สาเหตุของโรคปวดหลัง

สาเหตุของปวดหลัง

โรคปวดหลังส่วนใหญ่มักจะไม่ร้ายแรงร้อยละ 50หายในสองสัปดาห์ ร้อยละ 90 หายในสามเดือน ส่วนใหญ่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลังอักเสบมักจะหายได้ง่ายเนื่องจากกล้ามเนื้อมีเลือดไปเลี้ยงมาก

สาเหตุของโรคปวดหลังที่พบในคนอายุระหว่าง 20-60 ปี สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคของหมอนรองกระดูก

* กล้ามเนื้อหลังอักเสบ
กล้ามเนื้อหลังอักเสบ Lumbar strian

กล้ามเนื้อหลังโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณเอวจะเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญในการเดิน การนั่งและการยกของ เนื้อเยื่อหลังเช่น กล้ามเนื้อ เอ็นของหลังถูกยืดหรือหดเกร็งจะทำให้เกิดการอักเสบของหลัง การอักเสบของกล้ามเนื้อหลังเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดในโรคปวดหลังซึ่งมีสาเหตุจาก การใช้กล้ามเนื้อหลังมากไป การใช้กล้ามเนื้อหลังผิดวิธี หรือการได้รับบาดเจ็บผู้ป่วยมักหายในเวลา 3 เดือน หากเกินกว่านั้นให้ถือว่าเป็นเรื้อรัง ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหลังอักเสบมักจะเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีแต่สามารถเกิดได้ทุกอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเฉพาะที่และมักจะปวดหลังเกิดเหตุการณ์กระตุ้น การวินิจฉัยไม่ยากมักจะได้ประวัติการได้รับบาดเจ็บ ไม่มีอาการอ่อนแรงหรืออาการชา x-ray กระดูกหลังปกติ

การรักษา ประกอบด้วยการพักและการให้ยาแก้ปวดและลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ การประคบร้อนประคบเย็น การนวด การบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง ไม่ควรพักนานเพราะอาจจะเกิดผลเสีย ยาแก้ปวดก็ใช้ยา paracetamol ถ้าไม่หายปวดก็ให้ใช้ NSAID

ยาลดการอักเสบ NSAID

ยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวดที่แพทย์และผู้ป่วยนิยมใช้กันใช้ทั้งลดไข้ในเด็ก ลดอาการข้ออักเสบ แต่ยากลุ่มนี้ก็มีผลข้างเคียงหากใช้ยาไม่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านที่ใช้ยากลุ่มนี้ต้องศึกษาถึงผลดีและผลเสียของยากลุ่มนี้ข้อบ่งชี้ในการใช้ยากลุ่มนี้ได้แก่

1. ใช้เป็นยาแก้ปวด Analgesic ได้แก่ยา Diclofenac; Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen
2. ใช้ลดการอักเสบ Anti-inflammatory ได้แก่ยา Flurbiprofen; Indomethacin; Naproxen; Sulindac; Tenoxicam
3. ใช้แก้ปวดประจำเดือน Antidysmenorrheal ได้แก่ยา Diclofenac; Flurbiprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen; Piroxicam
4. ใช้รักษาโรคเก๊า Antigout agentไดแก่ยา Diclofenac Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Naproxen; Phenylbutazone; Piroxicam; Sulindac
5. ใช้ลดไข้ Antipyretic—Ibuprofen; Indomethacin; Naproxen
6. ใช้รักษาข้ออักเสบ Antirheumatic ได้แก่ยา Diclofenac; Diflunisal; Etodolac; Fenoprofen; Flurbiprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Nabumetone; Naproxen; Oxaprozin; Phenylbutazone; Piroxicam; Sulindac; Tenoxicam; Tiaprofenic Acid; Tolmetin
7. ใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะจากหลอดเลือด Vascular headache prophylactic ได้แก่ยาFenoprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Mefenamic Acid; Naproxen
8. ใช้แก้ปวดศีรษะจากหลอดเลือดสมอง Vascular headache suppressantได้แก่ยา Diclofenac; Diflunisal; Etodolac; Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen

ข้อควรกระทำก่อนใช้ยากลุ่มนี้

1. แพ้ยา หากท่านผู้อ่านแพ้ยาดังต่อไปนี้ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชก่อนใช้ยา และไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้เองเนื่องจากอาจจะแพ้ยา

* Aspirin or other salicylates
* Ketorolac
* Oxyphenbutazone
* ibuprofen (e.g., Suprol)

2. หากท่านผู้อ่านเป็นโรคหัวใจหรือโรคไตไม่สามารถรับอาหารที่มีเกลือมากไม่ได้ ต้องแจ้งแพทย์เนื่องจากยาในกลุ่มนี้บางตัวมีเกลือผสมอยู่ อาจจะทำให้โรคที่ท่านเป็นอยู่มีอาการทรุดลง
3. การตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ยาในคนท้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และอาจจะเกิดปัญหากับทารกดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยารับประทานเองขณะตั้งครรภ์
4. ขณะให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาดังต่อไปนี้ indomethacin meclofenamate phenylbutazone piroxicam เนื่องจากมีรายงานว่าเกิดผลข้างเคียง
5. ผู้สูงอายุ อาจจะทำให้สับสน หน้า เท้าบวม ปัสสาวะออกน้อย
6. หากท่านผู้อ่านที่รับประทานยาอื่นร่วมด้วยต้องแจ้งแพทย์และเภสัชทุกครั้ง
7. ถ้าหากท่านมีโรคประจำตัวต้องแจ้งทุกครั้ง เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคลมชัก โรคเลือด โรคกระเพาะ โรคไต เป็นต้น

วิธีการใช้ยาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

หลังจากที่รับประทานยานี้แล้วท่านจะต้องทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

* ให้ดื่มน้ำทันที 1 แก้วและห้ามนอนราบเป็นเวลา 30 นาทีเพื่อป้องกันยาระคายเคืองต่อกระเพาะและหลอดอาหาร
* ให้รับประทานยานี้พร้อมอาหาร หรือรับประทานยาลดกรดร่วมด้วย
* ยาที่ออกฤทธิ์ช้า delayed-release (enteric-coated) ไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหาร หรือยาลดกรด
* ยานี้ให้กลืนห้ามเคี้ยว

* หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท Lumbar disc herniation



เมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อมก็จะมีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกเข้าไปในช่องไข สันหลัง หรือช่องที่รากประสาทโผล่ออกมาทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทดังกล่าว ตำแหน่งที่พบบ่อยคือข้อสันหลังระดับเอวที่ 4-5( L4- L5 )(lumbar segments 4 and 5) หรือ L5- S1 (lumbar segment 5 and sacral segment 1)ซึ่งจะมีอาการ

* รากประสาทระดับ L5 ถูกกดทับผู้ป่วยจะมีอาการกระดกนิ้วหัวแม่เท้าไม่ได้และเวลาเดินขาจะลากเนื่องจากยกเท้าไม่ขึ้น ชาหรือปวดบริเวณหลังเท้าอาจจะเร้าไปบริเวณก้น



ผู้ป่วยจะมีอาการชาบริเวณนี้



ผู้ป่วยไม่สามารถกระโดกเท้าขึ้น

รากประสาทระดับS1 ถูกกดทับผู้ป่วยไม่สามารถผุ้ป่วยจะเหยียดเท้าไม่ได้และมีอาการชาหรือปวดบริเวณผ่าเท้าและด้านข้างของเท้า



ผู้ป่วยจะมีอาการชาบริเวณนี้



ผู้ป่วยจะเหยียดเท้าไม่ได้

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวเหมือนไฟช็อตจากเอวลงไปขาเรียก Sciatica ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 6 สัปดาห์ระหว่างที่รอให้หายอาจจะมีการรักษาเพื่อลดอาการปวดดังนี้

* การทำกายภาพ Physical therapy
* การนวดทางการแพทย์ Osteopathic/chiropractic manipulations
* การใช้ยาลดอาการอักเสบNon-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)
* การใช้ยา Oral steroids (e.g. prednisone or methyprednisolone)
* การฉีดยาAn epidural (cortisone) injection

หากอาการปวดไม่หายใน 6 สัปดาห์ก็แนะนำให้ผ่าตัด

* หมอนรองกระดูกเสื่อม Degenerative disc disease

หมอนรองกระดูกเสื่อม lumbar degenerative disc disease

เกิดจากจุดเริ่มต้นที่มีการบิด (twisting)อย่างรุนแรงต่อหมอนกระดูกทำให้หมอนรองกระดูกไม่แข็งแรงไม่สามารถ เป็นข้อต่อที่ดีให้กับกระดูดหลัง และเกิดการอักเสบทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง





หมอนรองกระดูกไม่เหมือนกล้ามเนื้อที่มีเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงมากเวลาเกิด โรคจึงหายได้เร็ว แต่หมอนรองกระดูกไม่มีเลือดไปเลี้ยงทำให้เป็นโรคเรื้องรังและอาการจะเป็นมาก ขึ้นเรื่อยๆ

การเสื่อมของหมอนรองกระดูกตามอายุมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังเนื่องจากไม่มีการอักเสบและข้อหลังมีความมั่นคงดี

การรักษา

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ปวดไม่มากสามารถด้วยยาและการบริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังกาย

* การบริหารโดยยืดกล้ามเนื้อต้น hamstring stretching
* การออกกำลังที่ใช้กล้ามเนื้อหลังน้อยdynamic lumbar stabilization exercises
* การออกกำลังกายแอโรบิคที่มีการกระแทกน้อย low-impact aerobic conditioning

สำหรับยาที่ใช้ได้แก่ยากลุ่ม NSAID paracetamol การผ่าตัดจะทำในรายที่มีอาการปวดมากไม่สามารถทำงานได้

* Isthmic spondylolisthesis

สาเหตุของโรคปวดหลังที่พบในคนอายมากกว่า 60 ปีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคข้อต่อ

* ข้อเสื่อม Facet joint osteoarthritis
ข้อกระดูกหลังเสื่อม Facet joint osteoarthritis

การเสื่อมของข้อสามารถเกิดได้ทุกข้อ เมื่อมีการเสื่อมจะสูญเสียกระดูกอ่อน และน้ำหล่อเลี้ยงข้อ เมื่อเวลาเคลื่อนไหวก็จะทำให้ปวด อาการที่สำคัญคือจะปวดมากในตอนเช้าเมื่อเวลาผ่านไปน้ำหล่อลื่นข้อมีมากขึ้นทำให้อาการปวดลดลง แต่สายๆจะปวดมากขึ้น

การรักษา

ผู้ป่วยมักจะรักษาได้ด้วยยาและการออกกำลัง บางรายที่ปวดมากก็ต้องผ่าตัด

* การบริหารโดยการยืดเส้น Stretching exercises โดยเฉพาะการยืดกล้ามเนื้อ hamstring muscles กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อหลัง การบริหารดังกล่าวจะป้องกันอาการปวดหลัง
* สำหรับผู้ที่มีอาการปวดมากอาจจะให้การรักษาแบบ chiropractic or osteopathic manipulations
* การบริหารในน้ำซึ่งจะช่วยลงแรงที่กระทำยังกระดูกหลังจะช่วยบรรเทาอาการปวด
* ยาแก้ปวดที่ได้ผลดีคือ paracetamol ถ้าหากไม่ได้ผลก็สามารถใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
* การผ่าตัดจะทำในกรณีที่ปวดมาก แพทย์จะทำการเชื่อมกระดูกให้ติดกัน

* ท่อไขสันหลังตีบ Lumbar spinal stenosis
ท่อไขสันหลังตีบ Lumbar spinal stenosis

เมื่ออายุมากขึ้นข้อทุกข้อของร่างกายจะเสื่อมรวมทั้งข้อ Facet joint ซึ่งจะทำให้ข้อนี้ใหญ่ขึ้นก็จะไปเบียดเส้นประสาท เมื่อลุกยืนช่องที่จะให้รากประสาทผ่านจะเล็กลงทำให้การไหลของเลือดที่จะไ ปเลี้ยงเส้นประสาทลดลงจะเกิดอาการปวดหลังเมื่อยืน ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้สึกสบายดีเมื่อนั่งหรือนอน แต่เมื่อเดินจะทำให้ปวดหลังยิ่งเดินมากจะทำให้ปวดมาก การใช้ไม้เท้าหรือการเข็นตะกร้าตามห้างจะช่วยลดอาการปวดหลัง

การรักษา

1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด

* การเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยมักจะรู้สึกสบายเมื่อหลังอยู่ในท่างอไปข้างหน้าเล็กน้อย เวลาเดินก็ใช้ไม้เท้าช่วย การออกกำลังใช้วิธีการขี่จักรยานอยู่กับที่
* การฉีดยาเข้าไขสันหลังอาจจะช่วยบรรเทาได้ชั่วคราวสามารถฉีดได้ปีละ 3 ครั้ง

2. การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อทำให้รูกว้างขึ้นส่วนใหญ่ได้ผลดี

* กระดูกหลังเสื่อม Degenerative spondylolisthesis

กระดูกสันหลังเคลื่อน Degenerative spondylolisthesis

ข้อที่กระดูกหลังประกอบด้วยข้อ 3 ข้อคือระหว่างกระดูกสันหลังขั้นกลางด้วยหมอนรองกระดูก ร่วมกับ ข้อ facet อีก2 ข้อ เมื่อมีการเสื่อมของ Facet joint osteoarthritis ก็ ทำให้ข้อกระดูกหลังไม่แข็งแรงโดยเฉพาะข้อที่มีการเคลื่อนไหวมากเช่นข้อ กระดูกสันหลังเอวข้อที่ 4-5 (L4-L5 ) ตำแหน่งที่พบรองลงมาได้แก่ข้อ L3-L4ทำให้มีการเคลื่อนที่ของข้อเกิดการกดทับรากประสาทและเกิดรูท่อประสาท ตีบ lumbar spinal stenosis.

เนื่องจากมีการกดทับเส้นประสาท การรักษาจึงมักจะผ่าตัดเพื่อลดการกดทับเส้นประสาทและการเชื่อมกระดูกให้ติดกัน


นอกจากนั้นยังพบสาเหตุอื่นๆอีกพร้อมทั้งอาการของโรค

สาเหตุและอาการของโรคปวดหลัง

โรค : โรคที่เกิดจากข้อและกล้ามเนื้อ (ข้อเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอักเสบ)
อาการ : ไม่มีอากาชาขา ปัสสาวะอุจาระปกติ กดหลังจะปวด

โรค : หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทSciatica (herniated disc)
อาการ : ปวดขาร่วมกับหลัง ปวดแบบไฟช็อต เมื่อนอนยกเท้าขึ้นจะทำให้ปวด

โรค : กระดูกหลังหักSpine fracture (compression fracture)
อาการ : ประวัติได้รับอุบัติเหตุ มีโรคกระดูกพรุน กดบริเวณที่หักจะปวด

โรค : ข้อเคลื่อน Spondylolysis
อาการ :มักเกิดในนักกีฬาเช่น ฟุตบอล ยกน้ำหนัก ยิมนัสติก จะปวดเมื่อแอ่นหลัง

โรค :มะเร็ง
อาการ :ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักลด มีไข้ มีประวัติมะเร็ง

โรค :SLE
อาการ :ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดข้อนิ้ว มีผื่นที่หน้า

โรค :การติดเชื้อ
อาการ :มีไข้ อาจจะติดยาเสพติด เป็นวัณโรค กดบริเวณโรคจะเจ็บ

โรค :การติดเชื้อ
อาการ :มีไข้ อาจจะติดยาเสพติด เป็นวัณโรค กดบริเวณโรคจะเจ็บ

โรค :หลอดเลือดแดงใหญ่โป่ง Abdominal aortic aneurysm
อาการ :ผู้ป่วยจะปวดท้อง ปวดหลัง ไม่มีท่าที่สบาย คลำได้ก้อนในท้อง

โรค :ไขสันหลังตีบ spinal stenosis
อาการ :กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ ชาบริเวณก้น มีอาการอ่อนแรงของขา

โรค :คอพอกเป็นพิษ Hyperparathyroidism
อาการ :อาการจะค่อยเป็นค่อยไป มักจะมีแคลเซียมในเลือดสูง มีนิ่ว

โรค :นิ่วในไต Nephrolithiasis
อาการ :ปวดมวนๆร้าวลงขาหนีบ ปัสสาวะมีเลือด




















Create Date : 20 ตุลาคม 2551
Last Update : 20 ตุลาคม 2551 20:24:14 น. 5 comments
Counter : 3483 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะคุณแม่น้องแปงแปง

คิดถึงค่ะ..

ขอบคุณข้อมูลที่ดี ๆ อ่านแล้วมีประโยชน์

I_sabai จะมีอาการปวดหลังบางครั้งค่ะ

คิดอะไรไม่ออก ก็ใช้พาราฯ ไว้ก่อน





โดย: I_sabai วันที่: 20 ตุลาคม 2551 เวลา:19:52:07 น.  

 
หลงเข้ามาอ่านเพราะตอนนี้ปวดหลังมากคับ ขอบคุณข้อมูลดีๆมีประโยชน์
มากคับ เพิ่งไปหาหมอมา คุณหมอบอก กระดูก L3S1 อักเสบคับ

ตอนนี้ยังนั่งนานไม่ได้เลยคับ

มีวิธีการรักษาดีๆช่วยแนะนำหน่อยนะคับ mokngam@hotmail.com


โดย: np. IP: 117.47.11.54 วันที่: 25 ธันวาคม 2551 เวลา:21:56:50 น.  

 
เน€เธกเน‰เธ™ เน€เธกเน‰เธ™ เน€เธกเน‰เธ™
เธซเธฅเธ‡เธกเธฒเธˆเธดเธ‡เน†เธ”เน‰เธงเธข เธญเธดเธญเธด
เน€เธ™เธทเน‰เธญเธซเธฒเธ”เธตเธ™เธฐ thank ^_^


โดย: dan IP: 124.157.129.164 วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:21:44:48 น.  

 
จากข้อความที่ได้อ่านได้ความรู้มาก เพราะตัวเองมีอาการปวดหลัง และกนกบ ตอนนี้มีอาการขาบวม ซึ่งเป็นมาหลายปี ซึ่งตอนนี้รักษาอยู่ ตอนนี้กินยาและให้กายภาพบำบัด


โดย: นางสาวเฉลิมศรี อรรคพันธุ์ IP: 125.26.6.202 วันที่: 27 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:40:15 น.  

 
ok'


โดย: สมบูรณ์ สถิตย์รัตนชีวิน IP: 49.49.99.239 วันที่: 20 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:44:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่น้องแปงแปง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]






แป๊ว แม่น้องแปงแปง






Photo Flipbook Slideshow Maker


Photo Flipbook Slideshow Maker


Photo Flipbook Slideshow Maker





Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
20 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่น้องแปงแปง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.