สงสัย ฉันจะแก่ จนสายตายาว แล้วเพราะฉัน ได้แต่แอบมอง เธออยู่ห่างๆ
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
7 มิถุนายน 2550
 
 
สังเวยชีวิตกับ ระบบแอดมิชชันส์ มุมมืดในระบบการศึกษาไทย ผ่าวิธีคิดแบบสังคมวิทยา

สังเวยชีวิตกับ ระบบแอดมิชชันส์ มุมมืดในระบบการศึกษาไทย ผ่าวิธีคิดแบบสังคมวิทยา

ชลเทพ ปั้นบุญชู (ยุวโฆษกรุ่นที่1) นักวิชาการอิสระด้านสังคม


ก่อนอื่นต้องขอแสดงความดีใจกับว่าที่น้องใหม่ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่สามารถผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในระบบแอดมิชชันส์ ด่าน18อรหันต์เข้ามาได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่พลาดหวังกับระบบนี้กันถ้วนทั่วเลยทีเดียว แต่ที่น่าเสียใจและเสียดายคงจะอยู่ในประเด็นที่ว่า มีคนฆ่าตัวตายกับระบบนี้ซิครับ ขอแสดงความเสียใจกับน้องคนดังกล่าวและครอบครัว ที่สำคัญยังอยากฝากเรียนผู้ใหญ่ในบ้านเราให้ตตระหนักถึงผลกระทบทางจิตใจจากการเปลี่ยนระบบต่างๆด้วย ผมเห็นในการศึกษามักจะขาดการวิจัยด้านผลกระเทบด้านจิตใจของผู้ที่ใช้นโยบายนี้ โดยตรง เพียงแต่ระดมความคิดเห็นของนักการศึกษาเพียงไม่กี่คนแล้วบอกว่าสิ่งนี้ดีมากเลยควรใช้อย่างยิ่ง ถามว่าเด็กชอบหรือไม่ก็ไม่ได้ศึกษา หรือเมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิดผลกระทบอย่างไรก็ไม่มีการศึกษา ตรงส่วนนี้เราควรที่จะทำความเข้าใจรอบด้านในทุกมิติ เช่นให้นักเรียนมาร่วมดีเบท ให้นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักจิตวิทยามาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ผมคิดว่าเรื่องอย่างนี้คงจะไม่เกิดขึ้นหากมีการศึกษาที่หลากหลายมิติ

ปัญหาการฆ่าตัวตายของนักเรียนคนดังกล่าวคงจะเป็นอุทาหรณ์ได้ดี ไว้ในแวดวงการศึกษาบ้านเรา คือต้องให้มีคนตายก่อนถึงจะได้รับการแก้ไข เรียกได้ว่าต้องเห็นโลงศพถึงจะหลั่งน้ำตา แต่เรามาดูเงื่อนไขว่าเพราะเหตุใดนักเรียนคนดังกล่าวถึงมีมูลเหตุจูงใจในการฆ่าตัวตาย ดังนั้นผมจึงขอใช้แนวคิดและมุมมองทางสังคมมานุษยวิทยามาเป็นกรอบอธิบายดังกล่าว เราคงจะได้ยินเรื่อง ชาตินิยม nationnalism กันมาบ้างแล้ว กระบวนการสร้างชาติในนโยบายรัฐมักจะอ้างอิงถึงวัฒนธรรมหลัก หรือความคิดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง เช่น นโยบายสร้างชาติของจอมพล ป พิบูรสงคราม ที่กำหนดให้คนไทยต้องเป็นอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้โดยมิได้ยืนพื้นถึงความหลากหลาย โดยออกกฏหมายและบทลงโทษอย่างรุนแรงของผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนกฏเหล็กดังกล่าว เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไรเดี๋ยวผมจะเชื่อมโยงให้เห็นภาพ ถึงแม้ว่าการสร้างชาติจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับระบบการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยแต่ก็พอเป็นเค้าเงื่อนให้เกิดแนวคิดที่จะศึกษาโดยตั้งข้อสังเกตและยกประเด็นดังต่อไปนี้

ในปี2459 เป็นปีที่มีการสถาปนา จุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้วิธีการสอบเข้า มีนักการศึกษาหลายท่านลงความเห็นว่า ปนิธานของจุฬาที่จะให้ทุกชนชั้น ได้เข้าถึงระบบการศึกษาระดับสูงนั้นเป็นไปได้แค่เพียงเชิงอุดมคติ เพระาความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่สอบผ่านเข้ามาศึกษาต่อยังจำกัดอยู่ในลูกหลานข้าราชการตระดับสูง และเชื้อพระวงศ์ เท่านั้น หากแต่ประชาชนหลายคนไม่สามารถสอบผ่านการคัดเลือกเพือ่เข้าศึกษาต่อได้ ต่อมาจึงได้มีการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นในปี2476 ซึ่งใช้ระบบเปิด โดยไม่มีการสอบคัดเลือกเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน มากขึ้น ในสมัยนั้นการรับราชการเป็นอาชีพที่ใฝ่ฝันของใครหลายๆคน เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติและใช้ความรู้ความสามารถสูง การสอบเข้าจึงเป็นไปด้วยความเข้มข้น และจำกัดเฉพาะพื้นที่สำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น การสื่อสารและการคมนาคมก็เป็นอุปสรรคก็เป็นข้อจำกัดในการรับรู้ข่าวสารเช่นเดียวกัน ทำให้การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจึงมีคนเมือง หรือผู้ได้รับการศึกษาที่ดีจากโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงทั้งในกรุงเทพ และตัวจังหวัด ระบบการสอบคัดเลือก จึงเป็นตัวแทนของการคัดเลือกหัวกระทิจากทั่วสารทิศมาสู่การศึกษาต่อระดับสูงได้ บุคคลเหล่านั้นย่อมมีความรู้ความสามารถ (ทางวิชาการ)เพียงพอที่จะผ่านเข้ามาได้ เหตุนี้เองการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงเปิดโอกาสให้สำหรับคนเพียงไม่กี่กลุ่ม จนกระทั่งการเปลี่ยยนแปลงทางการเมืองที่ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องมาใช้ระบบการสอบคัดเลือกเช่นเดียวกับจุฬา

ประการต่อมาความเก่าแก่ของมหาวิทยาลัยย่อมหมายถึงชื่อเสียง ค่านิยม การยอมรับทางสังคม จากข้อมูลในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ของนิตสารtime ที่ให้มหาวิทยาลัยฮาร์วาท เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ1 ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้มีความเก่าแก่มากในอเมริกา มากกว่า300 ปี แทบจะอยู่คู่บุญกับการประกาศเป็นสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว หรือกรณีอย่างเครมบริด ออกฟอร์ต ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง สองมหาวิทยาลัยดังกล่าวมีอายุมากกว่า 700และ900ปี เรียกได้ว่ามีอายุเกือบศตวรรษ ทำให้สองที่นี้ยังเป็นยูท็อประดับโลก โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เก่าแก่อย่าง ปรัชญา เทววิทยา วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือ รัฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ ความเก่าแก่ทำไมถึงสร้างชื่อเสียง นั่นก็เพระาความเก่าแก่ย่อมมีประสบการณ์สั่งสมองค์ความรู้มาก มีประสบการณ์สร้างวิทยาการมาก และมีประสบการณ์มาก แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมด เป็นเพียงแค่การตั้งข้อสังเกตุเบื้องต้น

จากการชี้ภาพดังกล่าวสอดคล้องในการจัดทำโพล ของหลายๆที่ที่ให้จุฬาและธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยยอดนิยมในปริบทสังคมไทย(หาดูได้ที่โพลที่จัดทำ) เค้าเรียกว่ายิ่งเก่ายิ่งดัง เพระามีโอกาสสร้างชื่อได้มากกว่า บอกว่าตัวเองเด่นได้นานกว่าเมื่อเทียบกับบางที่ที่เก่งใกล้เคียงกันแต่อาจก่อตั้งเพียง3-4ปี การคัดเลือกด้วยระบบการสอบเข้าด้วยคะแนนสูงตำ ต่างกันจึงทำให้เชื่อว่า ได้คัดคนเก่ง (ความรู้ทางวิชาการ) ทำให้แต่ละที่ได้คนแตกต่างกัน ที่ไหนคะแนนสูงสุดเก่งที่สุด มีแต่หัวกะทิระดับโรงเรียน เข้ามาเมือ่เทียบกับบางที่ที่มีแต่คนระดับกลาง พอจบออกไปแล้วเลือดสีเลือดสถาบันยังมีการกีดกันในการทำงาน องค์กรนี้สีนี้ องค์กรนั้นสีนั้น ม รัฐบาสลเกรดเฉลี่ยเท่านี้ ม เอกชนเท่านั้น ไปกันใหญ่แล้วครับ เขาเรียกว่าเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม เพระาเรามัวแต่ยอมรับความไม่เท่าเทียมเป็นความเท่าเทียมจากสังคมนั่นเอง ซึ่งมันก็หมายถึงว่า ม รัฐบาล ใช้เกณฑ์ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับม เอกชน ผมรู้สึกว่ามันชอบกล เลือกที่รักมักที่ชัง และปฏิบัติแบบไม่เสมอภาค

นอกจากนั้นการใช้ชื่อยังเป็นช่องว่างในการสร้างความเหลื่อมลำมากมาย เช่นการใช้ชื่อมหาวิทยาลัย ซึ่งแตกต่างกับวิทยาลัย สถาบัน อื่นๆ ความต่างดังกล่าวส่งผลกระทบเหมือนการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม มหาวิทยาลัยดูดีมีราคา เมือ่เทียบกับสถาบัน หรือวิทยาลัย ตรงนี้ขอให้เราดูพรบ การตั้งสถาบันราชภัฎเพื่อเป็นมหาวิทยาลัย มีวิทยฐานะเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัย เพระานี่คือประเด็นการสร้างระดับที่แตกต่างในระบบการศึกษาไทยที่มิได้ศึกษาถึงเอกลักษณืหรือความแตกต่าง เฉพาะที่แต่กำลังจะสร้างอัตลักษณ์ให้มีหน้าตาคล้ายๆกัน นั่นคือ สร้างบัณฑิตเชิงปริมาณนั่นเอง เพระาในต่างประเทศวิทยาลัยหมายถึงสถาบันเฉพาะทาง ที่สำคัญยังมีชื่อเสียงมากว่าบางมหาวิทยาลัยเสียอีก เช่นในอังกฤษจะตั้งชื่อเป็นschool อันหมายถึงวิทยาลัยเฉพาะทาง หรือในอเมริกาบางแห่ง ซึ่งมีความเชี่ยงชาญมาก แต่บ้านเราคิดว่าการใช่ชื่อมหาวิทยาลัยมันยิ่งใหญ่และเลิศหรู ใหญ่แต่ชื่อแต่องค์ความรู้มิได้กว้างขวางอย่างที่เป็น

เอาชื่อเท่ห์ให้ดูยิ่งใหญ่หลอกตาชาวบ้านไว้ก่อน ดีไม่ดีค่อยว่ากัน

ผมคิดว่าน้องเค้าของจะถูกกระบวนการทางวัฒนธรรมเรื่องค่านิยมสถาบันเข้ากัดกินร่างกาย จนกระทั้งเรียกได้ว่าchulalism คลั่งไคล้ไหลหลงจุฬาอย่างบ้าครั้ง ทุกลมหายใจพร้อมกายและวิญญาณจะขออยู่ที่จุฬา เลือดรักสีนั้นถ้ามองในแง่ดีก็คือความภูมิใจในสถาบัน แต่อย่าให้มันเกินขอบเขตของคำว่าพอดี เพระาการจบจากสถาบันที่สังคม(แห่งความเขาใจผิด และไหลหลงกับชื่อเสียงจอมปลอม )กำหนดว่าเป็นอันดับหนึ่งด้วย คุณสมบัติดังที่กล่าวไว้ข้างต้น มันมิได้การันตีว่าเราจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแต่อย่างใด หากแต่ความสำเร็จมันขึ้นอยู่กับว่าเราพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มเติมความรู้จากวิชาการสู่วิชาชีพมากน้อยเพียงไร เพระาบางทีอาจถูกแยกส่วนออกจากกัน โลกแห่งความเป็นจริงมันจึงอยู่ที่ว่า เราไม่ได้อยู่ที่ไหน แต่เรากำลังทำอะไร มีหน้าที่อย่างไรและต้องปฏิบัติอย่างไร คือมาเพือ่เป็นวิศวะกร เราก็เรียนวิศวกรรม เรามาเพื่อเป็นนักกฏหมาย ก็เรียนนิติศาสตร์ เพระาชือ่เสียงเป็นแค่ความจอมปลอมที่ถูกวาทกรรมและกระบวนการถ่ายทอดอำพรางความเป็นจริงจนก่อเกิดแต่ความหลงผิดอย่างมากมาย พี่เสียดายว่าน้องเค้ายังไม่มีจุดยืนที่แท้จริงเลยทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คืออยากเรียนรัฐศาสตร์ หรือแค่อยากเรียนจุฬา เพระาสองคำพุดนี้ไม่เหมือนกัน หากอยากเรียนรัฐศาสตร์ก็ยังมีอีกหลายที่ที่มีคุณภาพไม่ต่างกับจุฬา อย่างมธ มศว เกษตร หรือที่อื่นๆ หรือถ้าอยากเรียนจุฬาไม่เลือกคณะที่ตำกว่ารัฐศาสตร์ จะโทษเพียงระบบแอดมิชชันส์เพียงอย่างเดียวที่ทำให้การประกาศผลคลาดเคลื่อนก็คงไม่ใช่สารัตถะที่สำคัญที่สุด มันเกิดจากค่านิยมที่ผิดของสังคมไทยเรื่องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและวิธีการคัดเลือก ที่มิได้ให้ทางเลือกที่หลากหลายมากกว่า

มีผู้ใหญ่หลายคนที่ทรงคุณวุฒิหลายคนบอกว่าอยากให้ลดโควต้าตรงลงเพราะจะได้ลดการวิ่งรอกในการสอบ ผมกับไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้ เพราะผมคิดว่ามันเป็นการจำกัดสิทธิ์ของเด็กให้แคบลงเฉพาะผู้มีปัญญา(ไปติวเพื่อสอบเข้าได้) แต่ได้คนที่ไม่ครอบคลุมถึง ผู้ด้อยดอกาส เด็กต่างจังหวัด อื่นๆ ผมอยากให้ดูตัวอย่างการให้โควต้าของ มธ มศวและ เกษตร เพระาเข้าถึงกลุ่มต่างจังหวัด กลุ่มชนบท และกลุ่มผู้ขาดดอกาสอย่างแท้จริง ให้บุคคลที่มีความหลากหลายได้เข้าถึงมหาวิทยาลัยมากขึ้น เช่นบุคคลผู้มีความสามารถเฉพาะทาง น่าจะได้คุณสมบัติที่ตรง และมหาวิทยาลัยเองควรเปิดโอกาสให้มีการย้ายคณะและสาขาโดยกำหนดเงื่อนไขในการย้ายคณะไว้ชัดเจน เพิ่มช่องทางให้มากขึ้นเพื่อจะได้ลดการซิลอันเป็นปัญหาในการสูญเสียของประเทศ โดยจัดให้มีนระบบการรับตรงไม่เกิน50/ น่าจะพอดีและเหมาะสมที่สุด ในขณะเดียวกันผมเห็นว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองกลับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบการสอบตรงน้อยมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับอุปสงค์ของจำนวนนักเรียกที่อยากศึกษาต่อเข้าจุฬาลงกรณ์ ทำให้เด็กต่างจังหวัด หรือเด็กที่มีความสามมารถเฉพาะ แต่ไม่สามารถแข่งขันกับระบบได้ขาดโอกาสที่จะเข้าศึกษาต่อ โครงการจุฬาชนบทเป็นเพียงช่องทางหนึ่งที่ทำให้นักเรียนต่างจังหวัดที่ยากจนเข้าศึกษาต่อได้เท่านั้น หากแต่จำนวนนิสิตของจุฬาส่วนใหญ่ ล้วนมาจากกรุงเทพมหานคร และในเขตเมือง ซึ่งยังขาดความหลากหลายอยู่มาก ดังนั้นอยากเสนอแนวทางให้น้องๆที่จะลือกเข้าศึกษาต่อควรคำนึงถึงข้อมูลหลายๆอย่างประกอบกัน เช่นการศึกษาระบบการเรียน การสอน การประกันคุณภาพ ผมคิดว่าปัจจุบันความสมารถของแต่ละสถาบันมีความเหลื่อมลำไม่ต่างกันมาก อย่าเอาความเก่าแก่และความดังมาเป็นตัวกำหนด เพระาจะทำให้เราตกเป็นเหยื่อและโศกนาฏกรรมดังกล่าว ทุกที่ทุกสถาบันมีศักดิ์ศรีและวิทยฐานะเท่าเทียมกันในความเป็นนิสิตนักศึกษา


ที่มา //www.eduzones.com/knowledge-2-2-41979.html


Create Date : 07 มิถุนายน 2550
Last Update : 7 มิถุนายน 2550 10:02:00 น. 1 comments
Counter : 352 Pageviews.

 
เห็นด้วยค่ะ เห็นด้วยอย่างแรง


โดย: mochamint วันที่: 22 มิถุนายน 2550 เวลา:10:41:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

fluorinel!
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




oO[สงสัย ฉันจะแก่ จนสายตายาว แล้วเพราะฉัน ได้แต่แอบมอง เธออยู่ห่างๆ ]Oo-ST.UZ_Pondy

[Add fluorinel!'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com