Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
7 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
*** ถ่ายภาพฟ้ากว้าง

ภาพท้องฟ้ามุมกว้าง (Skyscape) ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างแบบตาปลา (Fish Eye Lens) ในช่วงฤดูหนาว (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fish Eye Lens 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 30 วินาที)
       ในคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไม่เมฆและแสงจันทร์รบกวน สถานที่ ที่อยู่ห่างไกลจากแสงเมืองและหมอกควันฝุ่นละออง มักเผยให้เห็นถึงความงามของดวงดาวบนท้องฟ้า แต่จะมีวิธีการใดบ้างที่จะเก็บเอาความงามของท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ไว้เป็นที่ระลึก หรือไว้คอยอวดเพื่อนๆ ดังนั้นการถ่ายภาพท้องฟ้ามุมกว้างที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นนิยมถ่ายกัน จะมีเทคนิคและวิธีการอย่างไรนั้น มาดูกันต่อครับ

        การถ่ายภาพท้องฟ้ามุมกว้าง(Skyscape) นักถ่ายภาพสมัครเล่นสามารถถ่ายภาพประเภทนี้ได้ไม่ยากเย็นนัก เพราะสามารถถ่ายได้ง่าย สะดวก ตามสถานที่ท่องเที่ยวหรืออุทยานแห่งชาติต่างๆ แต่ทั้งนี้ผู้ถ่ายภาพก็จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอยู่บ้าง โดยสภาพท้องฟ้าที่เหมาะกับการถ่ายภาพประเภทนี้ก็ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใส อากาศโปร่ง ท้องฟ้ามีทัศนวิสัยของท้องฟ้าที่ดี ปราศจากแสงจากตัวเมือง และหมอกควัน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะกับการถ่ายภาพก็คือ ช่วงฤดูหนาว เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดอยู่ระหว่างเดือน พ.ย. – ม.ค. ซึ่งเราจะสามารถสังเกตเห็นกลุ่มดาวสว่าง เช่น กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวคนคู่ กลุ่มดาวสุนัขใหญ่ กลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวสุนัขเล็ก ได้ในช่วงหัวค่ำ เป็นต้น โดยในการถ่ายภาพท้องฟ้ามุมกว้าง (Skyscape) นั้นนั้นมีเทคนิคและวิธีการง่ายๆ ดังนี้

ภาพท้องฟ้ามุมกว้าง บริเวณกลุ่มดาวนายพราน คนไทยเรียกว่า ดาวเต่า ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่มีดาวฤกษ์สว่างหลายดวงเป็นสมาชิก และมีตำแหน่งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มองเห็นได้ทั่วโลก และเป็นที่รู้จักกว้างขวางที่สุดในบรรดากลุ่มดาวสว่างบนท้องฟ้า (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / 24 มม. / F4 / ISO 3200 / 30 วินาที)


ภาพถ่ายท้องฟ้าบริเวณกลุ่มดาวนายพราน โดยบริเวณเหนือกลุ่มดาวสามารถสังเกตเห็นแนวทางช้างเผือกได้อย่างชัดเจน (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 30 วินาที)
เทคนิคและวิธีการ
        1. ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การถ่ายภาพท้องฟ้ามุมกว้าง (Skyscape) เริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาหลังดวงอาทิตย์ตก ลับขอบฟ้า ประมาณ 2 ชั่วโมง หรือประมาณ 2 ทุ่มเป็นต้นไป เนื่องจากในช่วงหัวค่ำท้องฟ้าอาจจะยังไม่มืดสนิท และบริเวณขอบฟ้าจะมีมวลอากาศหรือเมฆอยู่ เราจึงต้องรอให้มวลอากาศหรือเมฆละลายก่อน เพื่อให้ท้องฟ้ามืดสนิทและแสงดาวสุกสว่างอย่างชัดเจน

ตัวอย่างเลนส์ตาปลา (FishEye Lens) และเลนส์มุมกว้าง (Wind Lens) ที่มีขนาดรูรับแสงกว้าง มีความไวแสงสูง
       2. ควรเลือกใช้เลนส์มุมกว้าง (Wind Lens) หรืออาจเลือกใช้เลนส์ชนิดตาปลา (FishEye Lens) เพื่อให้ได้องศาการรับภาพที่กว้างมากขึ้น และควรเป็นเลนส์ที่มีความไวแสงสูง หรือมีค่าขนาดรูรับแสงกว้างซึ่งจะทำให้สามารถบันทึกภาพแสงดาวได้ดีมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างภาพถ่ายท้องฟ้าขณะมีเมฆบริเวณขอบฟ้า ทำให้ภาพถ่างกลุ่มดาวต่างไม่ชัดเจน เนื่องจากถูกเมฆบดบังแสงดาว (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 30 วินาที)
       3.การเลือกขนาดรูรับแสง ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์นั้นเรามักจะเลือกที่ใช้ขนาดรูรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมตลอดทั้งภาพ หรือที่เรียกว่าภาพชัดลึก แต่ในการถ่ายภาพท้องฟ้ามุมกว้าง(Skyscape) นั้น เราจะเลือกใช้ขนาดรูรับแสงกว้างที่สุดของเลนส์ เพื่อให้กล้องมีความไวแสงในการสร้างภาพและยังทำให้สัญญาณรบกวน หรือ Noise น้อยกว่าการเปิดหน้ากล้องนานๆ ซึ่งการการเปิดหน้ากล้องไว้นานๆจะทำให้ดาวเป็นเส้นไม่เป็นจุด แต่ก็มีข้อเสียของการใช้ขนาดรูรับกว้าง คือความคมชัดของภาพอาจลดลงตามมาด้วย ซึ่งก็คุ้มกับภาพที่ได้รายละเอียดของแสงดาวที่สว่างมากขึ้นด้วย

        4. ค่าความไวแสง (ISO) ที่ใช้ถ่ายภาพควรใช้ความไวแสงสูงตั้งแต่ 800-1600 หรืออาจสูงกว่านี้ หากกล้องของคุณมีระบบจัดการกับ Noise ที่ดี และควรเปิดฟังก์ชั่น Noise reduction (ถ้ามี) จะทำให้ภาพถ่ายมีรายละเอียดที่ดีมากขึ้นเนื่องจากฟังก์ชั่น Noise reduction จะช่วยกำจัดสัญญาณรบกวน (Niose) ของภาพได้

        5. การปรับโฟกัสของเลนส์ควรศึกษาระยะไกลสุด (อินฟินิตี้) ของเลนส์ก่อนการถ่ายภาพเนื่องจากระยะชัดที่สุดของระยะไกลสุด (อินฟินิตี้) ของเลนส์ แต่ละตัวอาจปรับอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน

       6. เวลาในการเปิดหน้ากล้องหรือความเร็วชัตเตอร์ไม่ควรนานเกิน 30 วินาที สำหรับการถ่ายภาพดังกล่าวด้วยเลนส์มุมกว้าง เพราะหากเปิดหน้ากล้องนานเกินกว่า 30 วินาที จะทำให้ภาพกลุ่มดาวยืดเป็นเส้นไม่เป็นจุด เนื่องจากโลกของเราหมุนรอบตัวเองและกล้องถ่ายรูปตั้งอยู่กับที่ไม่ได้เคลื่อนตามดาว ซึ่งหากภาพที่ถ่ายออกมามืดเกินไปก็ให้ปรับค่าความไวแสง (ISO) เพิ่มขึ้นจนได้แสงที่พอดี
       ข้อดีอีกอย่าง สำหรับการเปิดหน้ากล้องสั้นๆ นอกจากจะไม่ทำให้ดาวยืดเป็นเส้นแล้ว ยังทำให้ภาพจุดดาวสว่างมีสีสีนที่ชัดเจน ซึ่งต่างจากการเปิดหน้ากล้องนานๆ แสงดาวมักจะสว่างจนโอเวอร์จนจุดดาวเป็นสีขาวขาดสีสันของแสงไปได้

        7. การปรับค่าไวท์บาลานซ์ (White Balance) ขณะที่ช่างภาพหลายๆ ท่านอาจจะพอใจกับระบบไวท์บาลานซ์อัตโนมัติ (AWB) และหวังว่าจะได้สิ่งที่ดีที่สุด แต่วิธีนี้ไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ ระบบไวท์บาลานซ์อัตโนมัติจะปรับทุกอย่างให้เป็นกลางโดยไม่สนใจว่าสีสันนั้นจะส่งผลต่อบรรยากาศของภาพ และหากเราปล่อยให้อุณหภูมิสีในภาพเป็นกลางไปหมดทุกภาพ ภาพของเราก็อาจเสี่ยงที่จะสูญเสียความรู้สึกในเรื่องของเวลาและสถานที่ไปได้

        ดังนั้น จากประสบการณ์ของผม ขอแนะนำให้ปรับค่าไวท์บาลานเป็นแบบ Custom WB โดยปรับอุณหภูมิสีประมาณ 4000 k เพื่อป้องกันไม่ให้สีของท้องฟ้าในตอนกลางคืนอมแดงมากเกินไป หรืออาจเลือกค่าพรีเซ็ตที่กล้องตั้งไว้ไปที่ Fluorescent (รูปหลอดฟลูออเรสเซนต์) ก็ได้

ภาพถ่ายท้องฟ้าบริเวณกลุ่มดาวนายพราน กับหอดูดาวภาพหอดูดาวโซแบกซาน Sobaeksan Optical Astronomy Observatory (SOAO)(ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 30 วินาที)
       ในบางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องทดลองเทคนิคการถ่ายภาพโดยใช้ค่าสมดุลแสงแบบต่างๆ หรือแม้แต่การใช้ค่าที่ดูเหมือนจะผิด เหล่านี้ล้วนสามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าตื่นตาได้เช่นกัน

        หากคุณถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW คุณก็สามารถปรับแก้สมดุลแสงนี้ได้ในขั้นตอนการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมอย่างเช่น Adobe Camera Raw (ACR) อย่างไรก็ตาม วิธีที่ดีที่สุดก็คือการทำทุกอย่างให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ในขั้นตอนการถ่ายภาพ เทคนิคการแต่งภาพควรใช้ในการทำให้ภาพที่ดีดูดียิ่งขึ้น แทนที่จะมานั่งแก้ไขภาพที่มีปัญหา แน่นอนว่าคุณสามารถปรับแก้สีสันในกระบวนการแปลงไฟล์ RAW ได้ แต่นั่นจะเป็นวิธีที่ทำให้ทักษะการถ่ายภาพของคุณแย่ลง แล้วใครจะไปรู้ว่าสุดท้ายจะลงเอยอย่างไร

       ****************




เกี่ยวกับผู้เขียน

ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

       สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

       ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”

“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”



Create Date : 07 สิงหาคม 2555
Last Update : 7 สิงหาคม 2555 0:49:16 น. 1 comments
Counter : 1435 Pageviews.

 
เป็นการถ่ายทอดวิชาที่เยี่ยมเลยครับ


โดย: ON THE WAY (MyEos50 ) วันที่: 7 สิงหาคม 2555 เวลา:2:19:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

huttoza
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




------------------------------------------------------



Friends' blogs
[Add huttoza's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.