เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงมาเพื่อ เติมเต็มฝันให้เขาเหล่านั้น "พัฒนาชุมชน"

ชายที่26
Location :
น่าน Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพราะเราคือผู้นำสารจากผู้สร้าง มาถึงชนบทที่ห่างไกล
จงเรียกเราว่า "นักพัฒนาชุมชน"

หากชาวบ้านอยากกินปลา จง อย่านำปลาให้ชาวบ้าน
แต่ จงสอนวิธีการจับปลาให้เขาเหล่านั้นแทน



Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
3 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ชายที่26's blog to your web]
Links
 

 
การพัฒนาชุน กับ เผ่ามลาบลี (ตองเหลือง) ความเป็นมาของเผ่า "มลาบลี" (บทที่1)

มลาบลี : ตองเหลือง


ผีตองเหลือง (Petungleang) หรือ ชนเผ่าที่อยากให้เรียกตนเองว่า มลาบรี (Mlabre) ซึ่งแปลว่าคนป่า วาทกรรมทั้งสอง ใช้เรียกชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าทึบของเทือกเขาสูง ๆ แถบรอยต่อ ของประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาชนประชาธิปไตยประชาชนลาว ดำรงชีพด้วยการหาของป่าล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ ลักษณะการยังชีพคล้ายกับมนุษย์ยุค สังคมล่าสัตว์ ( Hunting - Gathering Society ) ประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ - ๔๕,๐๐๐ ปี ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ( ชาตรี เจริญศิริ , ๒๕๔๙ ) ยังชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผักผลไม้มากิน รู้จักก่อไฟแล้วแต่ไม่รู้จักการเพาะปลูกไม่นิยมไปหาอาหารไกลจากที่พักเมื่ออาหารแถว ๆ ที่พักหมดจะย้ายที่พักอาศัยไปหาแหล่งอาหารแห่งใหม่




.....วาทกรรมที่เรียกว่า ผีตองเหลือง เกิดจากผู้คนที่ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในป่าลึกดังกล่าวมาแล้ว และเรียกว่า ผีตองเหลือง ตามลักษณะการยังชีพแบบไร้ร่องรอยและไม่อยู่กับที่ ว่องไวปราดเปรียวหลบลี้คนแปลกหน้ารวดเร็วดั่ง “ผี” และพฤติกรรมการย้ายที่อยู่อาศัยเมื่อใบไม้หรือใบตองที่ใช้มุงที่อยู่อาศัยเริ่มเหลือง “ตองเหลือ” เรียกรวมกันว่า “ผีตองเหลือง”


.....วาทกรรมที่เรียกว่า มลาบรี (Mlaber) เข้าใจว่าน่าจะเริ่มมาตั้งแต่นักมานุษยวิทยาเริ่มเข้าไปสำรวจและวิจัย มีการติดต่อสื่อสาร ( ประมาณ ๓๐ กว่าปี ) น่าจะสื่อสารและตีความหมายที่ชุมชนรอบข้างเรียกชนเผ่าดั่งเดิมนี้ว่า “ผีตองเหลือง” ผิดไปจากความเข้าใจของชุมชนรอบข้าง ตีความใหม่ว่าผีในที่นี้ หมายถึงคนตาย ซึ่งในความเป็นจริงชุมชนรอบข้างไม่ได้ให้ความหมายคำว่า “ผี” ในที่นี้ว่า คนตาย แต่ให้หมายตามดั่งกล่าวข้างต้น และอาจเป็นเหตุให้ชนเผ่า ผีตองเหลือง ต้องการให้เรียกเขาว่า มลาบรี หรือ ตองเหลือง ซึ่งในแวดวงนักวิชาการส่วนใหญ่จะใช้คำว่า มลาบรี เป็นส่วนใหญ่




.....อย่างไรก็ตาม จะเรียก ผีตองเหลือง , ตองเหลือง หรือ มลาบรี ก็ย่อมหมายถึง ชนเผ่าดึกดำบรรพ ยุคก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั่งเดิมสมัยหินเก่า ชนเผ่าเล็ก ๆ ที่ก้าวพ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยมาเป็นหมื่น ๆ ปี และเป็นที่น่าเสียดายที่กำลังจะถูกกระแสการพัฒนาเข้าไปทำลายความเป็นชาติพันธุ์ดั่งเดิมที่พวกเขาธำรงให้คงอยู่มาเป็นหมื่น ๆ ปี>


ภูมิหลัง ผีตองเหลืองไม่มีความสามารถจำเรื่องราวในอดีตของเขาได้เลย รู้แต่ปัจจุบัน ไม่คิดถึงอนาคต มีผู้สันนิษฐานว่า กลุ่มชนเผ่า ผีตองเหลืองมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วเร่ร่อนยังชีพเคลื่อนย้ายที่อยู่ไปตามเทือกเขาป่าทึบตามแนวตะเข็บชายแดน ไทย - ลาว ทางตอนเหนือของไทย โดยเฉพาะในเขตจังหวัด น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย ปัจจุบันนี้พบที่ จังหวัดน่าน ทางการจัดให้อยู่กับที่อย่างถาวร ที่บ้านห้วยหยวก หมู่ ๖ ตำบลแม่ขนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในจังหวัดแพร่อยู่ในการดูแลของมิชชันนารีเข้าไปให้ความช่วยเหลือและสอนศาสนาอยู่ในจังหวัดแพร่


ปรัชญาชีวิต รักอิสระ ไม่ชอบการบังคับ เป็นคนชื่อ ไม่พูดโกหก ไม่สะสมของเครื่องใช้และอาหารและสร้างที่อาศัยแบบถาวร


ที่พักอาศัย เนื่องจากนิสัยรักอิสระไม่สร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร สร้างแบบเพิงชั่วคราวใช้ใบตองมุงหลังคา และย้ายไปสร้างที่ใหม่เมื่อใบตองเริ่มเหลือง หรือ มีผู้บุกรุก จะย้ายทันที
วิถียังชีพ ด้วยการด้วยการหาของป่า จำพวกเผือกมัน ผักผลไม้ที่กินได้ และล่าสัตว์ อาหารที่หามาได้จะนำมาแบ่งให้เท่ากัน แม้จะมีเพียงน้อยนิดก็จะแบ่งกัน หลักการคล้าย ทฤษฎีมาร์กซิส ต่างกันตรงที่ไม่มีชนชั้นปกครอง จะถือว่าเป็นต้นกำเนิด ของทฤษฎีมาร์กซิส ก็น่าจะเรียกได้




กลุ่มภาษา จัดอยู่ในตระกูลย่อยของมอญ - เขมร ของกลุ่มออสโตรเอเชียติค



การแต่งกาย แบบดั่งเดิมผู้ชายจะใช้เปลือกไม้มานุ่งหรือผ้าเตี่ยวพันส่วนล่าง เรียกว่าผ้า “ตะแหย้ด” ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงก็สวมชุดที่ทำจากเปลือกไม้
จารีตประเพณี มีการนับถือวิญญาณและเซ่นสรวงบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นผู้รักษาป่าและภูเขาแม่น้ำต่าง ๆ อันเป็นแหล่งอาหารและเส้นสายแห่งชีวิตของพวกเขา ไม่สร้างที่อยู่อาศัยที่ถาวร ไม่ปลูกพืช ไม่เลี้ยงสัตว์ ไม่ประกอบอาชีพ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษจากผีสางเทวดา


การครองเรือน ชนเผ่าผีตองเหลืองจะอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆจะเป็นแต่งงานนอกกลุ่ม (Exogamy) โดยจะไม่แต่งงานกับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน และกับบุคคลที่เป็นเครือญาติกัน นอกจากนี้ ชาวตองเหลืองยังยึดถือการแต่งงานแบบสามีภรรยาเดียว (monogamy) จะมีคู่ครองช้อนไม่ได้ เว้นแต่จะหย่าร้างกันหรือตายจากกันจึงจะหาคู่ครองใหม่

ความสำคัญ ชนเผ่าผีตองเหลืองถือได้ว่าเป็นชนผ่าเดียวที่หลงเหลือข้ามพ้นการเปลี่ยนแปลงมาเป็น หมื่น ๆ ปี ให้เราได้ศึกษาถึงวิถีชีวิตบรรพบุรุษ ของคนเราในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในด้านการยังชีพ ความคิดความเชื่อ และที่สำคัญ ณ เวลานี้กระแสการพัฒนากำลังกลืนชาติพันธุ์กลุ่มนี้จนเกือบจะไม่เหลือความเป็นมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ให้เห็นแล้ว


.....นี่ก็คือความเป็นมาแบบย่อๆของชนเผ่า "มลาบลี" หรือ "ตองเหลือง" ท่านก็พอจะเข้าใจบ้างแล้วนะครับว่า พวกเขาเหล่านั้น มีความเป็นมาอย่างไร ความเป็นมานี้จะนำพาท่านไปสู่ความเข้าใจในวิถีชีวิตจริงๆของพวกเขาในการพัฒนา ในบทต่อไป กระผมจะพูดถึงเรื่องการพัฒนาชนเผ่ากลุ่มนี้ ว่าจะพัฒนาไปในด้านใด อย่างไร โดยใช้ประสบการณ์ของตัวกระผมเองที่ได้เข้าไปสัมผัสร่วมกับ "คณะภาคีจิตอาสาพัฒนาชนเผ่าตองเหลือง จังหวัดน่าน" กรุณาอดใจติดตามตอนต่อไปครับ กระผมจะนำมาเผยแพร่ในทุกๆด้านหากเป็นไปได้


สำหรับบทแรกนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ แล้วพบกันในบทการ พัฒนาต่อไป





Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2550 0:24:05 น. 12 comments
Counter : 2577 Pageviews.

 
หากชาวบ้านอยากกินปลา จง อย่านำปลาให้ชาวบ้าน
แต่ จงสอนวิธีการจับปลาให้เขาเหล่านั้นแทน


โดย: หม๋องแหม๋ง วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:54:15 น.  

 
คิดลึก ๆ แล้ว ต้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทน....ผู๋แทนคนเดียว....ทำงานได้...อุ๊ย ปวดหัวกับมนุษย์....เอาไอเดียเก็บใส่ลิ้นชักก่อน เดี๋ยวว่าง ๆ เมื่อไรค่อยมาคิดกันใหม่.........ตรงโน้นสนุกกว่า...เดี๋ยวมานะจะมาช่วยสานต่อไปตรงโน้นก่อน..แต่ฉันเป็นนักพัฒนานะจะบอกให้


โดย: เขมิศราสุดสวย IP: 125.25.205.89 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:10:19:58 น.  

 
คห ข้างบนนะบ่นกับตัวเอง ฮิฮิ


โดย: เขมิศราสุดสวย IP: 125.25.205.89 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:10:22:07 น.  

 
คุณบอล ชาวไทยในอังกฤษ แนะนำให้ผมรู้จักบล็อคแห่งนี้ จึงขอเขียนขอบคุณ

และในโอกาสนี้ขอถือโอกาสไปบอกเล่า บอกกล่าวให้ นพ.ชาตรี เจริญศิริ ที่ผมเพิ่งไปพบเมื่อเย็นวันนี้ ได้มาเยี่ยมชมบล็อคนี้

ขณะเดียวกัน มีข้อเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ และเว็ปที่ผม ถือโอกาสแนะนำที่นี้ เพื่อร่วมแนะนำและต่อยอดความรู้ ความจริง ที่ปรากฏบนโลกใบนี้ครับ

//gotoknow.org/blog/mrabri

//www.mrabri.in.th

//www.chownan.com/board/index.php?board=1;action=display;threadid=151;start=0

ยินดีที่ได้รู้จัก โลกใบนี่มีความจริงที่รอคอยทุกท่านมาร่วมเรียนรู้ อย่างไรก็ดี โปรดอย่าลืม !!! ให้เกียรติ และยอมรับว่าความจริงบนโลกใบนี้ อาจไม่เหมือนสิ่งที่เราคิด เราหวัง เพราะความรู้ ความจริง ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จ เหมือนอาหารซอง อาหารกระป๋อง อาหารตามสั่งที่เรามักใช้เงิน หรืออำนาจกำหนด


โดย: chownan04 IP: 125.25.13.24 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:57:11 น.  

 
เข้าเยี่ยมบล็อคแล้ว ดูดีมากเลยครับ
ขอคุณที่แพร่ความรัก+ความรู้ ให้ได้อ่าน


โดย: ชาตรี IP: 124.157.201.211 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:14:35:32 น.  

 
สำหรับผม เรียกได้ว่ามาช้า หรือเปล่าไม่รู้ แต่สนใจเรื่องพี่น้องตองเหลืองมานาน ตั้งแต่เป็นเพิงใบตอง จนเข้าสู่ยุคบริโภคนิยมสุดโต่ง จะคอยติดตามครับ ขอบคุณที่มีบล็อคเช่นนี้ครับ


โดย: พีชพงศ์ IP: 203.146.63.184 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:19:09:34 น.  

 
การจรรโลงไว้ ซึ่ง ภาษาและวัฒนธรรม ของพี่น้องมราบรี ณ วันนี้ แม้ คณะจิตอาสา ยุติบทบาท แต่ชีวิตมราบรียังต้องเคลื่อนไป
อยากรู้จักท่าน ชายที่ 26
S_mrabri07@hotmail.com


โดย: mrabri07 IP: 125.25.218.146 วันที่: 3 ธันวาคม 2550 เวลา:13:07:03 น.  

 
การพัฒนามันเหมือนกับการทำลาย


โดย: ปิมปา IP: 202.28.48.5 วันที่: 14 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:26:24 น.  

 
สุดยอด


โดย: เบล IP: 118.173.164.246 วันที่: 18 มิถุนายน 2554 เวลา:21:06:59 น.  

 
ขอบคุณมาก สำหรับข้อมูล ทำให้รู้เกี่ยวกับชนเผ่า
" มลาบลี


โดย: เมย์ IP: 118.173.164.246 วันที่: 18 มิถุนายน 2554 เวลา:21:13:47 น.  

 
นพะยหยะอสปแยนจำส


โดย: วพาพะ IP: 118.173.164.246 วันที่: 18 มิถุนายน 2554 เวลา:21:14:24 น.  

 
การพัฒนา..คือการเปลี่ยนแปลง..นำไปสู่การเกิดสิ่งใหม่..แต่แท้จริงแล้วมันก็แฝงไว้ซึ่งสิ่งหนึ่ง..เส้นบางๆแห่งการทำลาย..สัจธรรมที่อยู่คู่กันอย่างไม่เคยแยกจาก


โดย: คนหลงไพร IP: 110.49.235.103 วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:17:12:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.