" The man who does not read a good books has no advantage over the man who can't read them. " -- Mark Twain
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
18 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
++++ ทุนนิยมที่มีหัวใจ : ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ห่วงใยสังคม ++++


ทุนนิยมที่มีหัวใจ : ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา
ผู้เขียน สฤณี อาชวานันทกุล openbook


ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังดิ่งลงเหวมากที่สุดในรอบหลายๆๆๆปี รวมไปถึงสถานการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในเรื่องของ Global Warming ระบบทุนนิยมเสรีกระแสหลัก ที่ตะโกนเสนอจุดขายความเท่าเทียม ลดการแทรกแซงและการผูกขาด แต่กลับเป็นระบบที่เข้าไปสร้างการผูกขาดโดยบริษัททุนซะเอง หรือแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มองว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็น externalities เป็นผลกระทบภายนอก ที่ไม่ต้องไปควบคุม หรือรับผิดชอบมัน ก็กลับสร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติอย่างมิอาจประเมินค่าได้ ทำให้ผู้คนเริ่มกลับมาตั้งคำถามต่อระบบที่ใช้กันอยู่ว่า "มันใช้ได้ หรือเหมาะสมจริงหรือ?"

มีนักคิดหลายคนที่เห็นว่า สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้มันไม่ได้นำโลกเราไปสู่หนทางที่ดีแน่ๆ แต่ครั้นจะให้กลับไปยึดตามหลักสังคมนิยมก็เห็นจะไม่เข้าท่า จึงมีการเสนอโมเดลแนวคิดที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น อุดมคติ ขึ้นมา คือ ยังคงยึดตามระบอบทุนนิยมอยู่ แต่ก็ต้องใส่ใจสังคม สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม และพวกเขาก็พยายามจะพิสูจน์ให้เห็นด้วยการลงมือทำให้สังคมได้ประจักษ์

ในสังคมโลกาภิวัตน์ที่สนามการค้าเปิดกว้างอย่างเสรี ในแบบที่เรียกว่า “ มือใครยาว สาวได้สาวเอา “ นั้น ระบบตลาดไม่ได้สร้างหรือรับประกัน “ ความเป็นธรรมในสังคม “ ให้เกิดขึ้นได้ แต่กลับยิ่งถ่างช่องว่างทางชนชั้นให้ขยายกว้างออกไปทุกขณะ กลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยที่สุดเพียง 30% กลับมีรายได้รวมกันมากกว่า 70% ของรายได้ประชาชาติ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่กลุ่มคนที่เหลืออีกกว่า 70% ที่มีรายได้รวมกันไม่ถึง 30% จะรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้คนกลุ่มแรกที่ส่วนใหญ่จะทำธุรกิจให้มี “ ความรับผิดชอบต่อสังคม “ คืนกำไรสู่สังคมให้มากขึ้น

ส่วนตัวผมค่อนข้างที่จะคลุกคลีกับเรื่องของ CSR มากเป็นพิเศษ ได้เห็นมุมมองที่หลากหลายในการนิยาม CSR ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะสับสนเข้าใจไปว่า เหมือนกับการทำ PR แต่จริงๆแล้ว PR เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของการทำ CSR เท่านั้น

การทำ CSR ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “ ความรับผิดชอบต่อสังคม “ (Social Responsibility) ดังนั้นจึงหมายถึง ความรับผิดชอบของบริษัทต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆทั้ง Stakeholders ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม ผู้บริโภค รัฐ ชุมชน Supplier พนักงาน รวมไปถึงผู้ถือหุ้นของบริษัทเองด้วย แต่ด้วยความที่เป็นSubjective วัดได้ยาก อีกทั้งแนวคิดนี้ยังฉาบไปด้วยมายาคติที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงอีกเช่น การคิดว่าเป้าหมายของ CSR คือทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น หรือ CSR ที่ดีต้องทำอย่างรอบด้านที่สุด ดังนั้น CSR จึงมักถูกนำไปใช้แบบมักง่าย เพื่อเป็นเครื่องมือในกลยุทธ์การโฆษณา และประชาสัมพันธ์ของบริษัท

ในความเข้าใจของผม การทำ CSR ที่แท้ก็คือ การจัดการ”ความไม่รับผิดชอบ” ในการทำธุรกิจของตนเองก่อน แล้วจึงค่อยต่อยอด ด้วยการ”ทำกิจกรรมเพื่อสังคม” CSR ควรสะท้อนอยู่ในเป้าหมายของการทำธุรกิจและกลยุทธ์ของบริษัท ไม่ใช่แค่กิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับกระบวนการทำธุรกิจ เพราะถ้าอย่างนั้นเรียกว่าการทำประชาสัมพันธ์ (PR) ความจริงผมอยากจะเรียกว่า การทำโฆษณาชวนเชื่อ(Propaganda)มากกว่า (อย่าสับสน มันคนละเรื่องกันครับ) เช่น กรณีบริษัทยาข้ามชาติ ABBOTT ที่ผลักดัน CSR เป็นนโยบายหลักของบริษัท และประกาศจะลดราคายาต้านไวรัสHIV ตัวหนึ่งให้เหลือเพียง 10% สำหรับประเทศในทวีปแอฟริกา แต่ปรากฏว่า ยาเหล่านั้นไม่เคยถูกส่งไป หรือไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่สามารถออกสู่ตลาดได้ อย่างนี้จะเรียกว่าบริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างไร?...

ต้องอย่าลืมว่า CSR คือ คำมั่นสัญญา(Commitment)ของบริษัทเองที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และต้องทำอย่างต่อเนื่อง จนเป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน (Normal Practice) กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

ต่อไปการทำ CSR จะไม่ได้เกิดขึ้นโดยการคิดกันเองของคนกลุ่มหนึ่ง ของนักการตลาด หรือนักธุรกิจชั้นเซียนเพียงไม่กี่คน แต่จะต้องเกิดจากการร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ การเงิน รวมไปถึง NGOs ในหนังสือได้บอกว่ามีแนวคิดหนึ่งที่เรียกว่า Triple Bottom Line เป็นกลไกที่จะผลักดันให้ CSR เกิดขึ้น โดยบอกว่าบริษัทควรจะทำงานเพื่อผลประโยชน์ของ 3P คือ People, Planet and Profit ซึ่งแต่เดิมบริษัทมักจะทำเพื่อ Profit อย่างเดียว แต่ต่อไปจะต้องคิดถึง People กับ Planetด้วย

ดังนั้นประเด็นของ CSR จึงไม่ได้อยู่ที่ว่า “ ควร หรือ ไม่ควรทำ “ เพราะตามหลักการ ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นเรื่องดีที่ควรทำอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า วิธีการ รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากสิ่งที่ได้ทำลงไปนั้นจะนำไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ได้อย่างไรมากกว่า เช่น ถ้าทำไปแล้วชาวบ้านในชุมชนต้องเดือดร้อนถูกไล่ที่ วิถีชีวิตดั้งเดิมสูญหาย อยู่แบบตายผ่อนส่ง หรือถ้าทำแล้วส่งผลกระทบต่อนักลงทุน ผู้ถือหุ้นขายหุ้นทิ้ง ทำให้บริษัทประสบกับภาวะทางด้านการเงิน ต้องไล่พนักงานออก แบบนี้จะเรียกว่า “ มีความรับผิดชอบต่อสังคม “ ได้หรือ?..

อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ ในส่วนของ “ตลาดการลงทุนเพื่อสังคม” (Social Investment Market) ที่เป็นธุรกิจเพื่อสังคมซึ่งไม่ได้คาดหวังผลกำไรสูงสุด เพื่อรองรับผู้ประกอบการเพื่อสังคม(Social Entrepreneurs) เช่น ธนาคารกรามีน (คล้ายๆกับธกส.บ้านเรา) ที่เป็นธนาคารเพื่อคนยากจน ซึ่งเป็นคนส่วนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ก่อตั้งขึ้นโดย Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (รายระเอียดของธนาคาร หาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “ Banker to the Poor “)

รวมไปถึงเรื่องของ การลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsible Investing : SRI) หลักการก็คือกองทุนนี้จะเข้าไปลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจตามเกณฑ์ที่กองทุนนั้นๆตั้งไว้ เช่น ต้องมีรายได้จากแอลกอฮอล์ไม่เกิน 10% จากกิจการทั้งหมด ไม่เกี่ยวข้องกับการพนัน ไม่ทดลองกับสัตว์ มีสินค้าหรือบริการที่เป็นประโยชน์กับสังคมหรือไม่ เรื่องของสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ แล้วแต่จะกำหนด ซึ่งตอนนี้มีกองทุนที่เลือกลงทุนลักษณะนี้(SRI Funds) ประมาณ 3ล้านล้านเหรียญ และมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 15 - 25%ต่อปี ถือว่าสูงทีเดียว...ผมว่าเรื่องนี้ยังมีคนพูดถึงกันน้อยมาก

เรื่องของปัญหา GDPก็น่าสนใจ การที่เรามัวแต่สนใจตัวเลข GDP ซึ่งก็มีหลายคนพูดกันมานานแล้วว่า ไม่ได้สะท้อนถึงเศรษฐกิจความอยู่ดีมีสุขของคนในประเทศอย่างแท้จริง โดยควรที่จะใช้ตัวเลขดัชนีวัดความก้าวหน้าที่แท้จริง Genuine Progress Indicator : GPI แทน เพราะ GPI สามารถเอาตัวแปรที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมอื่นๆ นอกเหนือจากรายได้ มาหักออกจาก GDP ปกติได้ เช่นปัญหามลพิษ หรือปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น

ในหนังสือยังมีหัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจอีกมาก เช่น เรื่องของ Creative Commons ที่เกิดจากการไม่พอใจเรื่องของระบบลิขสิทธิ์ ที่ไปปิดกั้นไม่ให้เกิดการคิดต่อยอด เรื่องของ หลากหลายนิยม Cosmopolitanism แนวคิดที่ยอมรับความแตกต่าง โดยพยายามที่จะเชื่อมความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม เคารพความหลากหลาย กรณีศึกษาของบริษัท DualCurrency System ที่คิดระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใหม่ จากอุปสงค์ส่วนเกิน หรือแม้กระทั่งเรื่องการล้มละลายของ Enron ที่เป็นอุทาหรณ์ถึงการขาดความรับผิดชอบ และการกำกับได้เป็นอย่างดี ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ...

เมื่ออ่านจบ ผมเชื่อเหมือนๆกับที่บิล เกตส์บอกไว้ว่า คนสมัยนี้ไม่ได้มีน้ำใจน้อยลง หรือเห็นแก่ตัวมากขึ้น เพียงแต่โลกเรามันซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้มีสิ่งกีดขวางไม่ให้คนเหล่านั้นแสดงความห่วงใยออกมา เช่นเวลาเราเห็นข่าวคนอดตาย การฆ่าสัตว์ใหญ่ที่ใกล้จะสูญพันธ์ต่างๆ หรือหมีโคอาล่าไม่มีที่พักระหว่างอพยพ เพราะแผ่นนำแข็งละลายหมด เหล่านี้ไม่ใช่เราไม่เสียใจ เราสงสาร แต่เราไม่รู้จะแก้ปัญหานั้นอย่างไร เรามองว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่เกินไป ต้องพึ่งองค์กรใหญ่ๆระดับโลก เช่น WWF ,Greenpeace ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่ เพราะหากคนตัวเล็กๆหลายคนมารวมตัวกันก็เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่ก็ต้องดูว่าเราสามารถช่วยด้านไหนได้บ้าง ตามความถนัดของแต่ละคน

เหมือนหนังสือเล่มนี้พยายามจะบอกกับเราว่า อย่าอายที่จะคิดถึงสิ่งที่ดีกว่า อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนแปลง ดังคำกล่าวของ Margaret Mead ที่ย้ำให้เราเชื่อมั่นอีกครั้งว่า "อย่ากังขาว่าพลเมืองกลุ่มเล็กๆ ผู้มีความคิดและความทุ่มเทจะเปลี่ยนแปลงโลกไม่ได้ อันที่จริงมันคือสิ่งเดียวที่เคยเปลี่ยนแปลงโลกเราตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน"



ปล. เมื่อคืนพยายามข่มตานอน ยังไงก็นอนไม่หลับ เลยไปหยิบ Cinema Paradiso ขึ้นมาดูเป็นรอบที่ล้านแปด ทำนอง Score ของ Ennio Morricone ยังคงส่งผลกระทบทำปฎิกิริยากับต่อมน้ำตาของผมอยู่เช่นเคย


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2551 10:51:44 น. 8 comments
Counter : 1533 Pageviews.

 
แทบทุกอย่างมีผลกระทบมาจากคนทั้งสิ้น


โดย: p_tham วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:8:49:15 น.  

 
ช่างบังเอิญเปนอย่างยิ่ง ที่อัพblogวันนี้มีพูดถึงเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งพาดพิงไปถึง Mickey Mouse Extension Act หรือกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองมิกกี้ เม้าส์

เพราะวันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิดปีที่ 80 ของเจ้าอดีตตัวการ์ตูนที่ชื่อ Steamboat Willie ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2471 ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเปน Mickey Mouse อย่างที่คุ้นเคยกันในภายหลัง..


โดย: Tentty วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:01:05 น.  

 
อย่างที่เคยบอกไว้ในบล็อก อ่านหนังสือเล่มนี้ของสฤณีแล้ว มีไฟ อยากทำโน้นนี่ เต็มไปหมด

Ennio Morricone นี่สกอร์ในซีนีม่า พาราดิสโซ่ เด่นมากๆ

แต่พี่ชอบสกอร์ของเขาใน The Mission มากกว่า อาจเป็นเพราะชอบ The Mission มากๆ ด้วย

คุณตามิคกี้ อายุแปดสิบแล้วเหรอเนี่ยะ


โดย: grappa วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:04:51 น.  

 
เพิ่งอ่านจากบล็อกคนข้างบนไป

มาเจอบล็อกนี้เข้าไปอีก

น่าสนใจจริงๆ แฮะ หนังสือเล่มนี้


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:17:33 น.  

 
อ๊ะ คุณยุ้ยตามมาทวงเงินดีฮั้นอีกแล้ว เมื่อกี้ก็ไปร้านหนังสือ แต่ยังไม่เห็นเลยแฮะ


โดย: the grinning cheshire cat วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:31:22 น.  

 
น่าสนใจค่ะเล่มนี้ จดไว้ก่อน
ดูรอบที่ล้านแปด ยอมแพ้ค่ะ เคยดูเรื่องนั้นแค่ 14 รอบเท่านั้นเองมั้งคะถ้านับไม่ผิด

อยากแนะนำหนังชุด Apu Trilogy ของ Satyajit Ray ค่ะ //en.wikipedia.org/wiki/Apu_trilogy รับรองได้ดูทั้ง 3 เรื่องนั้นแล้วจะลืม Cinema Paradiso ไปเลย


โดย: กุลธิดา IP: 206.74.208.241 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:07:59 น.  

 
อ่านหนังสือค่ายopen
ไ้ด้อย่างนี้ไม่ธรรมดา
ตอนนี้ก็กำลังอ่าน
october กับ change อยู่เช่นกัน


โดย: Mr.Chanpanakrit วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:46:57 น.  

 
จะหวังให้บรรษัทต่าง ๆ มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมมาก ๆ เองนั้นคงยาก

และที่เราคิดกันว่าระบบของเราคือทุนนิยมนั้นก็ถูกเพียงครึ่งเดียว สาเหตุวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้คือ *ที่ดินนิยม* กาฝากร้ายใน *ทุนนิยม* ต่างหาก //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=249&c=1
ระบบเจ้าที่ดินมิได้หมดไปแล้วกลายเป็นทุนนิยมอย่างที่มาร์กซ์บอกไว้ผิด ๆ

จะให้ที่ดินนิยมหรือลัทธิเจ้าที่ดินหมดไป ไม่ต้องมีการจัดสรรที่ดินใหม่ให้เดือดร้อนกันไปทั่ว ขอเพียงใช้ระบบภาษีที่ดินของเฮนรี จอร์จ โดยค่อย ๆ เพิ่มภาษีที่ดินแล้วลด/เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มลงชดเชยกัน เพื่อให้ผู้ลงแรงลงทุนได้รับผลตอบแทนของตนเต็มที่และให้สินค้าราคาถูกลงขายแข่งกับต่างประเทศได้สบายขึ้น แค่นี้ก็ทำให้คนยากคนจนได้มีสิทธิเข้าถึงที่ดินเท่าเทียมกับคนระดับเหนือขึ้นไปแล้ว โดยที่ราคา/ค่าเช่าที่ดินก็ถูกลง หาที่ทำกินได้ง่ายขึ้น

เว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม
นายทุนและผู้ใช้แรงงานมีผลประโยชน์ร่วมกัน
แก้ปัญหาที่ดินได้ปัญหานายทุนกดค่าแรงจะหมดไปด้วย


โดย: สุธน หิญ วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:8:07:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Petrus85
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am a fallible human creature.

Friends' blogs
[Add Petrus85's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.