space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
17 พฤศจิกายน 2558
space
space
space

"การสร้างสำนักมวย"
"การสร้างสำนักมวย"
โดย เชา หมัดทศพืช
3 กรกฎาคม 2558
.
เจ้าสำนักต้องประกอบด้วยสามคำ คือ
"คุณธรรม ชื่อเสียง และฝีมือ"
.
"คุณธรรม" ย่อมมาก่อนสิ่งอื่น
เราดูได้จากการวางตัวของลูกศิษย์
เรียกว่า "อาจารย์เป็นเช่นไร ลูกศิษย์ก็เป็นเช่นนั้น"
ลูกศิษย์ไม่รู้รักสามัคคี
นั่นเป็นเพราะอาจารย์ไม่สั่งสอน
ลูกศิษย์ดี มันก็ต้องมาจากอาจารย์ดี
.
"ชื่อเสียง" หมายถึงการยอมรับในฝีมือ
ของคนในวงการด้วยกัน
และต้องเป็นคนที่เป็นมวยด้วย
การยอมรับจึงไม่ใช่แค่การออกทีวี
หรือไปแสดงโชว์ตามที่ต่างๆ
หรือลงนิตยสารต่างๆ
เพราะนั่นเป็นกรณีคนนอกวงการที่ไม่รู้เรื่อง
ชื่อเสียงต้องเกิดจากการสั่งสม
พูดได้แสดงได้ หลักการชัดเจน
แสดงมวยไหนก็สาธิตตามหลักการของมวยนั้น
คนที่เป็นมวยสายเดียวกันเมื่อเห็น
ก็จะยอมรับว่าคนนี้เป็นมวยนั้นจริงๆ
ไม่ใช่แค่อาศัยชื่อของมวยนั้น
แต่เอาหลักการอื่นมาใส่แทน
แล้วบอกว่าที่เรียนมาเขาสอนแบบนี้
คนในวงการเห็นก็บอกว่ามั่ว
และไม่สามารถยอมรับได้
.
ชื่อเสียงจึงไม่ใช่แค่เพียงการยกย่องกันเอ
แต่เป็นการยอมรับในระดับวงการ
ชื่อเสียงในสายมวยนั้นต้องเป็นที่ยอมรับ
ในระดับสากลด้วย กล่าวคือ เมื่อสืบสายไป
จะทราบได้ถึงอาจารย์ผู้สอนในลำดับก่อน
ที่สืบสายมาในต่างประเทศได้อีกด้วย
.
ในปัจจุบัน สายมวยหลายสาย ก็กำลังดำเนินการอยู่
.
"ฝีมือ" ต้องถึง ซึ่งหมายถึงการยอมรับ
ฝีมือโดยคนในวงการเดียวกัน
จึงจะเรียกได้ว่ามีฝีมือ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสาธิตมวยออกมา
ต้องแสดงถึงหลักการได้
ไม่ใช่เพียงท่าได้แค่ "เหมือน" เท่านั้น
เรื่องนี้ คนนอกสายวิชาที่ไม่มีความรู้
จะไม่มีทางเข้าใจ
.
ครูที่ไม่เข้าใจสามคำนี้
ก็มักจะเน้นไปข้อใดข้อหนึ่ง
และมักแสดงออกในที่สาธารณะ
ถึงพฤติกรรมบางอย่าง
เช่น กล่าวว่า "สำนักของผม เน้นแต่ฝีมือ
ไม่เน้นจารีตคร่ำครึ"
บ้างก็เน้นแต่เรื่องชื่อเสียงเป็นหลัก
เรื่องฝีมือไม่ได้พูดถึง
บ้างก็ปากอ้างคัมภีร์
แต่ไม่สามารถสอนลูกศิษย์ให้ดีได้
ลูกศิษย์จึงทำตัวเป็นอันธพาล
.
พูดอย่างนี้ บางครั้งก็ต้องไปสืบดูว่า
ทำไมจึงพูดเช่นนั้น สำนักอื่นที่มีมาตรฐาน
ไม่เห็นทำแบบนี้ ... น่าสงสัย
.
"ถ้าเคร่งแต่เรื่องฝีมือเพียงอย่างเดียว
มันก็ไม่ต่างอะไร
จากสัตว์ที่แข็งแรงย่อมเอาชนะผู้อ่อนแอ
หรือไม่รู้บุญคุณของกันและกัน
อย่างนี้ก็ไม่ต่างจากลูกหมาที่ชำเราแม่ของตัวเอง"
.
ถ้าอาจารย์เป็นเสียอย่างนี้
ลูกศิษย์จะเป็นยังไง .... ก็ดูเอาเอง
.
ในวงการมักมีคำพูดหนึ่งที่ทำให้เข้าใจผิดอยู่เสมอ
คือคำว่า "ถึงก่อน นับอาวุโส"
.
คำนี้ถูกนำมาใช้ในการแสดงเรื่องอาวุโส
เช่น เข้าสำนักก่อน ย่อมมีอาวุโสกว่า
รุ่นน้องจึงทำตนข้ามหน้าข้ามตาไม่ได้
.
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด...
.
คำว่า "ถึงก่อน" นี้หมายถึงถึงพร้อมด้วย
"คุณธรรม ชื่อเสียง ฝีมือ"
นั่นหมายความถึง "การเปิดสำนักสอน" ได้นั่นเอง
.
ผมยกตัวอย่างเช่น ในสำนักมีศิษย์ร่วมสำนักอยู่
7 คน แต่ละคนมีฝีมือต่างกันไป
วันหนึ่ง ศิษย์น้องคนสุดท้อง จะขอไปเปิดสำนัก
มันก็ต้องมีกระบวนการทดสอบฝีมือเป็นอันดับแรก
ถ้าฝีมือดี ก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าฝีมือไม่ดี
ก็ต้องซ่อมสร้างกันไป....
.
พอเปิดสำนัก จะมีการเรียนเชิญครูบาอาจารย์
พี่น้องทั้งหลายจะมาร่ามแสดงความยินดี
อันเป็นการ "ยอมรับ" ศิษย์น้องคนนี้ "ถึงก่อน"
ส่วนศิษย์พี่ที่ยังไม่พร้อม ก็ต้องยอมรับว่า
ศิษย์น้องคนนี้ถึงจริง ถึงคราวที่ศิษย์น้อง
ขอความช่วยเหลือ ก็จะช่วยอย่างเต็มใจ
และตามกำลังความสามารถของตน
.
แล้วสำนักที่เปิดนั้นต้องเป็นอย่างไร?
.
คำตอบคือ "มีแท่นบูชา รูปอาจารย์ทั้งหลาย
และมีสถานที่ที่ชัดเจนหรือไม่"
.
สามสิ่งนี้ "บอกความเป็นสำนัก"
.
อาจารย์มวยยุคเก่าท่านหนึ่งเคยกล่าวกับผมว่า
"กังฟูต้องสอนในสำนัก"
ท่านได้อธิบายว่า สำนักแบ่งออกเป็นสามแบบคือ
หนึ่ง "สำนักสืบทอด" ซึ่งเป็นสายตรง
ผู้สืบทอดมีเพียงคนเดียว
ได้รับการเขียนเทียบ ยกน้ำชา มีห้องหับชัดเจน
มีแท่นบูชา และต้องสอนแต่เพียงมวยที่ตนสืบทอด
มาเท่านั้น เช่น เป็นสายตรงสืบทอดปาจี๋สายมุสลิม
ก็จะสอนได้เพียงวิชานี้เท่านั้น ไม่สอนวิชาอื่น
.
สอง "สำนักถ่ายทอด" กล่าวคือ
ไม่ใช่สายสืบทอดโดยตรง
แต่เป็นผู้มีฝีมือในสำนักเดียวกัน
และได้เปิดสำนัก เขียนเทียบ ยกน้ำชา
มีห้องหับชัดเจน แท่นบูชาก็ต้องมีเช่นเดียวกัน
แต่แตกต่างตรงที่ สามารถสอนมวยอื่น
ควบคู่ไปด้วยได้ แต่มวยหลักที่ได่รับถ่ายทอดมา
ก็ต้องสอนโดยไม่ผิดหลักการ
.
สำนักทั้งสองแบบจะเกื้อหนุนกันอยู่
กล่าวคือ ในกรณีที่เกิดปัญหาจะเกิ้อหนุนกัน
เช่น เรื่องการเรียนการสอนในรายละเอียด
บางประการ สำนักสืบทอดมักให้ไปเรียนรู้เพิ่มเติม
กับสำนักถ่ายทอดนี้
.
แบบสุดท้าย "สำนักเลียนแบบ หรือสำนักยูทูป"
สำนักนี้มีองค์ประกอบแตกต่างจากสองสำนักแร
ไม่มีที่สอนแน่นอน หรืออาจมีที่สอนแน่นอน
แต่ไม่สามารถสืบสายได้ว่าตนเรียนมาจากใคร
... เรื่องนี้เคยเขียนเอาไว้มากแล้ว
จึงไม่ขออธิบายเพืิ่มเติม
.
สำนักแบบที่สามไม่รวมไปถึงกรณีอาจารย์ผู้สอน
แบบจิตกุศลที่เน้น "เรื่องสุขภาพ" เป็นหลัก
หรือสอนในแบบอนุรักษ์ที่ต้องการปริมาณ
เพราะนั่นอยู่กันคนละบริบท จึงไม่ขอกล่าวถึง
.
คำถาม "ทำไมสายต่อสู้จึงสอนในที่สาธารณะไม่ได้"
ตอบ "ไม้ตายที่เห็นเพียงครั้งเดียวย่อมไม่ใช่ไม้ตาย"
เพราะมันจะกลายเป็นเรื่องสาธารณะ
.
มวยจีนเราจัดลำดับการสิืบทอดและถ่ายทอด
เอาไว้เป็นอย่างดี
ตามธรรมเนียมต้องมีการให้เกียรติกัน
การให้เกียรติแบบนี้ไม่ได้มีแต่มวยจีน
มวยที่รับเอาวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน
เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ก็จะใช้ธรรมเนียมคล้ายคลึงกันนี้
และจะไม่ไขว้สายมั่ว เช่น
เมื่อกราบสายหนึ่งเป็นอาจารย์ พอไล่สายออกไป
ก็จะมีศักดิ์เป็น อาจารย์อา อาจารย์ลุง
แม้ท่านจะอายุน้อยกว่าศิษย์ หรือเท่ากับศิษย์
ก็ต้องให้เกียรติ อย่างนี้เรียกว่า "การเคารพอาวุโส"
.
ไม่ใช่ชอบพูดแบบเล่นหัว และสนุกไร้ขีดจำกัด
เดี๋ยวเค้าจะหาว่าครูบาอาจารย์ไม่สั่งสอน
- จบ -



Create Date : 17 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2558 9:58:37 น. 0 comments
Counter : 817 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 2731558
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2731558's blog to your web]
space
space
space
space
space