อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
มุม"ใจ"การเมืองไทย รัฐประหาร หลังเลือกตั้ง

คุยกับ “ใจ อึ๊งภากรณ์” หลังกลับอังกฤษ... รัฐประหาร, หลังเลือกตั้ง, และขบวนการภาคประชาชนไทย

วิทยากร บุญเรือง: สัมภาษณ์

หายไปนาน สำหรับ ใจ อึ๊งภากรณ์ วันนี้ลองมาพูดคุยกับเขาหลังจากกลับจากอังกฤษ ไปพบใครบ้าง ไปดูทีมแมนฯ ซิตี้แข่งหรือไม่? พร้อมทั้งมุมมองต่อการเมืองไทย รัฐประหาร, หลังเลือกตั้ง, และขบวนการภาคประชาชนไทย

ใจไปอังกฤษไปทำอะไร? ไปเจอทักษิณหรือเปล่า?

มีคนล้อว่าไปขอเงินทักษิณ แต่อยู่คนละเมือง ผมไปออคซ์ฟอร์ด แล้วยังไงทักษิณกับผมคงเกลียดขี้หน้ากัน ผมไปอังกฤษเพื่อไปใช้เวลากับลูกชายอายุ 8 ขวบในช่วงที่เขาย้ายจากสาธิตจุฬาฯไปเข้าโรงเรียนรัฐที่ออคซ์ฟอร์ด แต่ผมต้อง

ทำงานเพราะลาเพิ่มพูนวิชาการ ผมกำลังเขียนตำราภาษาไทยเรื่องประเด็นทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผมปรับปรุงการสอนด้วย ทำ power point

ได้เจอนักวิชาการอังกฤษหรือไม่? คุยกันเรื่องการเมืองไทยแล้วพวกเขามีมุมมองต่อประเทศไทยขณะนี้อย่างไรบ้าง?

ไม่เจอครับ เพราะทำงานอยู่บ้าน และช่วงนั้นใครๆ รวมถึงผมเองสนใจสถานการณ์ในพม่า

ใจลองวิเคราะห์สาเหตุการทำรัฐประหารที่ผ่านมาให้ฟังหน่อย ทุนใหม่ขัดแย้งกับศักดินาหรือเปล่า? หรือด้วยเหตุผลอะไร?

มันเป็นมิติชนชั้นในหลายแง่คือ ทักษิณกับพรรคพวกมันขัดแย้งกับทหาร นายทุนกลุ่มอื่นและข้าราชการอนุรักษ์นิยม เพื่อครองและขูดรีดพวกเรา

ทีนี้ทักษิณมีสูตรพิเศษคือใช้นโยบายประชานิยมที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนจริง เพื่อสร้างฐานเสียงและสร้างความสงบทางสังคมชนชั้น เพื่อปรับประสิทธิภาพเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตปี 40 มีการปราบอิทธิพลมืดที่ใกล้ชิดกับทหาร

ปรับโครงสร้างข้าราชการให้ทันสมัย ซึ่งทำให้ทหารและข้าราชการหัวเก่าไม่พอใจ ส่วนชนชั้นกลางและนักธุรกิจนายทุนตอนแรกปลื้มทักษิณ มาเบื่อภายหลัง และนายทุนบางส่วนขัดแย้งกับทักษิณเมื่อไม่สามารถร่วมกินได้ ในที่สุด

มีการประท้วงไล่ทักษิณ การที่ภาคประชาชนส่วนที่ล้าหลังคือพันธมิตรฯ ทำแนวร่วมกับนายทุนรักเจ้า ก็เปิดทางให้มีรัฐประหาร

ส่วนศักดินาในไทยไม่มีมานานแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ มีการแปรตัวไปเป็นนายทุนและประมุขสมัยใหม่ ทั้งๆ ที่มีภาพความเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้น จริงๆ แล้วหลัง 14 ตุลาฝ่ายนายทุนและนักการเมืองนาย
ทุนก็ต่อยอดงานของจอมพลสฤษดิ์ในการเชิดชูโปรโมตเจ้า

ดังนั้นนายทุนไม่ได้ขัดแย้งกับกษัตริย์ ทักษิณก็ไม่ขัดแย้ง แต่ขัดแย้งกับพวกอนุรักษ์ที่อ้างความชอบธรรมจากสถาบันต่างหาก นี่คือสาเหตุที่ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นเพราะถูกใช้โดยกลุ่มการเมืองเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ซึ่งทั่วโลก

นายทุนกับเจ้าศักดินาฟิวเดอล์ประนีประนอมตกลงกันไปนานแล้วตั้งแต่ 1848 และในกรณีไทยศักดินาเก่าได้ปฏิวัติสังคมให้ทันสมัยในยุคอาณานิคม

ดังนั้นการรัฐประหารที่ผ่านมา เป็นแค่การช่วงชิงอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำเท่านั้นหรือ?

ไม่ใช่แค่นั้น เพราะคนชั้นล่างเกี่ยวข้องอย่างแยกไม่ออกในสองส่วน ส่วนแรกคือทหารไม่กล้าทำรัฐประหารถ้าภาคประชาชนซีกพันธมิตรไม่เปิดทางให้ และส่วนที่สองคือฝ่าย คมช.และพรรคพวกซึ่งรวมนักการเมืองประชาธิปัตย์

เขาไม่สามารถใช้กลไกประชาธิปไตยสู้กับทักษิณได้เพราะประชาชนชั้นล่างส่วนใหญ่เลือกที่จะสนับสนุนนโยบายไทยรักไทย

ฉะนั้นการทำรัฐประหารเป็นการจงใจตัดสิทธิ์และทางเลือกของชนชั้นล่าง เวลาเราพูดถึงประเด็นชนชั้น บางคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องหยาบๆ คนจนสู้กับชนชั้นปกครองเท่านั้น แต่มันมากกว่านั้นเสมอ ในกรณีไทยรักไทยมีการเบี่ยงเบนการต่อสู้ทางชนชั้นไปใช้เพื่อสนับสนุนพรรคนายทุน สาเหตุหลักเพราะพรรคภาคประชาชนที่จะมาเป็นทางเลือกและแข่งกับไทยรักไทยยังไม่มี

แล้วรัฐประหารที่ผ่านมา มันกระทบกับคนจนอย่างไร?

ประชาธิปไตยมันมากกว่าแค่เลือก สส. มันเกี่ยวกับสิทธิในการเดินขบวน ตั้งสหภาพแรงงาน ตั้งขบวนการเกษตรกร เคลื่อนไหว นัดหยุดงาน รวมทั้งเรื่องการมีเสรีภาพในการวิจารณ์ชนชั้นปกครอง การทำรัฐประหารทุกครั้งขัดกับประโยชน์คนจน

แต่กรณี 19 กันยา มันยิ่งชัดเจนมากขึ้นเพราะฝ่ายเสรีนิยมกลไกตลาดที่คัดค้านสวัสดิการสำหรับคนจนมันยึดอำนาจ แล้วนำเศรษฐกิจพอเพียงมาบังหน้าในขณะที่นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เซ็นสัญญา FTA และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แม้แต่การบังคับจดทะเบียนยา (Compulsory licensing: CL) ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่รัฐบาลนี้ทำไปเพื่อประหยัดงบประมาณรัฐเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อลดราคายาให้ประชาชน

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่นโยบายเศรษฐกิจเพราะไม่มีสาระพอ ตรงนั้นมันเป็นลัทธิทางการเมืองเป็นหลัก บางคนเรียกว่าปรัชญา แต่เป็นลัทธิของชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมเพื่อใช้ประกอบกับ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” และเพื่อคัดค้านสวัสดิการจากรัฐในรูปแบบประชานิยมและรัฐสวัสดิการด้วย

หลังการเลือกตั้ง ใจคิดว่าจะเป็นอย่างไร?

การเมืองกลับสู่การเมืองน้ำเน่าของนักการเมืองที่ไม่มีนโยบายให้ประชาชนเลือกอย่างชัดเจน ผมไม่เคยเชื่อว่าทักษิณและไทยรักไทยสร้างระบบอุปถัมภ์ด้วยนโยบายประชานิยม ผมคิดว่าชาวบ้านตัดสินใจเลือกเพราะมีนโยบายที่เป็นประโยชน์

แต่หลังรัฐประหารทุกพรรคไม่มีนโยบายอีก พรรคพลังประชาชนก็แย่เพราะมีผู้นำที่เป็นศัตรูของคนจนมาตลอด ประชาธิปัตย์ก็ได้แต่สนับสนุนชนชั้นนำไม่สนใจคนจน ที่เหลือไม่ต้องพูดถึง มันเหมือนละครสัตว์ การเมืองกลับไปสู่การเน้นการซื้อขายอำนาจการเมืองและระบบอุปถัมภ์ นี่คือผลงานของ คมช.ที่นักวิชาการสายเสรีนิยมสนับสนุนพร้อมๆ กับด่าคนจนว่าโง่

สมมุติว่าพรรคพลังประชาชนของทักษิณกลับมาเป็นรัฐบาลพรรคเดียว มีความเป็นไปได้ที่จะเอาคืนกับกลุ่มที่ทำรัฐประหารหรือไม่? หรือประนีประนอมกัน?

การเดาอนาคตเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าดูตัวละครและพฤติกรรมในอดีตน่าจะประนีประนอมกัน ถ้าจะจัดการให้รัฐประหารมันหมดสิ้นจากแผ่นดิน ต้องอาศัยภาคประชาชนอิสระ ไม่ใช่ไปหวังอะไรกับคนข้างบน พรรคการเมืองในกระแสหลายพรรคเริ่มเสนอแนวรัฐสวัสดิการ พรรคการเมืองเหล่านี้คือทางเลือกใหม่ของคนไทยหรือเปล่า?

ยังไม่ใช่เพราะเอารัฐสวัสดิการมาพูดแบบลอยๆ และมีการบิดเบือน ประเด็นหลักของรัฐสวัสดิการคือต้องเก็บภาษีก้าวหน้าสูงๆ จากคนรวย เช่นภาษีรายได้ ภาษีหุ้นและทุน ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก และภาษีที่ดิน ต้องเก็บจากทุกคน
ที่เป็นเศรษฐีโดยไม่มีข้อจำกัด เงินภาษีนี้จะนำไปสร้างงบประมาณสำหรับรัฐสวัสดิการที่ถ้วนหน้า (ทุกคนได้ไม่ต้องพิสูจน์ความจน) และครบวงจร (จากเกิดจนตายในทุกเรื่อง) จะเห็นว่าพรรคที่อ้างว่าสนใจรัฐสวัสดิการเช่นพรรคสังคมประชาธิปไตยไทยไม่ได้เสนอแบบนี้

ใจคิดยังไงกับกรณีการปฏิเสธ “นักการเมือง–พรรคการเมือง” ของภาคประชาชนบางส่วน แนวคิดหันหลังให้รัฐแบบนี้เป็นแนวร่วมมุมกลับกับชนชั้นนำฝ่ายปกครองหรือไม่?เป็นแต่เขาไม่ได้เจตนา ปัญหาคือมุมมองอนาธิปไตยแบบนี้ทำให้ภาคประชาชนขาดตัวแทนทางการเมือง อ่อนแอ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาไทยรักไทยชิงฐานมวลชนจากภาคประชาชนได้ หลังรัฐประหารก็เหมือนกับมีแค่สองทางเลือกคือ

ไทยรักไทยกับทหาร แต่จริงๆ แล้วมีทางเลือกสำคัญกว่านั้นอีกคือแนวทางอิสระของภาคประชาชน แต่ถ้าเราไม่สร้างพรรคการเมืองแนวนี้จะไม่ปรากฏ

กลุ่มของใจเองก็มีการจัดตั้งพรรคการเมือง (พรรคแนวร่วมภาคประชาชน) แต่ทำไมยังไม่จดทะเบียนและลงสู่สนามเลือกตั้ง? นี่ก็การหันหลังให้รัฐไม่ใช่หรือ?

ไม่ได้หันหลังครับ และพรรคนี้ไม่ใช่ของผม แต่เป็นของสมาชิก ผมเองไม่ได้เป็นกรรมการด้วยซ้ำ พรรคเรายังเล็กเราต้องขยายสมาชิกเพื่อให้มีพลังจริงในการแข่งแนวในเวทีการเมืองระดับชาติ การหาทางลัดเพื่อไปลงสมัครก่อนที่จะพร้อม ย่อมอาศัยการทำข้อตกลงกับนายทุนหรือนักการเมืองน้ำเน่าซึ่งเราจะไม่ทำ ดังนั้นถ้าใครอยากมาร่วมสร้างพรรคก็กรูราสมัครวันนี้และอ่านหนังสือพิมพ์เลี้ยวซ้ายของพรรคด้วย

สำหรับแนวสังคมนิยมในเมืองไทย ยังมีความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูหรือไม่?

ฟื้นอยู่แล้ว ตอนผมกลับมาเมืองไทยเมื่อสิบปีก่อนไม่ค่อยมีใครสนใจสังคมนิยม ตอนนี้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่สนใจ และคนรุ่นก่อนเริ่มฟื้นตัวมีกำลังใจ มีการให้ความสนใจกับรัฐสวัสดิการมาก มีการทำความเข้าใจกับปัญหาของ พคท. หรือจีน และมีกระแสที่จะสร้างโลกใหม่ทั้งในไทยและระดับสากล

มีคนโจมตีว่ากลุ่มของใจใช้ภาษา วิธีคิด แบบ Leninist Marxism ใช้โวหารแบบปฏิเสธรัฐสภา แต่กลับชูเรื่อง welfare state แบบ social-democrats ใจคิดยังไงกลับประเด็นนี้?

ผมเองเป็นนักมาร์คซิสต์ เพื่อนๆหลายคนในพรรคก็เป็น เราไม่ปกบิด เรากำลังรื้อฟื้นแนวมาร์คซิสต์แบบดั้งเดิมที่เน้นเสรีภาพ ไม่เหมือน พคท. สมาชิกอีกมากมายในพรรคอาจไม่ใช่มาร์คซิสต์

สำหรับนักมาร์คซิสต์ เรามองว่าการต่อสู้เพื่อเรื่องปากท้องประจำวัน (ประชาธิปไตยที่กินได้) เป็นเรื่องสำคัญมากและจะช่วยในการเปลี่ยนสังคมระยะยาวด้วย ตรงนี้ Rosa Luxemburg เคยอธิบายไว้นานแล้ว พูดตรงๆ ฝ่ายซ้ายบ้าที่ไหนจะไม่สนับสนุนรัฐสวัสดิการ?

อุปสรรคของการพัฒนาขบวนการฝ่ายซ้ายครั้งใหม่ นอกจากแนวคิดชาตินิยมที่กระแสแรงมากแล้ว อีกส่วนหนึ่งก็เป็นการวิจารณ์จากซ้ายเก่า กับนักวิชาการกอดคัมภีร์ ที่ด่าคนรุ่นใหม่ๆ ว่าเป็นซ้ายไร้เดียงสาบ้าง ไม่เข้าถึงหลักวิชาการ

ของฝ่ายซ้ายบ้าง ใจคิดเห็นอย่างไรกับคนพวกนี้?

เวลาสุนัขหน้าปากซอยผมมันเห่าผมก็ไม่ไปเห่าตอบครับ โลกจริงมีอะไรที่เราต้องทำเยอะไปหมด และเราลงมือแล้ว ในภาคประชาชนเราเคารพความคิดที่หลากหลาย เราเถียงกันได้ แต่ตรงไหนร่วมมือได้ในรูปธรรมก็ต้องทำโดยไม่มีอคติ เช่นคัดค้านเผด็จการกับกฎหมายความมั่นคง คัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ การแปรรูป สัญญา FTA ส่งเสริมสิทธิทางเพศและสันติภาพในภาคใต้ งานของภาคประชาชนมีล้นมือครับ

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 29/10/2550





Create Date : 30 ตุลาคม 2550
Last Update : 30 ตุลาคม 2550 18:29:54 น. 2 comments
Counter : 863 Pageviews.

 
ยังติดตามอยู่นะครับ


โดย: ok IP: 124.157.186.75 วันที่: 31 ตุลาคม 2550 เวลา:12:00:31 น.  

 
ผมติดตามเรื่องของอาจารย์มาระยะหนึ่ง วันนี้ขอถือโอกาสแสดงความคิดเห็นบ้าง
ผมเห็นว่าอาจารย์เองก็กอดคัมภีร์เหมือนกัน
ลักษณะคนไทยเปรียบเทียบกับรัสเซียไม่ได้
คนไทยไม่ได้ถูกกดขี่ หรือถูกทอดทิ้งอย่างเด็ดขาด
ชนชั้นปกครองมีลูกล่อลูกชนเข้ามาเอาใจประชาชนเป็นจังหวะ คนไทยเคยชินกับสภาพนี้มาตลอด ไม่เคยแสวงหาสิทธิ์ มีแต่สำนึกในหน้าที่ จดจำคำสอนของชนชั้นปกครอง ทำตามผู้ปกครอง เพราะการศึกษาอบรมของเราเป็นเช่นนั้น
ไม่เคยบอกว่าใครมาเป็นผู้ปกครอง คุณต้องทำงานให้ดี ๆ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะเล่นงานคุณ
การศึกษาบอกให้ประชาชนรู้ว่าข้าราชการเป็นนาย
ระบบกฎหมายก็เอื้อประโยชน์ในการปกครอง
ประเทศไทยเป็นเผด็จการอยู่แล้วโดยระบบกฎหมาย
รัฐศาสตร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเมืองไทยได้
กฎหมายเท่านั้นที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการเมืองและภาคประชาชน
เอาแค่แก้สิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญาให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน พฤติกรรม
ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็จะเปลี่ยนไปทันที ตัวอย่างมีให้เห็นจาก รธน 2540 ที่ผ่านมา
และที่สำคัญที่สุดที่เป็นแรงผลักดันให้ผมต้องเสนอความเห็นในครั้งนี้ เพราะว่า ผมมีหลักการอยู่ในใจแล้วว่า ข้าราชการไทย (ข้าราชการทั้งหมด ทุกประเภท) ที่ดีมากที่สุด คือ คอรัปชั่นเวลาราชการ และข้าราชการที่ดีน้อยที่สุด คอรัปชั่นทุกอย่างที่ขวางหน้า
ถ้าอาจารย์ทำงานให้เอกชน คงได้ไปอยู่กับลูกที่อังกฤษอย่างนี้ บริษัทนั้นคงเป็นบริษัทส่วนตัวนะ ถ้าเป็นบริษัททั่วไปอาจารย์อย่าหวัง


โดย: อนันต์ครับ IP: 61.7.174.111 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2550 เวลา:16:33:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.