เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงมาเพื่อ เติมเต็มฝันให้เขาเหล่านั้น "พัฒนาชุมชน"

ชายที่26
Location :
น่าน Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพราะเราคือผู้นำสารจากผู้สร้าง มาถึงชนบทที่ห่างไกล
จงเรียกเราว่า "นักพัฒนาชุมชน"

หากชาวบ้านอยากกินปลา จง อย่านำปลาให้ชาวบ้าน
แต่ จงสอนวิธีการจับปลาให้เขาเหล่านั้นแทน



Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ชายที่26's blog to your web]
Links
 

 
การใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น IMO ต่อการพัฒนาชุมชน (ปฐมบท, บทที่ 1 )

@ ชาวบ้านต้องการกินปลา จง อย่านำปลาให้ชาวบ้าน แต่...จงสองวิธีการจับปลาให้เขาเหล่านั้นแทน @

.....ดำพูดดังกล่าว เป็นคำพูดที่ก้องอยู่ในหัวของนักพัฒนาชุมชนทุกท่านอยู่ตลอดเวลา คำพูดข้างบนนั้น หมายถึงว่า "จงอย่างสร้าง อย่างให้ เพื่อให้เขามีในทีเดียว แล้วเขาจะไม่เห็นค่า แต่จงสอนองค์ความรู้ต่างๆให้เขาแทน แล้วเขาจะมีความรู้ติดตัว และเห็นค่าในองค์ความรู้นั้นๆ" นี่คือความหมายคร้าวๆ ของ ประโยคข้างต้นนี้





.....การพัฒนานั้นเป็นไปได้หลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นถึงการให้ชาวบ้าน ชาวชนบทที่ห่างไกลความเจริญ หรือแม้นแต่สังคมเมืองก็ดี สังคมเกษตรกรรมก็ดี ให้มีความยั่งยืนอยู่ได้โดยพึ่งพาระบบภายนอกให้น้อยที่สุด

นั้นไม่ได้หมายความว่า สอนให้ชาวบ้าน "หยิ่ง" แต่สอนให้รู้จักวิธีการเอาตัวรอด ยืนได้ด้วยลำแข็งของตนเองตะหากหละ และยกระดับฐานะของตนเองให้ดีขึ้นในอีกทางหนึ่ง


.....ท่านอาจจะงงว่า จั่วหัวขึ้นมา ไอ่เจ้าจุลินทรีย์นี้ มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร? กับการพัฒนา ก่อนอื่นเรามารู้จักกับเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้ก่อนดีไหม น่าจะทำความรู้จักกับมันหน่อยเป็นไร ยิ่งสังคมเมืองที่มีแต่ความศิวิไล ยิ่งต้องรู้จักกับมัน

.....จุลินทรีย์ตัวนี้ เราเรียกมันว่า "จุลินทรีย์ท้องถิ่น" IMO Indigennous Micro Organism ทำไม่จึงเรียกว่า จุลินทรีย์ท้องถิ่น ก็เพราะว่า มันได้จากท้องถิ่นบ้านของเราเอง ในรั่วบ้าน เช่น กล้วยน้ำว้า ยอดหญ้า ยอดไม้ ผลไม้พื้นบ้านต่างๆ ท่านอาจงง..



.....ภาพที่ท่านเห็นคือ ตัวจุลินทรีย์ IMO หรือ จุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่เห็นขาวๆในภาพคือ ราขาว ที่เกิดจาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้สร้างขึ้นมา ง่ายๆครับ ท่านใดมีสวน หรือที่บ้านของท่านปลูกต้นไม้ไว้เยอะๆมีไหมครับ ถ้ามีนะครับ ใต้ต้นไม้ของท่าน เคยมีใบของต้นไม้ร่วงลงมาทับถมกันมากๆไหม นั่นแหละครับ บ่อเกิดจุลินทรีย์ตัวนี้ ถ้าท่านไม่เก็บทำความสะอาดมันนะ (แต่ส่วนใหญ่จะเก็บ) ท่านลองไปดูนะ ใต้ๆใบไม้ที่ทับถมกันอยู่หนะ มันจะมี "ราขาวๆ" อยู่... ไม่ต้องตกใจครับ ตัวนี้เป็นราดี เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในท้องถิ่นของท่านเอง มันทำหน้าที่ย่อยสลายใบไม้ให้กลายเป็นธาตุอาหารให้กับต้นไม้ และปรับสภาพดินให้สมบูรณ์

.....นี่แหละครับ ราขาวที่ท่านเห็นในภาพ จะมีลักษณะเดียวกันกับราที่เกิดจากกองใบไม้ที่ทับถมกัน

.....จุลินทรีย์กลุ่มนี้ เป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในกลุ่มดี คือ กลุ่มที่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติมโต และตัวของมันเองก็สร้างออกซิเจนได้ด้วยครับ (ทราบโดยการเพาะเลี้ยงในขวดจะเกิดฟองอากาศขึ้นมา ถ้าในถังจะเกิดไอน้ำในถัง ฟองอากาศดังกล่าว เป็นออกซิเจนไม่ใช่คาร์บอนไดอ็อกไซค์) เมื่อมันอยู่ในดิน มันจะสร้างออกซิเจนให้ดิน ดินจะร่วนซุย สมบูรณ์ ต้นไม้ที่ขึ้นก็จะสมบูรณ์แข็งแรง เพราะอีกทางหนึ่ง มันเป็นตัวโรงงานสร้างธาตุอาหารให้กับต้นไม้อีกด้วย

.....ต้นไม้ก็เหมือนกับร่างกายของคนเรานั้นแหละครับ เมื่อร่างกายแข็งแรง ก็ปลอดจากโรคต่างๆ จริงไหมครับ

โอ๊ะ..โอ๊..แล้วมันเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างไร?
หากใครปลูกต้นไม้จะทราบดี ท่านซื้อปุ๋ยปีๆหนึ่ง คิดเป็นเงินเท่าไร?
ท่านซื้อยาฆ่าแมลงปีๆหนึ่งคิดเป็นเงินเท่าไร?
ท่านซื้อยาฆ่าหญ้า ปีๆหนึ่งคิดเป็นเงินเท่าไร?
แล้วสิ่งที่ท่านซื้อนั้น มันมีผลดีกับผลเสียต่อท่านอย่างไร?

.....การพัฒนาชุมชนนั้น เป็นศาสตร์ในหลายๆรูปแบบที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่า สังคมเมืองหรือชนบทท่านเชื่อไหม เกษตรกรไทยซื้อปุ๋ย เคมีภัณฑ์ต่างๆปีๆหนึ่ง ก็ไม่มีใครใช้หนี้หมด 90% ของเกษตรกรไทย เมื่อนำมาเจาะเลือดดู พบสารพิษในเลือดในระดับอันตรายทั้งสิ้น(เชื่อผมเถอะ ผมหนะออกไปเป็นวิทยากรร่วมกับสาธารณะสุขมาแล้ว) หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยทำนา ทำงานในออฟฟิต ดูจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เจาะเลือดออกมายังระดับเสี่ยงเลยคุณเพราะอะไรครับ? การกินไงครับ มันเข้าทางปากเรานี่เอง

.....อ๊ะอ๊ะ..จุลินทรีย์ตัวนี้ ไม่จำเพาะใช้ในการเกษตรนะครับ แต่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนได้ด้วย ปลอดสารพิษ ราคาถูก ผลิตได้เอง หรือแม้แต่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้ของต่างชาติด้วย โดยวัตถุดิบต่างๆหาได้ในท้องถิ่นของเราเองทั้งนั้น....

.....นี่แหละครับการพัฒนาชุมชน ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง การนำองค์ความรู้ต่างๆเข้าไปเผยแพร่ในชุมชนโดยไม่หวังผลกำไรใดๆตอบแทน ไม่ว่าหน่วยงานใดๆ นั่นก็คือการพัฒนาชุมชน....

.....วันนี้ผมง่วงหละ ขอนอนก่อน แล้วพรุ่งนี้จะมาต่อเรื่องนี้ พร้อมทั้งบอกวิธีการผลิตในขั้นตอนต่างๆ จากการใช้ในกระบวนการทางการเกษตรจนถึงกระบวนการแปรรูปใช้ในครัวเรือนเพื่อปลอดสารพิษลดค่าใช้จ่ายกันเลยทีเดียว....

ให้สมกับคำว่า "การพัฒนาชุมชน"



บทที่ 1

: 24 ต.ค.49

..... ขอกล่าวสวัสดีในเช้าวันนี้ ในบทที่หนึ่งนี้ ผมจะมาขอกล่าวในเรื่อง จุลินทรีย์กับการพัฒนาชุมชนต่อนะครับ ว่า มันมีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างไร?
.....ดั่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนะครับ ท่านพอจะรู้จักจุลินทรีย์เหล่านี้เพียงคร้าวๆแล้วนะครับ ที่มีเราก็เข้ามาถึงว่า จุลินทรีย์เหล่านี้มีบทบบาทอย่างไรในการพัฒนาชุมชน

.....ปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างไร ท่านก็พอจะทราบดี ในที่นี้ผมจะไม่ขอเอ่ยถึง หากว่า มีอะไรสักอย่างหนึ่งมาทดแทนเพื่อลดรายจ่ายภายในครัวเรือนของท่านได้สักอย่างหนึ่ง "ท่านยินดีจะรับไหม" หรือท่านไม่ต้องการลดรายจ่ายภายในครัวเรือนของท่านลง

.....ก่อนที่กระผมจะนำท่านไปสู่บทเรียน ผมจะขอกล่าวอะไรกว้างๆสักหน่อย เพื่อเพิ่มความเข้าใจของท่านให้มากขึ้น ท่านลองกลับมานั่งคิดดูซิว่า หากท่านเป็นเกษตรกรในชนบท ปีหนึ่งๆท่านต้องต้องจ่ายเงินค่าปุ๋ยเคมี หรือเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรไปเท่าไร? แล้วเงินที่จ่ายเพื่อซื้อปุ๋ยหรือเคมีภัณฑ์เหล่านั้น เมื่อนำกลับมาใช้ ผลผลิตที่ได้ เมื่อนำไปขาย ท่านพอมีเงินเก็บหรือไม่ หรือขายเพียงแค่ใช้หนี้สิน? ตอนนี้ท่านมีเงินเก็บเท่าไร? ปุ๋ยเคมีภัณฑ์ต่างๆที่ท่านใช้อยู่นี้ ส่งผลดีกับร่างกายของท่านหรือไม่ อย่างไร? นี่คือคำถามสำหรับกลุ่มเกษตรกรนะครับ



.....ต่อไปเป็นคำถามสำหรับ "กลุ่มชุมชนเมือง" ในขณะนี้ ท่านคิดว่า ท่านห่างไกลกับสารพิษหรือไม่? น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ต่างๆของท่านปลอดภัยหรือไม่? คำโฆษณาชวนเชื่อในสื่อต่างๆ ว่าสิ่งนั้นปลอดภัยท่านเชื่อหรือไม่? ผลิตภัณฑ์ต่างๆโดยเฉพาะน้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำ คุณคิดว่าปลอดภัยไหม? แล้วคุณ...ใช้จ่ายเดือนๆหนึ่งเท่าไร? ในการซื้อสารเคมีเหล่านี้มาใช้กันหละ.....

.....ก็พอจะได้คำตอบกลับมาแล้วนะครับ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านทรงเป็นห่วงในเรื่องนี้ พระองค์ท่านจึงคิดทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียง" ขึ้นมาไงครับ และสิ่งที่ผมจะมาน้ำเสนอกับท่านก็คือ แนวทางหนึ่งของ ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ

@ สิ่งใดทำใช้เองได้ในครัวเรือน จงทำ สิ่งใดทำมิได้จึงซื้อเขามาใช้ @


.....

.....ดั่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จุลินทรีย์ ไม่ใช่ ใช้เพียงการเกษตรเท่านั้น แต่ท่านสามารถนำมาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆในครัวเรือนของท่านได้อีกหลายประการ ตลอดจนเครื่องสำอางต่างๆ ที่มีความปลอดภัย ไร้สารพิษ เพราะวัตถุดิบได้จากธรรมชาติ เขตรั่วบ้านของเราทั้งสิ้น เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

.....เราได้จุลินทรีย์ตัวนี้มาอย่างไร? คำตอบคือ ได้จากการหมักวัถุดิบที่หาได้ในบ้านเรา ไม่ต้องไปจ่ายเงินซื้อ หัวเชื้อที่มาจากญี่ปุ่นในราคาแพง หัวเชื้อจะมีอยู่ 2 ชนิด ท่านจะต้องทำออกมาก่อน 2 ชนิด คือ หัวเชื้อพ่อและหัวเชื้อแม่

สูตรการทำเชื้อพ่อ


1. กล้วยน้ำว้า 3 กก. (เอาแต่เนื้อในสับเป็นชิ้นๆ)
2. น้ำอ้อยก้อน 1 กก.

วิธีทำ


.....อันดับแรกท่านจะต้องหาภาชนะที่มีฝาปิด เช่นถังขาวใส ที่บรรจุน้ำได้ 10 ลิตร ให้ท่านนำส่วนผสมสองอย่างนี้ ผสมกันคลุกให้เข้ากันจนทั่ว ปิดฝา ผนึกด้วยเทปกาวเพื่อกันอากาศเข้าให้สนิด ทิ้งในร่ม พ้นแสงแดด ห้ามแช่เย็น พูดง่ายๆคือ เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องนั่นเอง 15 วัน (ให้ท่านเขียนวันที่ติดเพื่อกันลืม)



ในภาพเป็นหัวเชื้อพ่อหลังจาก 15 วันแล้ว เมื่อครบ 15 วันให้ท่านเปิดฝาดมดู หากมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน แสดงว่า จุลินทรีย์กำลังเจริยเติบโต หากเหม็นเน่าแสดงว่าเน่าเสียใช้การไม่ได้ ให้ท่านเติมน้ำสะอาดเข้าไป 10 ลิตร (น้ำจะต้องใช้น้ำฝน หรือน้ำประปาที่หมักทิ้งไว้อย่างต่ำ 2 คืน เพื่อให้คอร์ลีนในน้ำสลายตัวไป) ปิดฝาผนึกด้วยเทปกาวไว้อีก 30 วัน วิธีการเก็บ เก็บเหมือนเดิม ครบ 30 วันแล้ว เปิดดู จะเป็นราขาวขึ้น ให้ดมดู กลิ่นจะอมเปรี้ยวอมหวาน หากกลิ่นแบบนี้แสดงว่าใช้ได้ ให้กรองเอากากทิ้ง ท่านจะได้หัวเชื้อพ่อที่สมบูรณ์

สูตรการทำหัวเชื้อแม่


1. ผักบุ้ง, ต้นกล้วย, ยอดอ่อนใบไม้ต่างๆ 3 กก.
2. น้ำอ้อยก้อน 1 กก.

วิธีการทำ


วิธีการทำเหมือนหัวเชื้อพ่อทุกประการ



ในภาพคือ หัวเชื่อแม่ ที่มีราขาวปกคลุม ระยะเวลาในการ ทำหัวเชื้อพ่อและหัวเชื้อแม่ รวมทั้งสิ้น 45 วัน ท่านจะต้องทำพร้อมกันทั้งสองชนิด



ในภาพคือ (ซ้ายมือ) หัวเชื้อแม่ (ขวามือ) หัวเชื้อพ่อ

.....หลังจากได้หัวเชื้อพ่อและหัวเชื้อแม่แล้วให้ท่านนำทั้ง 2 อย่างนี้ มาผสมกัน ท่านจะได้หัวเชื้อที่สมบูรณ์และพร้อมใช้งานและขยายพันธ์อีกต่อไป

..... ในการขยายหัวเชื้อ และ การนำหัวเชื้อไปใช้ในงานต่างๆ การนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ผมจะนำมากล่าวให้ท่านทราบในบทต่อไป สำหรับวันนี้ พอเพียงเท่านี้ ผมจะต้องออกไปฟัฒนาชุมชน ไปสร้างห้องสมุดให้กับชาวบ้านต่อแล้ว สวัสดีทุกท่าน




Create Date : 24 ตุลาคม 2549
Last Update : 24 ตุลาคม 2549 23:16:20 น. 8 comments
Counter : 1020 Pageviews.

 
เห็นด้วยครับ


โดย: T_Ang วันที่: 24 ตุลาคม 2549 เวลา:2:12:12 น.  

 
แวะเข้ามาหาความรู้ค่ะ


โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 24 ตุลาคม 2549 เวลา:8:02:10 น.  

 
ได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกแล้วเรา......ดีแล้วครับที่หันมาสนใจกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเพิ่มขึ้น.....ชีวิตเราก็จะดีขึ้นด้วย
แวะมาทักทาย ครับ


โดย: suthan (ราม-ไทย-จีน ) วันที่: 24 ตุลาคม 2549 เวลา:10:02:41 น.  

 
แวะมาดูหล่ะ..


โดย: Auui IP: 61.19.116.131 วันที่: 24 ตุลาคม 2549 เวลา:12:03:12 น.  

 


โดย: น้องม้า.. IP: 203.154.152.254 วันที่: 24 ตุลาคม 2549 เวลา:12:06:30 น.  

 
เป็นความรู้จริงๆ ค่ะ


โดย: รุ้ง IP: 161.200.255.162 วันที่: 24 ตุลาคม 2549 เวลา:12:15:33 น.  

 

จะกินปลา อ่ะ

จับให้หน่อย .....

ย่างเกลือ มาให้ด้วย .....

ขอน้ำจิ้มแจ่ว แซ่บๆ ด้วยนะ ......



โดย: นิหน่า IP: 58.8.34.244 วันที่: 24 ตุลาคม 2549 เวลา:12:59:23 น.  

 
เปลี่ยนภาพหน้าจอได้มั้ยคะ อ่านยากจัง...แต่ภาพสวยดีค่ะ..ขอบคุณความรุดีๆเช่นนี้ด้วยนะคะ


โดย: สนใจ IP: 192.168.99.121, 222.123.30.235 วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:13:10:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.