Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
2 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
“ซาอุฯ” ขู่แบน Skype, WhatsApp และ Viber

หลังจากออกกฎหมายห้ามใช้งานแบล็กเบอร์รี (BlackBerry) ช่วงปี 2010 ล่าสุดรัฐบาลซาอุดีอาระเบียเตรียมขยายผลห้ามใช้งานแอปพลิเคชันรับส่งข้อความยอดฮิตทั้ง Skype, WhatsApp และ Viber ระบุแอปพลิเคชันเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ ซึ่งต้องเปิดทางให้รัฐบาลเข้าตรวจสอบได้ เรียกว่าเป็นสัญญาณขู่ที่ซาอุฯ ต้องการส่งถึงค่ายแอปพลิเคชันสนทนาระดับโลก ให้ทุกคนยอมเปิดทางตามที่รัฐบาลซาอุฯ ต้องการ

       รายงานจากสำนักข่าว SPA ซึ่งเป็นสำนักข่าวทางการของซาอุฯ ระบุว่า แอปพลิเคชันที่อาจถูกคาดโทษแบน ได้แก่ Skype, WhatsApp และ Viber ทั้งหมดเป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถสนทนา ส่งข้อความ และโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต

คณะกรรมการผู้กำกับดูแลกิจการสารสนเทศและการสื่อสารของซาอุฯ (Saudi Arabian Communications and Information Technology Commission) ออกแถลงการณ์ว่า ความเคลื่อนไหวนี้เป็นผลสรุปจากคณะทำงานซึ่งมีมติเห็นควรว่าต้องมีมาตรการกับผู้ประกอบการแอปพลิเคชันเหล่านี้ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของรัฐบาลซาอุฯ

       อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าเงื่อนไขใดที่แอปพลิเคชันเหล่านี้ขัดขืนไม่ดำเนินการตาม โดยแม้คณะกรรมการของซาอุฯจะไม่เปิดเผยข้อมูลใด แต่สำนักข่าว CNN นำมาโยงกับรายงานของสื่อท้องถิ่นซาอุฯที่เผยแพร่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลซาอุฯต้องการเข้าตรวจสอบข้อมูลในแอปพลิเคชันเหล่านี้

สื่อต่างชาติเชื่อว่า รัฐบาลซาอุฯ ต้องการตรวจสอบข้อมูลในแอปพลิเคชันสนทนาเหล่านี้เพราะปัญหาการประท้วงทางการเมือง ซึ่งผู้ประท้วงมักประสานงานทางแอปพลิเคชันสนทนาอย่าง WhatsApp โดยรายงานจาก CNN ชี้ว่าการประท้วงในซาอุดิอาระเบียนั้นถือว่าผิดกฎหมาย และเป็นสิ่งที่รัฐบาลมีสิทธิ์ปราบปรามอย่างเต็มที่

       อีมัน อัล-นัฟจัน (Eman Al-Nafjan) บล็อกเกอร์ชาวซาอุฯ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว CNN ว่าไม่รู้สึกโกรธที่รัฐบาลซาอุฯเตรียมสั่งแบนแอปพลิเคชันสนทนา แต่รู่สึกประหลาดใจที่รัฐบาลไม่เลือกดำเนินมาตรการที่เหนือชั้นกว่านี้ โดยบล็อกเกอร์รายนี้คาดว่ารัฐบาลซาอุฯ สามารถดำเนินการได้ดีกว่าการขู่แบนแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นมุกเดียวกับที่ซาอุฯ เคยใช้กับแบล็กเบอร์รี

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
แผนภาพแสดงสัดส่วนการใช้งานแอปพลิเคชันสนทนาที่สามารถติดตั้งในสมาร์ทโฟน iPhone ในแต่ละประเทศ (ขอบคุณข้อมูลจาก WSJ)
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลซาอุฯ สั่งแบนบริการ BlackBerry messenger เมื่อปี 2010 เนื่องจากต้นสังกัดบีบี ซึ่งใช้ชื่อริม หรือ Research In Motion ในขณะนั้น (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นแบล็กเบอร์รี) ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอของรัฐบาล เพื่อเปิดทางให้ภาครัฐเข้าตรวจสอบข้อความสนทนาของประชาชนได้

ครั้งนั้น ซาอุดีอาระเบียไม่ใช่ประเทศเดียวที่สั่งห้ามประชาชนใช้งานแบล็กเบอร์รี แต่ยังมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ที่ประกาศแบนบริการรับส่งข้อมูลบนแบล็กเบอร์รีในเดือนตุลาคม 2010 ขณะที่อินเดียก็มีการเจรจากับริมเพื่อหามาตรการจัดการข้อมูลด้านความมั่นคง

       ในกรณีของ Skype, WhatsApp และ Viber รัฐบาลซาอุฯเคยแสดงความไม่เห็นด้วยเรื่องการเข้ารหัสความปลอดภัยที่ทำให้รัฐไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า Skype, WhatsApp และ Viber เป็นปัญหากับรัฐบาลซาอุฯ ในรูปแบบเดียวกับแบล็กเบอร์รี ซึ่งรัฐบาลซาอุฯยืนยันว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ

       Skype, WhatsApp และ Viber นั้นเป็นแอปพลิเคชันสนทนาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา WhatsApp ประกาศว่ายอดข้อความรับส่งในระบบนั้นมีจำนวนมากกว่า 1.8 หมื่นล้านข้อความต่อวัน เรียกว่าเติบโตก้าวกระโดดหลังจากเปิดตัวในปี 2009 ครองตลาดในยุโรป และละตินอเมริกา เช่น ในบราซิล และเยอรมนี ที่มีสัดส่วนผู้ใช้สมาร์ทโฟนซึ่งคุยผ่าน WhatsApp มากกว่า 80%

อย่างไรก็ตาม ยังมีแอปพลิเคชันอีกมากที่ผู้ใช้สามารถรับส่งข้อความจากอุปกรณ์พกพาได้นอกเหนือจาก Skype, WhatsApp และ Viber เช่น Line, Kakao Talk, WeChat รวมถึง Facebook Messeger ซึ่งสะท้อนว่าการปิดกั้น 3 แอปพลิเคชันนี้ของรัฐบาลซาอุฯ อาจเป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์ในระยะสั้น



Create Date : 02 เมษายน 2556
Last Update : 2 เมษายน 2556 22:10:30 น. 0 comments
Counter : 1239 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

huttoza
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




------------------------------------------------------



Friends' blogs
[Add huttoza's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.