6. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.

             การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก :-
             5. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=5

ความคิดเห็นที่ 14-50
GravityOfLove, 2 กุมภาพันธ์ เวลา 21:47 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค
๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=1518&Z=1753&bgc=lavender

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายถึงเรื่อง สัมมาทิฏฐิ
(ความเห็นชอบ) ว่า
             อย่างไรจึงเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
             (เป็นโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ อันเป็นปัญญาที่ประกอบด้วยอริยมรรค อริยผล)
ซึ่งเป็นความเห็นดำเนินไปตรง (มีความเห็นตรง) มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
(เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรม ๙) มาสู่พระสัทธรรมนี้ ดังนี้
             ๑. เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเหง้าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้า
ของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง
มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
             อกุศลได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด
             รากเหง้าของอกุศลได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
             กุศลได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ
             รากเหง้าของกุศลได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเหง้าของอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและ
รากเหง้าของกุศล
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือราคะ)
บรรเทาปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ) ถอนทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือทิฏฐิ)
และมานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ) ว่า 'เรามีอยู่' โดยประการทั้งปวง
             ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลมูล_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุสัย

             ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร แล้วได้ถามถึงปริยาย
(บรรยาย) อื่นอีก
             ท่านพระสารีบุตรแสดงอีกรวม ๑๖ นัย ดังนี้

             ๒. เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทาง
ที่จะให้ถึงความดับอาหาร
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             อาหาร ๔ อย่าง คือ
                  ๑. อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
                  ๒. อาหาร คือ ผัสสะ
                  ๓. อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
                  ๔. อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
             เหตุเกิดแห่งอาหารเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารเพราะตัณหาดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่
จะให้ถึงความดับอาหาร
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาหาร_4
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8

             ๓. เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน
ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วนเป็นทุกข์
             โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ (อุปทานขันธ์ ๕ คือ กองอันเป็นอารมณ์
แห่งความถือมั่น - รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
             ทุกขสมุทัย ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยสามารถแห่งความเพลิน เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา
             ทุกขนิโรธ ได้แก่ ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ
ความวาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้น
             ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๔. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับ
ชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             ความชรา ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น
ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
             มรณะ ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป
มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้
ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
             เหตุเกิดแห่งชราและมรณะเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ
เพราะชาติดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๕.  เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ  และปฏิปทา
ที่จะให้ถึงความดับชาติ
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             ชาติ ได้แก่้ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
             เหตุเกิดแห่งชาติเพราะภพเป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติเพราะภพดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๖. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่
จะให้ถึงความดับภพ
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             ภพ ได้แก่ ภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
             เหตุเกิดแห่งภพเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด ความดับภพเพราะอุปาทานดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๗.  เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...มาสู่พระสัทธรรมนี้
             อุปาทาน ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน
             เหตุเกิดแห่งอุปาทานเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทานเพราะตัณหาดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๘. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             ตัณหา ได้แก่ ตัณหา ๖ คือ ตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม
             เหตุเกิดแห่งตัณหาเพราะเวทนาเป็นเหตุให้เกิด ความดับตัณหาเพราะเวทนาดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๙.  เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             เวทนา ได้แก่ เวทนา ๖ คือ เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
             เหตุเกิดแห่งเวทนาเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนาเพราะผัสสะดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา
             เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๑๐. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             ผัสสะ ได้แก่ ผัสสะ ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส
             เหตุเกิดแห่งผัสสะเพราะอายตนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะเพราะ
อายตนะ ๖ ดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๑๑. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับแห่ง
อายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             อายตนะ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
             เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ เพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖
เพราะนามรูปดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๑๒. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
             รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
             เหตุเกิดแห่งนามรูปเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูปเพราะ
วิญญาณดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๑๓. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             วิญญาณ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
             เหตุเกิดแห่งวิญญาณเพราะสังขารเป็นเหตุให้เกิด ความดับวิญญาณเพราะ
สังขารดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

ความคิดเห็นที่ 14-51
(ต่อ)
            ๑๔. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             สังขาร ได้แก่ สังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
             เหตุเกิดแห่งสังขารเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขารเพราะอวิชชาดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ...  มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๑๕. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
             อวิชชา ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์
ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
             เหตุเกิดแห่งอวิชชาเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด ความดับอวิชชาเพราะอาสวะดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา ...
             เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... มาสู่พระสัทธรรมนี้

             ๑๖. เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ
อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
             แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
             อาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๓ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
             เหตุเกิดแห่งอาสวะเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะเพราะอวิชชาดับ
             อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
             เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ และ
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
             เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย
โดยประการทั้งปวง
             ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน

             ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร

ความคิดเห็นที่ 14-52
ฐานาฐานะ, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 14:56 น.

GravityOfLove, 17 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค
             ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=1518&Z=1753&bgc=lavender
21:47 2/2/2556

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน.
             คำถามในพระสูตรชื่อว่า สัมมาทิฏฐิสูตร
             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 14-53
GravityOfLove, 3 กุมภาพันธ์ เวลา 22:11 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า สัมมาทิฏฐิสูตร
             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. อย่างไรจึงเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
             สัมมาทิฏฐิ คือ เป็นโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ อันเป็นปัญญาที่ประกอบด้วยอริยมรรค อริยผล
             ประกอบด้วย
             - มีความเห็นตรง
             - มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม (เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรม ๙)
             สัมมาทิฏฐิมีทั้งหมด ๑๖ ข้อ รู้ชัด เหตุเกิด ความดับ และทางที่จะให้ถึงความดับ
ของข้อใดข้อหนึ่ง ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ
             เมื่อรู้ชัด เหตุเกิด ความดับ และทางที่จะให้ถึงความดับแล้ว ก็ละอนุสัยทั้งหลาย
ละอวิชชา ทำวิชชาให้เกิด แล้วบรรลุึอรหัตในปัจจุบัน
             ๒. สัมมาทิฏฐิมี 2 อย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ และโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ
                  1. โลกิยสัมมาทิฏฐิ
                       - กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน)
ทั้งคนในศาสนาและคนนอกศาสนา
                       - สัจจานุโลมิกญาณ / อนุโลมญาณ
(ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) เฉพาะคนในศาสนา
                  2. โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล
ได้แก่ของพระอริยบุคคล

             ๓. คนที่มีสัมมาทิฏฐิมี 3 ประเภท คือ
                   1. ปุถุชน (ทั้งคนในศาสนาและคนนอกศาสนา) เป็นโลกิยสัมมาทิฏฐิ
                   2. เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) เพราะมีความเห็นชอบที่แน่นอน
เป็นโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ
                   3. อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) เพราะไม่ต้องศึกษา
เป็นโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ

             ๔. ความหมายของคําว่า ภูต และสัมภเวสี

              ภูต - เหล่าเหล่าสัตว์ที่ถือกำเนิดเกิดแล้ว
              สัมภเวสี - เหล่าสัตว์ที่เสาะหาการสมภพคือการเกิด ได้แก่การบังเกิดขึ้น

             กำเนิด 4
             1. ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์)  2. อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่)
             3. สังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล) 4. โอปปาติกะ (สัตว์เกิดผุดขึ้น)
             1 & 2 --> ตราบใดที่ยังไม่ทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูก (ออกมา)
ตราบนั้นก็ยังชื่อว่าสัมภเวสี
             ต่อเมื่อทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูกออกมาภายนอกแล้ว จึงชื่อว่าภูต
             3 & 4 --> ในขณะแห่งจิตดวงแรก ชื่อว่าสัมภเวสี
             ตั้งแต่ขณะแห่งจิตดวงที่ 2 ไป ชื่อว่าภูต

             อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายจะเกิดโดยอิริยาบถใดก็ตาม ตราบใดยังไม่เปลี่ยน
อิริยาบถเป็นอย่างอื่นจากอิริยาบถนั้น ตราบนั้นชื่อว่าสัมภเวสี
             ต่อจากอิริยาบถนั้นไปจึงชื่อว่าภูต

             เหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว (สำเร็จแล้ว) ชื่อว่าภูต -->  พระขีณาสพ
             สัตว์เหล่าใดกำลังแสวงหาการเกิด สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าสัมภเวสี --> พระเสขะและปุถุชน
ผู้กำลังแสวงหาการเกิดต่อไป เพราะยังละสังโยชน์ในภพไม่ได้
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=2#ภูต-สัมภเวสี

แก้ไขคำว่า ภูติ เป็น ภูต, ชลาพชะ เป็น ชลาพุชะ
แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 14-54
ฐานาฐานะ, 4 กุมภาพันธ์ เวลา 10:47 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
คำถามในพระสูตรชื่อว่า สัมมาทิฏฐิสูตร
             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
...
22:11 3/2/2556
             ตอบคำถามได้ดี แต่ให้ระวังการสะกดให้ถูกต้องด้วย
             คือ
             ๔. ความหมายของคําว่า ภูต และสัมภเวสี              
             ภูติ - เหล่าเหล่าสัตว์ที่ถือกำเนิดเกิดแล้ว
             สัมภเวสี - เหล่าสัตว์ที่เสาะหาการสมภพคือการเกิด ได้แก่การบังเกิดขึ้น
             กำเนิด 4
             1. ชลาพชะ (สัตว์เกิดในครรภ์)  2. อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่)
             3. สังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล) 4. โอปปาติกะ (สัตว์เกิดผุดขึ้น)
- - - - - - - - - - - - - -
             ภูติ >> ภูต
             ชลาพชะ >> ชลาพุชะ
             คำว่า โยนิ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยนิ_4

             คำถามเบาๆ เกี่ยวกับปาณาติบาตว่า
             การที่บุคคลชอบกินกุ้งเต้น เพราะติดใจในรสอาหาร
             การเคี้ยวกินกุ้งเต้น (กุ้งที่ยังมีชีวิตอยู่) เป็นปาณาติบาตหรือไม่?
และเป็นเวทนาอะไร?

ความคิดเห็นที่ 14-55
GravityOfLove, 4 กุมภาพันธ์ เวลา 11:09 น.

ภูติ >> ภูต
ชลาพชะ >> ชลาพุชะ
             คำว่า โยนิ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยนิ_4
ขอบพระคุณค่ะ
------------------------------
             คำถามเบาๆ เกี่ยวกับปาณาติบาตว่า
             การที่บุคคลชอบกินกุ้งเต้น เพราะติดใจในรสอาหาร
             การเคี้ยวกินกุ้งเต้น (กุ้งที่ยังมีชีวิตอยู่) เป็นปาณาติบาตหรือไม่?
และเป็นเวทนาอะไร?
             การเคี้ยวกุ้งเต้นในขณะที่มีชีวิตอยู่เพราะติดใจในรสอาหาร เป็นปาณาติบาตค่ะ
มีเวทนาเป็นสุขเวทนา เพราะอร่อยมีความสุข

ความคิดเห็นที่ 14-56
ฐานาฐานะ, 4 กุมภาพันธ์ เวลา 11:20 น.

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ.
             การเคี้ยวกินกุ้งเต้น (รู้อยู่ว่ากุ้งนั้นยังมีชีวิต) เป็นปาณาติบาต
มีเวทนาเป็นสุขเวทนา ดังนั้น ปาณาติบาตจึงเป็นไปกับเวทนาทั้งสาม
กล่าวคือ มิใช่แต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สัมมาทิฏฐิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1518&Z=1753

             พระสูตรหลักถัดไป คือสติปัฏฐานสูตรและจูฬสีหนาทสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1754&Z=2150
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2151&Z=2295
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=153

             มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2296&Z=2783
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159

             การสนทนาธรรมนี้ย้ายไปที่ :-
             7. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=7




Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 28 กรกฎาคม 2558 16:51:53 น.
Counter : 770 Pageviews.

0 comments

ฐานาฐานะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog