อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
25 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
แบ่งงาน"เฉลิม"คุม"สื่อ"ยธ.,สตช.

ลขาฯ ครม. เผย ยิ่งลักษณ์ แบ่งงานรองนายกฯ "ยงยุทธ ดู มท., กต., สำนักปลัดฯ, สำนักนายกฯ, 3 ชายแดนใต้ "เฉลิม" คุม ยธ., สตช.,กรมประชาสัมพันธ์ ด้าน "โกวิท" ดู สังคม, กิตติรัตน์ ดู ศก.
25ส.ค.54

นายอําพน กิตติอําพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายงานให้กับ รองนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านการปกครอง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง
มหาดไทย สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ศูนย์อำนวยการบริหาร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกฤษฎีกา ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ดูแลด้านสังคม โดย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และนายชุมพล ศิลปอาชา ดูแลด้านการท่องเที่ยว ขณะที่ยังมีการแต่งตั้งให้ นางฐิติมา ฉายแสง ดำรงตำแหน่งโฆษกรัฐบาลด้วย ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังกำกับอีกว่า เรื่องที่รัฐมนตรีจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีจำเป็นต้องเสนอด้วยตนเอง เพราะต้องมีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ
-----------
ย้อนอดีตตัวตน “เหลิม” กร่างด่าสื่อ-ตร.กลางโรงพัก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มีนาคม 2551 23:58 น. Share

ย้อนอดีต “ดร.เหลิม” ขึ้นโรงพักช่วย “ลูกดวง” คดีทะเลาะวิวาท ด่ากราด “สน.ทองหล่อบัดซบ” โดนสื่อถาม “ลูกวัน” มี่เอี่ยวหรือไม่ ถึงสติแตกด่า “ทุเรศ-ชั่ว” เรียกเจ้าของ นสพ. “ไอ้...”

รายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ดำเนินรายการโดย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ คืนวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา ให้ทบทวนเหตุการณ์ที่สะท้อนตัวตนของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ที่ชอบคุยข่มคน

อื่นว่าตัวเองเป็นด็อกเตอร์ด้านกฎหมาย แต่แท้ที่จริงแล้วตนเองเป็นคนอย่างไร โดยได้นำเทปเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 มาเปิดในรายการ

เหตุการณ์ครั้งนั้น นายดวงเฉลิม อยู่บำรุง ลูกชายของ ร.ต.อ.เฉลิม ถูกกล่าวหาว่าก่อเรื่องทะเลาะวิวาท และต้องขึ้นโรงพัก สน.ทองหล่อ เมื่อ ร.ต.อ.เฉลิมไปที่โรงพักเพื่อช่วยลูกชาย ได้แสดงความไม่พอใจเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยกล่าว

ว่า “สน.ทองหล่อ วันนี้บัดซบ” หลังจากนั้นเมื่อผู้สื่อข่าว นสพ.เดลินิวส์ ถามว่าเรื่องนี้นายวันเฉลิมลูกชายอีกคนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมได้แสดงอาการฉุนเฉียว และด่าผู้สื่อข่าวด้วยคำหยาบคาย เช่น “ทุเรศ” “ทะลึ่ง” “ชั่ว”

รวมทั้งพูดถึงเจ้าของ นสพ.เดลินิวส์ โดยมีคำว่า “ไอ้” นำหน้า

ในปัจจุบัน นอกจากนายเฉลิมจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว นายวันบุตรชายก็ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

--------------

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
From Thailand Political Base

ร้อยตำรวจเอก ดร. เฉลิม อยู่บำรุงอดีตประธาน ส.ส. พรรคเพื่อไทย ส.ส. สัดส่วนกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตหัวหน้าพรรคมวลชน และ ส.ส.

ฝั่งธนบุรีหลายสมัย เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 จบการศึกษาทั้งระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยรับราชการตำรวจมีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบฯ ในการทำ

งานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จาก

สื่อมวลชนว่า "เหลิม" หรือ "เหลิมดาวเทียม" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเองของ ร.ต.อ.เฉลิม ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า '"

บรรณาธิการเฉลิม"' สมรสกับ นางลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ นายอาจหาญ, นายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง (ภายหลังนายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม เปลี่ยนชื่อ

เป็น นายวัน และนายดวง ตามลำดับ) ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า "ลูกเหลิม" มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นายนวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม ร.ต.อ.เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมืองที่โดด

เด่นด้านการพูด และลีลาการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ที่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเชื่อได้ และหลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า '"ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม"' ในช่วงที่ร.ต.อ.

เฉลิม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯได้ให้ฉายาว่า '"เป็ดเหลิม'" ซึ่งเปรียบเทียบว่า ร.ต.อ.เฉลิมกับเป็ดทำหลายอย่างได้ แต่ไม่สามารถทำได้ดีสักอย่าง เช่น

บินได้ แต่ไม่สามารถบินได้อย่างยาวนานและดีเท่ากับนก หรือเรียกว่า '"ไอ้ปื้ด"' ซึ่งเป็นบุคคลนิรนามที่มาจากคำกล่าวอ้างของเฉลิมเพื่อปัดคนทำผิดแทนลูกของเขา

บทบาททางการเมืองในช่วงแรก ร.ต.อ.เฉลิม เริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ก่อตั้ง พรรคมวลชน และดำรงตำแหน่ง เป็น หัวหน้าพรรค โดยมีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่

กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะ เขตภาษีเจริญ และ เขตบางบอน ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม เป็น ส.ส. ผูกขาดในพื้นที่ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เคยไม่ได้รับเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว คือในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2535 ครั้งที่ 1 ร.ต.อ.เฉลิม เคย

ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุนหะวัณ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อสมท. โดยบทบาทของ ร.ต.อ.เฉลิม ในขณะนั้นถูกมองว่า เข้าไปแทรก

แซง การเสนอข่าวของสื่อมวลชน และมีปัญหาขัดแย้งกับกลุ่มทหาร จนถูกนำมาเป็นเหตุผลประการหนึ่ง ในการทำ รัฐประหาร ปี พ.ศ. 2534 ของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภายหลังการรัฐประหารดังกล่าว ร.ต.อ.เฉลิม

อยู่บำรุง เป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์จำนวน 32 ล้านบาท [2] และต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ โดยเดินทางไปพำนักอยู่ที่ ประเทศสวีเดน และประเทศเดนมาร์ก ต่อมาเมื่อ

สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ร.ต.อ.ได้กลับเข้าประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา และต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 ตัดสินใจยุบ พรรคมวลชน รวมเข้ากับ พรรค

ความหวังใหม่ ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น หลังจากนั้นบทบาททางการเมืองของ ร.ต.อ.เฉลิม ก็เงียบหายไปเป็นเวลานาน บทบาทการเป็นฝ่ายค้านของ ร.ต.อ.เฉลิม ในพรรคชาติไทย มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งใน

การอภิปลายไม่ไว้วางใจ สุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย เรื่อง สปก.4-01 ซึ่งส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องตัดสินใจยุบสภาก่อนที่จะมีการลงมติไม่

ไว้วางใจ และเหตุการณ์ดังกล่าวยังถูกนำมาใช้อ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด

ร.ต.อ.เฉลิม กับคดีความของลูกชาย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ นายอาจหาญ นายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนเป็นระยะ ว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุ

วิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง โดยเฉพาะในสถานบันเทิงยามค่ำคืน และทำให้เกิดประโยคคำถาม ล้อเลียนคำพูดของลูก ร.ต.อ.เฉลิม ขณะก่อเหตุทำนองว่า "รู้ไหมว่ากูลูกใคร" โดยคดีต่าง ๆ ล้วนได้รับการยอมความจากผู้เสียหาย โดย

ไม่มีการลงโทษ ซึ่งถูกสังคมมองว่าเกิดจากการใช้อิทธิพล ของ ร.ต.อ.เฉลิม ผู้เป็นบิดา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ นายดวงเฉลิม ลูกคนเล็กตกเป็นผู้ต้องหาสังหาร ด.ต.สุวิชัย รอดวิมุติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ดาบยิ้ม" ในผับกลางโรมแรม ย่านถนนรัชดาภิเษก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544 โดยหลบหนีไปหลังเกิดเหตุ และมอบตัว

หลังจากนั้นกว่าครึ่งปี ซึ่งบทบาทของ ร.ต.อ.เฉลิม ขณะนั้น ถูกมองว่าเป็นพ่อที่พยายามปกป้องลูกอย่างถึงที่สุด จนถึงขนาดมีวิวาทะกับสื่อ โดยมีประโยคเด็ด เป็นคำขู่ว่า "ระวังคนฝั่งธนฯ จะกระทืบ" อันเป็นเหตุให้ถูกสื่อมวลชน

บอยคอต งดนำเสนอข่าวของ ร.ต.อ.เฉลิม ไประยะหนึ่ง หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิมและลูกๆ ได้ออกนิตยสารของตัวเอง ในแนววิจารณ์การเมือง โดยอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสื่อ แต่ดำเนินการได้ไม่นานก็ปิดตัวลง

ต่อมาคดีนายดวงเฉลิม มีคำตัดสินของศาลอาญาชั้นต้นให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า นายดวงเฉลิมเป็นผู้สังหารดาบยิ้ม จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถ

สรุปได้ว่าผู้สังหารดาบยิ้มเป็นใคร นอกจากคำให้การของฝ่าย ร.ต.อ.เฉลิม ที่ว่าเป็นฝีมือของ นายเฉลิมชนม์ บุริสมัย หรือ "ไอ้ปื๊ด" คนสนิทผู้ติดตามนายดวงเฉลิม ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธที่จะนำมาเป็นสาระสำคัญในคดี

เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 ร.ต.อ.เฉลิมได้ลงรับสมัครด้วย โดยได้เบอร์ 3 แม้ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 4 (รองจาก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่ได้ที่ 3) แต่คะแนนของทุกเขต ร.ต.อ.

เฉลิมจะอยู่ในลำดับที่ 3 หรือที่ 4 ตลอด ยกเว้นเขตบางบอนเท่านั้นที่ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 1

ร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน
บทบาทในช่วงเลือกตั้ง 2550 ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ร.ต.อ.เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ.

2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร.ต.อ.เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดูบทความหลักที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย ภายหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาถึง 233 ที่นั่ง ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้

นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมัครได้ให้ ร.ต.อ.เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่าเป็นตำแหน่งที่ตนต้องการที่จะ

ดำรงตำแหน่งมากที่สุดด้วย แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้

พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร.ต.อ.เฉลิม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดูบทความหลักที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย ต่อมานายสมัครได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีการลงมติ

เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมชายได้เลือกให้ ร.ต.อ.เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

สาธารณสุข แต่ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน,พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค จึงส่งผลให้นายสม

ชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย
ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ภายหลังจากมีการยุบพรรค ร.ต.อ.เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร.ต.อ.เฉลิมเป็นประธาน ส.ส. เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของ ส.ส.ภายในพรรคต่อไป โดย

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธาน ส.ส. เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทยตั้ง ร.ต.อ.เฉลิม เป็นประธาน ส.ส. เพราะยังไม่สามารถหาผู้นำฝ่ายค้านได้ กล่าวกันว่าไม่มีใครที่กล้า

เป็นผู้นำฝ่ายค้านเลย เพราะเกรงว่าถ้ามีคดียุบพรรคอีกครั้ง จะติดข่ายเว้นวรรคทางการเมืองห้าปี เนื่องจากผู้นำฝ่ายค้านจะต้องเป็นกรรมการบริหารพรรคนั่นเอง ร.ต.อ.เฉลิมเป็นผู้นำ ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร.ต.อ.เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด

ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท

เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง ในปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ให้ฉายา ร.ต.อ.เฉลิมว่า "ดาวดับ" อันเนื่องจากวาทะที่แก้ตัวให้กับการกระทำที่ส่อทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า "พ.ต.ท.

ทักษิณ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม" ซึ่งได้กลายเป็นวาทะประจำปีด้วย ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2553 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้มีวิวาทะกับสมาชิกพรรคเพื่อไทยด้วยกันเอง ถึงขนาดตำหนิออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนหลาย

ต่อหลายครั้ง อันเนื่องจากเรื่องการที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่เห็นแตกต่างกันและมีความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารจัดการพรรคที่แตกต่างกัน
------------
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ปาร์ตี้ลิสต์หมายเลข 3 ของเพื่อไทย นักการเมืองคนดัง วาทะเด็ดเผ็ดร้อน ถึงลูกถึงคน จนได้รับตำแหน่งดาวสภาไปครอง

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2490 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับชีวิตครอบครัว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สมรสกับ นางลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน คือ อาจหาญ, วัน (ชื่อเดิม วันเฉลิม) และ ดวง (ชื่อเดิม ดวงเฉลิม) อยู่บำรุง ส่วนหน้าที่การงานของ

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ก่อนหน้าที่จะเข้ามาเล่นการเมือง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เคยดำรงตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบฯ

ส่วนชีวิตการเมือง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เริ่มต้นด้วยการเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2529 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้แยกตัวออกมาก่อตั้งพรรคมวลชน และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค โดยมีฐานเสียง

สำคัญในพื้นที่ฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะเขตภาษีเจริญและเขตบางบอน ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม เป็นส.ส.ผูกขาดในพื้นที่มาอย่างยาวนาน

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุนหะวัณ มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลสื่อ ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้ทำหน้าที่ชนิดที่ลงไปกำกับเนื้องานด้วยตัวเอง จน

ถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงสื่อ และเป็นที่มาของการทำรัฐประหารในปี พ.ศ.2534 จนตัว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศเดนมาร์ก โดยความช่วยเหลือขององค์การสหประชาชาติ

หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ร.ต.อ.เฉลิม ก็ได้กลับมายังประเทศไทยและลงเล่นการเมืองต่อ จนได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา และต่อมาในปี พ.ศ.2540 ตัดสินใจ

ยุบพรรคมวลชน ควบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และนับแต่บัดนั้นชื่อของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ก็เงียบหายไปจากวงการการเมืองระยะหนึ่ง

และในปี พ.ศ.2547 ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร.ต.อ.เฉลิม ก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย โดยได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4 จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2550 ร.ต.อ.เฉลิม จึงตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน จน

ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลสมัยนายสมัคร สุนทรเวช แต่ก็ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี จน ร.ต.อ.เฉลิม หลุดจากตำแหน่งไป

จนเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2551 นายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จึงได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และได้มอบให้ ร.ต.อ.เฉลิม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคด้วย

ร.ต.อ.เฉลิม จึงพ้นจากตำแหน่งไปโดยปริยาย

ภายหลังจากมีการยุบพรรคพลังประชาชน ร.ต.อ.เฉลิม ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานส.ส. เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของส.ส.พรรคเพื่อไทยจนถึงปัจจุบัน

----------



Create Date : 25 สิงหาคม 2554
Last Update : 25 สิงหาคม 2554 21:53:36 น. 0 comments
Counter : 1805 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.