ค้นพบ ท่ารำโบราณเก่าแก่ ของสุวรรณภูมิ ก่อนกำเนิดสุโขทัย

ประติมากรรมจามในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่เด่นและรู้จักกันดี ก็เช่นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์พร้อมกับกำเนิดพระพรหม แบบศิลปะหมีเซิน กลุ่ม อี ๑ (My Son E1) สลักจากหินทรายสีเทาอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ (คริสต์ศตวรรษที่ ๗) เราจะเห็นภาพพระนารายณ์บรรทมอยู่บนพญาอนันตนาคราชในเกษียรสมุทร มีพระพรหมประทับบนดอกบัวซึ่งผุดออกมาจากพระนาภีของพระนารายณ์ (RecumbentVishnu and the birth of Brahma) ตามเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับภาพประติมากรรมที่พบได้ในอินเดีย แต่น่าสังเกตว่าพระพักตร์ของพระนารายณ์มีลักษณะเช่นเดียวกับเศียรพระนารายณ์ ศิลาที่พบในคาบสมุทรมลายูในยุคเดียวกัน (//www.finearts.cmu.ac.th )



ภาพจาก teak-teca.com



ศิลปะจามปา แบบที่พบที่จ่า เกี่ยว (Tra Kieu) ตัวอย่างชิ้นหนึ่งในกลุ่มนี้ได้แก่ภาพสลักนูนสูงของพระศิวะนาฏราชสิบหกกร ศิลาทรายสีเทา สูง ๘๗ เซนติเมตร แบบศิลปะดง เซือง และเคือง หมี อันอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน หรือราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕(ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐) ซึ่งเป็นแบบที่หาได้ยากมากชิ้นหนึ่งขณะที่ประติมากรรมจามที่ได้จากจ่า เกี่ยวกลับมีแนวทางการออกแบบอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งในอินเดียเอง หรือบนดินแดนเอเชียอาคเนย์ก็ตาม และจะกลายเป็นแบบแผนต่อศิลปะจามในยุคหลังต่อไปอีกนาน ดังเห็นได้จากรูปศิวลึงค์ศิลาบนฐานโยนีทรงกลม รองรับด้วยฐานสี่เหลี่ยมอีกครั้งหนึ่งศิลปะแบบจ่า เกี่ยว สูง ๔๓ เซนติเมตร กว้างยาวประมาณ๑.๗๕ เมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๐) ซึ่งบางครั้งบริเวณท้องไม้ระหว่างบัวคว่ำและบัวหงายของฐานโยนีรูปกลมนั้นก็ นิยมตกแต่งด้วย หน้าอกผู้หญิงอยู่รายรอบ ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนคิดว่านั่นเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิงและความอุดม สมบูรณ์ ซึ่งรองรับความเข้มแข็งของเพศชายที่ปรากฏในรูปของศิวลึงค์ อันเป็นคตินิยมดั้งเดิมของชนในเอเชียอาคเนย์เท่าๆ กับที่เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะและศักติในอินเดีย ขณะที่ฐานสี่เหลี่ยมซึ่งมีภาพสลักเล่าเรื่องตัวละครต่างๆ กลับสะท้อนอิทธิพลศิลปะชวาอย่างเห็นได้ชัดเท่าๆกับอิทธิพลศิลปะอินเดียใต้ จอร์ช เซเดส์(George Coedes) เป็นผู้ศึกษาพบว่าภาพบุคคลต่างๆ ที่ฐานสี่เหลี่ยมของศิวลึงค์แบบจ่าเกี่ยว นี้เล่าเรื่องพระกฤษณะจากคัมภีร์ภควัตปุราณะ (BhagavataPurana) โดยเป็นการเล่าเรื่องทวนเข็มนาฬิกา อันแสดงถึงผู้นับถือไวษณพนิกายของชนชาวจามปาในพุทธศตวรรษที่๑๖ นั่นเอง ภาพสลักในศิลปะจามแบบจ่า เกี่ยวที่มีชื่อเสียงอีกภาพหนึ่ง ได้แก่รูปหญิงนักเต้นรำจากจ่าเกี่ยว (The Tra Kieu dancer) สลักจากศิลาทราย โดยเป็นส่วนตกแต่งฐานศิลานางกำลังฟ้อนรำอยู่ในท่าตริภังคะ โดยมือซ้ายพุ่งออกไปทางขวาของลำตัวมือขวาหักข้อศอก ขาสองข้างอเข่าเล็กน้อยมีเครื่องประดับพวกกำไลต้นแขน สายสร้อยคอสามเส้น เข็มขัดซึ่งล้วนเลียนแบบสร้อยลูกปัดหรือไข่มุก เช่นเดียวกับภาพสลักรูปหญิงนักเต้นรำ อีกส่วนหนึ่งของฐานศิลาเดียวกันก็ปรากฏภาพคนธรรกำลังเล่นเครื่องดนตรีที่ เรียกว่าพิณเปี๊ยะ ซึ่งเป็นเครื่องสายชนิดเดียวกับที่พบในรูปปูนปั้นภาพหญิงนักดนตรีในศิลปะ ทวารวดีจากคูบัว ราชบุรี พิณเปี๊ยะเช่นนี้ยังคงสืบทอดเล่นกันมาถึงนักดนตรีพื้นบ้านล้านนาปัจจุบันนี้ ด้วย

(เรียบเรียงโดย ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์)


ภาพจาก teak-teca.com





Create Date : 20 ตุลาคม 2555
Last Update : 21 ตุลาคม 2555 18:13:25 น.
Counter : 4361 Pageviews.

1 comments
  
หวัดดีครับ

เป็นความรู้ใหม่ครับ...เคยอ่านแต่ว่าท่ารำของเรามาจากอินเดีย
โดย: Dingtech วันที่: 20 ตุลาคม 2555 เวลา:19:14:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
8
10
11
12
18
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog