<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
24 กันยายน 2557

การทำงานของแม่ปั๊มเบรค

 สวัสดีครับ วันนี้ลองมาดูการทำงานของระบบเบรคกัน โดยเฉพาะแม่ปั๊มเบรคว่ามันทำงานยังไง ซึ่งก็เป็นหลักการง่ายๆไม่ได้ซับซ้อนอะไร ที่เขียนบทความนี้ก็ไม่ให้จะให้ข้อมูลวิชาการอะไรมากเท่าไหร่ แต่จะเอาแบง่ายๆพอเข้าใจ เพื่อที่ว่าคนไม่มีความรู้เรื่องรถเลยอ่านแล้วพอจะเข้าใจได้บ้าง



เผื่อเวลาเอารถไปซ่อมในเรื่องของเบรค จะได้พอนึกภาพออกเวลาที่ช่างอธิบายว่าจะทำอะไรกับรถของเราบ้างครับ ก่อนอื่นมาดูหน้าตาของแม่ปั๊มเบรคกันก่อนว่าหน้าตาประมาณไหน ตามรูปเลยครับ มีกระป๋องน้ำมันเบรคอยู่ด้านบนส่วนด้านล่างเป็นโลหะสีขาวๆเป็นชุดไฮโดรลิคที่เรียกว่าชุดแม่ปั๊มเบรค

แม่ปั๊มเบรคเป็นชุดไฮโครลิคที่ถูกนำมาใช้กับรถยนต์ ที่เห็นได้ชัดๆก็คือเบรค เพราะเบรคทุกคนต้องรู้จักแน่นอนทุกคนที่ขับรถเป็นต้องเคยใช้แน่นอน นั้นเพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชลอความเร็วหรือหยุดรถของเรานั่นเอง ส่วนหน้าตาและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบเป็นระบบเบรคนั้น มีหน้าตาอย่างไรและมันอยู่ตรงไหนเราลองมาดูกันครับ

แม่ปั๊มเบรคมีกันอยู่สองแบบ

1.แบบแม่ปั๊มเดี่ยว (single) แม่ปั๊มเดี่ยวตัวก็จะสั้นๆมีชุดลูกสูบแค่ชุดเดียวเมื่อเวลาเราเหยียบเบรค ลูกสูบก็จะไปดันน้ำมันให้ไปผลักชุดสูกสูบของเบรคแต่ละล้อให้ทำงาน ผ้าเบรคก็จะจับพร้อมกันหนักเบาอยู่ที่น้ำหนักที่เรากดลงไปด้วย แต่ระบบแบบนี้ปัจจุบัญแทบจะไม่เห็นเลยเพราะข้อด้อย คือถ้าเมื่อไหร่ระบบมีการรั่วเบรคก็จะไม่ทำงานทั้งสี่ล้อคือเบรคหายไปเลย มันจึงไม่ค่อยปลอดภัยในการนำมาใช้งาน

2.แม่ปั๊มแบบคู่ (double) แบบนี้มีการทำงานแยกออกจากกันเป็นอิสระต่อกันเป็นสองวงจรแยกชัดเจน จะว่าทำมาเพื่อแก้ปัญหาของแบบเดี่ยวเลยก็ว่าได้ คือเมื่อระบบมีการรั่วระบบนึงทำงานไม่ได้แต่อีกระบบนึงยังคงสามารถทำงานได้อยู่ เราก็จะยังมีโอกาสที่จะหยุดรถได้ จึงเพิ่มความปลอดภัยให้ขับผู้ขับขี่มากขึ้นนั่นเอง แบบนี้จึงเป็นแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายจนปัจจุบัน

ทีนี้พอรู้จักแม่ปั๊มเบรคแล้วเราก็มาทำความรู้จักเบรคกัน เบรคก็มีด้วยกันสองแบบ

-แบบแรกเป็นดิสเบรค ดิสเบรคน่าจะเป็นที่รู้จักกันดีเพราะรถส่วนใหญ่จะมองเห็นเจ้าดิสเบรคได้ชัดเจนจากล้อคู่หน้า ยิ่งถ้าใส่แม๊กแต่งหน่อยก็จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าหน้าตาหล่อเพียงใด การทำงานก็ไม่มีอะไรซับซ้อนเพราะเมื่อเราเหยียบเบรค น้ำมันจากแม่ปั๊มก็จะมาดันลูกสูบให้ไปกดผ้าเบรคด้านที่ติดกับลูกสูบ ไปชนจานดิสด้านหนึ่งทางฝั่งลูกสูบส่วนผ้าอีกฝั่งหนึ่งจะถูกคาร์ริปเปอร์กด ทำให้ผ้าเบรคทั้งสองบีบเข้าหากันแล้วกดจานเบรคเกิดความฝืดและความร้อน ล้อก็จะหยุดหมุน

-แบบที่สองเป็นดรัมเบรค อันนี้จะมองเห็นแค่เห็กกลมๆถ้าใครไม่รู้จักก็จะไม่รู้ว่ามันคืออะไร หลักการก็จะใช้วิธีดันลูกสูบที่อยู่ตรงกลางมีแกนต่อไปชนกับผ้าเบรคทั้งสองข้าง ถ่างออกพร้อมๆกันผ้าเบรคก็จะถูกดันให้ไปผลักกับขอบดรัม เกิดความฝืดและความร้อนล้อก็จะหยุดลงได้เช่นกัน

ที่มา://thaioverdrive.blogspot.com/2014/09/blog-post.html



Create Date : 24 กันยายน 2557
Last Update : 24 กันยายน 2557 22:34:36 น. 0 comments
Counter : 1720 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

EDM
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีเพื่อนๆที่มาเยี่ยมชมครับ
ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบศึกษาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ แม้สิ่งนั้นจะไม่รู้มาก่อนแต่ต้องใช้สติในการเรียนรู้ เพราะโอกาสมีทุกๆที่ๆเราไปไม่ว่าสิ่งนั้นจะดูไม่น่าสนใจก็ตาม เพราะอย่างน้อยเราจะได้รู้และเข้าใจสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นนะครับ
"ปัญหาไม่ใช่ปัญหาถ้าตัวเราไม่เป็นปัญหาเสียเอง"




[Add EDM's blog to your web]