space
space
space
<<
มกราคม 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
4 มกราคม 2559
space
space
space

รวมบทความตอนพิเศษเรื่อง 1) "ธรรมเนียมของการยกน้ำชา ในสายวิชามวยจีน" 2) "เทียบ" 3) "จารีตชาวยุทธ์" ฯ

รวมบทความตอนพิเศษเรื่อง
 1) "ธรรมเนียมของการยกน้ำชา
ในสายวิชามวยจีน"
2) "เทียบ"
3) "จารีตชาวยุทธ์" 
ตอน "สำนักสืบทอด และสำนักเผยแพร่" 
ตอนที่ 1
4) "จารีตชาวยุทธ์"
ตอน "สำนักสืบทอด และสำนักเผยแพร่"
ตอนที่ 2
5) "จารีตชาวยุทธ์" ตอนพิเศษ
"มารยาท และธรรมเนียมการแสดงตัวของชาวยุทธ์"
โดย เชา หมัดทศพืช
4 มกราคม 2559
...................................................
"ธรรมเนียมของการยกน้ำชา
ในสายวิชามวยจีน"
โดย เชา หมัดทศพืช
4 ก.ค. 2558
.
การยกน้ำชาเป็นขั้นตอนที่สำคัญ
ในการรับเข้าเป็น "ศิษย์ใน"
และ "อาจารย์ผู้สืบทอด"
.
การยกน้ำชาแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน
คือ การรับเข้าเป็น "ศิษย์ใน"
และ การเป็น "อาจารย์ผู้สืบทอด"
.
การน้้ำชาในฐานะ "ศิษย์ใน" 
ภายหลังที่ศิษย์คนนั้นเรียนพื้นฐาน
ของสำนักจนครบถ้วน โดยอาจารย์
จะเป็นผู้เรียกให้บรรดาศิษย์พี่ที่เป็นศิษย์ใน
มาประชุมกัน และทำพิธียกน้ำชา 
และเขียนเทียบต่ออาจารย์ 
อาจารย์จะประกาศว่าต่อแต่ไปนี้
คนที่ยกย้ำชาอยู่นี้จะเป็นศิษย์น้องของสำนัก
.
ขั้นตอนที่สองคือ 
การยกน้ำชาในฐานะ "อาจารย์"
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของผู้สืบทอด
ซึ่งจะมีรายละเอียดที่มีมากกว่าขั้นตอนแรก
กล่าวคือ อาจารย์จะเขียนเทียบเชิญบรรดา
"พันธมิตร" ในระดับอาจารย์ในสายมวยเดียวกัน
และสายมวยที่อาจารย์ท่านมีความสนิทชิดเชื้อ
เป็นอย่างดี และบรรดาศิษย์ท่านอื่นมาเป็นสักขีพยาน
เพื่อให้เกิดความรับรู้ว่านับต่อแต่นี้ไป
ศิษย์คนนี้จะเป็นอาจารย์ผู้สืบทอด 
และให้การช่วยเหลือกันยามจำเป็น
.
ขั้นตอนมีดังนี้ คือ ศิษย์ในที่ประสงค์จะเป็นผู้สืบทอด
จะทำการยกน้ำชา และเทียบ 
และ "มอบสิ่งของอื่น" ตามจารีตของสำนัก
ผมขอยกตัวอย่างสิ่งของที่มอยในพิธีของสำนักหนึ่ง
ได้แก่ "กรรไกรขาเดียว" "ผ้าคาดหัวสีแดง"
"เงินจีนโบราณ" และอื่นๆ (ไม่สามารถเปิดเผยได้)
มอบให้แก่อาจารย์ จากนั้น ก็จะเป็นอาจารย์อาวุโส
ท่านอื่นในสำนัก ตามด้วยพันธมิตรอาจารย์ตามลำดับ
เมื่อเสร็จพิธี อาจารย์จะประกาศชื่อว่าต่อแต่นี้ไป
ศิษย์ท่านนี้จะเป็น "อาจารย์ผู้สืบทอด"
.
สุดท้าย สิ่งที่สำคัญที่สุดของขั้นตอนนี้
คืออาจารย์จะมอบของสำคัญอันได้แก่
"ป้ายสำนัก" หรือสิ่งของสำคัญอย่างอื่น
เช่น ป้ายสืบทอด กระบี่สั้นที่รับมาแต่รุ่นแรก
ซึ่งแสดงถึงการมอบภาระ และ 
"ชื่อเสียงของอาจารย์"
ให้อาจารย์ใหม่เป็นผู้ดูแล
.
ธรรมเนียมปฏิบัติแบบนี้ก่อให้เกิดความสามัคคี
ขึ้นในหมู่ศิษย์ และสร้างเครือข่ายระหว่างอาจารย์
คนใหม่กับพันธมิตร เวลาเกิดเรื่องราวก็ยอมกันง่าย
เพราะรู้จักกันก่อนแล้ว
.
ความสามัคคีนี้เป็นแกนหลัก
ของระบบธรรมเนียมแบบยกน้ำชา 
เมื่อยกน้ำชาแล้ว 
อาจารย์คนที่ยกน้ำชาให้จะถือว่า
เป็นอาจารย์คนแรกของสายนั้นๆ 
แม้ว่าศิษย์ที่ยกน้ำชาแล้ว
จะได้มีโอกาสไปเรียนกับอาจารย์ปู่หรืออาจารย์ลุง
ก็ตาม ก็ยังถือว่าเป็นศิษย์ของอาจารย์คนแรก
ตามลำดับสายลงมา
ระบบสำนักจะไม่วุ่นวาย สายจะไม่ไขว้กัน
และไม่เกิดการปีนเกลียวขึ้นในสำนัก
.
ธรรมเนียมการยกน้ำชาจึงเป็นการสร้างระบบ
และเป็นการสร้างความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ
ทำให้ระบบสำนักมีความยั่งยืนกว่าสำนักที่ไม่มีระบบ
- จบ - 
.....................................................................
 "เทียบ"
โดย เชา หมัดทศพืช
6 ก.ค. 2558
.
ดังได้กล่าวไปแล้วในบทความก่อน
การเปิดสำนักมวย คือ "ความรับผิดชอบ"
ในการแบกชื่อเสียงของสายวิชา และอาจารย์รุ่นก่อน
.
การสืบทอดสำนักมวยเป็นการวางแนวทางการสอน
และหลักสูตรของสายวิชานั้นๆ ตามแบบดั้งเดิม
ผู้เป็นเจ้าสำนักจะต้องถึงพร้อมด้วยคุณธรรม 
ชื่อเสียง และฝีมือ
.
แม้สังคมจะเปลี่ยนแปลงไป 
แต่หลักการสืบทอดสำนักมวยไม่เคยเปลี่ยน
.
การสืบทอดสำนักมวย มีหลักอยู่ว่า
"หากไม่ได้รับอนุญาต จะเปิดสำนักไม่ได้"
ซึ่งหมายถึงสอนไม่ได้ 
แม้ว่าจะเป็นการสอนแบบจิตกุศลสาธารณะก็ตาม
.
การเปิดสำนักมวยจะต้องได้รับอนุญาต
จากอาจารย์ของสำนักต้นสังกัด
โดยความรับรู้ของอาจารย์ลุง อาจารย์อา
พันธมิตรของสำนัก และบรรดาพี่น้องร่วมสำนัก
และบุคคลเหล่านี้ต้องยินยอมโดยดุษฎี
จึงจะเปิดสำนักได้
.
รูปแบบของการอนุญาตขึ้นอยู่กับ "เทียบ"
.
เทียบคือการจัดลำดับสายวิชา
และฐานะของคนในสำนัก
.
เทียบจึงแบ่งคนในสำนักออกเป็น 3 ประเภท
ได้แก่ 1. เทียบขึ้นสายมวยเพื่อรับเป็นศิษย์ใน
2. เทียบอนุญาตให้ทำการสอน และ
3. เทียบเปิดสำนัก
.
"1. เทียบขึ้นสายมวยเพื่อรับเป็นศิษย์ใน"
หมายถึง เทียบจัดลำดับเข้าเป็นศิษย์ใน
ซึ่งจะทำให้ฐานะของลูกศิษย์คนนี้
แตกต่างจากศิษย์ทั่วไป ซึ่งในอนาคต 
เขาจะมีโอกาสขึ้นเทียบอนุญาตให้ทำการสอน
.
"2. เทียบอนุญาตให้ทำการสอน"
หมายถึง เทียบประกอบวิชาชีพสอนในฐานะอาจารย์
.
"3. เทียบเปิดสำนัก"
หมายถึง เทียบอนุญาตจากสำนักต้นสังกัด
เพื่อแยกตัวออกมาเปิดสำนักเอง
และมีสิทธิใช้ชื่อสำนักนั้น
รวมไปถึง การเขียนเทียบรับศิษย์ในด้วย
หากสำนักนั้นอยู่ในรูปของสมาคม
เทียบนี้จะเป็นหนังสือแต่งตั้งจากสมาคม
.
เรื่องการขอออกมาเปิดสำนักเป็นเรื่องท้าทาย
อย่างหนึ่งเพราะเป็นการแบกรับเรื่องชื่อเสียงของอาจารย์
ศิษย์ที่ขอออกมาเปิดสำนัก หากมีผู้ใดคลางแคลงใจในฝีมือ
ก็จะทำการทดสอบในพิธีสืบทอดนั้น ซึ่งถ้าไม่มีฝีมือจริง
ก็จะมาเปิดสำนักไม่ได้.
.
- จบ - 
...........................................................
"จารีตชาวยุทธ์" 
ตอน "สำนักสืบทอด และสำนักเผยแพร่" 
ตอนที่ 1
โดย เชา หมัดทศพืช
20 พฤษภาคม 2558
.
เรื่องราวที่จะเล่าดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับจารีต
ของนักวิทยายุทธ์จีนโบราณ
ซึ่งแตกต่างจากจารีตของนักวิทยายุทธ์
ระบบอเมริกัน
.
ระบบอเมริกันคือระบบที่ใครใคร่เรียน
ก็เรียน ทุกคนเสมอภาคกัน
ไม่มีศิษย์พี่ศิษย์น้อง อาจารย์ลุง
อาจารย์อา อย่างในระบบของจีน
.
ระบบอเมริกันวัดกันที่ความสามารถ
และความเก่งมากกว่าการวัดที่ระบบอาวุโส
แบบจีนซึ่งมีการเขียนเทียบยกน้ำชา
จัดลำดับผังการสืบทอดอย่างเป็นระบบ
.
ระบบนี้เรียกว่าใครเก่งก็ตั้งสำนักสอนได้
ครูบาอาจารย์ที่สอนก็วัดกันแค่ที่เรียนมา
จากไหน ใครสอน ศิษย์ของใคร
เวลาตั้งสำนักก็มักตั้งชื่อเอาเอง
อาจตั้งชื่อจากนามสกุล ชื่อสัตว์
ชื่อทีม หรืออะไรก็แล้วแต่
ให้เห็นว่าตนมีเอกลักษณ์แตกต่างจากสำนักอื่น
.
การสอนก็มีลักษณะแบ่งแยกเป็นเอกเทศ
แบบทางใครทางมัน
.
ข้อดี มันก็มีคือมันสามารถพัฒนาผู้ฝึก
ไปจนถึงขีดสุด คนอ่อนแอ 
มักอยู่ในระบบไม่นาน
สุดท้ายก็เลิกเรียนไปในที่สุด
ส่วนตนเก่งก็อยู่ในระบบทำหน้าที่แข่งขัน
หรือสอนต่อไป
.
ข้อเสียคือ ในบรรดาศิษย์มักปีนเกลียวกัน
เพราะไม่มีศิษย์พี่ศิษย์น้อง เรียกพี่ เรียกน้อง
ไม่มีความเกรงใจ ใครอยากไขว้กับใคร
ก็ลงมือ เมื่อพ่ายแพ้แทนที่จะจบเรื่อง
กลับเป็นที่นินทาลับหลัง 
จนกลายเป็นเรื่องบาดหมางในสำนัก
อาจารย์เองก็จัดการไม่ได้
เพราะตนสอนมาในระบบแบบนั้น
ซึ่งก่อปัญหามาตั้งต้น
.
ศิษย์บางคนก็แยกตัวออกไปสอนมวยเอง
หรือไปตั้งสำนักมวยใหม่ใช้ชื่อของตนเอง
มากกว่าที่จะใช้ชื่อของสำนักมวยเดิม
อาจารย์คนเดิม มีฐานะเพียงสอนมวยให้
ความผูกพัน หรือความกตัญญูที่มีต่ออาจารย์
กลายเป็นเรื่องรองลงมา
.
ปัจจุบันพบว่ามีสำนักตั้งขึ้นใหม่มากมาย
และใช้ระบบนี้ ลูกศิษย์อยากเรียนอะไรก็สอนให้
เรียกว่ามีวิชาให้เลือกเหมือนห้างสรรพสินค้า
ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียนและค่าสอน
เป็นสำคัญ
.
ระบบของจีนเป็นอย่างไร?
ผมจะกล่าวในตอนถัดไป
-จบ-
...............................................................
"จารีตชาวยุทธ์"
ตอน "สำนักสืบทอด และสำนักเผยแพร่"
ตอนที่ 2
โดย เชา หมัดทศพืช
21 พฤษภาคม 2558
.
"ระบบจีน" มีความแตกต่างจากระบบอเมริกัน
แตกต่างอย่างไร
.
"ระบบจีน" เป็นระบบที่ยึดถือเรื่องอาวุโสเป็นหลัก
สามารถสืบสายได้ตั้งปรมาจารย์จนไปถึงหลานศิษย์
มีอาจารย์ อาจารย์ลุง อาจารย์อา อาจารย์ป้า
ลูกศิษย์ ศิษย์พี่ ศิษย์น้อง หลานศิษย์ฯ
และแบ่งออกเป็น "ผู้สืบทอด" และ "ผู้เผยแพร่"
อย่างชัดเจน
.
ตัวอย่าง ในมวยไท่จี๋ตระกูลหยางตระกูลหยาง
ผู้สืบทอดมวยตระกูลนี้ ได้แก่ อาจารย์ "หยางเฉิงฝู"
ที่ได้รับการยอมรับในฝีมือจากศิษย์พี่ศิษย์น้อง 
อาจารย์ลุง อาจารย์อา สายนี้นับเป็น "สายหลัก"
คือ ต้องสอนแต่เพียงมวยเส้นสืบทอดแต่เพียงอย่างเดียว
.
ส่วน "สายรอง" หมายถึงสายทีไม่ได้รับรองว่าเป็นผู้สืบทอด
แต่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ถ่ายทอดได้
เช่น สายอาจารย์หยางเส้าโหว
สายรองนี้ไม่ใช่ว่าใครก็จะเป็นผู้ถ่ายทอดได้
สายนี้จะได้ต้องได้รับการยอมรับจากบรรดาอาจารย์
และศิษย์พี่ศิษย์น้องเช่นเดียวกับสำนักสืบทอด
จึงจะมีสิทธิเป็นผู้ถ่ายทอดได้เช่นเดียวกัน
.
ถ้าไม่ได้รับ "การรับรอง" จะไปสอนไม่ได้
และจะกลายเป็นสำนักเถื่อน
.
ผมขอยกตัวอย่างสำนักมวยไท่จี๋ในเมืองไทย
ที่มีการจัดลำดับ "สายหลัก" และ "สายรอง "อย่างชัดเจน
สามารถอ้างอิงได้ สืบสายได้
เพราะได้เขียนเทียบยกน้ำชาตั้งสายได้
นั่นคือ มวยไท่จี๋สายอาจารย์ "โค้วเปียฮะ"
หรืออาจารย์โค้ววัดเกาะ
.
อาจารย์โค้วเป็นศิษย์ใน
ท่านเป็นศิษย์มวยไท่จี๋ตระกูลหยางสองสาย
คือ สาย "เจิ้งหม่านชิง" และสาย "ต่งอิงเจี๋ย"
อาจารย์โค้วเรียนมวยไท่จี๋สกุลต่งมาจาก 
อาจารย์ "ต่งฮู่หลิง" ลูกชายของอาจารย์ "ต่งอิงเจี๋ย"
ซึงเรียนมาจากอาจารย์หยางเผิงฟู่
ส่วนสายเจิ่งหม่านชิง ท่านเรียนมาจาก
อาจารย์ "ยัพสิวเติ่ง" ลูกศิษย์ของอาจารย์ "เจิ้งหม่านชิง"
ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์หยางเผิงฟู่
.
ศิษย์พี่ร่วมสำนักสายเจิ่งหมั่นชิงของอาจารย์โค้วได้แก่
อาจารย์ "จ๊อกสีกิ่ม" และอาจารย์ "ฮอกกี่เต็ก"
.
มวยไท่จี๋ของอาจารย์โค้วเน้นการผลักมือแบบดุดัน
เพราะต้องเข้าใจว่าก่อนอาจารย์โค้วมาเรียนมวยไท่เก็ก
ท่านได้เรียนมวยตั๊กแตนใต้มาก่อนจากอาจารย์ "แบ๊เง็กปอ"
.
อาจารย์โค้วเมื่อวัยหนุ่มขึ้นชื่อว่าเป็นคนใจนักเลง
ชอบพิสูจน์ และเข้าหาอาจารย์เพื่อศึกษาเล่าเรียนเสมอ
แต่เมื่อตอนวัยฉกรรจ์ได้มีเรื่องวิวาทต่อสู้กับหมู่นักเลง
และกระโดดลงจากรถรางได้รับบาดเจ็บที่ขาข้างหนึ่ง
หลายเดือนถัดมา แผลเน่าเนื่องจากรักษาขาไม่ดีจึงต้องตัดขา
ท่านต้องใส่ขาปลอมหนึ่งข้าง เมื่อท่านรำมวยไท่จี๋
ท่านต้องรักษาสมดุลของท่าที่ยืน ทำให้ไม่อาจยืนทิ้งน้ำหนัก
ทั้งสองขาได้ ท่านจึงต้องปรับปรุงการก้าวเท้า
และท่ายืนให้เหมาะสมกับท่าน จนกลายเป็นเอกลักษณ์
ของมวยไท่จี๋สายอาจารย์โค้ว 
.
ฝีมือผลักมือของอาจารย์โค้วร้ายกาจมาก
และเป็นคนจริง จนเป็นที่มาของฉายา "เป๋โค้ว"
สมัยนั้น ในกรุงเทพ วงการมวยจีนจะทราบดีว่า
มีอาจารย์สอนมวยจีนที่มีขาพิการ 
แต่ฝืมือร้ายกาจอยู่สองท่าน คือ "เป๋หลี่" 
หรืออาจารย์หลี่ซินแซแห่งเฮอลี่ฉวน 
และอาจารย์ "เป๋โค้ว" หรืออาจารย์ โค้วเปียฮะ
สอนมวยไท่จี๋
.
มวยไท่จี๋สายอาจารย์โค้ว
ผู้สืบทอดได้แก่ "อาจารย์พูน อมรนนท์ฤทธิ์" (รูปที่สอง)
อาจารย์พูนเป็นผู้สืบทอดทางสายเลือดจากอาจารย์โค้ว 
และผู้ถ่ายทอด ได้แก่ "อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย" 
ผู้เป็นสายศิษย์ที่ยกน้ำชา
.
ณ วันนี้เป็นที่ยอมรับว่า มวยไท่จี๋สายจากอาจารย์โค้ว
มีผู้สืบทอด และผู้ถ่ายทอดเพียงสองท่านนี้
.
ในตอนต่อไปจะได้กล่าวถึง
"พิธีสืบทอด" และ "การตั้งสำนัก"
-จบ-
.......................................................................
"จารีตชาวยุทธ์" ตอนพิเศษ
"มารยาท และธรรมเนียมการแสดงตัวของชาวยุทธ์"
โดย เชา หมัดทศพืช
22 พฤษภาคม 2558
.
"จารีต" หมายถึง แบบแผนการประพฤติปฏิบัติ
ที่กระทำสืบต่อกันมาช้านาน 
มักถือเป็นกฎ หรือระเบียบของสังคมที่เกี่ยวกับศีลธรรม
ใครไม่ทำตามจารีตจะถือว่าเป็นคนชั่ว
.
"มารยาท" หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย 
ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน 
อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
.
"ธรรมเนียม" หมายถึง ประเพณี แบบแผน แบบอย่าง
.
ชาวยุทธ์โดยเฉพาะมวยจีน
มีจารีต มารยาท และธรรมเนียมสืบต่อกันมาอยู่ข้อหนี่ง
นั้นคือ "การแสดงตัว" ต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์
หรือศิษย์ร่วมสำนักหรือไม่ก็ตาม
.
การแสดงตัวนี้ คือ การประกาศตัวว่าเป็นใคร
เรียนมวยจากใครมา และสืบสายจากใคร
เป็นผู้สืบทอด หรือผู้ถ่ายทอด
เมื่อมีการสาธิตวิชาในที่สาธารณะ 
ผู้สาธิตต้องประกาศชื่อตัว ชื่ออาจารย์
ชื่อสำนัก เป็นต้น
.
หากไม่ประกาศตัวเอง ก็จะให้โฆษกเป็นผู้ประกาศ
หรือแม้แต่การได้เจอเพื่อชาวยุทธ์ด้วยกัน
ก็ควรจะประกาศตัวได้เมื่อมีการสอบถามว่า
เรียนมวยนี้มาจากใคร สืบสายมาจากอาจารย์ท่านใด
ยิ่งถ้าเป็นสายเดียวกันยิ่งต้องทำ
.
"ยิ่งมีฐานะเป็นอาจารย์ผู้สอน ต้องยิ่งประกาศ"
.
ทำไมต้องแสดงตัว?
.
เพราะเป็นการตรวจสอบในเบื้องต้นว่า
ได้ร่ำเรียนมาจริงหรือไม่ เป็นศิษย์ใน หรือศิษย์นอก
หากเป็นศิษย์ในจะต้องเขียนเทียบได้ เพราะมีสิทธิ
ไล่สายว่าตนเองได้ร่ำเรียน และเป็นศิษย์ในที่ถูกต้อง
ได้รับการถ่ายทอดวิชาที่เกิดจากการเขียนเทียบ
ยกน้ำชา ตั้งสาย
แต่หากเป็นศิษย์นอก 
ด้วยมารยาทก็ต้องประกาศตัวเช่นเดียวกัน
.
การเขียนเทียบ คือ การจัดลำดับการสืบสาย
การยกย้ำชา คือ การยอมรับเข้าเป็นศิษย์ใน
การตั้งสาย คือ การยอมรับว่านับแต่นี้ต่อไป
คนนี้มีสิทธิเป็นผู้สืบทอด หรือเป็นผู้ถ่ายทอด
ในอนาคต
.
ตัวอย่างสองรูปข้างล่างนี้ 
"รูปแรก" เป็นสายของอาจารย์ Dennis Rovere
ซึ่งเขียนหนังสือชื่อ "The Xingyi Quan of the Chinese Army
: Huang Bo Nien's Xingyi Fist and Weapon Instruction"
"รูปที่สอง" คือ สายของอาจารย์ "Allen Pittman" 
ผู้เขียน "Chinese Internal Boxing: Techniques 
of Hsing-I & Pa-Kua"
.
จะเห็นได้ว่า การเขียนลำดับการสืบสายเช่นนี้
เป็นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ในหนังสือทั้งสองเล่มมีการพูดถึงว่าได้เรียนมวยนี้มาจากใคร
มีการประกาศชื่ออาจารย์ที่สอนอย่างชัดเจน
ซึ่งหากผู้ใดสงสัยก็สามารถตรวจสอบไปยังต้นสังกัด 
หรือสายตรงในวิชาดังกล่าวได้
.
"ไม่มีการเขียนกำกวม 
หรือเขียนอุปมาให้เดากันเองว่าเป็นใคร"
.
ในหนังสือมวยสิ่งอี้ภาคภาษาอังกฤษที่เก่ากว่านั้น 
และถือว่าเป็นหนังสืมวยสิ่งอี้เล่มแรกที่เผยแพร่ไปสู่ตะวันตก
คือ "Hsing-I: Chinese Mind-Body Boxing" (รูปที่สาม)
ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ "Robert W. Smith" (รูปที่สาม) 
แม้จะไม่มีการไล่สายแต่ก็ได้เขียนถึงว่าอาจารย์ "หยวนเต้า" 
(Yuan Tao) (คนเดียวกับที่แสดงท่าเปิงฉวนที่หน้าปก)
ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนมวยสิ่งอี้ให้กับอาจารย์ "Robert W. Smith"
อีกด้วย
.
เหตุที่ประกาศ ส่วนหนึ่งก็เพื่อการตรวจสอบ
อีกส่วนหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญกว่าส่วนแรก
นั่นคือ "การให้เกียรติ" ครูบาอาจารย์ที่สั่งสอน
เพราะยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยของความรู้
ที่ "เปิดเผย ยกย่อง และให้เกียรติองค์ความรู้"
ของครูบาอาจารย์ได้กรุณาถ่ายทอดให้
และยุคนี้ไม่ใช่ยุคกบฏนักมวยที่ต้องปกปิดชื่อแซ่
เพื่อหลบหนีการตามล่าของทางการ
.
ปัจจุบัน แม้แต่มวยสายกบฏเอง
ก็เปิดเผยชื่อครูบาอาจารย์ 
และให้เกียรติยกย่องบรมครูผู้สั่งสอนมา
.
ว่าแต่คุณเรียนมวยมาจากใคร?
.
-จบ-




 

Create Date : 04 มกราคม 2559
0 comments
Last Update : 4 มกราคม 2559 13:28:21 น.
Counter : 2747 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 2731558
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2731558's blog to your web]
space
space
space
space
space