พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 พฤศจิกายน 2549
 

มารู้จักสายพันธ์ของปลาการ์ตูนกันเถอะ

ปลาการ์ตูนที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังทั่วโลกมี 28 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Amphiprion ซึ่งรวมถึงปลาการ์ตูนที่พบในไทยด้วย ปลาการ์ตูนอยู่รวมกันและพึ่งพาอาศัยแบบ Symbiosisกับดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนมีขนาดเล็ก ว่ายน้ำไม่เร็ว อาวุธป้องกันตัวไม่มีจึงต้องอาศัยดอกไม้ทะเลที่มีเข็มพิษป้องกัน ปลาการ์ตูนบางชนิดมีความเจาะจงกับชนิดของดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนหลายชนิดสามารถอาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลไม่เจาะจง ในการอยู่ร่วมกันนั้นมีปัจจัยที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดนี้อยู่ร่วมกันได้ นอกจากนี้ปลาการ์ตูนยังสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ในตัวเอง ถ้าปลาตัวเมียในฝูงเสียชีวิตปลาตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นปลาตัวเมียแทน ปลาการ์ตูนตัวผู้ทำหน้าที่ดูแลไข่
ปลาการ์ตูนที่พบทั่วโลกมีอยู่ 2 สกุล คือ Premnas และ Amphiprion ทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันที่ปลาในสกุล Premnas มี Opercular spine หรือหนาม ในขณะที่ปลาการ์ตูนสกุล Amphiprion ไม่มี Opercular spine ไม่มีหนาม Premnas มีสมาชิกเพียงตัวเดียวในสกุลนี้ (Monotypic Genus) ในโลกนี้มีพันธุ์ปลาการ์ตูนอยู่ทั้งหมดรวม 28 species ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Amphiprion ปลาการ์ตูนที่พบในประเทศไทยมี 7 species ซึ่งเป็นปลาการ์ตูนที่พบที่ฝั่งอันดามันมี 5 ชนิด
ปลาการ์ตูนส้มขาว AMPHIPRION OCELLARIS



ลำตัวมีสีส้มเข้มมีแถบสีขาวพาด 3 แถบ บริเวณส่วนหัว ลำตัว และหาง อย่างละ 1 แถบ แถบขาวแต่ละแถบนั้นตรงขอบตัดด้วยสีดำ อาศัยอยู่ในที่ลึกตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตสุดประมาณ 9 เซนติเมตร แหล่งที่พบ แถบฝั่งทะเลอันดามัน หมู่เกาะนิโคบา อินโดมาลายัน อาชิพิลาโก ฟิลิปปินส์ และทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย
ลักษณะเด่นของปลาการ์ตูนชนิดนี้ คือ จะมีแถบสีขาว 3 แถบพาดลำตัว โดยแถบกลางจะมีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าคล้ายลูกศร โดยแต่ละแถบจะมีขอบสีดำ และมีปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับชนิดนี้ นั่นคือ Amphiprion percula (Clown Anemonefish) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้มีความแตกต่างกันที่ Amphiprion ocellaris จะมีจำนวน spine มากกว่าอยู่ 1 อัน ขนาดของ spine และยาวกว่า ปลาการ์ตูนทั้งสองชนิดแพร่กระจายอยู่ในต่างพื้นที่กัน พบ Amphiprion ocellaris ในบริเวณทะเลอันดา-มัน, หมู่เกาะอินโดนีเซีย, ทางแถบตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ส่วน Amphiprion percula นั้นจะพบทางแถบตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ในประเทศออสเตรเลีย, หมู่เกาะเมลานีเซีย

ปลาการ์ตูนอินเดียน AMPHIPRION PERIDERION ( SKUNK ANEMONEFISH )

ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็กๆ พาดผ่านบริเวณหลัง ตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร สามารถพบปลาการ์ตูนชนิดนี้ได้ในฝั่งทะเลอันดามัน
ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ คือ มีแถบสีขาวเล็กๆ พาดผ่านตลอดตามแนวยาวของครีบหลังจนถึงครีบหาง ซึ่งปลาการ์ตูนชนิดนี้จะไม่มีลาดพาดลำตัวเหมือนกับปลาการ์ตูนชนิดอื่น ปลาชนิดที่คล้ายคลึงกัน คือ Amphiprion sandaracinos จะมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ต่างกันตรงที่แถบที่พาดบริเวณหลัง ซึ่งจะมีลักษณะของแถบกว้างกว่า สีของแถบสว่างใสกว่า และสีของลำตัวเป็นสีส้มสดใส




ปลาการ์ตูนลายปล้อง AMPHIPRION CLARKII ( CLARK'S ANIMONEFISH )

ลำตัวมีสีดำเข้ม ส่วนหน้าครีบอกและหางมีสีเหลืองทอง มีแถบสีขาว 3 แถบ ตรงส่วนหัว ลำตัวและโคนหาง ปลาชนิดนี้มีการผันแปรของสีสูงไม่ต่ำกว่า 8 รูปแบบ สีของลูกปลาวัยรุ่นต่างจากปลาเต็มวัยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปลาการ์ตูนลายปล้องจัดเป็นปลาการ์ตูนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ขนาดโตเต็มที่สุดความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลาการ์ตูนลายปล้องมีการแพร่กระจายกว้างมาก อาจอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม 3-4 ตัว โดยตัวเมียซึ่งมีขนาดโตสุดเป็นจ่าฝูง ตัวที่มีขนาดรองลงมาเป็นตัวผู้



ปลาการ์ตูนแดงดำ (Red Saddleback Anemonefish)

ลำตัว และครีบมีสีแดงอมส้ม มีปานดำใหญ่ที่ข้างตัว พบในที่ลึกตั้งแต่ 2-15 เมตร ขนาดที่โตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร แหล่งที่พบ ทะเลอันดามัน นิโคบาร์ มาเลเซีย สุมาตรา และชวา
ลักษณะเด่นของปลาการ์ตูนชนิดนี้ คือ มีปานสีดำข้างลำตัวเห็นได้ชัด และมีลักษณะคล้ายกับ Amphiprion frenatus (พบทางตอนใต้ของจีนจนถึงญี่ปุ่น), Amphiprion melanopus (พบทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค) , Amphiprion rubrocintus (พบทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย) ซึ่งมีบางส่วนที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ ในตัวเต็มวัยจะมีแถบเส้นสีขาวเส้นเดียวพาดที่หัว ต่างกันตรงที่ เกล็ดแข็งบริเวณหัวของ Amphiprion frenatus, Amphiprion melanopus, Amphiprion rubrocintus ไม่มีการขยายออกและจะอยู่บริเวณกลางตา แต่ Amphiprion ephipium จะมีเกล็ดแข็งอยู่ที่ระดับเหนือตา



ปลาการ์ตูนอานม้า (Saddleback Anemonefish)

ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ มีแถบสีขาว 2 แถบ แถบแรกอยู่หลังตา อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง ลักษณะคล้ายอานม้า พบในที่ลึกตั้งแต่ 2-30 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร ซึ่งชนิดนี้จะพบเฉพาะในอ่าวไทย
ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ คือ มีแถบสีขาวกว้างบริเวณหลังตา และส่วนกลางของลำตัวก็มีลายคล้ายอานม้าพาดที่กลางตัวขึ้นไปที่ครีบหลัง ส่วนอกและส่วนท้องมีสีเหลือง หรือส้ม ปลาที่มีลักษณะคล้ายกับ Amphiprion polymus คือ Amphiprion sebae ต่างกันที่ลักษณะหาง โดย Amphiprion sebae จะมีหางสีเหลืองที่มีลักษณะคล้ายลิ่ม แต่ Amphiprion polymus จะมีลักษณะหางเป็นสีน้ำตาลอมดำ และมีขอบสีขาว





 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2549
3 comments
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2549 0:59:28 น.
Counter : 4799 Pageviews.

 
 
 
 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ ชอบปลาการ์ตูน ^^
 
 

โดย: Clear Ice วันที่: 26 พฤศจิกายน 2549 เวลา:7:27:57 น.  

 
 
 
อยากรู้จักปลาการ์ตูนทุกสายพันธุ์
ทำรายงานได้มะครบอ่ะค่ะ
แต่ก้อขอบคุณนะค่ะ
ดีจริงๆ
 
 

โดย: mbonk_@hotmail.com IP: 119.42.70.189 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:27:50 น.  

 
 
 
0856176779
 
 

โดย: ean007za@hotmail.com IP: 182.52.81.113 วันที่: 25 มกราคม 2556 เวลา:8:53:29 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

jtee482
 
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




MR. NEMO
[Add jtee482's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com