Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2549
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
2 ธันวาคม 2549
 
All Blogs
 

การเลี้ยงช้าง

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะว่ารวบรวมมาจาก webboard อื่นเพราะว่าน่าจะมีประโยชน์แก่ตนเองและเพื่อนๆเพื่อเก็บไว้เป็นชัอมูล
รายละเอียด
ขอเสนอเรื่องราวของการให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำกับกล้วยไม้ช้าง เป็นการบอกเล่าจากประสบการณ์
ที่ลงมือปฎิบัติของผมเอง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้อาวุโสที่เคารพนับถือของผม
ไม่ได้อิงหลักวิชาการอะไรมากมายนัก ถือเอาว่าเป็นการเสนอทางเลือกแก่ผู้สนใจอีกทางเลือกหนึ่งครับ

คำถาม : ช่วงหน้าฝน ควรใช้ปุ๋ยสูตรไหนดี
คำบอกเล่า : 16- 21- 27 หรือใกล้เคียง (ตัวหลังสูง) สลับกับ สูตรเสมอ ทุก 7 วัน
การให้สูตรเสมอต่อเนื่องกันหลายครั้ง อาจทำให้ใบลดความเขียวลงเกินไป

คำถาม : ช้างเริ่มแทงตาดอกแล้ว ตั้งแต่หน้าฝน ตอนนี้ ต้องปรับเป็นตัวกลางสูงหรือไม่
คำบอกเล่า : ไม่จำเป็น ตัวกลางสูง ไว้ไปใช้ช่วงยืดช่อดอกสักครั้ง สองครั้งก็พอ ไม่ต้องเร่งดอก
ช้างก็มาอยู่แล้ว หากไม่ได้เลี้ยงร่มๆ จนมีผลต่อการได้รับแสงน้อยเกินไปในแต่ละวัน

คำถาม : เมื่อเข้าฤดหนาว ปรับปุ๋ย ไปใช้สูตรไหนจะเหมาะ
คำบอกเล่า : สูตรเสมอ น่าเหมาะที่สุด ช่วงนี้ไม้พักตัว ออกดอก เพียงปรับใช้ ตัวกลางสูง ครั้ง สองครั้ง
ตามที่เล่าก่อนนี้

คำถาม : อาหารเสริม กับช้าง จำป็นมากไหม
คำบอกเล่า : ช่วงฤดูหนาว ไล่ไปจนถึง ฤดูร้อน หากเสริมด้วยธาตุอาหารรอง ต่างๆอาทิ แคลเซียม สังกะสี
เหล็ก ก็จะช่วยให้ไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างพอเพียง ลดอาการทิ้งใบ ใบเหลืองได้ดี ใช้ได้ก็ดี

คำถาม : ไนโตรเจนสูง ควรใช้กับช้างช่วงไหนบ้าง
คำบอกเล่า : ช่วงไม้นิ้วควรใช้สลับกับสูตรเสมอ ใช้ 2ครั้งเว้นไปใช้สูตรเสมอ 1 ครั้ง ไม้รุ่นใช้ 1
ครั้งสลับ ไปใช้สูตรเสมอ 2 ครั้ง ไม้สาว ไม้เตรียมให้ดอก หลีกเลี่ยงดีกว่า
เพราะผลที่ได้แสดงออกทางใบและการยืดของคอ ยาวมากไปทั้งคอทั้งใบ ก็ไม่สวย ช้างสวยที่ใบ /คอได้สัดส่วน
ให้ไปมากระวังคอพับได้
คำบอกเล่านี้นั่งทบทวน/พิมพ์หน้าจอ ไม่ได้นำเอกสารอ้างอิงมาวางตรงหน้า
หากคำบอกเล่านี้ไม่สอดคล้องที่ปฎิบัติกันอยู่ ก็แค่อ่านแล้วผ่านเลย หากอยากทดลองนำไปใช้ ก็ลองดู
ได้ผลเสีย ผลดี อย่าลืมนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

การขุนลูกช้างให้โตไวๆ จนพร้อมให้ดอก ++ - 2006/05/20 17:12 คราวนี้เรามาดูวิธีการขุนกล้วยไม้สกุลช้าง เพื่อให้โตไวๆ กันนะครับ

จากหัวข้อความรู้ครั้งที่แล้วเรื่องการนำลูกไม้สกุลช้างออกจากขวด หวังว่าหลายๆ
ท่านคงได้นำความรู้และแนวทางที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้แล้วนะครับ

หลังจากลูกช้างเข้าสู่ตะกร้าแขวน และถูกนำไปวางในที่ที่เหมาะสมแล้ว
ในที่นี้ผมแนะนำให้นำไปวางไว้ในโรงเรือน
โดยวางหลังคาสังกะสีหรือกระเบื้องใสซ้อนใต้ซาแลนอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันฝนตกใส่ลูกช้างโดยตรงนะครับ
เนื่องจากลูกช้างยังค่อนข้างบอบบาง ดังนั้นเม็ดฝนเม็ดใหญ่ อาจทำให้ใบและรากของลูกช้างบอบช้ำได้ครับ
ซึ่งจะนำมาซึ่งโรคร้ายหลายตัวจากรอยแผลที่เกิดจากเม็ดฝนครับ
เมื่อขึ้นตะกร้าได้วันเดียว วันรุ่งขึ้นผมมักจะใช้ยาป้องกันเชื้อรา
ผสมกับน้ำในอัตราส่วนเจือจางคือประมาณครึ่งหนึ่งของที่ฉลากแนะนำ ฉีดพ่นให้ลูกช้างในตะกร้าครับ
แล้วควรให้ต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้งถึงสองครั้งให้ดูความถี่จากสภาพอากาศนะครับ ชื้นมากก็ให้สองครั้งครับ
และนับจากออกขวดได้ 6-7 วัน ผมก็จะเริ่มให้ปุ๋ยจางๆ กับลูกช้างแล้วละครับ สำหรับสูตรปุ๋ยเกร็ดที่จะใช้
ผมมักจะเริ่มใช้ที่สูตรตัวหน้าสูงก่อนครับ เช่น 30-20-10 หรือแล้วแต่ยี่ห้อที่เราใช้นะครับ
(ผมยกตัวอย่างที่ทวินเฟอร์ตี้ หรือ โพรค่อน นะครับ) ฉีดพ่นให้ได้สัปดาห์ละครั้งนะครับ
ส่วนการรดน้ำ ช่วงนี้สำคัญมากเชียวครับ ใช้หัวพ่นฝอยละเอียด พ่นอย่าให้แรงมากนะครับ
เอาแบบที่ฉีดใส่มือเราแล้วรู้สึกนุ่มๆ จะดีมากครับ กันการกระแทกต้น ใบ และรากของลูกช้างครับ
รดให้ได้เช้าเย็นนะครับ อย่าให้น้ำขาดเชียว แต่อย่าให้ลูกช้างเปียกแฉะตลอดเวลานะครับ
รดให้โชกและปล่อยให้ลมโกรกให้แห้งครับ ถึงเวลาอีกครั้งค่อยรดใหม่ครับ

ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ลูกช้างก็จะเริ่มต่อรากจากรากเดิมแล้วครับ ที่นี้ก็รอให้รากยาวขึ้นมาอีกนิด
อายุประมาณ 7-8 สัปดาห์จากออกขวด เราก็ควรจะรีบนำลูกช้างขึ้นถ้วยนิ้วได้แล้วละครับ

ช้างเผือกชุดนี้รากต่อไวมากครับ แค่ 2 สัปดาห์ผมก็ต้องตัดสินใจนำขึ้นถ้วยนิ้วแล้วละครับ
ปีใหม่นี้คงได้ไม้นิ้วช้างเผือกกำลังสวยออกจำหน่ายแน่ๆ เชียวครับ


สำหรับการย้ายลูกช้างจากตะกร้าไปใส่กระถางถ้วยนิ้ว ส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะใช้เวลาในตะกร้าประมาณ 2-3
เดือนครับ หรือบางสวนไม่มีพื้นที่ก็อาจค้างในตะกร้าได้เป็นปีเชียวครับ
แต่ข้อเสียของการทิ้งไม้ตะกร้าไว้นานก็คือ รากเขาจะเกาะกันแน่น เวลาแยกต้นค่อนข้างยุ่งยากมากครับ

สำหรับการย้ายจากตะกร้าขึ้นถ้วยนิ้ว สามารถเลือกใช้เครื่องปลูกในถ้วยนิ้วได้หลายอย่างครับ
อย่างในภาพผมเองปัจจุบันนิยมใช้สแฟกนั่มมอส เนื่องจากลองดูแล้วกล้วยไม้โตไวและสมบูรณ์ดี
แต่ในบางสวนก็เลือกใช้ ถ้วยเปล่าบ้าง ใช้กาบมะพร้าวชิ้นบ้าง ใช้ออสมันด้าก็มีครับ
ขึ้นกับวิธีการของแต่ละสวนครับ

หากจะเลือกปลูกแบบผม ก็เพียงหาซื้อสแฟกนั่มมอสมาแช่น้ำสัก 1-2 คืน
จากนั้นก็นำมายัดและหนีบกับลูกช้างลงถ้วยได้เลย แต่ก่อนนำลูกช้างแยกมาหนีบ
ควรนำลูกช้างทั้งตะกร้าไปแช่น้ำเปล่าก่อนสัก 10-15 นาทีนะครับ เพื่อให้รากอ่อนตัว
เวลาแยกรากจะได้ไม่หักง่ายครับ
ผมเองปลูกช้างแต่ละรุ่นในปริมาณไม่สูงนัก ส่วนใหญ่ก็ประมาณ 4-500 ต้น
ดังนั้นจึงไม่ทำการตั้งโต๊ะถาวรครับ หาซื้อตะแกรงพลาสติก อันละประมาณ 40-50 บาท
มาแขวนด้วยลวดดังในภาพครับ

สำหรับท่านที่ทำจำนวนเยอะ จะตั้งโต๊ะถาวรก็ดูแลง่ายดีครับ


### ขอเตือนหน่อยนะครับ สำหรับผู้ที่เลียนแบบเครื่องปลูกถ้วยนิ้วแบบผม หากใช้สแฟกนั่มมอส
ควรควบคุมเรื่องการให้น้ำให้ดีนะครับ ส่วนใหญ่จะให้น้ำมากไปจนรากลูกช้างเน่าครับ
เพราะสแฟกนั่มมอสมักอุ้มน้ำไว้ได้ดีมาก เป็นไปได้ให้ดูสภาพอากาศด้วยครับ รดน้ำซัก 2-3
วันครั้งโดยเอาให้โชกแล้วปล่อยให้ลมโกรกนะครับ และยาป้องกันเชื้อราสัปดาห์ละครั้งก็อย่าขาดเชียวนะครับ

ช้างเผือกที่ขึ้นถ้วยนิ้วไว้ไม่กี่เดือนรากก็เริ่มเดินแข็งแรง ต้นก็เริ่มตั้งสวยแล้วครับ


ส่วนช้างแดงนี่มักจะโตช้างกว่าช้างเผือกครับ นี่ก็เริ่มสวยแล้วเช่นกันครับ

สำหรับการเลี้ยงในถ้วยนิ้ว สูตรปุ๋ยที่ใช้ผมยังคงใช้สูตรตัวหน้าสูงเช่นเดิมครับคือ 30-20-10
เป็นปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำนะครับ เวลารดต้องผสมกับน้ำ ไม่ใช่นำเม็ดปุ๋ยไปหยอดนะครับ
แต่สำหรับท่านที่เลือกใช้ออสโมโค๊สก็คงต้องหยอดในถ้วยนะครับ

การใช้ปุ๋ย ผมจะให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเลือกวันที่อากาศค่อนข้างปลอดโปร่ง ลมไม่แรงเกินไปนัก
ที่สวนจะเลือกให้ปุ๋ยช่วงเช้าครับ เพราะผมเชื่อว่า หากกล้วยไม้ได้รับปุ๋ยช่วงเช้า พอสายๆ
เขาได้รับแสงแดดก็จะทำการสังเคราะห์แสงได้พอดีครับ

อีกเทคนิคหนึ่งที่สวนผมเลือกใช้คือ การให้น้ำก่อนให้ปุ๋ยครับ
โดยที่สวนจะทำการให้น้ำทั้งสวนจนโชกก่อนครับ พอทิ้งไว้ให้ต้นเริ่มมาดๆหน่อยก็จะเริ่มให้ปุ๋ยครับ
ผมเคยได้ยินนักการเกษตรบอกว่า ปากใบรับน้ำของพืชเป็นคนละตัวกับปากใบรับปุ๋ยนะครับ
ข้อมูลนี้ไม่รู้ถูกต้องรึป่าวนะครับ

ส่วนช้างแดงนี่มักจะโตช้างกว่าช้างเผือกครับ นี่ก็เริ่มสวยแล้วเช่นกันครับ

สำหรับการเลี้ยงในถ้วยนิ้ว สูตรปุ๋ยที่ใช้ผมยังคงใช้สูตรตัวหน้าสูงเช่นเดิมครับคือ 30-20-10
เป็นปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำนะครับ เวลารดต้องผสมกับน้ำ ไม่ใช่นำเม็ดปุ๋ยไปหยอดนะครับ
แต่สำหรับท่านที่เลือกใช้ออสโมโค๊สก็คงต้องหยอดในถ้วยนะครับ

การใช้ปุ๋ย ผมจะให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเลือกวันที่อากาศค่อนข้างปลอดโปร่ง ลมไม่แรงเกินไปนัก
ที่สวนจะเลือกให้ปุ๋ยช่วงเช้าครับ เพราะผมเชื่อว่า หากกล้วยไม้ได้รับปุ๋ยช่วงเช้า พอสายๆ
เขาได้รับแสงแดดก็จะทำการสังเคราะห์แสงได้พอดีครับ

อีกเทคนิคหนึ่งที่สวนผมเลือกใช้คือ การให้น้ำก่อนให้ปุ๋ยครับ
โดยที่สวนจะทำการให้น้ำทั้งสวนจนโชกก่อนครับ พอทิ้งไว้ให้ต้นเริ่มมาดๆหน่อยก็จะเริ่มให้ปุ๋ยครับ
ผมเคยได้ยินนักการเกษตรบอกว่า ปากใบรับน้ำของพืชเป็นคนละตัวกับปากใบรับปุ๋ยนะครับ
ข้อมูลนี้ไม่รู้ถูกต้องรึป่าวนะครับ


ดูใบช้างแดงใกล้ๆนะครับ ชุดนี้เป็นช้างแดงชุด หวง ห๊วง หวง ครับ เป็นลูกผสมระหว่าง
ช้างแดง(เหรียญห้า x ดร.ระพี) x ช้างแดง อ.ชายน้อย โกมารกุล ณ นคร ครับ

ใบแดงเข้มจริงๆครับ ใครมาสวน ขอแบ่งกันจวนจะหมดแล้วละครับ

แล้วผมจะได้ชมดอกก่อนใครรึป่าวนี่......

มาดูสวนที่เขาทำช้างกันเป็นการค้าขนาดใหญ่ดีกว่าครับ
เจ้านี้เครื่องปลูกที่ใช้ใส่ถ้วยนิ้วง่ายดีจังเลยครับ ลองดูในภาพครับ อิอิ

แต่ต้นลูกช้างก็สวยใช่เล่นนะครับ บอกแล้วไงครับ การปลูกกล้วยไม้ ไม่ได้ฟิกอะไรตายตัว
ปรับและประยุกต์ได้เสมอครับ ท่านเองก็ลองปรับตามวิธีของท่าน
แล้วอย่าลืมนำวิธีการที่ได้มาแบ่งให้เพื่อนๆ ได้ทราบด้วยนะครับ




นิ้วมีอายุได้ซัก 6-12 เดือน แล้วแต่การดูแลและสายเลือดนะครับ
หรือจะสังเกตุจากการเดินรากที่ดีและต้นที่แข็งแรงก็ได้ครับ เราก็จะนำเขามาขึ้นกระเช้าแขวนแล้วละครับ

กระเช้าที่ใช้จะใช้กระเช้าพลาสติกหรือกระเช้าไม้สักก็ได้ทั้งนั้นครับ
ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความสะดวกในการจัดหาครับ

วิธีการขึ้นกระเช้ามีสองวิธีครับ
จะถอดต้นลูกช้างออกจากถ้วยนิ้วก่อนหรือจะวางลงไปทั้งถ้วยเลยก็เลือกทำได้ครับ ท่านหนึ่งบอกวางทั้งถ้วย
รากช้างจะถูกบีบไว้ ทำให้โตช้า ท่านหนึ่งว่าถอดถ้วยออกรากช้างจะช้ำ ทำให้ตั้งตัวไม่เร็ว
เอาตามที่ท่านเห็นสมควรดีกว่าครับ ......ฟังแล้วงงแฮะ ไม่รู้จะเชื่อท่านไหน เชื่อตัวเองดีกว่าครับ





วนพรรคพวกผมที่ปลูกช้างเป็นเชิงการค้าอีกทีนะครับ สวยเป็นระเบียบจริงๆครับ
กะจะขอแบ่งมาจำหน่ายในเว็บปรากฏว่าถูกจองและจ่ายเงินมัดจำไว้หมดเรียบร้อยแล้วครับ
คาดว่าคงกระจายไปหลายประเทศเชียวครับ

ดูแล้วก็ให้กลับมาเหลือใจว่าเราน่าจะทำโรงเรือนเลี้ยงช้างเผือก ช้างแดงโดยเฉพาะ
ทำส่งออกให้เป็นลำเป็นสันไปซะเลย ยิ่งมีแหล่งสายพันธุ์ดีๆอยู่ซะด้วย
....ว่าแล้วใครจะมาทำด้วยกันไหม๊ครับ



















กลับมาเรื่องปุ๋ยและยาป้องกันเชื้อราครับ เมื่อขึ้นกระเช้าแขวนแล้วต้องอย่างขาดนะครับ
สัปดาห์ละครั้งเหมือนเดิม ช่วงปีแรกที่ขึ้นกระเช้าแขวนก็ให้ใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงเหมือนเดิมไปก่อนนะครับ
บางสวนผมเห็นมีการเปลี่ยนสูตรเป็นสูตรเสมอ ก็ใช้ได้ครับไม่มีปัญหา สำหรับผู้ที่ใช้สูตรเดิม ช่วงท้ายๆ
ก็ควรแทรกด้วยสูตรเสมอนะครับ




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2549
1 comments
Last Update : 22 มีนาคม 2551 22:09:40 น.
Counter : 4029 Pageviews.

 

ดีครับ

 

โดย: ---^^--- (LINDE ) 5 ธันวาคม 2549 20:07:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


LINDE
Location :
พระนครศรีอยุธยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add LINDE's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.