ตถตา ....เช่นนั้นเอง
Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
28 กันยายน 2553
 
All Blogs
 

พระอาจารย์ …… อาจารย์พระ….. ควรเลือกใช้คำไหนดี ?

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ กระแสแห่งการสนใจธรรม ของผู้คนในสังคมไทยเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการเปิดคอร์สฝึกอบรมเจริญวิปัสสนากรรมฐาน กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในวัด สำนักสงฆ์ สำนักชี รวมถึงสำนักของฆราวาส บางสำนักผู้ต้องการเข้าคอร์สอบรมต้องจองคิวกันเป็นปี ๆ ก็มี

หนังสือธรรม ซึ่งก็มีทั้งข้อเขียนของพระสงฆ์และฆราวาส จากที่เคยถูกจัดไว้ในมุมอับของร้านหนังสือ กลายเป็นหนังสือติดอันดับขายดีโชว์หราอยู่หน้าร้านดังทั้งหลาย นัยว่าน่าจะเป็นยุคกึงพุทธกาลอย่างแท้จริง นับว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุโมทนาอย่างยิ่ง
และสิ่งที่มักจะได้ยินจนชินหูหรือเพราะเรียกกันจนติดปาก คือการเรียกขานฉายาของพระภิกษุ หรือพระสงฆ์ ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้หรือทำหน้าที่ในการสอนว่า พระอาจารย์…..

การใช้คำว่า พระอาจารย์ นำหน้าฉายาของพระสงฆ์ นั้นมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร มาช่วยกันพิจารณาดู

พระอาจารย์ เป็น คำประกอบกันขึ้นจากคำว่า พระ และ อาจารย์ ซึ่งเป็นคำนาม
คำว่า อาจารย์ ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมาย หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง

ส่วนการเติมคำว่าพระนำหน้าคำนามทั้งหลายนั้น มีวัตถุประสงค์หรือเพื่อใช้ในกรณีของการต้องการเปลี่ยนคำนามสามัญหรือคำราชาศัพท์ที่ไม่สมบูรณ์ ให้เป็นคำราชาศัพท์ (ที่สมบูรณ์)

ตัวอย่างการเปลี่ยนคำราชาศัพท์ที่ไม่สมบูรณ์และคำสามัญ ให้เป็นคำราชาศัพท์
เช่น กรณีคำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์ บัญชร เปลี่ยนเป็นคำว่า พระบัญชร
สหาย เปลี่ยนเป็น พระสหาย เป็นต้น

กรณีคำนามสามัญ เก้าอี้ เป็น พระเก้าอี้
แท่น เป็น พระแท่น

เช่นกัน คำว่า อาจารย์ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ หรือทำการสอน
แต่หากถวายความรู้พระราชาหรือพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเปลี่ยนเป็นคำราชาศัพท์ก็เปลี่ยนเป็น พระอาจารย์

ดังนั้น คำว่าพระอาจารย์ ในความหมายที่แท้จริงจึงอาจเป็นพระภิกษุ ฆราวาสหรือสามัญชน ก็ได้ หากแต่ได้ทำหน้าที่ ถวายความรู้พระราชาหรือพระบรมวงศานุวงศ์

หากพิจารณาด้วยเหตุผลอย่างนี้

การเรียกพระภิกษุ หรือ พระสงฆ์ ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่สอนหรือถวายความรู้พระราชา หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ว่า พระอาจารย์….. จึงไม่สมควรอย่างยิ่ง

แล้วเราควรเรียกว่าอย่างไรกันดี …
ในความเห็นของผู้เขียน กรณีที่ท่านมีสมณศักดิ์ ก็เรียกตามสมณศักดิ์ของท่าน เช่น พระครู….
พระเทพ…. หรือกรณีบ่งบอกถึงคุณวุฒิของท่าน เช่นพระมหา… เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม
สำหรับพวกเราชาวไทย แม้เราใช้เพียงคำว่า พระ นำหน้า ย่อมเป็นคำเคารพยกย่องเชิดชู ท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยที่เราชาวพุทธทั้งหลายให้ความเคารพอย่างยิ่งแล้ว แต่หากยังอยากจะเชิดชูท่านเป็นพิเศษในฐานะเป็นครูบาอาจารย์ด้วย ก็อาจจะใช้คำว่า อาจารย์พระ……. น่าจะเหมาะสมกว่านะครับ

ทั้งหมดเป็นเพียงข้อสังเกตของผู้เขียนที่สอบทานความรู้จากหลาย ๆแหล่ง และหวังว่าคงมีคำตอบโดยตรงจากทางราชบัณฑิตฯ หรือผู้รู้ทั้งหลายได้ช่วยกันพิจารณาและกำหนดเป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องกันต่อไปนะครับ




 

Create Date : 28 กันยายน 2553
10 comments
Last Update : 28 กันยายน 2553 10:29:24 น.
Counter : 832 Pageviews.

 

"ความทุกข์คือความจริงอันประเสริฐ"

*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~



*~*~* แวะมาทักทายจ๊ะ..สุขสันต์วันสดใส ขอหัวใจเบิกบาน *~*~*


*~*~*~*~*~*~* ..HappY BrightDaY.. *~*~*~*~*~*

 

โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* 5 ตุลาคม 2553 17:18:49 น.  

 

กราบอนุโมทนาสาธุครับ ขออนุญาติ add ท่านนะครับ ขออนุญาติแวะเวียนมาเพี่อสนทนาธรรม เพื่อความเจริญยิ่งๆในธรรมนะครับ ขอบพระคุณครับ

 

โดย: shadee829 18 มีนาคม 2554 23:05:17 น.  

 

ท่านครับ ทำไมชาวพุทธสมัย 2554 เวลามีคนนำพระสูตรที่มีเนื้อความเป็น โลกุตตรธรรม มาแสดงให้ได้เห็น ได้อ่าน ได้ศึกษา ในธรรมที่จะพาให้พ้นโลก พ้นทุข ทั้งมวล กลับไม่มีค่อยมีใครสนใจ ส่งใจไปในเนื้อความของถ้อยคำพยัญชนะ ในอรรถะนั้น กลับยินดีในถ้อยคำโลกๆ เป็นโลกิยะ กลับเชื่อถือในถ้อยคำแห่งมาร ที่ต้องการทำลายสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้ หรือปริวิตกนี้ก็มีมาแล้วแต่โบราณครับ อนุโมทนาสาธุครับ

 

โดย: shadee829 19 มีนาคม 2554 13:15:27 น.  

 

เป็นธรรมดาของสัตว์โลก
พระพุทธองค์ ก็ทรงเล็งเห็น ดังพระสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่, เมื่อกลอง อานกะ นี้มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์สารหะได้หาเนื้อไม้อื่นมาทำเป็นลิ่ม เสริมลงไปในรอยแตกของกลองนั้น(ทุกคราวไป), ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าด้วยเฉพาะเรื่องสุญญตา, เมือมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่: พวกเธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน, ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่: พวกเธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าด้วยเฉพาะเรื่องสุญญตา จักมีด้วยอาการอย่างนี้แล.



(พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓, ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๑๐๗-๑๐๘)


ยินดีได้ร่วมสนทนากันครับ

 

โดย: บุญเรือง 20 มีนาคม 2554 20:07:03 น.  

 

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ ท่านครับผมมีความปราถนาอันหนึ่ง ไม่เคยบอกแก่ผู้ใด ผมมีความปราถนาอย่างแรงกล้าที่จะกราบผู้มีพระคุณที่สั่งสอนอบรมธรรมมะให้ ทำให้มองเห็นทางที่มารมองไม่เห็น ไม่ทราบว่าเมื่อใดวาสนาจะมาถึงครับ แล้วผมจะเข้ามากราบเรียนสนทาธรรมกับท่านใหม่นะครับ

 

โดย: shadee829 21 มีนาคม 2554 18:22:21 น.  

 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตาม

ได้ยาก สงบประณีต มิใช่วิสัยแห่งสัตว์ คือ คิดเอาไม่ได้

หรือไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังหดเหี่ยว

หย่อนยาน มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัด เหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้ว

ชำรุดอีก ได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมไว้ ผูก กระหนาบคาบค้ำไว้ จะยืนนานไป

ได้สักเท่าใด การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง พวกเธอทั้งหลาย

พวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้เรา

ตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”

คุณ shadee829 เห็นพระสูตรแล้วคิดอย่างไรครับ

พระบรมศาสดา กำชับแม้แต่ตัวท่านก็ไม่ให้ยึดถือ

" จงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด "

ยินดีที่ได้ร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ

 

โดย: บุญเรือง 22 มีนาคม 2554 12:46:52 น.  

 

ผมปิติจนนำตาไหลครับ กราบขอบพระคุณท่านครับ อนุโมทนาสาธุครับ

 

โดย: shadee829 22 มีนาคม 2554 15:52:29 น.  

 

แต่ผมขอปราวณาไว้ก่อน ถ้าเมื่อใดท่านบวช ผมขอตามไปปฏิบัติ (บวชตาม) ไปรับใช้ท่าน นะครับ ขอความกรุณาล่วงหน้าครับ สาธุ สาธุ สาธุ

 

โดย: shadee829 22 มีนาคม 2554 23:12:43 น.  

 

ขออนุโมทนา คุณ shadee829 ที่พอใจที่จะออกบวช
คุณ shadee829 ลองศึกษาพระสูตร ว่าด้วย พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ที่ผมนำมาเขียน blog ใหม่ไว้นะครับ

สำหรับผม หากปัจจัยพร้อมให้ออกบวชเมื่อไร ผมก็จปราวณาว่าจะเดินตามพระสูตรนั้นเช่นกัน

 

โดย: บุญเรือง 23 มีนาคม 2554 20:23:50 น.  

 

กราบขอบพระคุณที่เมตตาอบรมและสั่งสอนให้ผมเสมอมาครับ ขออนุโมทนาสาธุครับ

 

โดย: shadee829 23 มีนาคม 2554 23:00:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


บุญเรือง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add บุญเรือง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.