Group Blog
 
 
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
19 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
ฝึกควบคุมปริมาตรกระเพาะ..ทางเลือกช่วยลดอ้วน

       เอ่ยถึง "ความอ้วน" คงไม่มีใครอยากให้คำ ๆ นี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต แต่เมื่อความอ้วนคุกคามจนยากเกินกว่าจะควบคุมได้ หลาย ๆ คนมักแสวงหาสารพันวิธีมากำจัดเจ้าน้ำหนักส่วนเกินนี้ออกไป ซึ่งในแต่ละวิธีนั้น อาจได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง หรืออาจส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมาบ้าง วันนี้ทีมงาน Life & Family มีอีกหนึ่งทางเลือกในการลดความอ้วนด้วยการฝึกควบคุมปริมาตรกระเพาะอาหารมาฝากให้พิจารณากัน
       
       เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.สุรชัย รุ่งธนาภิรมย์ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โรคอ้วนเกิดจากการผสมผสานของกรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม และพฤติกรรม รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ที่ทำให้คนเราใช้พลังงานน้อยลง และเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่รับประทานไปใช้ไม่หมด ส่งผลให้เหลือไปสะสมเพิ่มน้ำหนักตัวให้มากขึ้นได้ โดยหลักทั่วไป ถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการก็จะมีส่วนเกินสะสมทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการให้น้ำหนักไม่เพิ่มมากขึ้นก็ควรออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานให้มากขึ้น และควรควบคุมปริมาณแคลอรีในอาหาร โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีแคลอรีน้อยลง เช่น พืช ผัก รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการทอด การควบคุมน้ำหนัก
       
       ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกัน คือ การฝึกควบคุมปริมาตรของกระเพาะอาหารจากผลการศึกษาพบว่า กระเพาะอาหารของคนอ้วนมีความจุมากกว่าคนที่ไม่อ้วน และเมื่อพยายามควบคุมอาหาร เพื่อลดน้ำหนักตัวได้ระยะหนึ่ง ความจุของกระเพาะอาหารมักจะลดลงตามไปด้วย มีผู้พยายามศึกษา ความจุกระเพาะอาหารของมนุษย์ โดยใช้วิธีต่างๆ มากมาย ตั้งแต่วิธีการสมัยก่อนที่วัดปริมาณอาหารเหลว ที่ให้กลืนจนอิ่มท้อง จนถึงวิธีทันสมัยโดยใช้การตรวจคล้ายเอกซเรย์ ทำให้สามารถคำนวณปริมาตร ของกระเพาะอาหารได้ ซึ่งจากการศึกษาต่างๆ เหล่านี้พบว่า ความจุของกระเพาะอาหารของมนุษย์มีค่าแตกต่างกัน ตั้งแต่ 800 ซีซี ไปจนถึงประมาณ 4,000 ซีซี หรือตั้งแต่ประมาณ 1 ลิตรถึง 4 ลิตร
       
       "เราสามารถประมาณปริมาตรอาหารที่เรารับประทานต่อครั้งได้ง่าย ๆ เช่น น้ำดื่ม 1 แก้ว ปกติจะมีความจุประมาณ 250 ซีซี นมยูเอชที 1 กล่องสำหรับผู้ใหญ่จะมีความจุประมาณ 240 ซีซี น้ำดื่มขวดเล็กมีปริมาตรประมาณ 500-600 ซีซี เป็นต้น ผู้ใหญ่หนึ่งคนต้องการพลังงานจากอาหารประมาณ 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน และถ้ามีส่วนเกินสะสมถึง 7,000 กิโลแคลอรีก็จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม ถ้ารับประทานอาหารจนอิ่มตื้อเต็มกระเพาะโดยดูจากปริมาตรของกระเพาะอาหารข้างต้นก็จะมีโอกาสที่จะมีพลังงานเกินความต้องการสะสมไปเรื่อย ๆ จนน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก ลองนึกภาพจากอาหารทางการแพทย์ที่มีลักษณะคล้ายนม ถ้าผสมแบบปกติจะให้พลังงาน 1 กิโลแคลอรีต่อ1 ซีซี ถ้าได้มื้อละประมาณ 2 แก้ว หรือประมาณ 500 ซีซี วันละ 4 มื้อ ก็จะได้พลังงานถึง 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน"
       
       "แต่ในชีวิตจริงอาหารหลายอย่างให้ค่าพลังงานมากกว่าอาหารที่เป็นของเหลวดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่ผ่านการทอด ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่ไม่ใช่ของเหลวในปริมาณที่น้อยลง นอกจากนี้ในบางคนกินอาหารซึ่งแม้จะเป็นพืชผักที่มีพลังงานน้อยหรือน้ำเปล่าหลาย ๆ แก้ว ซึ่งไม่มีพลังงานเลยก็ตาม จนอิ่มแน่นกระเพาะ กลับทำให้กระเพาะอาหารปรับตัว สร้างน้ำย่อยตามออกมามากขึ้น ทำให้หิวง่ายในตอนค่ำหรือวันต่อมา ทางที่ดี ไม่ควรกินอาหารอิ่มแน่นจนกระเพาะอาหารขยายมากเกินไป" อายุรแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพเผย

       คุณหมออธิบายต่อไปว่า เมื่อเริ่มรับประทานอาหารจะทำให้เกิดความอิ่มใน "ช่วงต้น" ซึ่งความอิ่มช่วงนี้เป็นผลมาจากการรับรู้ของบริเวณทางเดินอาหารเมื่อมีอาหารเข้ามาอยู่ภายใน รวมถึงความ "ตึง" ของกระเพาะอาหาร สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นฮอร์โมนส่งสัญญาณไปยังศูนย์หิว-อิ่มที่อยู่ภายในสมอง ส่วนความอิ่ม "ช่วงหลัง" เกิดขึ้นหลังจากที่สมองได้รับสัญญาณจากทางเดินอาหาร และจากสิ่งกระตุ้นภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มองเห็น กลิ่นที่ได้รับ และบรรยากาศรอบตัว ทำให้เกิดความอยาก หรือไม่อยากอาหารในมื้อนั้นอีกต่อไป ซึ่งสัญญาณความอิ่มที่ระดับทางเดินอาหารก็ดี หรือที่ระดับสมองก็ดี ต้องใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง กว่าจะส่งสัญญาณเชื่อมถึงกัน
       
       ด้วยกลไกตามธรรมชาติของร่างกายข้างต้น จึงเป็นที่มาของการฝึกควบคุมปริมาตรกระเพาะอาหาร เพื่อให้กินได้น้อยลงแต่รู้สึกอิ่ม ซึ่งบางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้นกับเราๆ ท่านๆ แล้วโดยไม่รู้ตัว เช่น ขณะเริ่มรับประทานอาหารแล้วเผอิญมีโทรศัพท์ดังขึ้น หรือมีแขกมาหาคุยธุระอยู่นานหลายสิบนาที พอพูดคุยเสร็จธุระ เราก็อาจไม่รู้สึกหิว หรืออาจไม่รู้สึกว่าต้องกินอาหารต่อก็เป็นได้ เนื่องจากในระหว่างที่เราพูดคุยธุระอยู่นั้น สัญญาณจากทางเดินอาหารได้เชื่อมโยงกับศูนย์หิว-อิ่มในสมองเรียบร้อยแล้ว ทำให้รู้สึกอิ่มโดยกินอาหารเข้าไปเพียงนิดเดียว หรือตัวอย่างในเด็กบางคน กินขนมเพียงซองเล็กๆ ซึ่งไม่น่าจะอิ่มท้องเลย แต่พอถึงมื้ออาหารจริงอาจจะโยเยไม่หิว ไม่อยากกินอาหารมื้อหลัก จนพ่อแม่มักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่า พยายามอย่าให้เด็กกินขนมก่อนใกล้เวลามื้ออาหาร อย่างน้อยครึ่ง หรือหนึ่งชั่วโมง เป็นต้น
       
       นอกจากนี้ การเคี้ยวอาหารช้าๆ ให้ละเอียด นอกจากจะช่วยทำให้กระเพาะอาหาร ทำงานน้อยลงแล้ว การเคี้ยวอาหารช้าๆ จะทำให้รับประทานอาหารได้ในปริมาณน้อยลง และทางเดินอาหารมีเวลาที่จะส่งสัญญาณไปที่สมอง ทำให้รู้สึกอิ่ม และไม่รู้สึกว่าต้องกินอาหารต่อได้เช่นกัน ผู้ป่วยหลายรายที่ฝึกรับประทานอาหารโดยใช้เวลาเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น ร่วมกับการลดปริมาณอาหารต่อมื้อ เพื่อฝึกกระเพาะอาหารให้มีปริมาตรลดลง และช่วยลดการสร้างน้ำย่อยซึ่งกระตุ้นให้อยากอาหารน้อยลง ผู้ป่วยเหล่านี้มักเล่าให้แพทย์ฟังว่า หลังจากการฝึกเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 2 สัปดาห์ จะรู้สึกชินกับการรับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ ไม่รับประทานดุเดือดเท่าแต่ก่อน และทำให้น้ำหนักลดลงได้ถึง 3 กิโลกรัมต่อเดือน แถมยังมีความสุขที่ยังคงรับประทานอาหารหลายอย่างที่ชอบได้ (แต่จะไม่กินจนอิ่ม เพราะต้องการควบคุมปริมาตรของกระเพาะอาหารไว้ไม่ให้ขยายมากเกินไป)
       
       แม้ว่าการฝึกควบคุมปริมาตรของกระเพาะอาหารอาจไม่ได้ผลดีเท่ากับ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร หรือการผ่าตัดใส่บอลลูนเข้าไป ภายในกระเพาะเพื่อขัดขวางพื้นที่ของกระเพาะไม่ให้บรรจุอาหารได้มากดังเดิม แต่ก็เป็นวิธีที่ไม่ต้องเจ็บตัว ไม่ต้องพึ่งมีดหมอในการทำผ่าตัด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือ เราสามารถเลือกลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความภาคภูมิใจในผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของเราเอง



Create Date : 19 มิถุนายน 2555
Last Update : 19 มิถุนายน 2555 20:07:53 น. 0 comments
Counter : 1276 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






Friends' blogs
[Add ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.