Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
กสทช.เปิดเวทีสุดท้ายก่อนประมูล 3G

กสทช.เดินหน้าประมูล 3G เปิดเวทีประชาพิจารณ์ร่างประกาศ IMT ย่านความถี่ 2.1 GHz "เศรษฐพงค์" มั่นใจทำกรรมดี ยอมส่งผลดี ด้านค่ายมือถือ 3 รายร่วมแสดงจุดยืน

       พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.  ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เปิดเผยว่า กสทช.ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อ ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ… และร่างประกาศ เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล  (International Telecommunications - IMT) ย่านความถี่วิทยุ 1920-1980/2110-2170 MHz และย่าน 2010-2025 MHz โดยภายหลังจากการรับฟังความคิดเห็นแล้วจะนำความคิดเห็น และข้อเสนอทั้งหมดไปกับร่างประกาศฯ ทั้งหมด ซึ่งจะนำไปปรับปรุงความคิดเห็นเพิ่มเติมแล้วเสร็จภายในต้นเดือนสิงหาคม 2555 และจะสามารถประกาศลงราชกิจจานุเบกษาได้ภายในเดือนสิงหาคม นี้เช่นกัน 

       ทั้งนี้ในร่างประกาศฯ ดังกล่าวหากมีผู้ที่ยังต้องการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม สามารถส่งความคิดเห็นมาได้จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายตามประกาศของกฎหมาย หรือสามารถส่งความคิดเห็นเพิ่มเติมได้เรื่อยๆ จนกว่าจะมีการพิจารณาวิเคราะห์แล้วเสร็จ

“ส่วนตัวมั่นใจ 100%ว่าจะสามารถเปิดการประมูลใบอนุญาต 3G บนย่านความถี่ 2.1 GHz จำนวน 45MHz ได้ เพราะทุกอย่างเป็นไปตามกรรม ทำกรรมดี ยอมไม่มีใครล้มประมูลได้”

       ขณะที่ในเรื่องของกฎหมายที่ยังมีคนจ้องจะฟ้อง หากใครจะฟ้องก็ฟ้องได้ทั้งนั้น แต่ขึ้นอยู่ว่าศาลจะรับคุ้มครองหรือไม่ โดยในคณะทำงานของเราเตรียมความพร้อมเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีการจำลองเรื่องการฟ้องร้องเพื่อรับมืออยู่แล้ว อีกทั้งกสทช.สุทธิพล ทวีชัยการ เคยเป็นศาลมาก่อน จึงรู้เรื่องนี้ดังกล่าวดี ดังนั้นหากมีใครมาฟ้องก็รับมือได้แน่นอน

***"เอไอเอส" ยอมลดเหลือ 15 MHz เพื่อสันติ

       ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า การประมูล 3G ในครั้งนี้ เอไอเอส ต้องการจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมด 15MHz ซึ่งลดลงจากเดิมที่เคยตั้งใจไว้ที่ 20MHz เนื่องจากเรามองว่าน่าจะเพียงพอต่อการให้บริการทั้งบริการเสียง (วอยซ์) และบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) ส่วนเงินลงทุนยังคงเดิมอยู่ที่ 4.5-5 หมื่นล้านบาทโดยใช้ระยะเวลาในการลงทุนราว 3 ปี

       “ในตอนแรกเราต้องการ 20MHz แต่ตอนนี้ต้องถอยออกไปมาอยู่ที่ 15 MHz เพื่ออยู่อย่างสันติ และก้าวผ่านให้ไปสู่การประมูลให้ได้ก่อน เพราะคลื่นความถี่อื่น อาทิ 900MHz 1800 MHz 2.3GHz 2.5GHz สามารถที่จะนำมาเปิดประมูลได้เช่นเดียวกัน”

       ส่วนกรณีการคืนคลื่นความถี่เดิม 900MHz ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่หน้าที่ที่เอไอเอส แต่เป็นหน้าที่ของ กสทช. ไม่ว่าคลื่นความถี่ 900MHz จะคืนกลับไปอยู่ที่หน่วยงานใดก็ตาม เอไอเอส จะไปประมูลคลื่นความถี่กลับมา ซึ่ง กสทช.จะต้องออกมาให้ความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากสัญญาสัมปทานใกล้จะสิ้นสุด

***"ดีแทค" เสนอ 3 กรอบ

       ขณะที่ นายนฤพล รัตนสมาหาร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ ดีแทค กล่าวว่า การประชาพิจารณ์ ร่างประกาศฯ IMT ย่าน 2.1GHz  ถือเป็นร่างที่สมบรูณ์ กสทช.ในระดับหนึ่งแล้ว แต่เราต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยเสนอกรอบความเห็น 3 ประการ 1.การสร้างความสมดุล ผู้รับประโยชน์ คลื่นความถี่ 2.1GHz เพื่อให้ได้รับการบริการและคุณภาพที่ดี 2.ผู้ประกอบการเมื่อลงทุนไปแล้วก็ควรที่จะได้ผลกำไรพอสมควร 3.ไม่อยากให้กฏเกณฑ์เป็นภาระในการเหนี่ยวรั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปข้างหน้า ขณะเดียว ดีแทค จะเข้าประมูล 3G จำนวน 15 MHz เช่นกัน เพื่อสร้างความเท่าเทียมกัน 

       นอกจากนี้การมารับฟังประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ มีผู้แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ สังคมไทยมักจะเอาความดีเข้าตัว เอาความชั่วให้คนอื่น กรณีการหยิบยกประเด็น เรื่องร่างประกาศครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ… ซึ่งอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย มี 2 บริษัท ที่มีนักลงทุนที่เป็นต่างชาติ ถือหุ้น อยู่ ดังนั้นมีผู้ที่กล่าวว่า ให้กสทช.นำกฎเกณฑ์กฏระเบียบมาบังคับใช้อย่างจริงจัง เปรียบเหมือนพูดเป็นนัย เนื่องจาก ต่างชาติที่เข้ามาลงทุน อยากให้กสทช.ทำการตรวจสอบทุกบริษัท ว่ามาบริษัทใดที่ทำให้รัฐเสียหาย

***"ทรู" บ่นขอลดราคา

       นายนพปฎล เดชอุดม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาเริ่มต้นการประมูลไลเซ่นส์ 3 G อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 MHz ดังนั้นหากต้องการคลื่นความถี่ที่ 15 MHz หรือใบอนุญาต 3 ใบ ต้องจ่ายเงินสูงถึง 13,500 ล้านบาท ซึ่งมองว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป  แต่หากต้องการที่จะแข่งขันในตลาดได้จะต้องประมูลใบอนุญาตถึง 3 ใบ ถึงจะได้ 15 MHz 

       อย่างไรก็ดีประเทศไทยครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในการจัดการประมูล 3G โดยประมาณ 2 ปีก่อน ราคาเริ่มต้นใบอนุญาต ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. กำหนดไว้ที่ 12,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ในสมัยนั้น ซึ่งแม้ในครั้งนี้ กสทช.มีการส่งเสริมให้มีนักลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมประมูลเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายก็ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าร่วมประมูล มีเพียงผู้ประกอบการรายเก่า 3 รายเท่านั้น

       “กสทช.ไม่ควรมีการกำหนดราคาเริ่มต้นของการประมูล เนื่องจากการตั้งราคาเริ่มต้นไว้ จะไปกำหนดให้ราคาใบอนุญาตมีราคาที่สูงเกินไป ทำให้ไม่มีนักลงทุนรายอื่นเข้าร่วม นอกจากผู้ประกอบการรายเดิม จึงส่งผลให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างเสรีในที่สุด”

       นอกจากนี้ใน ประเด็นเรื่องเงื่อนไขการชำระเงินที่กำหนดให้ หลังจากการประมูลเสร็จสิ้น งวดแรก  จะต้องชำระเงิน 50% ของใบอนุญาต ภายใน 45 วัน และงวดที่สอง อีก 25% ปีที่ 2 และงวดที่ 3 25% ซึ่งบริษัทผู้ประกอบการรายเล็กของไทยใช้เงินประมูลเป็นหมื่นๆล้านบาท แล้วต้องมาจ่าย 50% ทันทีภายใน 45 วัน ดังนั้นถือเป็นอุปสรรคในการลงทุน และขยายโครงข่าย เนื่องจากทรูมีลูกค้าเป็นล้านๆ การที่จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายทันทีอีกทั้งต้องเอาเงินไปลงทุนขยายโครงข่ายด้วย

       นายทัช บุษฎีกานต์ ผู้อำนวยการด้านกฎหมายโทรคมนาคมและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายข้อบังคับ ทรูคอร์ปฯ กล่าวอีกว่า เราเป็นบริษัทไทย ต้องเข้าร่วมประมูลแน่นอน โดยต้องการคลื่นความถี่ จำนวน 15 MHz ซึ่งมองว่าเพียงพอต่อการให้บริการ 

       “ไม่เข้าใจว่าทำไมกสทช.คิดกำหนดเพดานขั้นต่ำที่ 20 MHz ควรจะกำหนดที่ 25 MHz ไม่ดีกว่าหรือ เนื่องจาก 20 MHz ได้คลื่นไปก็ถือว่าเป็นการกักตุนอยู่แล้ว”

***"ผู้บริโภค"ร้องอย่าผลักภาระมาให้

       ทางด้านนางสาวสาลิ อ่องสมหวัง เลขาธิการมูนิธิคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ประเด็นที่อยากจะเสนอมี 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ราคาเริ่มต้นการประมูลที่เป็นธรรมควรจะอยู่ในจุดไหน 2.เงื่อนไขในการให้บริการ 3.การคุ้มครองผู้บริโภค ราคาเริ่มต้นการประมูลเป็นหมากาพย์มานานแล้ว องค์กรผู้บริโภคมองว่าราคาเริ่มต้นที่ 4,500 ล้านบาทไม่มีที่มาที่ไป 

       ขณะที่ 4,500 ล้านบาทคิดเบ็ดสร็จ 13,500 ล้านบาทต่อ 15 ปีหากเปรียบเทียบบริษัทที่ได้ใบอนุญาตจ่ายแค่ 900 ล้านบาท แต่เมื่อเอาทั้ง 3 ผู้ให้บริการโทรศัทพ์เคลื่อนที่ ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐจ่ายส่วนแบ่งรายได้ 40,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นราคาเริ่มต้นควรสมเหตุสมผลราคาตั้งต้น ไม่ควรน้อยกว่าส่วนแบ่งรายได้ เพราะจะเป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภค  

       “การที่ กสทช. และกทค.ไม่เลือกวิธีการประมูลโดยตัดวิธีการประมูลแบบ N-1 ออก และนำ วิธีประมูลแบบใช้วิธีการประมูลทุกสล็อตพร้อมกัน และผู้ประมูลเสนอราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ ซึ่งวิธีประมูลดังกล่าวท้ายสุดก็มีเพียงผู้ให้บริการโทรศัทพ์เคลื่อนที่ 3 ราย เข้ามาประมูล แต่ทั้ง 3 รายไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภค”

       ขณะเดียวกัน นักกฎหมายอิสระ รายหนึ่ง กล่าวว่า ประเด็นการกำหนดคลื่นความถี่ หรือ สเปกตรัม แคป แบบกำหนดช่วงคลื่นความถี่ 9 ช่วง ช่วงละ 5 MHz ซึ่งหากมีการประมูลถึง 20 MHz และ 15 MHz ก็จะทำให้เหลือจำนวนคลื่นความถี่ 5 MHz ซึ่งไม่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ เนื่องจากไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้นผู้ที่ประมูลได้ 5 MHz สามารถถอนตัวได้หรือไม่ และให้ กสทช.นำจำนวนคลื่นที่เหลือ ไปรวมกับคลื่นความถี่ย่านอื่นๆ เพื่อเปิดประมูลต่อไป

Company Relate Link :
กสทช.




Create Date : 23 กรกฎาคม 2555
Last Update : 23 กรกฎาคม 2555 0:15:16 น. 0 comments
Counter : 1172 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

huttoza
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




------------------------------------------------------



Friends' blogs
[Add huttoza's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.