3. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.

ฐานาฐานะ :-
             การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก :-
             2. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=thanathana&month=03-2013&date=12&group=2&gblog=2

ความคิดเห็นที่ 14-15
ฐานาฐานะ, 18 มกราคม เวลา 09:23 น.

             ภิกษุนั้นรู้ชัด (ในขณะอนาคามิมรรค) ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ
เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต
             เช่นนี้แล้วย่อมละเสีย (ด้วยอริยมรรค ด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน)
             คำว่า ในขณะอนาคามิมรรค นำมาจากไหน?

ความคิดเห็นที่ 14-16
GravityOfLove, 18 มกราคม เวลา 09:41 น.
ในอรรถกถาค่ะ
[๙๕] บทว่า ยโต ในคำว่า ยโต โข ภิกฺขเว นี้ แปลว่า ในกาลใด. ด้วยบทว่า ปโน โหติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการละในขณะแห่งอนาคามิมรรค.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91&bgc=lavender

ความคิดเห็นที่ 14-17
ฐานาฐานะ, 18 มกราคม เวลา 11:29 น.

GravityOfLove, 28 นาทีที่แล้ว
ในอรรถกถาค่ะ
[๙๕] บทว่า ยโต ในคำว่า ยโต โข ภิกฺขเว นี้ แปลว่า ในกาลใด. ด้วยบทว่า ปโน โหติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการละในขณะแห่งอนาคามิมรรค.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91&bgc=lavender
9:41 AM 1/18/2013
             คำว่า
             ภิกษุนั้นรู้ชัด (ในขณะอนาคามิมรรค) ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ
เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต
             เช่นนี้แล้วย่อมละเสีย (ด้วยอริยมรรค ด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน)
---
             จะทำให้เข้าใจว่า ในขณะอนาคามิมรรค มีการรู้ชัด ...
กล่าวคือ มีอภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ เป็นอารมณ์.
             ควรกล่าวว่า พระอนาคามีบุคคล (บรรลุอนาคามิมรรคและะอนาคามิผลแล้ว)
ระลึกในกาลภายหลังจากที่บรรลุแล้วว่า กิเลสเหล่าใดที่ละแล้วด้วยมรรคนั้น
             เป็นลักษณะคล้ายขณะแห่งปัจจเวกขณญาณ แต่ว่าภายหลังกว่านั้นมาก
             คำว่า ปัจจเวกขณญาณ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปัจจเวกขณญาณ&detail=on#find3 #find3

             ดังนั้น คำว่า
             ภิกษุนั้นรู้ชัด (ในขณะอนาคามิมรรค) ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ
เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต
             เช่นนี้แล้วย่อมละเสีย (ด้วยอริยมรรค ด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน)
ควรแก้ไขเป็น
             ในกาลใดที่ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ อันเป็นเป็นธรรม
เครื่องเศร้าหมองของจิต ที่ละไปแล้วด้วยอนาคามิมรรค.
             ในกาลนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า ...

ความคิดเห็นที่ 14-18
GravityOfLove, 18 มกราคม เวลา 12:15 น.

ค่ะ จะแก้ไขค่ะ
            ภิกษุนั้นรู้ชัด (ในขณะอนาคามิมรรค) ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ
เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต
             เช่นนี้แล้วย่อมละเสีย (ด้วยอริยมรรค ด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปหาน

             เมื่อละได้แล้ว จะเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า
-------------------------
แก้ไขเป็น
             ในกาลใดที่ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ อันเป็นเป็นธรรม
เครื่องเศร้าหมองของจิต ที่ละไปแล้วด้วยอนาคามิมรรค.
            ในกาลนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า
...

ความคิดเห็นที่ 14-19
ฐานาฐานะ, 21 มกราคม เวลา 22:31 น.

GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 22:22 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค
             ๗. วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า (วตฺถํ)
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=1136&Z=1236&pagebreak=0&bgc=lavender
10:21 PM 1/17/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน.
             คำที่แก้ไขก็มีตามที่แสดงไว้เมื่อ 11:28 18/1/2556
             และ
(ภูติรูปเป็นที่อาศัยของหทัยวัตถุ หทัยวัตถุเป็นที่อาศัยของพรหมวิหารธรรมเหล่านั้น - ทุกข์)
แก้ไขเป็น
(ภูตรูปเป็นที่อาศัยของหทัยวัตถุ หทัยวัตถุเป็นที่อาศัยของพรหมวิหารธรรมเหล่านั้น - ทุกข์)

             อุปมาดั่งผ้าทีสกปรก (จิตที่ยังเป็นปุถุชน) เมื่อล้างด้วยน้ำสะอาด (อนาคามิมรรค)
แก้ไขเป็น
             อุปมาดั่งผ้าที่สกปรก (จิตที่ยังเป็นปุถุชน) เมื่อล้างด้วยน้ำสะอาด (อนาคามิมรรค)

//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุคติ&detail=on #find2
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุคติ&detail=on #find6
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรม #find23
แก้ไขเป็น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุคติ&detail=on#find2 #find2
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุคติ&detail=on#find6 #find6
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรม#find23 #find23
             ทั้งนี้ เผื่อว่า Pantip แก้ไขแล้ว ก็จะคลิกได้เลย.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า วัตถูปมสูตร
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ในฐานะที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ยังเป็นปุถุชน
เมื่อได้ศึกษาพระสูตรนี้แล้ว สามารถนำพระสูตรนี้เป็นแนวทางปฏิบัติ
อย่างไรในชีวิตประจำวัน?

ความคิดเห็นที่ 14-20
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 12:27 น.
งงค่ะ
พระอนาคามีละอุปกิเลส ๑๖ นี้ได้หรือยังคะ
ในอรรถกถากล่าวว่า แม้ในสุทธาวาสภูมิ ก็เกิดโลภะด้วยอำนาจความยินดีในภพ

ความคิดเห็นที่ 14-21
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 12:40 น.
เข้าใจแล้วค่ะ
โลภะละได้ด้วยอรหัตตมรรค

ความคิดเห็นที่ 14-22
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 13:11 น. 
      งงแล้วเข้าใจ.
      งงอะไร เข้าใจอย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 14-23
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 13:14 น.
คือจากการอ่านพระสูตรในตอนแรก คิดว่าพระอนาคามีเมื่อละอุปกิเลส ๑๖ ได้แล้ว จะเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
พออ่านอรรถกถาจึงเห็นว่าอุปกิเลส ๑๖ นั้นละได้มรรคต่างๆ ไม่ใช่ด้วยอนาคามิมรรคเท่านั้น

ความคิดเห็นที่ 14-24
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 13:19 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า วัตถูปมสูตร
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
              ๑. เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว (มีอุปกิเลส ๑๖) ทุคติเป็นอันหวังได้

              ๒. ให้รู้ชัดว่า อุปกิเลส ๑๖ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต
              เมื่อรู้แล้วก็ละอุปกิเลส ก็จะเกิดเลื่อมใสอย่างแน่วแน่ในพระรัตนตรัย
              เมื่อเลื่อมใสแล้ว จะรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม
              แล้วเกิดปราโมทย์ ปีติ กายสงบ ได้เสวยสุข จิตย่อมตั้ง
              แล้วเจริญพรหมวิหาร ๔
              จะย่อมรู้ชัดถึงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
              เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
              ได้บรรลุพระอรหัต

             ๓. พราหมณ์เชื่อว่า ความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์
             แต่พระองค์ตรัสสอนว่า ความบริสุทธิ์จากกิเลสจะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น ได้แก่
             ปฏิบัติอริยมรรค
             มีเมตตาต่อสัตว์ ไม่พูดเท็จ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
             เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่

             ๔. ภิกษุที่ละอุปกิเลสด้วยอนาคามิมรรคแล้ว ถ้าภิกษุนั้นมีศีล  มีธรรม มีปัญญาอย่างนี้
ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตที่ประณีต มีแกงมีกับมากมาย
             การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้นก็ไม่เป็นอันตรายเลย (ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคหรือผล)

             ๕. จิตนี้เป็นธรรมชาติประภัสสร ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลสที่จรมา
             จิตนั้นเมื่อได้รับการชําระให้บริสุทธิ์ บุคคลก็สามารถทําให้ประภัสสรยิ่งขึ้นอีกได้
             ความพยายามในการชําระจิตนั้น ย่อมไม่ไร้ผล

             ๖. พวกพระทุศีลอาสารับใช้ผู้อื่น ประพฤติอนาจาร เที่ยวไปในสถานที่อันไม่สมควร
เมื่อตายไปย่อมไปสู่นรกบ้าง กําเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ชื่อว่าเป็นสมณยักษ์  สมณเปรต  

             ๗. ความแข่งดีมี 2 คือ ฝ่ายอกุศล และกุศล

             ๘. แม้ในภูมิสุทธาวาส โลภะย่อมเกิดขึ้นก่อน ด้วยอํานาจ ความยินดีในภพ

             ๙. การละ มีอยู่ 2 อย่าง คือ ละตามลําดับกิเลส  ละตามมรรค
             การละตามลำดับกิเลส
             กิเลส ๖ ที่ละด้วยอรหัตตมรรค คือ อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง)
ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา)  
             กิเลส ๔ ที่ละด้วยอนาคามิมรรคคือ พยาปาทะ (ความพยาบาท) โกธะ (ความโกรธ)
อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ)
             กิเลส ๖ ที่ละด้วยโสดาปัตติมรรคคือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ)
อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด)

             การละตามลำดับมรรค
             กิเลส ๖ ที่ละด้วยโสดาปัตติมรรคคือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ)
อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด)
             กิเลส ๔ ที่ละด้วยอนาคามิมรรคคือ พยาปาทะ (ความพยาบาท) โกธะ (ความโกรธ)
อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ)
             กิเลส ๖ ที่ละด้วยอรหัตตมรรคคือ อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง)
ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา)

             2. ในฐานะที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ยังเป็นปุถุชน
เมื่อได้ศึกษาพระสูตรนี้แล้ว สามารถนำพระสูตรนี้เป็นแนวทางปฏิบัติ
อย่างไรในชีวิตประจำวัน?
              รู้ว่าอุปกิเลสเหล่านี้ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ก็พยายามละเสีย
ละได้มากเท่าไหร่ จิตใจย่อมผ่องใสขึ้นเท่านั้น
             แนวทางในการละ เช่นการละพยาบาท มนสิการดังนี้
             พิจารณาเห็นว่าตนและคนอื่นมีกรรมเป็นของตนอย่างนี้ว่า
             เจ้าโกรธเขาแล้ว จักทำอะไรได้
             เจ้าจักสามารถทำคุณธรรมมีศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือ
             เจ้ามาตามกรรมของตนแล้ว ก็จักไปตามกรรมของตนนั่นเอง มิใช่หรือ?
             ชื่อว่าการโกรธคนอื่นเป็นเหมือนกับการที่บุคคลประสงค์จะคว้าเอาเถ้าที่ปราศจากเปลว
หลาวเหล็กที่ร้อนและคูถเป็นต้น ขว้างปาบุคคลอื่น
             ถึงเขาโกรธเจ้าแล้วก็จักทำอะไรให้ได้ เขาจักสามารถให้คุณธรรมมีศีลเป็นต้นของเจ้าพินาศได้หรือ?
เขามาตามกรรมของตนก็จักไปตามกรรมของตนเหมือนกัน
             ความโกรธนั้นก็จักตกรดหัวเขานั่นแหละ เหมือนของที่ส่งไป ไม่มีใครรับ (ก็จะกลับมาหาผู้ส่ง)
และเหมือนกำฝุ่นที่ซัดไปทวนลม (ก็จะปลิวกลับมาถูกผู้ขว้าง) ฉะนั้นบ้าง
              พิจารณาเห็นว่าทั้งตนทั้งคนอื่นมีกรรมเป็นของตน และดำรงอยู่ในการพิจารณาบ้าง
คบหากัลยาณมิตรผู้ยินดีในเมตตาภาวนา
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=5#ละพยาบาทด้วยธรรม_๖_ประการ

ความคิดเห็นที่ 14-25
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 13:37 น.
             ทำไมคำถามข้อที่ 2 ตอบสั้นนัก?

ความคิดเห็นที่ 14-26
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 13:38 น.
ตอบยาวแล้วนะคะ
ควรตอบแบบไหนคะ

ความคิดเห็นที่ 14-27
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 13:55 น.
GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
ตอบยาวแล้วนะคะ
ควรตอบแบบไหนคะ
1:38 PM 1/22/2013

             เพราะคำถามถามถึงแนวทางปฏิบัติอย่างไรในชีวิตประจำวัน
เมื่อได้ศึกษาพระสูตรนี้ จึงน่าจะตอบได้โดยละเอียด เพื่อแสดงให้เห็นว่า
เมื่อศึกษาแล้ว เข้าใจนัยพอที่นำไปปฏิบัติได้อย่างไร?
             เช่น
             1. พิจารณาลักษณะ (เฉพาะ) ของอุปกิเลสแต่ละอย่าง
ว่าเป็นอย่างไร?
             2. พิจารณาโทษความเศร้าหมองของแต่ละอย่างว่า
ว่าเป็นอย่างไร? เช่นอุปมาว่า เมื่อปล่อยให้อุปกิเลสเจริญเติบโต
ต่อไป จะมีโทษรุนแรงอย่างใดเป็นต้น.
             3. วิธีละอุปกิเลสนั้นๆ เช่น พิจารณาโทษของอุปกิเลส
คุณในการละอุปกิเลส ฉันทะ อุตสาหะ มนสิการในการอันที่จะละ
อุปกิเลสเหล่านั้นเป็นต้น.

ความคิดเห็นที่ 14-28
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 14:44 น.
             แบ่งอุปกิเลสเป็น ๓ กลุ่มตามอกุศลมูลคือ
             โลภะ ได้แก่
             อภิชฌาวิสมโลภะ
             โลภะ ก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก
ความอยากถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง
             วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดี
และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น
             ปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ ให้ทาน ไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น

             กลุ่มโทสะ ได้แก่
            พยาบาท โกรธ อุปนาหะ (ผูกโกรธ)
            ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม
            วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ
            ปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา กรุณา ไม่โกรธ ไม่ปองร้ายผู้อื่น
ไม่เบียดเบียน อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น

            กลุ่มโมหะ
            มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ  มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ
            อติมานะ มทะ ปมาทะ
            ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคง ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล
เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้
            ปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโมหะ เช่น พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก)
วิมังสา (หมั่นตรึกตรองพิจารณา) สัทธา (เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ)
โยนิโสมนสิการ (การรู้จักตรึกตรองให้รู้จักดีชั่ว) ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น
            อุปกิเลสเหล่านี้ถ้ามีน้อยก็เพียงไม่สบายใจ  

            ถ้ามีมากก็จะไปผลาญทำลายตัวเองรวมถึงทำลายผู้อื่น

ความคิดเห็นที่ 14-29
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 17:46 น.
GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
คำถามในพระสูตรชื่อว่า วัตถูปมสูตร
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
1:19 PM 1/22/2013
GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
แบ่งอุปกิเลสเป็น ๓ กลุ่มตามอกุศลมูลคือ
2:44 PM 1/22/2013

             โดยรวมตอบได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 14-30
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 21:11 น.

             คำถามเบ็ดเตล็ดในพระสูตรชื่อว่า วัตถูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=1136&Z=1236

             เนื้อความอรรถกถา บางส่วนว่า
             พึงทราบอัชฌาสยานุสนธิด้วยอำนาจสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัย
ของคนอื่นแล้วตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พึงมีอยู่หนอแล ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
แม้ (จน) วันนี้พระสมณโคดมก็ยังไม่หมดราคะแน่นอน.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91#๙๗ #๙๗

             เนื้อความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ พึงมีอยู่หนอแล ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
แม้ (จน) วันนี้พระสมณโคดมก็ยังไม่หมดราคะแน่นอน.
             พอจะนึกได้หรือไม่ว่า น่าจะมาในพระสูตรอะไร?

ความคิดเห็นที่ 14-31
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 21:17 น.
             [๕๑] ดูกรพราหมณ์ บางคราว ท่านจะพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
แม้วันนี้พระสมณโคดมยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่ปราศจากโมหะแน่นอน
เพราะฉะนั้น จึงยังเสพเสนาสนะอันสงัด ทั้งที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวอยู่ ดังนี้.
             ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ ท่านอย่าเห็นอย่างนั้นเลย.
             ดูกรพราหมณ์ เราเห็นอำนาจประโยชน์สองอย่าง คือ เห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ของตนหนึ่ง อนุเคราะห์ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลังหนึ่ง จึงเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่า
และเป็นป่าเปลี่ยว.
             ภยเภรวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=517&Z=751

ความคิดเห็นที่ 14-32
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 21:20 น.

GravityOfLove, 13 วินาทีที่แล้ว ... 9:17 PM 1/22/2013

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ น่าจะมาในพระสูตรชื่อว่าภยเภรวสูตร นี้เอง.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=517&Z=751

             เห็นคำถามแล้ว นึกคำตอบได้เลยหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 14-33
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 21:31 น.

พอดีจำได้ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 14-34
ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 21:31 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า วัตถูปมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1136&Z=1236

             พระสูตรหลักถัดไป คือสัลเลขสูตรและสัมมาทิฏฐิสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             สัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1237&Z=1517
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100

             สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1518&Z=1753
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110

             สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1754&Z=2150
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131

ความคิดเห็นที่ 14-35
GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 21:42 น.

             คำถามสัลเลขสูตร
             ๑. อธิบายว่า อธิมานะว่าเราเป็นพระสกทาคามี จะไม่เกิดแก่พระโสดาบัน.
             อธิมานะว่า เราเป็นพระอนาคามี จะไม่เกิดแก่พระสกทาคามี.
             อธิมานะว่า เราเป็นพระอรหันต์จะไม่เกิดแก่พระอนาคามี.
             แต่จะเกิดเฉพาะการกบุคคลเท่านั้น ผู้ข่มกิเลสไว้ได้ด้วยอำนาจสมถะหรือ
ด้วยอำนาจวิปัสสนาผู้ปรารภวิปัสสนาแล้วขะมักเขม้นเป็นนิจ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100&p=1&bgc=lavender#หน้าที่ของทิฏฐิ

             ๒. ความจริง ธรรมดามิจฉาสติก็เหมือนกับมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น
ไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ คือไม่มีธรรมอะไรๆ.
             แต่คำว่า มิจฉาสติ นี้เป็นชื่อของขันธ์ที่เป็นอกุศลทั้ง ๔ ขันธ์ที่เป็นไปแล้วสำหรับผู้คิดถึงอดีต.
             แม้คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่า อนุสสตินั้นมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี
ซึ่งได้แก่อนุสสติของผู้ตามระลึกถึงการได้บุตร ตามระลึกถึงการได้ลาภ หรือตามระลึกถึงการได้ยศ ภิกษุทั้งหลาย.
             แม้คำนั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสหมายเอาการเกิดขึ้นด้วยสติเทียมของผู้คิดถึงเรื่องนั้นๆ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100&p=2&bgc=lavender#กรรมบถ_-_มิจฉัตตะ
             ขอบพระคุณค่ะ

           ย้ายไปที่ :-
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=4





Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 17:48:23 น.
Counter : 2863 Pageviews.

0 comments

ฐานาฐานะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog