เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
12 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 

เศรษฐศาสตร์มหภาคคืออะไร

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
เศรษฐศาสตร์มหภาค คือการศึกษาระบบเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ้างงานและการว่างงาน อัตราค่าจ้าง อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อที่จะอธิบายปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เช่นภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจถดถอย หรือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อจะสามารถวางแนวนโยบายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นหรือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งใจไว้

แต่เป้าหมายของเศรษฐกิจมหภาคในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน
บางประเทศอาจเน้นที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)
บางประเทศอาจมุ่งเน้นที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Stability)
ขณะที่ในอีกบางประเทศอาจมุ่งเน้นที่การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม (Income Distribution)

เครื่องมือของเศรษฐกิจมหภาคในการดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจจึงมีความแตกต่างกัน เช่น
นโยบายการคลังเพื่อเป้าหมายการกระจายรายได้
นโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพในประเทศ
หรือนโยบายการค้าระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ เป็นต้น

แม้การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาเศรษฐกิจทั้งระบบ แต่ตามที่เคยได้กล่าวไว้แล้วว่า ยิ่งการศึกษาในสิ่งที่สนใจมีความเกี่ยวพันกันเป็นจำนวนมากเพียงใด ความยุ่งยากและซับซ้อนย่อมมีมากเท่านั้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคในระดับต้น จะศึกษาเฉพาะประเด็นที่มีความเกี่ยวพันกันชัดเจน และมีความสำคัญก่อน จากนั้นจึงค่อยขยายความสัมพันธ์ไปยังสิ่งอื่นๆที่สนใจภายหลัง

อ่านเพิ่มเติมเศรษฐศาสตร์จุลภาคคืออะไร




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2549
0 comments
Last Update : 23 ตุลาคม 2549 22:33:32 น.
Counter : 80870 Pageviews.


TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.