<<
พฤศจิกายน 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
8 พฤศจิกายน 2559

เทอร์โบชาร์จเจอร์ TURBOCHARGER คืออะไรในรถยนต์



 วันนี้จะขอพูดถึงอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่หลายคนคงรู้จักนั้นก็คือ เทอร์โบชาร์จเจอร์ (Turbocharger) สำหรับคนที่ชอบความแรงคุ้นเคยกันดีสำหรับเจ้าตัวนี้ ก่อนอื่นขอเล่าประวิติความเป็นมากันซะหน่อย

ความเป็นมาของเทอร์โบ หลังจากที่ได้มีการประประดิษฐ์เครื่องยนต์สันดาปภายในขึ้นมา เป็นช่วงต้นปี 1885 และปี 1896 เดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) และ รูดอล์ฟดีเซล (Rudolf Diesel) ได้หาทางเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องยนต์และประหยัดการใช้น้ำมันลงด้วย โดยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ คนที่ประสพความสำเร็จในการพัฒนา ด้วยการใช้ไอเสียในการเพิ่มการอัดอากาศ เป็นวิศวกรชาวสวิส Alfred Büchi สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้กว่า 40 % และนี่เป็นการเริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์

เทอร์โบยุคแรกถูกนำมาใช้กับดครื่องยนต์ขนาดใหญ่เช่น เครื่องยนต์ทางทะเล ส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มใช้กับรถบรรทุกในปี 1938 เทอร์โบนั้นได้รับความนิยมมากในช่วงยุค 70 หลังจากที่มันถูกนำไปใช้ในการแข่ง Formula 1

แล้วทีนี้เจ้าเทอร์โบมันมีหลักการทำงานอย่างไร หลักการไม่ยากโดยตัวเทอร์โบรูปร่างหน้าตาเหมือนหอยโข่งหรือปั๊มน้ำแต่มันมีโข่งสองด้าน

-ด้านหนึ่งเป็นด้านเทอร์ไบ (turbine) มองด้วยตาจะเป็นด้านสีดำด้านนี้จะเป็นด้านที่ต่อเข้าไอเสียที่ออกมาจากห้องเผาไหม้ แล้วเป็นตัวสร้างแรงบิดที่เกิดจากการไหลผ่านของไอเสียที่ประทะเข้ากับชุดเทอร์ไบ ส่งกำลังที่ได้ผ่านแกนเทอร์โบที่จะต่อไปยัง
-คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ด้านนี้จะเป็นตัวปั่นอาการเข้าไปในห้องเผาไหม้ด้วยแรงดัน เรียกง่ายๆว่ายัดอาการเข้าไปเลย นึกไม่ออกลองนึกถึงตอนกินข้าวเราตักกินเองเราค่อยๆตักใส่ปากทีละคำ แต่อยู่ๆวันดีคืนดีก็มีคนมาป้อนเข้าใส่ปากเราแบบใส่เอาๆให้เต็มปากเต็มคำและเร็วด้วย

แต่สำหรับเครื่องยนต์การอัดอากาศเข้าไปเป็นการเพิ่มปริมาณอากาศที่ช่วยให้การเผาไหม้ดีขึ้นหัวฉีดจ่ายน้ำมันปริมาณที่เหมาะสมทำให้เราได้แรงม้าเพิ่มขึ้นได้

นี่คือรอบการทำงานของเทอร์โบ หลังจากได้ไอเสียที่มีแรงดันและความร้อนมาปันกังหันเทอร์ไบน์แล้วนั้นด้านสีดำก็จะมีความร้อนสูงขึ้นด้วย แล้วเนื่องจากด้านคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ติดกันข้างๆย่อมได้รับการถ่ายความร้อนนั้นด้วยเป็นผลทำให้อากาศดีที่ไหลผ่านนั้นเกิดความร้อนสูงขึ้นด้วย นั้นจึงทำให้อากาศขยายตัวทำให้ประสิทธิภาพของอากาศที่จะทำการเผาไหม้ลดลง เราจึงต้องมีตัวลดอุณหภูมิอากาศที่เรียกว่า อินเตอร์คูลเลอร์  (Intercooler) แล้วจึงเข้าไปในห้องเผาไหม้ต่อไป
ที่มา : https://thaioverdrive.blogspot.com



Create Date : 08 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2559 18:07:16 น. 0 comments
Counter : 1364 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

EDM
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีเพื่อนๆที่มาเยี่ยมชมครับ
ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบศึกษาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ แม้สิ่งนั้นจะไม่รู้มาก่อนแต่ต้องใช้สติในการเรียนรู้ เพราะโอกาสมีทุกๆที่ๆเราไปไม่ว่าสิ่งนั้นจะดูไม่น่าสนใจก็ตาม เพราะอย่างน้อยเราจะได้รู้และเข้าใจสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นนะครับ
"ปัญหาไม่ใช่ปัญหาถ้าตัวเราไม่เป็นปัญหาเสียเอง"




[Add EDM's blog to your web]