Monovision คืออะไร
ในคนที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไปทุกคน จะต้องมีภาวะสายตายาวสูงอายุเสมอ และจำเป็นต้องพึ่งพาแว่นตาสำหรับการอ่านหนังสือ

วิธี Monovision เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการแก้ไขปัญหาความผิดปกติของสายตา ในผู้ที่มีทั้งภาวะสายตาสั้นหรือยาวแต่กำเนิด และภาวะสายตายาวสูงอายุร่วมด้วย

โดยการรักษาสายตาสั้น ในตาข้างเด่นให้เต็มที่ เพื่อทำให้มองไกลได้ดี
ส่วนในตาข้างด้อย จะมีการแก้ไข โดยตั้งใจให้เหลือภาวะสายตาสั้นไว้เล็กน้อย เพื่อที่จะสามารถมองใกล้ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการมองเห็นที่ดีได้ทั้งใกล้และไกล โดยไม่ต้องใช้แว่นในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านป้ายราคาสินค้า หรือเมนูอาหาร เป็นต้น


ลักษณะการมองเห็นที่ดีสำหรับ Monovision

ตาข้างหนึ่ง (ตาเด่น) สามารถมองไกลได้ชัดเจนดี แต่มองใกล้ไม่ดีนัก ตาอีกข้างหนึ่ง (ตาด้อย) สามารถมองใกล้ได้ดี ระดับที่สามารถอ่านตัวหนังสือได้ดีพอสมควร แต่มองไกลได้ไม่ชัดเจนเท่าตาเด่น และเมื่อใช้สายตาด้วยกัน 2 ข้างจะมองใกล้พออ่านตัวหนังสือได้ และมองเห็นไกลได้ดีด้วย


ความจริงบางประการเกี่ยวกับ Monovision

การทำ LASIK แบบ Monovision มีข้อดีหลายประการ ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบาย แต่ก็มีข้อด้อยที่พ่วงมาด้วย ได้แก่ การมองไกลอาจไม่ชัดเจนสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลากลางคืน หรือ ในที่ที่มีแสงสว่างน้อย การมองใกล้แค่ระยะเวลาสั้นๆ นั้นใช้ได้ แต่หากจะใช้สายตา เพื่ออ่านหนังสือนานๆ หรือตัวหนังสือเล็กๆ อาจมีอาการเมื่อยล้า หรือความคมชัดไม่พอ


Monovision อาจต้องใช้แว่นตาในบางโอกาส

ด้วยปัญหาดังกล่าวข้างต้น ท่านที่เลือกทำ LASIK แบบ Monovision อาจต้องมีแว่นไว้ในบางโอกาส ตามความต้องการดังนี้


•กรณีที่ขับรถเวลากลางคืน อาจมีแว่นเพื่อช่วยมองไกลเนื่องจากในเวลากลางคืน หรือในที่ที่แสงสว่างน้อยตาข้างที่ยังมีสายตาสั้นเหลืออยู่เพื่อใช้ในการอ่านใกล้ อาจจะรบกวนการมองไกลได้ ทำให้การมองเห็นในเวลากลางคืนอาจจะไม่ดีพอที่จะรู้สึกมั่นใจ และปลอดภัยพอที่จะขับรถ

แว่นที่ใช้นี้ ในตาเด่น ที่เห็นไกลชัด จะทำเป็นเลนส์เปล่า และในตาข้างที่เหลือสั้นไว้ จะเป็นเลนส์แก้สายตาสั้น (ส่วนการขับรถเวลากลางวัน คนไข้ที่ทำ Monovision ไปแล้วมักไม่ต้องใช้แว่นใดๆ)

•กรณีต้องอ่านหนังสือ ทำการฝีมือ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน หรืออ่านหนังสือตัวเล็กๆ อาจจะต้องใช้แว่นช่วยมองใกล้ เพื่อความรู้สึกสบายตาและลดการเมื่อยล้าตา โดยแว่นนี้จะทำเป็นเลนส์เปล่าในตาข้างที่เหลือสั้นไว้ และเป็นเลนส์สำหรับอ่านหนังสือในตาเด่นที่เห็นไกลชัด (ส่วนการมองใกล้แค่เวลาสั้นๆ เช่น การอ่านเมนูอาหาร การดูป้ายราคาสินค้า มักไม่ต้องใช้แว่น)

•แว่นทั้ง 2 แบบนี้ ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่ทำให้สายตาเสีย หรือปรับสภาพไม่ได้


การปรับสภาพตาให้เกิดความเคยชินกับ Monovision
ในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะสัปดาห์แรก สายตาอาจจะยังไม่เข้าที่ ยังไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพของ Monovision ได้เต็มที่ อาจเกิดปัญหาในการมองเห็น คือ ไม่ชัดเลย ทั้งใกล้และไกล

เช่น ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ หรืออ่านได้ไม่นาน มีอาการเมื่อยล้าตา แพทย์อาจพิจารณาให้ตัดแว่นใช้ชั่วคราว จนกว่าสายตาจะปรับเข้าที่ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเลนส์ของแว่นที่ใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 เดือนแรก เพราะสายตาที่ได้จากการผ่าตัดยังไม่คงที่ และต้องให้เวลากับร่างกาย ในการปรับสภาพความคุ้นเคยด้วย

ดังนั้น คนไข้ที่เลือก LASIK แบบ Monovision ควรจะทำใจให้สบาย เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ง่าย เพราะหากท่านสามารถปรับสภาพได้ Monovision จะช่วยลดการพึ่งพาแว่นได้อย่างมาก ทั้งการมองไกลและอ่านหนังสือ


การส่งเสริมการปรับสภาพตาที่ดี หลังทำ Monovision

•คนไข้ไม่ควรปิดตาทีละข้าง เพื่อทดสอบมองใกล้ หรือมองไกล เพราะสมองของเรา สามารถเลือกรับรู้ภาพที่ได้จากแต่ละตาอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องอาศัยเวลาบ้างเท่านั้น ดังนั้นควรพยายามใช้ตา 2 ข้างไปพร้อมๆ กัน

•บางท่านอาจมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสภาพสายตา 2 ข้างที่ไม่เท่ากัน เกิดความรำคาญ เห็นภาพซ้อน มึนงง เวียนศีรษะ หรือปวดกระบอกตา เมื่อยล้าตา ลืมตาไม่ขึ้น เวลาเย็น อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ Monovision ในช่วงแรกๆ หลังผ่าตัด ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่า คนไข้เลือกผิด

•อาการที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ถือเป็นเรื่องธรรมดา หากร่างกายปรับสภาพได้แล้ว อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ลดน้อยลง จนหายไปในที่สุด


ต้องรอนานเท่าใด จึงจะทราบว่าไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ Monovision ได้

ความรำคาญ หรือปัญหาจากการใช้สายตา 2 ข้างที่ไม่เท่ากันนี้ หากไม่หายไปในเวลา 3 เดือน หลังการผ่าตัด อาจพิจารณาเข้ารับการเติมเลเซอร์ ในตาที่เหลือสายตาสั้นเอาไว้

หลังจากเติมเลเซอร์แล้ว คนไข้จะต้องใช้แว่นสำหรับอ่านหนังสือเสมอ


ความรู้จาก: //www.visioncare.co.th/monovision.asp


หลังการทำโมโนวิชั่นแล้วเป็นอย่างไร

ส่วนตัวแล้ว "ไม่ดีเลย" สายตาปรับไม่ได้ มองเห็นแยกเป็นสองเลนส์ เสียเวลาไป 3 เดือนกับการมองเห็นแบบผิดปกติ 

แม้ว่าจะปรับสายตาสองข้างรวมเป็นหนึ่งเดียวได้ โมโนวิชั่นก็ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ใช้สายตาในการทำงานมากๆ เช่น การเพ่ง พิมพ์หน้าจอคอมพ์ นักเขียน นักตรวจสอบบัญชี ฯลฯ เพราะไม่มีความคมชัด ทำให้ปวดหัว เหมือนคนที่ใส่แว่นไม่ตรงกับสายตาที่แท้จริง  

ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ เมื่อกลับไปเติมเลเซอร์หนที่สอง จะมีผลข้างเคียงในระยะยาว คือ สายตาต้องการแสงสว่างมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการอ่านและใช้สายตาในเวลากลางคืน  



Create Date : 31 ตุลาคม 2552
Last Update : 14 สิงหาคม 2555 15:50:03 น.
Counter : 3702 Pageviews.

0 comments

psaksiamkul
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ธนัชชา ศักดิ์สยามกุล
นักแปลบทภาพยนตร์

รูปและข้อความเป็นของเจ้าของบล็อก
ก่อนนำไปใช้ที่อื่นกรุณาบอกกล่าวกันก่อน
Group Blog
ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
31 ตุลาคม 2552