สังคมปริทัศน์ สาระเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของผู้ใฝ่รู้ทั่วไป... มิติและมุมมองเป็นสิ่งที่แตกต่างและขัดแย้งได้...เพราะความแตกต่างหรือความขัดแย้งเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกเสมอมามิเคยหมดสิ้นไป..รังแต่จะเพิ่มความแตกต่างและขัดแย้งเพิ่มขึ้นเพื่อขับเคลื่อนโลกให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด...
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
16 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
บทเรียนจากการถอดวิชานาฎศิลป์กับการปฏิรูปการศึกษาของไทย

  ข่าวการออกมาต่อต้านการถอดวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรไทยคือช่วงนี้นับว่าร้อนแรงที่สุดข่าวหนึ่ง โดยเฉพาะคนในวงการนาฏศิลป์ ออกมาแรงๆ ทั้งนั้น ยิ่งคุณนิติพงษ์ ห่อนาค โพสเฟสบุ๊คยิ่งแรง...ด้วยคำพูดแสดงอารมณ์หลุดโลกให้เห็นทีเดียว...

ใครจะแสดงยังไงว่ายังไงก็ต่างคนต่างคิดครับ..ความจริงที่เป็นอยู่ของวิชานาฏศิลป์ในโรงเรียนปัจจุบันคือ 
การเรียนการสอนนับว่ามีความสำคัญน้อยมาก เพราะเด็กส่วนมากไม่สนใจวิชานี้ โดยเฉพาะเด็กผู้ชายร้อยละ 98 ขึ้นไป ไม่สนใจครับ...และการเรียนก็เป็นไปอย่างน่าสงสารด้วย เพราะเด็กถูกบังคับในสิ่งที่เขาไม่สนใจ นี่เป็นปัญหาใหญ่ในอดีตตั้งแ่ผมเป็นเด็กจนถึงปัจจุบันที่ผมใกล้ลาโลกแล้ว สถานการณ์ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ..ลองถามลูก ๆ หลาน ๆ ท่านดูซิว่าวิชาใดน่าเบื่อหน่ายที่สุดบ้าง...คำตอบหนึ่งคือ นาฏศิลป์..ซึ่งต้องเรียนอย่างไม่มีทางเลือก...มันทรมานมากกว่าเวลาจะผ่านไปหนึ่งภาคเรียน ทำให้เด็กเบื่อโรงเรียนมาก ๆ ด้วย...

นอกจากวิชานาฏศิลป์จะเป็นวิชาที่น่าเบื่อแล้ว  วิชาอื่น ๆ อีกหลายวิชาก็เป็นวิชาที่นักเรียนเบื่อหน่ายไม่ต่างกัน เช่น พุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ พลศึกษา การงานอาชีพพวกเย็บปักถักร้อย ฯลฯ วิชาต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็มีความสำคัญทั้งสิ้นในสายตาผู้ใหญ่ ..แต่มันเป็นสิ่งน่าเบื่อหน่ายมากสำหรับเด็ก..เห็นเด็กท่องรายนามกษัตริย์ไทย เห็นเด็กนั่งสวดมนต์ เห็นเด็กหญิงเตะบอลเตะตะกร้อ เห็นเด็กชายเต้นลีลาศ เห็นเด็กชายนั่งถักไหมพรม เห็นเด็กนั่งฝึกเป่าขุ่ยเรียนรำไทย ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้มีการสอนกันมาตั้งแต่ปี 2503 หรือก่อนนั้นจนถึงปัจจุบัน...ผมก็เรียนมาตามนี้แหละ  คำถามคือ

กิจกรรมเหล่านี้เหมาะกับยุคสมัยหรือไม่..จำเป็นมากน้อยแค่ไหนในยุคปัจจุบัน..ถ้าเราเรียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่เปลี่ยนอะไรจะเกิดขึ้นกับเยาวชนในอนาคต ได้หรือเสียต้องชั่งน้ำหนักให้ชัดเจน..เราจะดำรงความเป็นไทยไว้แค่ไหน..เอกลักษณ์เราควรส่งเสริมแค่ไหนหรือมีทางออกอย่างไร ล้วนเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ

ความจริงที่ต้องรับรู้ร่วมกันคือ ปัจจุบันนักเรียนเรียนวันละ 8 ชั่วโมงแทบไม่มีเวลาพักเลย เย็นยังไปเรียนพิเศษอีกกลับบ้านมาทำการบ้าน..เวลาในการพัฒนาด้านอื่นแทบไม่มี เราต้องการลดเวลาเรียนนักเรียนลง แต่เราเห็นความสำคัญของทุกวิชา..ทางออกอยู่ไหน จะตัดวิชาอะไรเพิ่มวิชาอะไร...เด๊่ยวนี้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ก็ไม่มีแม้แต่เวลาทดลองแค่บรรยายก็หมดเวลาแล้วเด็กก็ขาดทักษะทางวิทยาศาสตร์  วิชาอื่น ๆ ก็มีลักษณะคล้ายกัน...

ยิ่งโรงเรียนมีชื่อเสียงนะ..จัดห้องเรียนละ 55-60คน แค่อ้าปากถามคนละประโยค ชั่วโมงหนึ่งเวลาก็ไม่พอแล้ว..แล้วจะหาคุณภาพได้อย่างไร

การปฏิรูปการศึกษานี่เป็นคำฮ็อตตลอด 15 ปีที่ผ่านมาผมก็อยู่ในส่วนนี้ด้วยผ่านมา15 ปี มีกฎหมายการศึกษา 2-3 ฉบับ มีหลักสูตรใหม่มาแล้ว 3-4 ฉบับ ผลสรุปคือคุณภาพเด็กไทยอยู่หางแถว..ผมรู้สาเหตุแต่ผู้ใหญ่ไม่ถาม พูดไปก็ไม่ฟังลองพูดอีกที..ผมเห็นว่า

การปฏิรูปการศึกษาต้องปฏิรูปที่โรงเรียนไม่ใช่ไปปฏิรูปที่หลักสูตรหรือปฏิรูปกฏหมาย...มันไม่ถูก "ปฏิรูปการศึกษาต้องปฏิรูปโรงเรียน" ดังนี้
1.ปรับปรุงระบบบริหาร การคัดผู้บริหารต้องเปลี่ยนเกณฑ์คัดจากคนที่สอนดีมาเป็นผู้บริหาร เขาจะได้นิเทศครูได้อย่างมีคุณภาพ เด๊่ยวนี้ผู้บริหารร้อยละ 80 มาจากระบบวิ่งตามเจ้านายใช้เงินจ้างภายใต้ระบบสอบเพื่อความชอบธรรม ผู้บริหารเหล่านี้ไม่ลึกซึ้งเรื่องการสอน ไม่สามารถนิเทศครูได้เขาถนัดวิ่งตามนายจ่ายใต้โต๊ะเพื่อความก้าวหน้า พัฒนาโรงเรียนโดยทาสีก่อสร้างอนุสรณ์ เขาไม่ได้พัฒนาเด็กหรือพัฒนาเด็กไม่เป็น

2. ครู ต้องปรับปรุงครูปัจจุบันร้อยละ 60 ไม่มีคุณภาพ สอนแบบเช้าชามเย็นชามไม่ค้นคว้าไม่ใส่ใจ สอนผิด ๆ ถูก ๆ ยิ่งวิชาใหม่ ๆ เปิดมาทีพานักเรียนเข้ารกเข้าพงหมด เช่น วิชา IS เป็นต้น ผมอยู่ในวงการครูรู้ดี ครูมีแต่คุณวุฒิบางคนมีความรู้มีน้อยกว่าเด็ก อ่านหนังสือสอน ประยุกต์ไม่เป็น อธิบายไม่ได้โดยเฉพาะวิชายากๆ ยิ่งเห็นชัด เช่น เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ฯลฯ ผลการสอบวัดความรู้ครูระดับประเทศเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ครูสอบตกมากกว่า 70% นี่คุณภาพครูไทย เราต้องคัดครูดี ครูมีความรู้นักเรียนจะศรัทธาการเรียนจะมีประสิทธิภาพ 

3. ระบบการจัดชั้นเรียนต้องมาตรฐานออกกฎหมายกำหนดเลย ห้องละ 40 คนเกินไม่ได้ เพราะถ้าเด็กมาอย่าหวังคุณภาพเลย ส่งงานทีกองท่วมหัววันหลังครูไม่สั่งอีกแล้ว จัดกิจกรรมในชั้นเรียนอย่างความร่วมมือเพราะมันเยอะคุมไม่ไหว สอนไปพวกหนึ่งก็เล่นโทรศัพท์ไปมัวด่าอยู่นั่นได้ด่าทุกชั่วโมงไม่ต้องสอน ด่าทีหมดครึ่งชั่วโมงอารมณ์มันพาไป..เจออาจารย์ด่าเก่งนี่ด่าทีเลยชั่วโมงเลยนะจะบอกให้ เด็กเยอะอย่างการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ทำไม่ได้เลย เดี๋ยวนี้โรงเรียนมีชื่อเสียงดีหน่อยที่ได้คัดเด็กเก่งเท่านั้นกระบวนการเรียนการสอนนี่ไม่ต้องพูดถึง..ยังล้าหลังมากๆ 

4.ระบบประเมิน กำกับ ติดตามต้องมีประสิทธิภาพ ประเมินตรงๆ อย่างมอบนโยบายมายังโรงเรียนนี่ เรียกผอ.ประชุม เอาโรงเรียนที่มีศักยภาพก่อนทำก่อนให้มีคุณภาพก่อน ทำไม่ได้ตามกำหนดเวลาต้องย้าย ต้องปลดไม่ใช่ให้นั่งจนเกษียณอายุราชการ มันไม่มีประสิทธิภาพ...อย่างนโยบาย โรงเรียนมาตรฐานสากล การพัฒนาโรงเรียน TQA การพัฒนาหลักสูตรใหม่ โรงเรียนนำร่องประกาศเลยโรงเรียนมีงบบริหารเกิน 15 ล้านเป็นต้นแบบทำให้เสร็จใน 4 ปี ทำไม่ได้ปลด..แค่นี้ก็สำเร็จไม่เห็นจะยาก...แต่ที่เราทำมานะเราเรียกผู้บริหารไปประชุมเป็น 10 ครั้ง เวลาผ่านไป 5-6 ปีทุกอย่างเหมือนเดี๋ยวนี้โรงเรียนทั่วประเทศไทยไม่มีโรงเรียนไหนเป็นมาตรฐานสากลเลย..หมดงบไปเป็น 10,000ล้านบาท

สรุปผมว่าปฏิรูปการศึกษาไทยง่ายนิดเดี๋ยว ใช้หลักสูตรเดิม แต่เปลี่ยนเป็นการปฏิรูปโรงเรียนแทนดีกว่าครับ



Create Date : 16 ตุลาคม 2556
Last Update : 16 ตุลาคม 2556 18:58:48 น. 1 comments
Counter : 2009 Pageviews.

 
ระบบประเมินนี่ห่วยสุด เป็นการสร้างเอกสารหลักฐานเท็จทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นระดับโรงเรียนหรือมหาลัย


โดย: Alex on the rock วันที่: 16 ตุลาคม 2556 เวลา:21:36:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ท้าวคำไหล
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




รีวิวการศึกษา
Friends' blogs
[Add ท้าวคำไหล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.