Group Blog
 
<<
เมษายน 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
18 เมษายน 2548
 
All Blogs
 

หัวเราะ

เวลาคุย msn
แล้วพิมพ์เสียงหัวเราะ

555 หึหึหึ เหอๆ
กร๊ากกกกกกกกกก กรั่กๆ
อิอิอิ อุอุอุ งิงิงิ งุงุ
อั้งเคอะๆ คิคิคิ คิกคิก

อยากรู้ว่าขำกันจริงๆรึเปล่า

นั่งอยู่หน้าจอ หัวเราะเป็นบ้าเป็นหลัง แต่พิมพ์ว่า
หึหึหึ

นั่งอยู่หน้าจอ หัวเราะแค่ คิกๆ แต่พิมพ์ว่า
555

นั่งอยู่หน้าจอ หัวเราะแค่ หึหึหึ แต่พิมพ์ว่า
กร๊ากกกกกกกกก ก๊ากกๆๆๆๆ

วันนี้ เรานั่งอยู่หน้าจอ ไม่มีเสียงหัวเราะ มีแต่ความไม่สบายใจ
แต่เราก็พิมพ์ว่า 555 อิอิอิ

เพื่ออะไร??

นี่เรากำลังโกหกคนที่เราคุยด้วยใช่มั้ย??

ทำไงได้หละ ในเมื่อคิดอะไรไม่ออกจริงๆ




 

Create Date : 18 เมษายน 2548
17 comments
Last Update : 18 เมษายน 2548 0:31:51 น.
Counter : 1216 Pageviews.

 

555 -->> หัวเราะ หึหึ แต่พิมพ์ 555

นี่แนนกำลังโกหกพี่เบลล์ใช่มั้ย?

 

โดย: ขอดาวที่เธอผิง เอาไว้อิงอุ่นไอ 18 เมษายน 2548 0:33:16 น.  

 

โอเวอร์แร๊กติ้งไงคะ

 

โดย: พี่ปูน IP: 210.246.74.96 18 เมษายน 2548 0:41:21 น.  

 

ตูคิดว่า พิมพ์เหมือน พูด

พูดเหมือนพิมพ์


แล้วแต่ คนหวะ

แต่ตรู ไม่เสแสร้ง นะ

 

โดย: น้าใส (ใสบาบา ) 18 เมษายน 2548 0:45:40 น.  

 

มีไรก็บอกมาตรวๆดีกว่านะ

 

โดย: panumas05 18 เมษายน 2548 6:20:12 น.  

 

อืมม ส่วนใหญ่ก็ขำจริงนะคะ ^^








...

 

โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) 18 เมษายน 2548 6:52:43 น.  

 

ไม่สามารถถ่ายาอดเสียงหัวเราะจริงๆ ผ่านปลายนิ้วได้ครับ ต้องฟังด้วยหูตัวเอง...

เหอๆๆ

แต่จะว่าไปแล้ว "หัวเราะ" ที่พิมพ์กันไป จะจริงหรือป่าว ใครจะแคร์ ตราบได้ที่ยังคุยกันอยู่ เนอะอะ...

 

โดย: Nutty Professor 18 เมษายน 2548 14:42:41 น.  

 

รู้สึกอย่างไหง ใส่ลงไปอย่างงั้นเลยพี่อ่ะ หุๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: I'M NAN 18 เมษายน 2548 17:59:22 น.  

 



ถ้าขำนิดหน่อยก็ หุๆๆ ขำมากๆก็ 555 อ่ะครับ ขำจริงทั้งนั้นแหล่ะ

 

โดย: < h r i s t i A n Vi e ri >> 18 เมษายน 2548 22:07:02 น.  

 

ผมก็พิมพ์ไปตามอารมณ์แหละ แต่บางครั้งการพิมพ์ มันก็ทำให้คนที่อ่านข้อความเราตีความหมายไปเป็นอีกแบบนะ หุหุหุ

 

โดย: Due_n IP: 203.155.225.207 19 เมษายน 2548 3:11:32 น.  

 

ไม่รู้ รู้แต่ถ้าพิมพ์ว่า
กร๊ากกกก

แสดงว่า สะใจแกล้งคนได้สำเร็จ

 

โดย: papercut IP: 202.57.158.120 19 เมษายน 2548 3:31:06 น.  

 

ถ้าพิมพ์ 666 นี่ถือว่าขำกว่า 555 รึเปล่าอ่ะ ?? ...

 

โดย: lonely boy 19 เมษายน 2548 3:55:47 น.  

 

ใครยังไงไม่รูแต่พี่จริงใจกับเบลล์เสมอจ้ะ...ว้าก ฮ่าฮ่าฮ่า เหอเหอเหอ แหะแหะแหะ อุอุอุ อิอิอิ ฮี่ฮี่ฮี่ แฮ่แฮ่แฮ่ เคี้ยกเคี้ยกเคี้ยก..: )

 

โดย: captainfakenature IP: 203.146.196.75 19 เมษายน 2548 21:03:32 น.  

 

ฮะเหยฮะเหย << เป็นเสียงที่พิศดารเล็กน้อย

แต่ยังไงก้อมีอารมณ์ขันอยู่แล้น 555 กร๊ากๆๆ หุหุหุ เหอๆๆ หึหึหึ วะฮ่ะๆๆ เอิ้กๆๆ

 

โดย: *+ขอนลอย คอยรัก+* 20 เมษายน 2548 12:45:28 น.  

 

มาแอบอ่าน (ย้อนหลังด้วย..iuiuiu)

อืมมม..สำหรับพี่รี่ ...ขี้เกียจหลอกความรู้สึกตัวเองนะ เมื่อยหน้าเมื่อยความคิดมาทั้งวันกับงานแร้วววว...ถึงเวลาพัก เช็คเมลล์ ก็เปนตัวเองละอ่า...^^~*

 

โดย: Sary 20 เมษายน 2548 21:25:03 น.  

 

ก็แค่พวกไม่จิงใจ

 

โดย: Nitiboon IP: 61.90.77.20 20 เมษายน 2548 21:59:31 น.  

 

คนไทยต้องรู้ 3 ภาษา
ปรีชา สุขเกษม
ในโลกยุคใหม่คนไทยต้องรู้ 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและอังกฤษ (เราจะไม่กล่าวถึงคอมพิวเตอร์ เพราะนั่นไม่ใช่ภาษา แต่เป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ภาษา)
ภาษาไทยมีความจำเป็น เพราะเป็นภาษาประจำชาติ เป็นภาษาราชการ และเป็นภาษากลางสำหรับใช้สื่อสารของคนทั่วประเทศ ภาษาไทยจึงได้รับการพัฒนาให้เป็นภาษามาตรฐาน เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษา
ภาษาอังกฤษเพิ่งจะเริ่มมีความสำคัญต่อคนไทยอย่างจริงจัง ในช่วง 10 - 20 ปี นี้เอง เมื่อมีคอมพิวเตอร์ มีอินเตอร์เน็ท และมีการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบการสื่อสารทั่วโลก มีความสะดวกรวดเร็วภาษาอังกฤษจึงมีบทบาทมากขึ้น เพราะเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารดังกล่าว
หากมองเพียงเท่านี้ก็น่าจะสมบูรณ์ สำหรับนโยบายภาษาของชาติ แต่หากมองดูความเป็นจริงในสังคมไทย คนไทยทั้งประเทศ ไม่ได้พูดภาษาไทยเพียงภาษาเดียว หากแต่มีความหลากหลายทางภาษาและเผ่าพันธุ์ คนไทยพูดภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันมากมาย ไม่เฉพาะแต่ภาษาตระกูลไท หากยังมีภาษาอื่น ๆ แบ่งเป็นตระกูลใหญ่ ๆ ได้ถึง 5 ตระกูล ได้แก่ ตระกูลออสโตรเอเซียติก เช่น ภาษามอญ เขมร ส่วย ขอม เวียดนาม ตระกูลจีน-ทิเบต เช่น ภาษาจีนกวางตุ้ง แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน จีนฮ่อ ลีซอ มูเซอ อีก้อ ตระกูลออสโตรนีเซียน เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาโมเก็น (ชาวเล) ตระกูล ม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้ง (แม้ว) เมี่ยน (เย้า) และภาษาตระกูลไทเอง ก็ยังมีภาษาถิ่นต่าง ๆ มากมาย เช่น ไทยถิ่นสุพรรณ ไทยอีสาน ไทยเหนือ ไทยใต้ ไทยใหญ่ เป็นต้น (สุริยา รัตนกุล 2537) ภาษาไทยที่ถูกยกขึ้นมาเป็นภาษาไทยประจำชาตินั้น เดิมก็คือ ภาษาไทยกรุงเทพฯ ภาษาไทยถิ่นหนึ่งที่บังเอิญเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางของประเทศ จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นภาษาประจำชาติ
ดังนั้น นอกเหนือจากภาษาไทย (กรุงเทพ) และภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาที่ 3 ซึ่งหมายถึง ภาษาแม่ ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น ก็ควรเป็นหน้าที่ที่คนไทยต้องรู้และสืบทอดให้คงอยู่ต่อไปธรรมชาติของภาษา

ภาษาคือสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารของคนในสังคมใดสังคมหนึ่งที่รับรู้เรื่องของสัญลักษณ์นั้นร่วมกัน ในทัศนะของนักภาษาศาสตร์ ภาษาทุกภาษามีคุณสมบัติที่เหมือนกันอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ภาษาคือสัญลักษณ์ ภาษามีระบบ และภาษามีหน้าที่เพื่อการสื่อสาร
ภาษา คือ สัญลักษณ์ หมายความว่า เราใช้ภาษาในการถ่ายทอดความคิดของคน การถ่ายทอดอาจจะออกมาในรูป เสียงพูด การเขียน หรือการแสดงท่าทาง สิ่งเหล่านี้คือสัญลักษณ์ เช่น เมื่อเราต้องการสื่อสารเรื่อง "ช้าง" เราไม่ได้นำช้างจริง ๆ มาแสดง หากแต่เราใช้เสียงพูด หรือเขียน คำว่า "ช้าง" หรือวาดรูปช้าง ทั้งเสียงพูด, ตัวอักษร หรือรูปภาพ ล้วนเป็นสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
ภาษามีระบบ ระบบของแต่ละภาษา ย่อมเป็นที่เข้าใจร่วมกันของคนในสังคมที่พูดภาษานั้น เช่น ภาษาไทย มีระบบไวยากรณ์ ว่าด้วยการเรียงคำในประโยคที่ต้องประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม เราพูดว่า หมากัดเด็ก ในขณะที่ภาษาญี่ปุ่น มีระบบการเรียงคำในประโยคที่ประกอบด้วย ประธาน + กรรม + กริยา คนญี่ปุ่นจึงต้องพูดว่า หมา เด็ก กัด
การเรียงคำดังกล่าว เป็นระบบที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคมที่พูดภาษานั้น
ภาษามีหน้าที่เพื่อการสื่อสาร การที่แต่ละภาษามีการสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมา เช่น เสียงพูด หรือตัวอักษร และการที่ภาษาต้องมีการสร้างระบบก็เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร เพราะถ้าไม่มีสัญลักษณ์ หรือถึงแม้จะมีสัญลักษณ์ แต่เราใช้สัญลักษณ์ไปคนละทิศคนละทางอย่างไม่มีระบบ เราก็คงไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ภาษากับศักดิ์ศรี
ภาษาเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น ที่ใดมีมนุษย์และมีการสื่อสารที่นั่นก็มีภาษา โดยธรรมชาติแล้วภาษามีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาของชาติมหาอำนาจ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาของชาวป่า ที่ห่างไกลความเจริญ เช่น ภาษาผีตองเหลือง แต่มนุษย์กลับทำให้ภาษามีศักดิ์ศรีไม่เท่าเทียมกัน

ในอดีตชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส และอีกหลายชาติในยุโรป ได้ออกล่าอาณานิคมไปทั่วโลก เมื่อคนอังกฤษหรือฝรั่งเศส ปกครองประเทศใดก็นำภาษาของตนไปใช้ในฐานะภาษาของชนชั้นปกครอง ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสจึงกลายเป็นภาษาที่มีศักดิ์ศรี ใครที่อยากใกล้ชิดหรือได้ร่วมงานกับชนชั้นปกครอง ก็ต้องเรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ดังนั้นภาษาดังกล่าวจึงแพร่หลาย ส่วนภาษาพื้นเมืองดั้งเดิมถูกลดบทบาทลงเป็นภาษาด้อยศักดิ์ศรี ใครพูดภาษาพื้นเมืองอาจจะได้รับการเหยียดหยาม แม้แต่เจ้าของภาษาก็ไม่กล้าที่จะพูดภาษาของตน ทำให้ภาษานั้นสูญไปในที่สุด
เรื่องภาษากับศักดิ์ศรี เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากเราวัดศักดิ์ศรีของคนด้วยฐานะเศรษฐกิจ และความเจริญทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ค่านิยมดังกล่าว จึงมีผลกระทบต่อภาษาไปด้วย เพราะผู้พูดภาษาที่มีฐานะเศรษฐกิจดีกว่า มีความเจริญมากกว่า ก็มักจะมองผู้พูดภาษาที่ยากจนกว่า มีความเจริญทางวัตถุน้อยกว่าด้วยความดูถูกเหยียดหยาม ผู้ที่ได้รับการเหยียดหยามก็ต้องพยายามที่จะยกระดับของตนเอง ด้วยการไม่พูดภาษาเดิมที่เคยพูดอยู่ เพราะไม่ต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าตนคือใคร แม้แต่ภายในครอบครัว พ่อแม่ก็พยายามสอนให้บุตรหลานพูดภาษาที่มีศักดิ์ศรีกว่าแทนการพูดภาษาของพ่อแม่ การสูญภาษาจึงเกิดขึ้น

จากการศึกษาภาษาที่อยู่ในภาวะวิกฤต (endangered language) พบว่า ภาษาชนกลุ่มน้อย หลายกลุ่มกำลังจะสูญไป อาทิเช่น ภาษาชอง จังหวัดจันทบุรี (สุวิไล เปรมศรีรัตน์ 2544) ภาษาญัฮกูร จังหวัดนครราชสีมา (L.Thongkhum 1984) ภาษากวย จังหวัดสุพรรณบุรี (ไพลิน ยันตรีสิงห์ 1980) นอกจากนั้นบางภาษามีแนวโน้มว่าจำนวนผู้พูดจะน้อยลง เพราะเจ้าของภาษา มีทัศนคติว่าภาษาของตนเองต่ำต้อยกว่าภาษาอื่น เช่น ภาษาส่วย (กวย - กูย) จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ (Smalley 1976 ประพนธ์ จุนทวิเทศ 2531) เอกลักษณ์ หรือ พหุลักษณ์
เอกลักษณ์หมายถึง ลักษณะอันเป็นหนึ่งเดียวที่ทุกคนมีร่วมกัน ส่วน พหุลักษณ์ คือ ลักษณะของความแตกต่างหลากหลาย
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ แต่หากศึกษาเชิงประวัติ จะพบว่าถึงแม้จะเรียกว่าภาษาไทย แต่คนไทยก็ยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ปะปนอยู่ในภาษาไทยอย่างมากมาย เช่น จากภาษาเขมร ซึ่งในอดีตเป็นภาษาของชนชาติที่เจริญรุ่งเรือง (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2544) คำจาก บาลี สันสกฤต ซึ่งมาพร้อม ๆ กับศาสนาพุทธ และพราหมณ์ ภาษาอังกฤษ ที่มาพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีแห่งชาติตะวันตก
ภาษาไทยที่เรายกขึ้นมาเป็นภาษาประจำชาตินั้น เดิมเป็นเพียงภาษาถิ่นหนึ่งเท่านั้น นั่นหมายความว่าประเทศไทยยังมีภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ อีกมากมาย สังคมไทยเป็นสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เรียกว่า เป็นสังคมพหุลักษณ์ แต่ละชาติพันธุ์มีวัฒนธรรม ประเพณีและภาษาที่แตกต่างกัน การพัฒนาชาติ หรือการกำหนดนโยบายใด ๆ ในระดับชาติ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลาย (พหุลักษณ์) ดังกล่าว ถ้าหากมองในแง่นโยบายภาษา ประเทศไทยควรส่งเสริมและทำนุบำรุง ภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ให้คงอยู่ แต่ในขณะเดียวกัน ก็กำหนดให้มีภาษาประจำชาติเพียงภาษาเดียว นั่นคือให้มีภาษาไทยเป็นภาษาเอกลักษณ์แต่มีภาษาท้องถิ่นเป็นพหุลักษณ์ของชาติ
การพัฒนาควรคำนึงถึงและให้ความสนใจกับความเป็นสังคมพหุลักษณ์และต้องสร้างเอกลักษณ์ให้เกิดบนความเป็นพหุลักษณ์ ไม่ใช่การทำลายล้างพหุลักษณ์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ ภาษาเปรียบเสมือนเครื่องแต่งกาย เรามีชุดไทยประจำชาติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องห้ามชาวเขาแต่งชุดประจำเผ่า หรือห้ามชาวใต้นุ่งผ้าบาติก ในทางตรงกันข้ามเรากลับต้องส่งเสริมให้เขาภาคภูมิใจ ในชุดแต่งกายของเขาเหล่านั้นนโยบายภาษา อดีต และปัจจุบัน
นโยบายด้านภาษา ตั้งแต่ระดับบนสุด คือ นโยบายรัฐบาลมาจนนโยบายระดับท้องถิ่น เราได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา พัฒนาภาษาไทย (กรุงเทพ) เป็นอันมาก เด็กไทย (ไม่ว่าจะอยู่ภูมิภาคใด) ต้องเรียนภาษาไทย(กรุงเทพ) ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา ภาษาไทย (กรุงเทพ) ถือเป็นวิชาบังคับในทุกระดับ คนไทยต้องพูดไทยชัดเจน ต้องอ่านหนังสือไทยและเขียนไทย เรามีราชบัณฑิตยสภาเป็นหน่วยงานกลางสำหรับกำหนดมาตรฐานความถูกต้องของภาษาไทย
แต่ไม่ปรากฏนโยบายระดับใดเลยที่ให้ความสำคัญกับภาษาท้องถิ่น หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ มุ่งให้ผู้เรียนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย (กรุงเทพ) ในฐานะประจำชาติ (เพราะประเทศไทย คือ กรุงเทพ!?) แต่ไม่เคยมีหลักสูตรใดให้ความสำคัญกับภาษาของผู้เรียนในฐานะภาษาประจำท้องถิ่น หลักสูตรการศึกษาชาติที่จะประกาศใช้ในปี 2545 ได้ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ก็ไม่ได้พูดชัดเจนถึงการศึกษาภาษาถิ่น ทั้ง ๆ ที่ภาษาถิ่น คือ ภูมิปัญญาเบื้องต้น ที่คนในแต่ละท้องถิ่น ได้ร่วมกันสร้างและสั่งสมสืบทอดมาหลายชั่วอายุคนประโยชน์ของภาษาท้องถิ่น

ถ้าหากมองภาษาเพียงความเป็นชาตินิยม หรือความเป็นเอกลักษณ์ ก็ต้องคิดว่าคนไทยควรพูดภาษาไทยกรุงเทพเพียงภาษาเดียว ถ้ามองภาษาในแง่เศรษฐกิจการศึกษา ภาษาท้องถิ่นคงไม่ช่วยให้ผู้ศึกษามีฐานะทางเศรษฐกิจหรือทางสังคมดีขึ้น แต่หากมองในแง่อื่น ๆ ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าด้านเศรษฐกิจ ก็คงจะเห็นประโยชน์อย่างมหาศาลของภาษาท้องถิ่น ดังนี้

1. ประโยชน์ในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มนุษย์สร้าง สั่งสม และสืบทอด ดังนั้น ภาษาจึงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นก่อนภูมิปัญญาอื่นๆหากภาษานั้นสูญไป โอกาสที่จะรักษาภูมิปัญญาอื่น ๆ ย่อมน้อยลง
ถ้าคนอีสานเปลี่ยนมาพูดภาษาไทยกรุงเทพกันหมด หมอลำอีสานจะคงอยู่ต่อไปได้อย่างไร

2. ในแง่การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ภาษาทุกภาษาใช้เสียงพูดเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร มีเพียงบางภาษาเท่านั้นที่มีภาษาเขียน ภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย ล้วนแล้วแต่ไม่มีภาษาเขียน บางท้องถิ่นอาจใช้อักษรภาษาไทยในการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของตนไว้ แต่มีอีกหลายท้องถิ่นที่ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะจดบันทึกเรื่องราวใด ๆ ของตนไว้ ดังนั้นหากท้องถิ่นใดรักษาภาษาถิ่นของตนไว้ได้ เรื่องราวของท้องถิ่นก็มีโอกาสคงอยู่และเล่าต่อสืบทอดไปได้อีกนาน แต่เมื่อใดภาษาถิ่นสูญไป เมื่อนั้นโอกาสที่ประวัติท้องถิ่นจะเลือนหายไปย่อมเกิดขึ้นได้แน่นอน
ตัวอย่างในจังหวัดลพบุรี ตำบลกกโก เป็นท้องถิ่นที่เดิมพูดภาษาลาวเวียง เพราะบรรพบุรุษอพยพมาจากเวียงจันทน์ แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ ไม่พูดภาษาลาวเวียง แต่ใช้ภาษาไทยแทน เพราะอยู่ใกล้ชิดกับผู้พูดภาษาไทย เรียนภาษาไทย ถูกปลูกฝังด้วยความเป็นชาตินิยมว่า คนไทยต้องพูดภาษาไทย (กรุงเทพ) เท่านั้น ใครพูดภาษาลาวเวียงก็มักถูกล้อเลียน หรือเป็นที่ดูถูกของผู้อื่น ภาษาลาวเวียงจึงสูญไปในคนรุ่นใหม่ ในปัจจุบัน ดังนั้นหากถามคนตำบลกกโกปัจจุบันว่า "กกโก" หมายถึงอะไร คงมีน้อยคนที่จะตอบได้ ทั้งนี้เพราะ กกโก เป็นภาษาลาว กก หมายถึง ต้นไม้ โก คือ ตะโกนา ซึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งแต่ถ้าคนตำบลนี้ยังพูดภาษาลาวอยู่ เชื่อแน่ว่า คงบอกที่มาของชื่อตำบลได้เป็นอย่างดี

3. ประโยชน์ในแง่ภาษาศาสตร์
ภาษาท้องถิ่นหลายภาษาที่ถูกมองว่าเป็นภาษาของคนด้อย
ความเจริญ แต่ในทางภาษาศาสตร์ได้พบว่าภาษาเหล่านั้นยังคงเก็บลักษณะดั้งเดิมทางภาษาไว้ได้ ทั้งนี้เพราะด้วยความที่ด้อยความเจริญ อยู่ในที่ลี้ลับห่างไกล มีโอกาสสัมผัสกับภาษาอื่นน้อย ในขณะที่ภาษาของคนที่เจริญแล้วกลับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนแทบจะหาร่องรอยความเป็นมาในอดีตมิได้
ตัวอย่าง ภาษาไทยสระไอ และใอ ออกเสียงเดียวกัน เขียนด้วยสัทอักษร (phonetic alphabet) ว่า Š ai ‹ ข้อสงสัยสำหรับนักภาษาศาสตร์ คือ เพราะเหตุใดจึงต้องสร้างสัญลักษณ์ 2 รูป เพื่อใช้แทนเสียงที่เหมือนกันเพียงเสียงเดียว หากเราศึกษาเฉพาะภาษาไทย เพียงภาษาเดียว คงไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่เมื่อศึกษาภาษาพวน จะพบว่าสระสองรูปนี้ออกเสียงต่างกัน กล่าวคือ ไอ ออกเสียงว่า Š ai ‹ แต่ ใอ ออกเสียงว่า "เออ" Š ??‹ เท่านี้อาจจะยังไม่ใช่คำตอบที่ชัดเจน เพราะทำไมจึงต้องมีใอ ที่ออกเสียง เออ ในเมื่อมี เออ เดิมอยู่แล้ว คำตอบที่ชัดเจนเมื่อเราศึกษาภาษาถิ่นที่อยู่ไกลออกไป จากประเทศไทย ถึงลาวหลวงพระบาง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้พบว่า ภาษาถิ่นนี้มี ไอ Šai‹ เออ Š ??‹ และ ใอ ซึ่งออกเสียงว่า Š?+‹
นั่นแสดงให้เห็นว่าภาษาถิ่น ยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมของภาษาได้ในขณะที่ ไทยกรุงเทพได้สูญเสียลักษณะดังกล่าวแล้ว

4. ประโยชน์ด้านวัฒนธรรม
ภาษากับวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทั้งในแง่ภาษาคือวัฒนธรรม ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หรือภาษาคือพาหะของวัฒนธรรม
การที่เรามีภาษาถิ่นหลากหลาย ย่อมหมายถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และนั่นคือความร่ำรวยของประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการศึกษาวิจัยด้านมานุษยวิทยา
การสูญซึ่งภาษา เป็นสัญญาณให้รู้ว่า วัฒนธรรมอื่น ๆ ของคนในสังคมนั้นกำลังจะสูญไป เพราะการที่จะใช้ภาษาหนึ่งเพื่อสื่อถึงวัฒนธรรมของอีกภาษาหนึ่งย่อมได้ความหมายไม่ลึกซึ้ง ครอบคลุมเท่ากับการใช้ภาษาในวัฒนธรรมนั้น เช่น ถ้าคนไทยทั้งประเทศยุติการพูดภาษาไทย แล้วหันไปใช้ภาษาอังกฤษกันหมด เราจะหาคำภาษาอังกฤษแทนคำว่า "ไหว้" ว่าอย่างไรให้ตรงกับความหมายเดิมในวัฒนธรรมไทย

5. ประโยชน์ด้านความเข้าใจการมองโลกของมนุษย์
คนพูดภาษาต่างกันย่อมมีโลกทัศน์ที่ต่างกัน และโลกทัศน์สามารถแสดงออกผ่านทางภาษาได้ (Whorf 1956) ภาษาอังกฤษมีคำกริยาที่แบ่งตามกาล (tense) ในการพูดภาษาอังกฤษจะต้องคำนึงถึงเรื่องกาล (tense) ตลอดเวลา เช่น กิน ปัจจุบันใช้ eat ถ้ากินผ่านมาแล้วต้องใช้ ate แต่ถ้ากินต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใช้ eaten สิ่งเหล่านี้ติดอยู่ในนิสัยและเป็นไปโดยอัตโนมัติ วัฒนธรรมของชาติที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เช่น อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย จึงติดอยู่กับเวลา เป็นชาติที่ให้ความสำคัญกับเวลา
ภาษาไทยเรียกภาชนะสำหรับใส่น้ำว่า กา เพราะมองจุดเด่นของภาชนะดังกล่าว ที่ปากของมันซึ่งคล้ายปากของกา แต่ภาษาถิ่นบางถิ่นเรียกภาชนะชนิดนี้ว่า น้ำเต้า เพราะมองจุดเด่นที่รูปทรงว่า มีทรงกลมคล้ายน้ำเต้า และใช้เก็บน้ำเช่นเดียวกับน้ำเต้า
ดังนั้นการเรียนรู้ภาษา นอกจากจะช่วยในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังช่วยให้เข้าใจ ความคิด และการมองโลกที่แสดงออกผ่าน ทางภาษาด้วยแนวคิดในการอนุรักษ์ภาษาถิ่น

ภาษาถิ่นหลายถิ่นกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต บางถิ่นได้สูญไปแล้วเหลือเพียงชื่อ ภาษาบางภาษาเป็นภาษาที่ตายไปแล้ว เพราะไม่มีผู้พูดภาษานั้นอีกต่อไป ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องหาทางอนุรักษ์ ภาษาท้องถิ่นไว้ให้คงอยู่สืบไป ซึ่งผู้เขียนขอเสนอแนวทางดังต่อไปนี้
1. ในระดับชาติ ควรกำหนดนโยบายด้านภาษาให้ชัดเจน โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาประจำชาติ
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับการส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาถิ่น ในขณะที่หลายประเทศได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยสำหรับชนกลุ่มน้อย และเปิดโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยเหล่านั้น ศึกษาภาษาของตนเอง สหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ แต่ทุกคนสามารถใช้ภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงท้องถิ่นของตน โดยมิได้มีการกำหนดให้ภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่งเป็นภาษามาตรฐาน
2. ในระดับท้องถิ่น ควรมีการส่งเสริมการใช้ภาษาถิ่น สร้างค่านิยมใหม่ให้เจ้าของภาษาได้เข้าใจถึงความสำคัญของภาษาแม่ไม่นำภาษาไปผูกติดกับเศรษฐกิจ หรือความเจริญทางวิทยาศาสตร์ ครูในโรงเรียนหรือข้าราชการในท้องถิ่นต้องไม่แสดงความรังเกียจ เมื่อนักเรียนผู้ปกครอง หรือประชาชนพูดภาษาท้องถิ่นเพียงเพราะครูหรือข้าราชการเหล่านั้นฟังไม่เข้าใจ หรือเพราะเข้าใจผิดว่าภาษาไทย (กรุงเทพ) เท่านั้นเป็นภาษาที่มีอภิสิทธิ์เหนือภาษาอื่น ในทางตรงกันข้ามครูและข้าราชการเหล่านั้น ควรต้องเรียนรู้ภาษาของนักเรียนหรือของชาวบ้าน เพราะถ้าเราเข้าใจภาษา เราก็จะเข้าใจความคิดของเจ้าของภาษาด้วย
นอกจากนั้นตัองถือเป็นหน้าที่ของแต่ละท้องถิ่นที่จะต้องจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาของแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ภาษาถิ่นเพื่อแสดงออกถึงภูมิปัญญา เช่น ด้วยการเล่านิทาน การร้องเพลง การกล่าวอวยพร การใช้สุภาษิต คำพังเพย เป็นต้น
3. สื่อมวลชน ต้องให้ความสำคัญกับภาษาท้องถิ่นให้มากขึ้น ให้โอกาสภาษาแต่ละถิ่นได้ปรากฏทางสื่อมวลชน ในรูปของข่าวชาวบ้าน การแสดงพื้นบ้าน หรือการจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาถิ่น ทางสื่อมวลชน เป็นต้น
ภาษาเป็นสิ่งที่มีการเกิดมีการเปลี่ยนแปลงและการดับสูญ ภาษาละตินและภาษาสันสกฤตซึ่งถือว่าเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากในยุคหนึ่ง แต่เมื่อขาดการทำนุบำรุง ไม่มีผู้พูด ภาษานั้นก็จะสูญไปในที่สุด ภาษาพื้นเมืองหรือภาษาชนกลุ่มน้อยหลาย ๆ ถิ่น ในประเทศไทย หากไม่ได้รับการเหลียวแล แม้แต่เจ้าของภาษายังรู้สึกว่าภาษาของตนต่ำต้อย และพร้อมที่จะเปลี่ยนไปพูดภาษาอื่นที่คิดว่ามีศักดิ์ศรีเหนือกว่า เมื่อนั้นโอกาสที่ภาษานั้นจะสูญไปก็มีมากขึ้น การที่ภาษาใดภาษาหนึ่งจะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ต้องใช้เวลาสืบทอดกันยาวนานหลายชั่วอายุคน แต่การที่ภาษานั้นจะสูญไป ใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วอายุ กล่าวคือเมื่อคนรุ่นลูกหลานไม่ใช้ ไม่พูด ไม่สนใจ ภาษานั้นก็จะหมดไปเหลือเพียงอดีต และยังไม่เคยปรากฏว่าภาษาใดที่ตายไปแล้ว จะมีโอกาสฟื้นคืนมาได้อีกเลย
ผู้กำหนดนโยบายภาษาว่า คนไทยต้องรู้ 2 ภาษา น่าจะเป็นคนที่เกิดในกรุงเทพหรือเกิดในเมืองใหญ่ที่พูดภาษาไทย (กรุงเทพ) เป็นภาษาแม่ และคงไปเรียนเมืองนอกนาน จนทำให้ลืมไปว่า คนไทยมีภาษาถิ่นที่แตกต่างอีกมากมาย
การที่จะทำให้คนไทยได้รู้ 3 ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้และสืบทอดภาษาท้องถิ่นอันเป็นภาษาแม่ของตนเองนั้น ไม่จำเป็นต้องเสียงบประมาณแผ่นดิน ไม่ต้องจ้างบุคลากร ไม่จำเป็นต้องสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษาไม่ต้องมีการประมูลสร้างตึก สร้างอาคารใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ เราต้องมีจิตสำนึกร่วมกันว่า ภาษา คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาเป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากคนในท้องถิ่น ดังนั้นคนในท้องถิ่นต้องภูมิใจ และเห็นคุณค่าในภาษาของตน พร้อมที่จะพูดภาษาท้องถิ่นเพื่อให้ภาษาดังกล่าวคงอยู่และสืบทอดไปชั่วลูกชั่วหลาน บุคคลภายนอกไม่ควรมองภาษาบางภาษา ด้วยความดูถูกเหยียดหยาม เพียงเพราะเจ้าของภาษามีฐานะต่ำต้อย ยากจน
อาจจะเป็นเพราะการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณนี่กระมัง จึงไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจเรื่องนี้กันมากนัก

หนังสืออ้างอิง

สุริยา รัตนกุล 2537 นานาภาษาในเอเซียอาคเนย์ ภาคที่ 1 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
บริษัทสหธรรมิก จำกัด

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ 2544 แผนที่ภาษาของชาติพันธ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและเพื่อเสนอผลงาน
วิจัย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ประพนธ์ จุนหะวิเทศ 2531 ภาวะหลายภาษาในบ้านหนองอารีและบ้านลาวเดิม ต.ดินแดง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ วิทยานิพนธ์
ปริญญา อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2544 ไทย + เขมร ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา วารสารศิลปศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2544

L.Thongkhum 1984 Nyah-kur (Chaobon) - Thai - English Dictionary. Monic Langnage studies 2

Pailin Yantresingh 1980 The Phonology of the Knay language of Suphanburi with comparison to the
Kuy language of Surin. M A Thesis Mahihol University.

Smalley William 1976 Phonemes and Orthography : Language Planning in Ten Minority Languages
of Thailand Pacific Linguistic Series C No.43 The Australian Naional Canber.


 

โดย: bell IP: 161.200.152.23 8 มิถุนายน 2548 15:14:35 น.  

 

การที่เราบอกความในใจใครสักคนมันไม่ใช่เรื่องแปลก
รัก...และคิดถึงเสมอ

 

โดย: ฟาตีเมาะ กิริยา IP: 202.12.73.19 1 กันยายน 2551 20:35:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


THE BEGINNING
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]









โยกเยกเอย

น้ำท่วมเมฆ
กระต่ายลอยคอ
หมาหางงอ
.
.
.
.
.
.

ลอยคอโยกเยก




Friends' blogs
[Add THE BEGINNING's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.