Welcome to blogGang Tanasak
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
29 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
ประวัติพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร

ชีวประวัติในช่วงแรก
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 10 คนของ นายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร จบการ

ศึกษาจาก โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (พ.ศ. 2512) และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 (พ.ศ. 2516) โดย

สอบได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของรุ่น

ต่อมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาโท โดยได้รับทุน ก.พ. ศึกษาต่อสาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สำเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ.

2518 และ ได้ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่ มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต ได้รับ ดุษฎีบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2521

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เริ่มทำงาน โดยเป็น หัวหน้าแผนกแผน 6 กองวิจัยและวางแผน กองบัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการ

ตำรวจนครบาล และ อาจารย์ประจำ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ


ธุรกิจ
จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2523 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวหลายอย่าง ควบคู่ไปกับการรับราชการตำรวจ เช่น ค้าขายผ้าไหม ซื้อภาพยนตร์ฉาย กิจการโรง

ภาพยนตร์ ธุรกิจคอนโดมิเนียม แต่ประสบความล้มเหลว เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว จากนั้นได้ลาออกจากราชการ

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2526 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ก่อตั้ง และเป็น ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด (ชื่อเดิม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ (ICSI) ปัจจุบันได้

เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มี นายบุญคลี ปลั่งศิริ เป็น ประธานคณะกรรมการ

บริหาร) ดำเนินธุรกิจ ให้เช่าคอมพิวเตอร์ แก่สำนักงานต่างๆ และได้ขยายกิจการไปสู่ การให้บริการ วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวเทียม และ โทรคมนาคม ครบวงจร

นำไปสู่การชำระหนี้สินในช่วงแรกของการทำธุรกิจ และประสบผลสำเร็จทางธุรกิจในที่สุด

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการ และ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ จาก

นั้นไม่นาน ก็เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัย รัฐบาล นายชวน หลีกภัย และ ในปีต่อมา (พ.ศ. 2538) ได้เข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าพรรค

พลังธรรม ต่อจาก จำลอง ศรีเมือง และ ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในสมัย รัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา ในปี พ.ศ. 2539 ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในสมัย

รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และ ในปี พ.ศ. 2541 หลังจาก รัฐบาลชุด พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งมีผลทำให้เงินบาทลดค่าเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบ

กับเงินดอลล่าร์สหรัฐ ทำให้ บริษัทและธุรกิจในประเทศไทยที่มีภาระเงินจากต่างประเทศ และบริษัทนำเข้าสินค้า ได้รับความกระทบกระเทือนจากภาระหนี้สินต่าง

ประเทศ บริษัท ชินวัตร จำกัด ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดจากการประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาท ด้วยสาเหตุเพราะได้มีการซื้อประกันลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน

ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการ ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทั้งนี้ได้มีข้อวิจารณ์ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งร่วมในคณะรัฐมนตรี ได้ ทราบล่วงหน้า ถึงข่าวภายในจากผู้เกี่ยวข้องโดย

ตรงใน เรื่องการประกาศลดค่าเงินบาท จึงทำให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เตรียมพร้อมรับสถานะการณ์ ด้วยการซื้อประกัน แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการปฏิเสธ จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ

โดยที่ ท่านได้อ้างว่า ท่านสามารถประเมินสถานะการณ์ได้เอง โดยไม่ได้มีการล่วงรู้ข้อมูลลับภายในการประชุมเพื่อลดค่าเงินบาท หลังจากนั้นไม่นาน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็

ได้ใช้ทุนส่วนตัว เพื่อมาก่อตั้ง พรรคไทยรักไทย และ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรค ในที่สุด ได้เข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ใน วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544


นายกรัฐมนตรีสมัยแรก

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร บนปกนิตยสารไทม์ในช่วงแรกที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ป.ป.ช.ได้มีมติว่า บัญชีทรัพย์สินที่แจ้งเป็นเท็จ [ต้องการแหล่งอ้างอิง][1]

ซึ่ง ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิด ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ประเด็นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติพิพากษา ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ พ้นผิด ในจำนวนเสียง

ข้างมากนี้ มี 4 ท่านมีความเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ไม่ถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ภายใต้ข้อบังคับดังกล่าว [2]

นอกจากนี้ ยังถูกกล่าวหาประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน จากตำแหน่งทางการเมือง อาจเอื้อผลประโยชน์ต่อธุรกิจของครอบครัว โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ

สัมปทานจากรัฐ ซึ่งคล้ายคลึงกับกรณีของ ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในยุคสมัยแรกดำเนินนโยบายต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจาก

ประชาชน เช่น การพักชำระหนี้เกษตรกร โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการบ้านเอื้ออาทร ทำให้ได้รับคะแนนเสียงจาก กลุ่มเกษตรกร และประชาชนในชนบททั่ว

ไป อย่างมาก โดยได้รับเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายว่า เป็นการดำเนินนโยบายแบบ นโยบายประชานิยม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีนโยบายปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดอย่างรุนแรง ทำให้การค้ายาบ้า ในประเทศไทยลดลงไปมาก

นโยบายด้านสังคมอื่น ๆ ได้แก่การกวาดล้างผู้มีอิทธิพล และการขายหวยบนดิน เพื่อลดปัญหาจากการค้าหวยเถื่อน โดยการนำรายได้จากการขายหวยบนดินนี้ เป็นเงินทุน

การศึกษาสำหรับเด็กยากจนระดับอำเภอ เพื่อคัดเลือกนักเรียนทุนเหล่านี้ให้แข่งขันกันเอง เพื่อส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศตามสาขาที่นักเรียนทุนต้องการ โดยไม่มี

ภาระผูกพันต้องใช้ทุนแก่ราชการ

อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มักใช้อำนาจสนับสนุนหรือเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติและบุคคลใกล้ชิด เช่น การสนับสนุนให้ได้รับตำแหน่ง

สำคัญ อย่างการผลักดันให้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ให้ได้รับตำแหน่งสำคัญอย่าง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในเวลาต่อ

มา


นายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 จาก ผลการเลือกตั้ง เมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียงอันเป็นประวัติศาสตร์กว่า 19 ล้านเสียง

โดยได้ที่นั่งในสภาจำนวน 376 จาก 500 ที่นั่ง แม้ว่าในช่วงนั้น ฝ่ายตรงข้ามจะโจมตีเรื่องการคอรัปชัน ในขณะที่ พรรคคู่แข่งสำคัญ คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เพียง 96 ที่นั่ง

โดยคะแนนเสียงหลักของพรรคมาจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ กรุงเทพมหานคร โดยในเขตกรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย ได้ 32 จาก 37 ที่นั่ง จาก

นโยบายเมกะโปรเจ็คท์ สร้างรถไฟฟ้า 7 สาย และ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย สึนามิ ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เพียง 4 ที่นั่ง

จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้ง จากประชาชนทั่วทุกภาคทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ยกเว้นในภาคใต้ ซึ่งประชาชนมีความนิยม ต่อ พรรคประชาธิปัตย์

อย่างเหนียวแน่น นั้น โดย พรรคไทยรักไทย ได้เพียง 1 ที่นั่ง พรรคชาติไทย ได้ 1 ที่นั่ง ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ถึง 52 ที่นั่ง

รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นถือว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกในประวัติศาสตร์ไทย ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มาจากพรรคการเมืองเดียว ซึ่งได้รับ

การเลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่ง ของ สภาผู้แทนราษฎร ผลการเลือกตั้งนี้ ทำให้การเมืองไทย มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบสองพรรค

รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายผู้ที่ไม่เห็นด้วย โดยสาเหตุหลัก มาจากความแตกต่างทางความคิดและอุดมการณ์ในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งยัง

กล่าวหาว่า รัฐบาลมุ่งหาประโยชน์ให้กับพวกพ้อง โดยพรรคไทยรักไทย ตั้งฉายาให้กับกลุ่มนักวิชาการและผู้ที่ออกมาวิจารณ์เป็นประจำ อย่างกลุ่มรู้ทันทักษิณ หรือนายธีร

ยุทธ บุญมี ว่า "ขาประจำ" และชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่โจมตีรัฐบาลบางส่วนเป็น กลุ่มทุนเก่า และผู้สูญเสียผลประโยชน์ จากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล จากการที่ กลุ่มทุนใหม่

มีอำนาจทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการ ผู้มีแนวคิดที่แตกต่างไปจากแนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ร่วมให้ความเห็นโจมตีด้วย

ปลายปี พ.ศ. 2548 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้ นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความส่วนตัว ยื่นฟ้อง สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ต่อศาลแพ่ง เรียกค่า

เสียหาย จำนวน 1,000 ล้านบาท ส่งผลให้ ดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก (World Press Freedom) ที่จัดอันดับโดยองค์กรนักข่าวไร้พรมแดน ตกลงจาก อันดับที่ 59 ไปที่อันดับที่

107 แต่ หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม นายธนา เบญจาธิกุล ได้ถอนฟ้อง

เพื่อรับสนองกระแสพระราชดำรัส

ค่ำวันที่ 13 มกราคม ประทิน สันติประภพ สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร กัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการป.ป.ช. สนธิ

ลิ้มทองกุล และ คนอื่นๆ ได้นำขบวนประชาชนที่มาร่วมฟัง รายการ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร กว่า 2,000 คน เดินทางมายังหน้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ดร.

ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง วันรุ่งขึ้นเป็นวันเด็กแห่งชาติมีการสลายการชุมนุมของคนบาลกลุ่มที่ยังตั้งหลักอยู่

ในช่วงกลางเดือน มกราคม รัฐบาล ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 [3] มีสาระสำคัญ เกี่ยวกับ การขยายสัดส่วนการ

ถือหุ้น ของบุคคล และ นิติบุคคลต่างชาติ ใน บริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้ง โทรศัพท์เคลื่อนที่ จาก ไม่เกิน 25% เป็น ไม่เกิน 50% และให้ยกเลิก สัดส่วน

กรรมการบริษัท ที่ต้องเป็น บุคคลสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา วันศุกร์ที่ 20 มกราคม และมีผลบังคับใช้ ใน วันเสาร์ที่ 21

มกราคม ฝ่ายผู้คัดค้าน รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มองว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัวชินวัตรเนื่องจาก หลังจากนั้นเพียง 2 วัน ใน วันจันทร์ที่ 23 มกราคม ครอบ

ครัวชินวัตร และ ดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ใน บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่ครอบครองอยู่ จำนวน 49.595% ให้กับ บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์

จำกัด (พีทีอี) หรือ กองทุนเพื่อการลงทุน ของ รัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดที่ทำให้ประชาชนที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ รวมถึงกลุ่มคนที่เห็นว่าว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หลีกเลี่ยงภาษี ร่วมกันแสดงท่าทีขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ

ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมประท้วงที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จัดขึ้นนานมาแล้ว จนเมื่อเกิดการขายหุ้นดังกล่าวส่ง

ผลให้มีผู้ร่วมชุมนุมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่วนหนึ่งก็มีที่มาจากการการบริหารปะรเทศและการหลีกเลี่ยงภาษีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ นั่นเอง

เย็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ประกาศ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และ จัดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นใหม่ ใน วันที่ 2 เมษายน โดยให้เหตุผล

ในการแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. ในคืนเดียวกันว่า มีกลุ่มคนที่ประท้วงและต่อต้านประชาธิปไตย กดดันให้ตนลา

ออกจากตำแหน่ง แต่ตนจะขอใช้วิถีทางประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่า ต้องการให้ตนกลับมาบริหารประเทศต่อหรือไม่

วันที่ 3 มีนาคม พรรคไทยรักไทย จัดการปราศรัยใหญ่ ที่ท้องสนามหลวง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรค ขึ้นปราศรัย ในเวลา 20.00 น. มีผู้เดินทางมาฟังปราศรัย เป็น

จำนวนหลายแสนคน จนเต็มท้องสนามหลวง และล้นออกไปถึง ถนนราชดำเนินกลาง ใกล้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

วันที่ 5 มีนาคม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดย แกนนำ ทั้ง 5 คน ได้นำประชาชนจำนวนหนึ่ง ปิดล้อม ทำเนียบรัฐบาล กดดันทุกวิถีทาง เพื่อให้ พ.ต.ท.ดร.

ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมือง อีกทั้งต้องตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยืนยันว่า ตนจะลาออกจากตำแหน่ง

รักษาการไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า

คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ จึงไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้


การเว้นวรรคและลาราชการ
วันที่ 4 เมษายน เวลา 20.30 น. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้แถลงการณ์ ผ่าน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า แม้ พรรคไทยรักไทย จะชนะการเลือกตั้ง 2 เมษายนแต่

ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และปรองดองในชาติ แต่ยังจำเป็นจะต้องดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

รักษาการ จนกว่าจะมีการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จนแล้วเสร็จ แต่เมื่อยังคงมีกระแสต่อต้าน จากกรณีที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อ ดังนั้น ในวันที่ 6

เมษายน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ลาราชการ และ แต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง 2 เมษายน ได้ถูกศาลปกครองตัดสินให้เป็นโฆฆะ ไม่ชอบธรรม ประกอบกับผลการตัดสินจำคุก คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้ง ทั้งสามคนที่

อำนวยการเลือกตั้ง ซี่งทำให้การเมืองถึงทางตัน

ในระหว่างลาราชการ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เดินทางเยือน และพบปะหารือ เป็นการส่วนตัว กับผู้นำหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน และ เขต

เศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ตั้งแต่ วันที่ 24 ถึง 30 เมษายน


รัฐประหาร 19 กันยายน
ดูเพิ่ม รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
คืนวันที่ 19 กันยายน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อรัฐประหาร ยึด

อำนาจการปกครอง ของ รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งอยู่ในระหว่าง การร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา


ความเคลื่อนไหวหลังรัฐประหาร 19 กันยายน
หลังการรัฐประหารไม่นาน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้น พำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ได้ส่งจดหมายถึงพรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีเนื้อหาชี้แจง

ถึงสาเหตุการลาออก และได้ขอบคุณในความหวังดี ทั้งของสมาชิกพรรค และผู้ให้การสนับสนุน

นับแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้ นายนพดล ปัทมะ เป็นทนายความส่วนตัว เพื่อทำหน้าที่ ผู้แทนทางกฎหมายในประเทศไทย

นอกจากนี้ นายนพดลยังได้จัดแถลงข่าว เพื่อตอบโต้ผู้กล่าวหาและโจมตี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่เป็นระยะ

วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2550 นายนพดล นำจดหมายที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เขียนด้วยลายมือ เนื้อหาเป็นการตอบโต้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ได้แถลงข่าวสรุปสถานการณ์เหตุ

ระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 1 มกราคม กล่าวหา กลุ่มอำนาจเก่าผู้สูญเสียประโยชน์ทางการเมือง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เขียนปฏิเสธว่า ตนไม่เคยคิดจะ

ทำเรื่องเลวร้ายเช่นนั้น

จากนั้นไม่นาน พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล ได้เรียกสื่อมวลชนประเภทวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงเข้าพบ โดยได้กล่าวเตือนในกรณีการเสนอประเด็นจดหมายของ

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ โดยยื่นคำขาดว่า หากยังพบเห็นการนำเสนอความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อีก ตนจะใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มาตรา 9 และ

มาตรา 11 และ ประกาศ คปค.ฉบับที่ 10 อย่างเด็ดขาด

ราวกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลายแขนง เช่น สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (15 มกราคม) เอ็นเอชเค หนังสือพิมพ์ วอลล์ สตรีท

เจอร์นัล และสื่อมวลชนอื่นๆ ในประเทศสิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น เนื้อหาเป็นการชี้แจงความจริงที่เกิดขึ้นกับตนและประเทศไทย ในระหว่างการเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน

ในเวลาใกล้เคียงกัน มีข้อกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ว่าจ้าง บริษัทล็อบบียิสต์ เพื่อ ชี้ช่องทาง และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับผลประโยชน์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในวอชิงตัน

ดี.ซี. และต่างประเทศ (Provide guidance and cousel with regard to Thaksin’s interest in Washington DC and abroad) [4] [5] [6] [7] แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ปฏิเสธรายงาน

ดังกล่าว

ต่อมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อย่างรุนแรง จากกรณีที่ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ออกมากล่าวหาว่า มีผู้ว่าจ้างให้คนเขียนบทความต่อต้าน

ระบบเศรษฐกิจพอเพียง และสนับสนุนระบบทักษิโณมิกส์ โดยทั้งสองมิได้ระบุว่า มีหลักฐานที่อ้างอิงได้ อย่างไรบ้าง

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เปิดแถลงข่าว พร้อมนำเอกสารมาแสดงว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ว่าจ้าง บริษัทล็อบบียิสต์

แห่งที่ 2 เพื่อให้ช่วยงานด้านการเมือง โดยบริษัทดังกล่าว เป็นของ นายเจมส์ เอ.เบเกอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐ

อเมริกา ที่มีความใกล้ชิดกับ นายจอร์จ เอช.ดับเบิลยู.บุช อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา

นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ แถลงข่าวตอบโต้นายกอร์ปศักดิ์ ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ว่าจ้างบริษัทดังกล่าว ให้ดูแลเกี่ยวกับกฎหมายระหว่าง

ประเทศ และติดตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ไม่ได้จ้างทำงานเป็นล็อบบี้ยิสต์แต่อย่างใด [8] [9]


ผลงานขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เศรษฐกิจ
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป OTOP)
กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้ชาวบ้านนำไปลงทุนทำงานสร้างรายได้
ชดใช้หนี้สินที่รัฐบาลมีต่อ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
เพิ่มอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากร้อยละ 2.1 ในปี พ.ศ. 2544 ขึ้นมาเป็นร้อยละ 6.7 ในปี พ.ศ. 2547 [ต้องการแหล่งอ้างอิง]
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มจาก 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2547 เพิ่มเป็น 5.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2548 [ต้องการแหล่งอ้างอิง]
การเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรี (FTA) กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้สินค้าการเกษตร และเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก จากจีนเข้ามาในประเทศ ส่งผลให้ราคา หัวหอม

กระเทียม และลำไย ในประเทศตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในภาคเหนือ [10][11]
การเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรีกับ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย มีข้อกล่าวหาตามมาว่า ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากโคนม และโคเนื้อ ราคาถูกเข้ามาในประเทศ ผลผลิตใน

ประเทศราคาถูกลง และเกษตรกรขายสินค้าไม่ได้ [ต้องการแหล่งอ้างอิง]
ลดหนี้สาธารณะ จาก 57% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี พ.ศ. 2544 เหลือ 41% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2549[12]

[13]

สาธารณสุข
โครงการ สามสิบบาทรักษาทุกโรค
ป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกสองระลอกแรก

การเกษตร
โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี
โครงการโคล้านครอบครัว ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน
นโยบายปล่อยราคายางพาราให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคายางพาราในสมัยนั้น เพิ่มขึ้นจาก 18 บาท ขึ้นสูงสุดเป็น 80 บาท และลดต่ำลงเหลือ 50-55 บาท มีนัก

วิเคราะห์กล่าวว่า การปล่อยราคา มีผลดีต่อราคา มากกว่าการแทรกแซง [14]
โครงการกล้ายางพารา สืบเนื่องจากราคายางพาราที่สูงขึ้น นายเนวิน ชิดชอบ จึงเสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี โดยนำยางพาราจากภาคใต้ ไปปลูกที่ภาคเหนือ

และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพืช จำกัด ได้รับสัมปทานในการจัดหากล้ายาง หลังจากการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มี

ข้อกล่าวหาว่า กล้ายางในโครงการไม่ได้คุณภาพ โดยขณะนี้ คตส. กำลังตรวจสอบอยู่[15]

การจัดงานและการท่องเที่ยว
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ประจำปี ค.ศ. 2003 ในนามประเทศไทย
โครงการสวนสัตว์กลางคืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และมีข้อกล่าวหาว่า โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ปิดกั้นทางระบายน้ำ และทำลายป่าต้นน้ำ โดยอ้างว่าเป็นเหตุที่ทำ

ให้น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่หลายครั้ง ในรอบปี พ.ศ. 2549 [16]
จัดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ในนามรัฐบาลไทย
เตรียมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในนามรัฐบาลไทย จนเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้เข้าชม ก่อนการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19

กันยายน พ.ศ. 2549

อื่นๆ
ทุนการศึกษาให้นักเรียนต่างจังหวัดมีโอกาสไปเรียนเมืองนอก โดยใช้รายได้จากการจำหน่ายสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว (โอดอส ODOS)
กู้วิกฤติสึนามิ
ปราบปรามยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล โดยใช้การ "ฆ่าตัดตอน" เป็นวิธีการหนึ่ง มีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระบุว่า อัตราการใช้

ยาเสพติดได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังการปราบปราม อย่างไรก็ตาม มีผู้กล่าวหาว่า ผู้คนจำนวนหลักพันคน ถูกฆ่าจากความเข้าใจผิดในกระบวนการฆ่าตัดตอน จนเกิด

ปัญหาสิทธิมนุษยชน และมีการทักท้วงจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และทูตสหรัฐอเมริกา [17]
นโยบายจัดตั้ง จังหวัดสุวรรณภูมิมหานคร เพื่อสร้างเมืองใหม่ ในบริเวณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้จัดสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดใช้

บริการ ก่อนการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นโยบายต่อต้านการคอรัปชั่น
ตู้ไปรษณีย์ นายกฯ (เช่น กรณียายไฮ ขันจันทา เรียกร้องที่ดินคืนจากการสร้างฝาย เป็นเวลา 20 ปี จนได้รับที่คืน)
รายการ "นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน" ทุกเช้าวันเสาร์ เวลา 08.00-09.00 น. ทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เครือข่ายทั่วประเทศ
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลิตละคร ตาดูดาว เท้าติดดิน โดยเรียบเรียงจากหนังสือชีวประวัติของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ยังไม่ได้ออกอากาศ

อื่นๆ

การขายหุ้น กลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ดูบทความหลักที่ กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตระกูลชินวัตร และ ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด

ใน บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่ บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี) ซึ่งเป็น กองทุนเพื่อการลงทุน ของ รัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น

(หนึ่งพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นหุ้น) (คิดเป็น 49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท (เจ็ด

หมื่นสามพันสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านสองแสนเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) ซึ่งถือเป็น การขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยที่

ได้มีการแก้ไข กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายหุ้นเพียงไม่กี่วันก่อนหน้า และการที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น ทำให้เกิด เสียงวิพากษ์วิจารณ์

อย่างมาก ในสังคมไทย โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดที่ทำให้ กระแสการขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ

ออกจาก นายกรัฐมนตรี ขยายตัวออกไปในวงกว้าง





การขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ดูบทความหลักที่ การขับไล่ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ให้ลาออกจากตำแหน่ง เริ่มต้นขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2548 จากการนำ ของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ ซึ่งได้ขยายตัว

ออกไปยังบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ ในเวลาต่อมา

สนธิ ลิ้มทองกุล และ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั้งนักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ชนชั้นปัญญาชนของประเทศไม่ไว้วางใจ และกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ

ใช้อำนาจทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบาย มีผลประโยชน์ทับซ้อน และหลีกเลี่ยงการเสียภาษีจำนวนมหาศาล(ปัจจุบันคดีต่างๆ อยู่ในชั้นศาล) ทำให้ประชาชนแตกแยกรุนแรง

อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน มีการนำงบประมาณของประเทศไปใช้เพื่อสร้างฐานเสียงให้ตัวเอง โดยยืนยันได้จากคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ เอง ว่าจะดูแลคนที่เลือกตัวเอง

ก่อน ปัญหาภาคใต้ซึ่งเป็นภูมิภาคเดียวที่ไม่เลือกพรรคไทยรักไทยรุนแรงอย่างผิดปกติจากที่เคยเป็นมา ทั้งๆ ที่กลุ่มการเมืองที่สังกัดพรรคไทยรักไทยใน 3 จังหวัดชายแดน

ภาคใต้จะครองพื้นที่มายาวนานหลาย 10 ปีก็ต้องสอบตกทั้งหมด เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย เช่น เกิดคดีสังหารผู้นำด้วยการ

ระเบิดด้วยรถยนต์ (คาร์บอมบ์) เกิดการฟ้องร้องกันระหว่างพรรคการเมืองโดยมีหลักฐานอ้างอิง คือ ภาพถ่ายต่างๆ มีประชาชนในถนนสายธุรกิจออกมาด่า พ.ต.ท.ทักษิณ

ชินวัตร มีการทำร้ายผู้ประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรี รวมถึงมีการปิดล้อมสำนักข่างแห่งหนึ่งโดยกลุ่มผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรี

เหตุการณ์รุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้ทหารซึ่งประกาศว่าจะไม่มีการรัฐประหาร กระทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่ที่

ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มทหารอ้างสาเหตุจากความทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล ป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดในบ้านเมือง (เพราะกลุ่มพันธมิตร นักวิชาการ นิสิต นัก

ศึกษานัดชุมนุมใหญ่วันที่ 20 กันยายนเพื่อต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกษตรกร จากภาคอีสาน กลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง

ซึ่งพอใจนโยบายประชานิยม เช่น กองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านละล้าน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค บ้านเอื้ออาทร ก็มีการเคลื่อนไหวเช่นกัน) และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ยัง

ไม่สามารถกลับเข้าประเทศไทยได้จนปัจจุบัน แต่มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตและสงสัยว่าเหตุการณ์และการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ต่อต้านรัฐบาล ที่มาจาก คมช. ที่มี พล.อ.สุรยุทธ์

จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากทนายความส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในทุกเรื่องที่

ถูกกล่าวหา[18] [19] [20]


บทบาททางสังคม
รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัย 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นผู้ก่อตั้ง มูลนิธิไทยคม และเป็นผู้ริเริ่ม แนวความคิด ในการนำดาวเทียมสื่อสาร "ไทยคม" มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบท

ผู้ยากไร้ ที่ไม่สามารถเรียนต่อ ได้มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่น
เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียศึกษา ปี 2538 - ปัจจุบัน
เป็นกรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นกรรมการที่ปรึกษา Bangkok Club
เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลที่ได้รับ
"Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center, มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (พ.ศ. 2539)
"Distinguished Alumni Award" จากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2539
1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ เข้ารับรางวัลจากสถานทูตฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2538)
"บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อ สังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536" จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2537)
1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times (พ.ศ. 2537)
Asian CEO of the Year จาก นิตยสาร Financial World (พ.ศ. 2537)
รับพระราชทาน ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2537)
ทุน "Lee Kuan Yew Exchange Fellowship " จากประเทศสิงคโปร์ คนไทยคนแรกและเป็นบุคคลที่ 3 ที่ได้รับทุน (พ.ศ. 2537)
"1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535)
"รางวัลเกียรติยศจักรดาว" ด้านพัฒนาเศรษฐกิจจากคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร (พ.ศ. 2535)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2517 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
พ.ศ. 2519 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
พ.ศ. 2523 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
พ.ศ. 2528 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2537 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2538 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2539 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2544 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
The Most Blessed Order Of Setia Negara Brunei ชั้นหนึ่ง (P.S.N.B)

ชื่อเรียก
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มีฉายาที่ได้รับจากสื่อมวลชนว่า “แม้ว” เนื่องจาก เป็นฉายาที่เพื่อนร่วมรุ่น โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) ตั้งให้


ฉายา
ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีฉายาต่าง ๆ ที่ได้รับ ทั้งจากสื่อมวลชนและกลุ่มผู้ที่ต่อต้าน โดยหลังการหลุดพ้นคดีซุกหุ้นครั้งที่ 1 แล้ว ได้

รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า " เศรษฐีเหลิงลม " โดยเป็นเปรียบเทียบกับตัวตนของพ.ต.ท.ทักษิณ เอง ที่ถูกมองว่ามีบุคคลิกมั่นใจในตนเองสูง จนกลายเป็นเหลิงไป นอกจากนี้

แล้วยังมีฉายาอื่น ๆ อีก เช่น " เทวดา " " นายทาส " เป็นต้น[21]


อ้างอิง
↑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)กล่าวมูลความผิดว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ปกปิดไม่แจ้งทรัพย์สิน คือหุ้นที่โอนไปให้คนใกล้ชิด คนขับรถ

และคนรับใช้ ถือแทน โดยมีมูลค่าหุ้นจำนวน 646.984 ล้านบาท (จากมูลค่ารวมทั้งหมดที่ครอบครองกว่า 60,000 ล้านบาท) พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชี้แจง ต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า

เอกสารการแจ้งบัญชีทรัพย์สินของ ป.ป.ช.ไม่ชัดเจน อีกทั้งตนเองก็โอนหุ้นนี้ไปให้ภรรยานานแล้ว ก่อนที่จะเข้ามาสู่วงการเมือง แต่ ป.ป.ช.ชี้แจงว่า สามีภรรยาย่อมเป็น

บุคคลเดียวกันตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินในประเด็นนี้ว่า การพิพากษาตัดสินคดีที่มีผลต่อการดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองของ

ประเทศ จะใช้การอนุมานเอาตามกฎหมายไม่ได้ ป.ป.ช.จะต้องนำสืบให้ได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทราบหรือไม่ว่าภรรยาโอนหุ้นไปให้แก่คนอื่นถือไว้แทนตน เพราะในข้อ

เท็จจริงสามีไม่จำเป็นจะต้องทราบสิ่งที่ภรรยาทำทุกเรื่อง ซึ่ง ป.ป.ช.ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ รับรู้การโอนหุ้นครั้งนี้ (คดีนี้มิใช่คดีแพ่ง ที่สามีภรรยามีหน้าที่

รับผิดชอบร่วมกัน หากมีการละเมิดเกิดขึ้น แต่เป็นคดีคล้ายคดีอาญา ที่จะต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนว่า จำเลยทราบการกระทำของภรรยาหรือไม่) โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำ

วินิจฉัยคดีนี้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2544
↑ ดูข้อสังเกตเพิ่มเติมของ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับคดีนี้ได้ที่ [1]
↑ การริเริ่มให้แก้ไข พ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคม เกิดจากการร้องขอของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ออเรนจ์ และ ดีแทค เนื่องจากอยู่ในสภาวะเสียเปรียบในการแข่งขัน

กับ เอไอเอส
↑ //sopr.senate.gov/cgi-win/opr_gifviewer.exe?/2006/EH/000/159/000159199|2
↑ //www.korbsak.com/images/talk_500125/doc1.gif
↑ //www.korbsak.com/images/talk_500125/doc2.gif
↑ //www.korbsak.com/talk_500123.htm
↑ เอกสารต้นฉบับ
↑ ข่าว [//www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0103080250 แฉเป้า"แม้ว"จ้างล็อบบี้ยิสต์ ปลุกรบ.ต่างชาติ กดดันให้เปิดทางกลับ"ไทย" ]

หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
↑ //www.biothai.net/news/view.php?id=3610
↑ //www.sathai.org/article/0027%20FTA%20Impact%20on%20Agriculture.htm
↑ The Nation, Public debt end-Sept falls to 41.28% of GDP, 17 November 2006
↑ World Bank, Thailand Economic Monitor, October 2003
↑ ทวี มีเงิน, "ทักษิณ"ปั้นหรือปั่นศก.(2) "ยางพารา-ข้าว"เก่งหรือเฮง, มติชน
↑ ข่าว 'คตส.'เตรียมสอบ 4 ประเด็นใหญ่ ทุจริตกล้ายาง กรุงเทพธุรกิจบิซวีค 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549
↑ //www.thaioctober.com/smf/index.php?topic=2581.0
↑ บทความ สงครามต่อต้านยาเสพย์ติด คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 26 ฉบับที่ 3462 (2662) วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2546

หน้า 2
↑ The Nation,"'Finland plot' on dangerous ground", 25 May 2006 (อังกฤษ)
↑ The Nation, "Burning Issue: Finland, monarchy: a dangerous mix", May 25, 2006 (อังกฤษ)
↑ The Bangkok Post, "Manager sued for articles on 'Finland plot'", 31 May 2006 (อังกฤษ)
↑ [//www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=4/Jan/2548&news_id=100376&cat_id=500 ไทยโพสต์ บันทึกหน้า 4 / มะนาวหวาน


Create Date : 29 มิถุนายน 2550
Last Update : 29 มิถุนายน 2550 15:04:41 น. 0 comments
Counter : 497 Pageviews.

ธนศักดิ์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

พ่อของแผ่นดิน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

Friends' blogs
[Add ธนศักดิ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.