เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
11 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 

การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

หลายครั้ง จะพบว่าการวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์
คำตอบไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียวเหมือนวิทยาศาสตร์
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำตอบว่า
"ด้านนึง คำตอบคือ... แต่คิดอีกแบบนึง คำตอบคือ..."
คำตอบที่ไม่แน่นอนตายตัว เกิดจากอะไร เราลองมาดูกัน

เศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริงและเศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น
เศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริง (Positive Economics)
หรือบางคนอาจจะเรียกว่าเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์
เป็นเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งศึกษาถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ เช่น การวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าและปริมาณการซื้อขายของสินค้าชนิดหนึ่งๆ โดยจะไม่มีการใช้วิจารณญาณในการตัดสินคุณค่า ว่าควรหรือไม่ควร หรือสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ดีหรือไม่ดี
เศรษฐศาสตร์แนวทางนี้จึงเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการศึกษาในสิ่งที่ผู้ศึกษาต้องการ
เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น (Normative Economics)
หรือเศรษฐศาสตร์นโยบาย
เป็นเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งศึกษาว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นๆ ดีหรือไม่ ควรทำหรือไม่ แนวทางนี้จึงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่คุณค่า ซึ่งเป็นคุณค่าที่เกิดจากผู้กำหนดนโยบาย ทั้งนี้ เพราะสิ่งที่อยู่ในระบบเศรษฐศาสตร์ล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน การดำเนินการอย่างหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริงมีลักษณะของศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์มาก เพราะมีการสร้างข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ออกมาได้
ขณะที่เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น จะไม่มีกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ตายตัว หากแต่จะใช้วิจารณญาณและความรู้สึกส่วนตัวหรือแม้แต่ศิลป์เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการตอบถึงความถูกต้องเหมาะสม จึงมีนักเศรษฐศาสตร์ (เกือบทุกคน) กล่าวว่าเศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริงเท่านั้น ถึงจะเป็นเศรษฐศาสตร์ที่บริสุทธ์


การวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ
- แบ่งตามเวลา
การวิเคราะห์เชิงสถิต (Static Analysis)
เป็นลักษณะของการวิเคราะห์ที่สนใจเฉพาะสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะหนึ่งเท่านั้น โดยจะไม่มีเรื่องเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์เชิงสถิตเปรียบเทียบ (Comparative Static Analysis)
เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพการณ์เชิงสถิต 2 จุด เช่น การเปรียบเทียบดุลยภาพเก่า และดุลยภาพใหม่ของเศรษฐกิจ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น
การวิเคราะห์เชิงพลวัต (Dynamic Analysis)
เป็นการวิเคราะห์โดยมองจุดของเวลาด้วย โดยจะศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆในแต่ละเวลาว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งจะช่วยบอกถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลง รวมถึงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงได้

- แบ่งตามขอบเขต
การวิเคราะห์เฉพาะส่วน (Partial Analysis)
เป็นการวิเคราะห์เฉพาะสิ่งที่สนใจ โดยตัดความสัมพันธ์ของตัวแปรอื่นทิ้งไป ภายใต้แนวคิดว่า สิ่งอื่นๆคงที่ (Ceteris Paribus) เพื่อที่จะหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่สนใจโดยตรง
การวิเคราะห์คลุมทุกส่วน (General Analysis)
เป็นการวิเคราะห์โดยใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องเข้ามาศึกษาพร้อมกัน แม้การวิเคราะห์วิธีนี้จะให้ภาพที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่า แต่ในทางปฏิบัติแล้ว อาจจะละสิ่งที่มีความเกี่ยวพันไม่มากกับสิ่งที่เราสนใจออกไปได้ เพราะยิ่งมีสิ่งที่สัมพันธ์กันมากเท่าไหร ความยุ่งยากในการวิเคราะห์ย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดทั้งเวลาหรือความเชี่ยวชาญ เราอาจจำเป็นต้องละไป

สิ่งที่กล่าวข้างต้น เป็นสิ่งที่ควรทราบก่อนที่จะเริ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็น-แนว-ทาง-ในการศึกษา ไม่ให้เขวออกไปนอกลู่นอกทาง
และเพื่อให้คนอื่นได้เข้าใจถึงพื้นฐานความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ดังที่ได้กล่าวตอนเกริ่นนำแล้ว หวังว่าคนที่ไม่เข้าใจนักเศรษฐศาสตร์จะเริ่มเข้าใจถึงความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ขึ้นมาซักเล็กน้อยนะครับ




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2549
0 comments
Last Update : 11 ตุลาคม 2549 0:57:47 น.
Counter : 54489 Pageviews.


TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.