไนเปอร์ ลั่นกระสุนไปแล้ว ไม่ถูกเป้า เราตาย จึงต้องพิถีพิถัน ซื้อไปแล้วลงมา 2 ช่องขายทิ้งหมด ถือว่าเลือกหุ้นผิดอีก แล้วก็ทำต่อไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ซึ่งถ้าทำได้ไม่มีดอย มีแต่ลำใย

สำหรับใครที่มีข้อผิดพลาดอะไรในวันนี้ เอามาลงให้เพื่อน ๆ วิจารณ์กัน และจะได้ไม่ทำซ้ำอีก

เด็กลาดพร้าว
27 ส.ค.56
17.00 น.

 

โดย: thungphet 28 สิงหาคม 2556 4:36:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


thungphet
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




free counters
Friends' blogs
[Add thungphet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.