แฟชั่น ความงาม สุขภาพ ดวง สังคมแห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เพื่อแบ่งปันความรู้ เป็นวิทยาทาน ต่อ ๆ ๆกันไป เพื่อประโยชน์ที่จะบังเกิดขึ้น ในกาต่อยอดความรู้ต่าง ๆ
 
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
28 กรกฏาคม 2552
 
 
ไข่ไก่ปลอม

ไข่ไก่ปลอม
พ่อค้าอุตริ-ราคาถูก! 'เหมือนของจริงเด๊ะ ทั้งใบทำจากสารเคมี อันตรายระบาดที่จีน กินมาก-สมองเหี่ยวอย.ยันไม่พบในไทย มนุษย์อุตริทำ "ไข่ไก่ปลอม" ออกวางขายเป็นล่ำเป็นสัน ไม่สนความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำเนียนจนแยกไม่ออกอันไหน "ไข่จริง" อันไหน "ไข่ปลอม" ทั้งยังใช้ต้ม ทอด ปรุงอาหารกินได้ตามปกติ แพทย์เตือนระวังบริโภคไข่ปลอมไม่มีโปรตีน มีแต่สารเคมีอันตราย ทำให้ประสาททำงานช้าลง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไข่แนะวิธีดู อย.ไทยก็เตือนอันตราย แต่เมืองไทยยังไม่เคยพบ

โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ล้วนมีแต่สิ่งแปลกปลอมมากมายเต็มไปหมด ไม่เว้นแม้กระทั่ง "ไข่" ซึ่งเป็นอาหารประจำวันของคนทุกเชื้อชาติ ปรากฏว่า มีคนอุตริทำ "ไข่ไก่ปลอม" ออกวางขายในสนนราคาฟองละไม่ถึง 1 บาท ทั้งยังสามารถนำไปบริโภคได้เหมือนไข่จริงด้วย ทั้งนี้ เรื่องราวไข่ปลอมดังกล่าวเป็นที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 22 ก.ค. ว่า ทางการจีนได้ประกาศเตือนประชาชน เมื่อเดือน ก.ค. ให้ระวังการบริโภคไข่ปลอม หลังจาก นสพ.ฉบับหนึ่งของจีน รายงานข่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นี้ว่า มีการจำหน่ายไข่ปลอมอย่างเป็นล่ำเป็นสันในจีน

ข่าวระบุว่าชาวบ้านคนหนึ่งในมณฑลฝูเจี้ยน ซื้อไข่ปลอมจากพ่อค้าแผงลอยไปบริโภค และพบว่าไข่แดง มีสีสดผิดปกติหลังจากปรุงสุกแล้ว จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ไปตรวจค้นร้านค้าส่งรายหนึ่งในท้องที่เดียวกัน แต่ผู้จัดการร้านปฏิเสธขายไข่ปลอม และว่าไข่ที่ทางร้านส่งขาย สั่งมาจากมณฑลเหลียวหนิง

ทั้งนี้ ไข่ปลอมดังกล่าวหนังสือพิมพ์จีนระบุว่า มีลักษณะเหมือนไข่จริงมาก แต่ไม่มีโปรตีน มีสารเคมีหลายชนิดแทน เช่น สารส้ม โซเดียม อัลจิเนต เจลาติน แคลเซียม คลอไรด์ และโซเดียม เบนโซเอต ส่วนไข่แดง ถูกย้อมสีด้วยเกลือ หรือเอสเตอร์ของกรด "ทาร์ทาริค เอซิด" ซึ่งใช้ทำเครื่องดื่มที่มีฟอง และขนมฟูรวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมถ่ายรูปและฟอกหนัง ไข่ขาวใช้เจลาตินที่ทำเจลลี่และแป้ง รวมทั้งอะลูมิเนียม ส่วนเปลือกไข่ปลอมทำจากสารแคลเซียม คาร์บอเนต และพาราฟินแวกซ์ผสมกับน้ำ

ส่วนการบริโภคอะลูมิเนียม ซึ่งมีสารส้มเป็นส่วนประกอบเป็นเวลานาน นายโล วิงลก แพทย์ชาวจีน เผยว่า มีผลทำให้การทำงานของระบบจิตประสาทช้าลง และส่วนผสมในไข่ไก่ปลอมที่ไม่ละลายหรือย่อยสลาย เช่น แคลเซียม ร่างกายสามารถขจัดผ่านการขับถ่ายได้ ส่วนความเสี่ยงเป็นอันตราย ถือว่ามีไม่สูง เว้นแต่ว่าจะบริโภคปริมาณมากและใช้หรือบริโภคบ่อยๆ

ข่าวระบุว่า ไข่ไก่ปลอมมีวิธีการทำแสนง่าย และใช้ทุนแค่ 1-5 เซนของสกุลเงินเหรียญฮ่องกง (ไม่ถึง 20 สตางค์) เทียบกับราคาไข่จริงอยู่ที่ฟองละ 25-30 เซนของเหรียญฮ่องกง (1-1.2 บาท) อีกทั้งวิธีการทำไข่ปลอมมีเผยแพร่ทั่วไปบนเว็บไซต์หลายแห่งในจีน ขณะที่บริษัทด้านเทคโนโลยีบางแห่งถึงกับเคยเปิดคอร์สสอนวิธีทำไข่ปลอมมาแล้ว คิดค่าสอนคอร์สละ 150 -800 เหรียญฮ่องกง (600-3,200 บาท) รวมทั้งทำวีซีดีวิธีการทำออกขายอีกทางหนึ่งด้วย

ด้าน รศ.ฟัง หยิงซิง ประจำคณะเคมี แห่ง"ฮ่องกง ยูนิเวอร์ซิตี้" กล่าวว่า สารโซเดียม อัลจิเนตและเจลาติน ถูกใช้เป็นสารทำแข็งและรักษามาตรฐานในอาหาร แคลเซียม คลอไรด์ เป็นสารทำระเหย หรือทำให้แห้ง ขณะที่อะลัม หรือสารส้ม ใช้เพื่อทำให้น้ำตกตะกอนหรือเพื่อให้น้ำใสสะอาด ขณะที่สารเจือปนบางอย่างในสารเคมีเหล่านี้ อาจเป็นอันตรายต่อส่วนอื่นๆของร่างกายได้อีกด้วย

ด้านโฆษกศูนย์เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารเผยว่า ฮ่องกงนำเข้าไข่จากมณฑลเหลียว หนิง แต่ผู้ค้ารายย่อยในท้องถิ่นมณฑลเหลียวหนิงอ้างว่าพวกเขาไม่เคยเห็น หรือไม่มีข้อมูลว่ามีไข่ปลอมในพื้นที่ตามที่เป็นข่าว โฆษกคนเดิมเสริมด้วยว่า ไข่นำเข้าจากจีนทั้งหมด ควรมาจากฟาร์มและโรงงานที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง และต้องมี ใบประกาศรับรองจากศูนย์เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร

ข่าวรายงานด้วยว่า ไข่ปลอมถูกตรวจพบในมณฑลเฉิงตูของจีนเมื่อปีที่แล้ว ที่กรุงปักกิ่งในปี 2550 และกวางโจวในปี 2548 มีราคาขายส่งฟองละ 75 สตางค์ โดยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำด้วยว่าไข่ปลอมมีเปลือกไข่ขาวใสกว่าปกติ และไม่มีกลิ่นคาวเหมือนไข่ของจริง ถ้าลองเขย่าไข่ปลอมดู จะได้ยินเสียงขลุกขลิกของน้ำอยู่ข้างใน

นางทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ได้เห็นเรื่องดังกล่าวในอินเตอร์เน็ต แต่จากการตรวจสอบยังไม่พบว่า มีการจำหน่ายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. อาหาร ระบุไว้ชัดเจนว่า หากมีการปลอมอาหารและจำหน่ายเพื่อบริโภค ให้ถือว่าเป็นอาหารปลอม ตามกฎหมายมีโทษสูงสุดจำคุก 5 ปี ส่วนที่มีการระบุว่า ไข่ปลอมจากจีนดังกล่าวใช้เจลาตินและพาราฟีน เป็นส่วนผสมนั้น โดยหลักเจลาตินเป็นสารที่ได้จากกระดูกสัตว์ มีคุณภาพหลายระดับ หากเป็นชนิดที่มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถนำมาบริโภคได้ โดยส่วนใหญ่จะนำมาผลิตเป็นเยลลี่ แต่ถ้าเป็นเจลาตินที่มีคุณภาพต่ำ มีโอกาสมีสารปนเปื้อนสูง ส่วนสารพาราฟีน มีลักษณะเป็นแวกซ์ ใช้สำหรับเคลือบผลไม้ ตามหลักไม่ใช่ของที่ควรนำมาบริโภค เพราะเกิดอันตรายได้ หากต้องการบริโภคไข่ ควรบริโภคไข่จริงๆดีกว่า เพราะจะมีคุณค่าโภชนาการทางอาหารมากกว่า แม้ไข่ปลอมจากจีนจะมีราคาถูก ตามที่มีการระบุ แต่ไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ

ที่มา ไทยรัฐ


Create Date : 28 กรกฎาคม 2552
Last Update : 28 กรกฎาคม 2552 16:29:30 น. 0 comments
Counter : 449 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

inmonany
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add inmonany's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com