กันเอง ง่ายๆ สบายๆ เล่าเรื่อง พูดคุย นานาสาระ และไร้สาระ เกี่ยวกับคนพวน ไทยพวน ลาวพวน...
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

ตำนานปู่เยอย่าเยอ

ตามตำนานเกี่ยวกับปู่เยอย่าเยอนี้ได้กล่าวว่า นานมาแล้ว ณ เมืองแถน ได้มีเครือเขากาดยักษ์เครือหนึ่ง ขึ้นไปถึงสวรรค์ชั้นฟ้า ปกคลุมลงมาบนพื้นดินทำให้บดบังแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ทั้งหมด ทำให้บ้านเมืองมืดมิด มืดมัวและหนาวเย็น ประชาชนเดือดร้อน ทำมาหากินไม่ได้ พระยาขุนบูลม ผู้เป็นเจ้าเมือง ได้เรียกเหล่ามหาเสนาอำมาตย์มาปรึกษาหารือกันว่า จะทำอย่างไรดี จึงจะตัดเครือเขากาดยักษ์นี้ลงมาได้ จึงให้ทหารป่าวประกาศให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถตัดเครือเขากาดยักษ์นี้ลงได้ ได้มีผู้อาสาเป็นจำนวนมากแต่ก็ไม่มีใครสามารถที่จัดตัดเครือเขากาดยักษ์นี้ให้ขาดลงมาได้

ต่อมาได้มีสองเฒ่าผัวเมีย ชื่อว่า ปู่เยอและย่าเยอ ได้เข้ามาขออาสาไปตัดเครือเขากาดยักษ์นั้น พระยาขุนบูลม จึงถามว่าหากสามารถตัดเครือเขากาดยักษ์ได้แล้ว ต้องการสิ่งของรางวัลอะไรบ้าง เฒ่าทั้งสองตอบว่าไม่ขอรับของรางวัล ทั้งสิ้น ขอแต่เพียงว่า ถ้าหากทั้งสองคนได้ตายไปแล้ว ขอให้ประชาชนทุกคนอย่าลืมชื่อของพวกเขาทั้งสองคนและขอให้ทุกคนเคารพสักการบูชาด้วย พระยาขุนบูลมก็รับปาก


เฒ่าทั้งสองก็มุ่งหน้าถือขวานขนาดใหญ่เดินทางไปยังโคนต้นเครือเขากาดยักษ์ทันที และลงมือตัดทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลา 3 เดือนกับอีก 3 วัน ก็สามารถตัดเครือเขากาดยักษ์นั้นลงมาได้ แต่เครือเขากาดยักษ์นั้นใหญ่มาก เมื่อขาดแล้วจึงได้ล้มลงมาทับเฒ่าทั้งสองตายในทันที ความมืดมิดก็หายไป แสงสว่างก็กับมาสู่ผืนแผ่นดินอีกครั้ง ไพร่ฟ้าประชาชนก็ทำมาหากินได้ตามปกติ พระยาขุนบูลมพร้อมด้วยไพร่ฟ้าประชาชน ก็ได้นับถือสักการปู่เยอ ย่าเยอ นับแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของปู่เยอและย่าเยอ


ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชนชาติลาวพวน ก็ได้ทำรูปสัญลักษณ์แทนตัวของผู้เฒ่าทั้งสองไว้ให้เป็นที่สักการะ นับถือ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ลูกหลานชาวลาวได้มีการแต่งเป็นโขนเล่าเรื่องราวของปู่เยอย่าเยอนี้ ซึ่งจะมีการแสดงตามพิธีงานบุญต่าง ๆ เช่น ในงานบุญปีใหม่ งานบุญธาตุหลวง การสรงน้ำพระบาง และงานพิธีต่าง ๆ โดยจะให้มีพิธีการกราบไหว้ สักการะและถวายเครื่องทานแก่ปู่เยอย่าเยอ ตามพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นตามฮีตคองประเพณี ในโอกาสต่างๆนี้จะมีการแต่งกายเป็นรูปของปู่เยอย่าเยอออกมาฟ้อนรำ สร้างความสนุกสนานและเพื่อเป็นการเพิ่มความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ลูกหลานด้วย


ได้มีการเล่าถึงพิธีการบูชาของปู่เยอย่าเยอ ใน //board.lru.ac.th/index.php?topic=720.0;wap2 ได้เห็นภาพค่อนข้างชัดเจน จึงขอคัดลอกเอามาเล่าให้อ่านกันบางตอน ดังนี้


จากการที่ให้มีการเคารพสักการะปู่เยอย่าเยอจากเรื่องที่เล่ามาข้างต้น คนลาวจึงเพิ่มคำห้อยท้ายว่าเยอๆ ในคำพูดของตนเสมอ เช่น ในคำว่า ไปเยอ เมือเยอ มาเยอ ทั้งได้ทำโขนหรือรูปสัญลักษณ์ของทั้งสองไว้ให้สักการะ นับถือสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ท่านผู้นี้เป็นผู้รักษาเทวดาหลวงปีหนึ่งมีสองครั้งในโอกาสบุญปีใหม่ บุญธาตุหลวง ท่านจะเรียกเอาโขนปู่เยอ ย่าเยอ และสิงห์แก้วสิงห์คำ ออกจากหีบเพื่อเข้าร่วมพิธีต่างๆ ทุกๆ ปี ก่อนจะเริ่มพิธีฉลองปีใหม่ ได้เอาโขนปู่เยอ ย่าเยอ ออกจากหีบที่เก็บรักษาไว้ อยู่ที่หอเทวดาหลวงในบริเวณวัดอาฮาม เพื่อนำมาไหว้และถวายเครื่องทาน ปู่เยอย่าเยอจะเข้าร่วมทุกๆ พิธีที่จัดขึ้นตามฮีตคองประเพณี ในระยะบุญปีใหม่ โดยเฉพาะในการแห่หว่อ รดสรงพระบาง ในโอกาสนี้ ปู่เยอ ย่าเยอ จะออกมาฟ้อน เพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของประชาชน พิธีแห่ปู่เยอ ย่าเยอ และสิงแก้ว สิงคำ ไปตักน้ำในริมน้ำคานเพื่อเอาไป รดสงพระบาง น้ำที่เอามาจากน้ำคาน จะบรรจุไว้ในไหดิน ซึ่งจะให้เยาวชนแบกไปเพื่อไปสรงพระบาง ปู่เยอ ย่าเยอ จะลงไปตักน้ำคาน เพื่อไปสงพระบาง พร้อมขบวนแห่ ในพิธีนี้จะเอาน้ำใส่ไหดินให้เยาวชนแบก ได้ทำพิธีที่ริมน้ำคาน นำดอกไม้ ธูป เทียน บูชา กล่าวสูตรคำขวัญ เป็นประจำทุกปี พิธีจะทำในตอนเย็นก่อนวันที่จะมีการแห่หว่อ สิงห์แก้วสิงห์คำ เป็นสิงห์โตน้อยตัวหนึ่ง ที่ปู่เยอย่าเยอเอามาเลี้ยงและถือเป็นลูกนี้หมายความว่า มนุษย์พวกเราสามารถคุ้มครองบรรดาสัตว์และธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ เมื่อแห่หว่อหรือนางสังขาร เข้าพิธีสูตรขวัญ แต่งอาหาร บอกกล่าว คอบ ให้ปู่เยอ ย่าเยอ สิงห์แก้ว สิงห์คำ เตรียมพิธี ลงมาจากกุฏิ ฝึกซ้อมท่าเต้นตามจังหวะกลอง แล้วไปกราบไหว้ธาตุเข็ด ธาตุคำ ที่อยู่ด้านหน้าพุทธสีมา ก่อนออกเดินไปถึงวัดเชียงทอง ทำพิธีไหว้จุดธูปเทียนบูชาก่อนที่กำแพงวัดสุวรรณคีรีตรงทางเข้าวัดเชียงทองและบริเวณด้านข้างวัดเชียงทอง โดยมีขบวนของปู่เยอย่าเยอ เป็นนางหว่อน้อยเดินนำขบวน หนุ่มและสาวถือต้นหมากเบงแต่งกายเสื้อสีขาว นุ่งโจงกระเบน แม่หญิงนุ่งชุดลาวสวยงามตามด้วยขบวนทหารซึ่งกระผม ณัฏฐพล ตันมิ่ง ได้แต่งชุดทหารสีน้ำเงิน แดง ใส่หมวกสีแดง เข้าร่วมเดินขบวนปู่เยอย่าเยอด้วย ในบุญปีใหม่ แห่หว่อ นางสังขาร จากนั้นก็มีทหารแต่งชุดเขียวแดง แบกกลอง ตีกลองตามจังหวะหลังจากเลี้ยงปู่เยอย่าเยอแล้ว เทวดาหลวงทั้งสองและสิงห์แก้วสิงห์คำ จะลุกขึ้นมาฟ้อน ที่บริเวณวัดเชียงทอง ท่ามกลางเสียงฆ้อง เสียงกลอง เพื่อความอุดม มั่งมี ของประชาชน มีผู้คนวิ่งมาขอดึงป่านขนของปู่เยอย่าเยอ ไปเป็นของค้ำของคูน แต่ว่าดึงไม่ค่อยขาดเพราะป่านเหนียว เวลาเดินในขบวนนั้น ปู่เยอย่าเยอและสิงห์แก้วสิงห์คำนั้นจะถอดรองเท้าเดินด้วยเท้าเปล่าตลอด อากาศร้อน ถนนก็ร้อน ฉะนั้นจึงมีการเอาน้ำมารด มักจะรดน้ำลงไปที่เท้าเสมอเพื่อไม่ให้เท้าร้อนเกินไป และเท้าก็เต้นไป ตามจังหวะกลอง ต่อเนื่องกันไปเสมอและหยอกล้อกับประชาชมผู้เข้าร่วมงาน โดยการเดินเข้าไปใกล้ๆ แล้วร้องเสียงดังๆ ทำให้ผู้คนตื่นตกใจ สิงห์แก้วสิงห์คำ มีสองคน จังหวะการเต้น ลุกนั่ง ตั้งสัมพันธ์กันเสมอเพราะทำให้ดูสวยงามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิงห์แก้วสิงห์คำ บางคนก็เรียกว่า สิงห์กรับ เพราะที่ปากจะกระทบกันดังกรับ กรับอยู่เสมอ ตามจังหวะเสียงกลอง ปู่เยอย่าเยอ เล่นเมืองชวา เมืองซัว เมืองหิมพานต์มาได้ สิงห์แก้วสิงห์คำ นำมาด้วย เจ้าจ้ำ คนเล่นสืบทอดสายเชื้อกันมานานแต่ก่อนจะนำออกมาปีละ 2 ครั้ง คือบุญปีใหม่ เดือน 5 ที่หลวงพระบาง กับบุญธาตุหลวง เดือน 12 ที่เวียงจันทน์ เล่นตอนกลางคืน แต่ต่อมาเกิดปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ของปู่เยอย่าเยอหัก เลยนำเอาออกมาแสดงเฉพาะบุญปีใหม่ เดือน 5 เท่านั้น ก่อนจะนำออกมาจะต้องแต่งอาหาร ผลไม้ ให้ก่อน ทำพิธีสูตรขวัญเชิญออกมา โดยเจ้าจ้ำ นางแต่ง ผู้ที่จะร่วมแสดง ออกมาลงทำการฝึกซ้อม จังหวะดนตรี เสียงกลอง ท่าเต้น ลงมาที่อยู่ข้างล่างกุฏิ ท้าวจันทะมาน พงษ์สุวรรณ์ เป็นผู้ที่รับมรดกการเต้น แต่ก่อนเต้นเป็นลูกสิงห์แก้วสิงห์คำ ต่อมาได้เต้นเป็นพ่อ การที่จะออกมาเต้นได้นั้น ต้องมีคำสูตร ให้พร ไถ่ถอน คอบ ก่อนถึงจะแสดงได้ ส่วนที่เก็บอุปกรณ์ทั้งหมดห้อยไว้ด้วยลวดสองเส้น เส้นละข้าง ป้องกันหนูเข้าไปกัดเป็นกล่องไม้ขนาดใหญ่เก่าแก่แห้งมาก ดูที่ลวดลายและการแห้งของสีรักและเนื้อไม้ ชุดทหารสมัยเก่ามีทั้งสีน้ำเงิน แดง เขียวและหมวกทหาร แต่ก่อนเจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวงศ์ กษัตริย์ของลาวทุกพระองค์ให้ความเคารพนับถือและให้การเอื้อเฟื้อสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้คนที่เข้ามาเล่นในขบวน ปู่เยอ ย่าเยอโดยเฉพาะ ผู้คนบ้านถิ่น บ้านเสี้ยว บ้านล่องน้ำเชียง ให้เข้ามารับใช้หอปู่เยอย่าเยออย่างเดียว และก็ได้รับสิทธิพิเศษไม่ได้เป็นทหาร มีเงิน เบี้ย ข้าวสาร ให้ด้วย เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ผู้คนลาวจากหลวงพระบางที่ไปอยู่ทั่วโลกจะมาหาปู่เยอย่าเยอกันหมดเพราะเคารพนับถือท่าน การที่จะเล่นเป็นตัวไหนนั้นต้องเข้าพิธีสูตรขวัญรับเอาเสียก่อน โดยเจ้าจ้ำในปัจจุบันผู้ที่ทำพิธีกรรมทั้งหมดนี้คือ ท้าวทองวัน พงษ์พิลัก จัดนำขบวนการดำเนินการตามขั้นตอนพิธีการต่างๆเกี่ยวกับปู่เยอย่าเยอทั้งหมด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานต่างๆ มักจะไม่พอใช้จ่าย เพราะรายจ่ายในพิธีการทั้งหลายมีมากกว่าที่ได้รับมาเป็นปัญหาในการดำเนินการที่จะต้องปฏิบัติงานต่อไปตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมาต่อไป


ตำนานของปู่เยอย่าเยอก็เป็นดังฉะนี้


ดูเพิ่มเติมได้ใน www.thaipuen.com




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2552
3 comments
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2552 16:27:43 น.
Counter : 9974 Pageviews.

 

สวัสดีครับ
บ้านเกิดผมอยู่ที่หาดเสี้ยว
พวนเหมือนกัน
แต่ผมไม่ใช่คนพวนครับ
มาอยู่พิจิตรเกือบยี่สิบปีแล้วครับ

 

โดย: kuk-42 14 พฤศจิกายน 2552 21:07:08 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปทักทายที่บล็อกนะคะ

 

โดย: เจ้าแห่งน้ำคือพระจันทร์ 24 ธันวาคม 2552 18:21:32 น.  

 

อยากทราบประวัติกษัตริย์องค์สุดท้ายของพวน

 

โดย: นภัส IP: 223.204.117.150 17 ธันวาคม 2554 21:57:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หม่าเด่น
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หม่าเด่น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.