อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
28 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
นักวิชาการจี้รัฐบาลยุบสภา 3 เดือน

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและแกนนำ นปช.
ต้องเร่งเจรจาเพื่อขจัด เงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง คืนอำนาจให้กับประชาชน

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลและ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดงในขณะนี้ ได้สร้างความตึงเครียดและร้อนแรงให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำของทั้งสองฝ่ายต่างประกาศว่าตนยินดีที่จะ “เจรจา” จนทำให้สังคมเกิดความหวังที่จะได้เห็นทางออกอยู่รำไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลับพบว่าเจตจำนงที่จะก่อให้เกิดการเจรจาของผู้นำของทั้งสองฝ่ายนั้น ช่างอ่อนเปลี้ยเสียเหลือเกิน

พวกเรา นักวิชาการที่ปรากฏรายชื่อท้ายจดหมายนี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อสภาวะตีบตันของบ้านเมืองในขณะนี้ เพราะการปล่อยให้การเผชิญหน้าระหว่างกองกำลังของรัฐบาลและมวลชนเสื้อแดง จำนวนมหาศาลดำเนินต่อไป อาจกลายเป็น “เงื่อนไข” ที่นำไปสู่การปะทะและปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมได้ในที่สุด แม้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะได้แสดงให้ประจักษ์แก่สังคมแล้วว่าพวกเขายึดมั่นใน แนวทางสันติวิธีก็ตาม แต่เราต้องไม่ประมาทว่าสังคมไทยในขณะนี้มี “มือที่มองไม่เห็น” ที่ รอฉกฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์เพื่อก่อการร้ายต่อรัฐบาล หรือเพื่อปราบปรามและยุติบทบาททางการเมืองของคนเสื้อแดง

ทั้งนี้ ความกังวลดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นบนความว่างเปล่า ข่าวความรุนแรงในรูปของการยิงระเบิดใส่สถานที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏมากขึ้นทุกวัน อาจเป็นดัชนีที่เตือนสังคมว่า ระดับของความรุนแรงกำลังจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสังคมไม่สามารถรับรู้ความจริงได้เลยว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังความ รุนแรงเหล่านี้ แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือ ความรุนแรงรายวันนี้กำลังทำให้รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงรู้สึกหวาดระแวงต่อ กันมากยิ่งขึ้น และทำลายความชอบธรรมของกลุ่มคนเสื้อแดง

พวกเราในฐานะนักวิชาการที่ห่วงใยสถานการณ์ของ บ้านเมือง เห็นว่าหากปล่อยให้สภาวการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดเหตุรุนแรงและนำไปสู่การใช้กำลังของรัฐเข้า ปราบปรามสลายการชุมนุม ซึ่งประชาชนจำนวนมากอาจได้รับบาดเจ็บล้มตายในที่สุด จึงขอเรียกร้องต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และแกนนำของ นปช. ดังต่อไปนี้

1. ให้ นายกรัฐมนตรีประกาศว่าจะยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาลต้องไม่มองว่าการยุบสภาคือความพ่ายแพ้ แต่ควรเห็นว่านี่คือหนทางที่ดีที่สุดสำหรับปลดเงื่อนไขแห่งความรุนแรงที่ กำลังจะเกิดขึ้น ประการสำคัญ การยุบสภาคือการคืนอำนาจให้แก่ประชาชนในภาวะที่บ้านเมืองไม่สามารถก้าวต่อไป ข้างหน้าได้ ส่วนฝ่าย นปช. ไม่ควรยืนยันให้รัฐบาลยุบสภาในทันที แต่ควรให้เวลา 3 เดือนแก่รัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาและผลักดันนโยบายที่เร่งด่วนเสียก่อน

2. รัฐบาล และผู้นำ นปช. จะต้องดำเนินการเจรจา เพื่อปลดเงื่อนตายทางการเมืองโดยเร็วที่สุด โปรดอย่าพูว่า “จะเจรจา” เพียงเพื่อสร้างภาพความชอบธรรมให้กับฝ่ายตนเท่านั้น แต่ต้องมุ่งเจรจาเพื่อสร้างกรอบกติกาการเลือกตั้ง ที่เปิดโอกาสให้การหาเสียงเลือกตั้งของทุกฝ่ายดำเนินไปได้อย่างเสรี ปราศจากการคุกคาม

3. ให้ กลุ่มและพรรคการเมืองทุกฝ่ายต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง และเปิดโอกาสให้รัฐบาลใหม่ได้บริหารประเทศอย่างเต็มที่ ไม่มีการล้มกระดานด้วยวิธีการนอกระบอบรัฐสภาอีกต่อไป

สิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คือ การหลีกเลี่ยง ให้พ้นจากวิกฤติการเสียเลือดเนื้อของประชาชน ผู้ที่จะต้องถูกเรียกร้องก่อนก็คือรัฐบาล สำหรับ นปช.และกองทัพ เราขอเรียกร้องให้มีความเคารพในสิทธิเสรีภาพและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง และให้ทุกฝ่ายร่วมมือกับรัฐบาลในการรักษาชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นคนสีใดก็ตาม

ลงนามโดย

นักวิชาการ

1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปัญญาชนอาวุโส
3. พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ นักวิจัย
5. คำสิงห์ ศรีนอก นักเขียน
6. ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
7. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. สาวิตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14. ชัชวดี ศรลัมพ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
17. จรัสพงศ์ คลังกรณ์ อัยการอาวุโส
18. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม. ธรรมศาสตร์
23. วิภา ดาวมณี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24. อภิชาติ สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. อัฐมา โภคาพานิชวงษ์ โครงการสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26. กรีวุฒิชัย ตรีครุธพันธุ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. รัตนา โตสกุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. สุรัสวดี หุ่นพยนต์ สำนักบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
31. ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล
32. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล
33. วราภรณ์ แช่มสนิท ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล
34. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
35. สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
36. องค์ บรรจุน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ม.มหิดล
37. เนตรนภา ขุมทอง ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล
38. พรชัย เทพปัญญา สถาบันปัญญาไทย
39. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
40. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
41. สุวิมล รุ่งเจริญ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
42. การุณลักษณ์ พหลโยธิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
43. กฤษณา ไวสำรวจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
44. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
45. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
46. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
47. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
48. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
49. สิงห์ สุวรรณกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
51. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
52. วิทยา สุจริตธนารักษ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
53. ชเนฎฐวัลลภ ขุมทอง ที่ปรึกษาศูนย์เศรษฐศาสตร์สุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
54. ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
55. จิรวัฒน์ แสงทอง สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
56. ทวีลักษณ์ พลราชม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
57. จีรพล เกตุชุมพล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแพง
58. อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
59. ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
60. อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
61. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
62. วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63. สันต์ สุวัจฉราภินันท์ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
64. นิชธิมา บุญเฉลียว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
65. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
67. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
68. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
69. ทศพล ทรรศกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
70. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
71. ชาญกิจ คันฉ่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
72. ภูมิอินทร์ สิงห์ชวาลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
73. พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
74. อิสราภรณ์ พิศสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
75. ธนศักดิ์ สายจำปา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
76. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
77. ศรันย์ สมันตรัฐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
78. ภิญญา ตันเจริญ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
79. ยุทธพร อิสรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
80. ธโสธร ตู้ทองคำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
81. สุพัตรา ตันเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏอุดรธานี
82. พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
83. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
84. วิเชียร อันประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
85. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
86. พลวิเชียร ภูกองไชย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
87. เนตรดาว เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
88. ซากีร์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
89. บุญสม จันทร สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
90. วิจา ตินตะโมระ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
91. ศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
92. นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร
93. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร
94. Coeli Barry ที่ปรึกษา ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร
95. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์
96. อลิสา หะสาเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
97. สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
98. ดวงพร เพิ่มสุวรรณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
99. บุญสม พิมพ์หนู คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
100.ชวลิต สวัสดิ์ผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
101.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
102.พินัย สิริเกียรติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
103.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
104.โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
105.เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
106. ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
107. กิตติมา เมฆาบัญชากิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
108. กานดา นาคน้อย คณะเศรษฐศาสตร์ Purdue University, U.S.A.
109. ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
110. บัณฑิต จัททร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
111. นภิสา ไวฑูรรย์เกียรติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
112. ศศิประภา จันทะวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
113. บุญสม พิมพ์หนู คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
114. ชวลิต สวัสดิ์ผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
115. สุรัสวดี หุ่นพยนต์ โครงการบันฑิตอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
116. จินตนา แซนดิแลนด์ ภาควิชาภาษาไทย Australia National University
117. วรวัตถุ์ มากศิริ มหาวิทยาลัย Fordham
118. ทรงพร ทาเจริญศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
119. ชาญ ณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักวิชาการต่างประเทศ

120. Charles Keyes University of Washington, Seattle
121. Tamara Loos Cornell University
122. Hayao Fukui Kyoto University
123. Rachel Harrison SOAS, London
124. Susan M. Darlington Hampshire College, Amherst
125. Tyrell Haberkorn Australian National University
126. Robert B. Albritton Political Science, University of Mississippi
127 Frank K. Lehman University of Illinois
128. Benny Widyino Former UN Secretary-General's Representative to Cambodia
129. Nikki Tannenbaum Lehigh University
130. Nancy Eberhardt Knox College
131. Anne Hansen University of Wisconsin-Madison
132. Penny Van Esterik York University
133. Richard O'Conner Sewanee: University of the South
134. Sandra Cate San Jose State University
135. Alicia Turner York University
136. John Holt Bowdoin College
137.Erik Davis Macalester College
138. Pat Chirapravatti California State University, Sacramento
139. Andrew Walker Australian National University
140. Larry Ashmun University of Wisconsin-Madison
141. Ann K. Brooks Texas State University - San Marcos
142. David Streckfuss Independent Scholar
143. Carol Compton Independent Scholar
144. Leslie Woodhouse Independent Scholar
145.Richard A. Ruth US Naval Academy
146. Sudarat Musikawong Siena College
147. Rita Laugo University of Bristol
148. Steve Cohn Knox College
149. Chhany Sak-Humphry University of Hawaii-Manoa

นักวิชาการอิสระ ปัญญาชน และประชาชนทั่วไป

150. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักวิชาการอิสระ
151. ณรงค์เดช นวลมณี นักวิชาการอิสระทางนิติศาสตร์และทนายความ
152. เทพรัตน จันทนันท์ นักวิชาการอิสระ
153. ณัฐเมธี สัยเวช นักวิชาการอิสระ
154. อธิป จิตตฤกษ์ นักวิชาการอิสระ
155. เกษม จันทร์ดำ นักวิชาการอิสระ
156. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร นักวิชาการอิสระ
157. วิภาส ปรัชญาภรณ์ นักวิชาการอิสระ
158. ปรีดีโดม พิพัฒชูเกียรติ นักวิชาการอิสระ
159. พิพัฒน์ พสุธารชาติ นักวิชาการอิสระ
160. ภาสกร อิ่นทุมาร นักวิชาการอิสระ
161. อดิศร เกิดมงคล นักวิจัย International Rescue Committee
162. ภูเพียง ศรีนอก
163. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
164. ธัญสก พันสิทธิวรกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
165. ภาณุ ตรัยเวช นักเขียน
166. รอมแพง ขันธกาญจณ์ นักเขียน/สื่อมวลชน
167. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ นักเขียน/ สื่อมวลชน
168. กฤช เหลือลมัย วารสารเมืองโบราณ
169. ชลิดา เอื้อบำรุงจิต
170. สัณห์ชัย โชติรสเศรณี
171. วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา นักเขียนและนักวิจารณ์ภาพยนตร์
172. โตมร ศุขปรีชา นักเขียน/ สื่อมวลชน
173. ชญานิน เตียงพิทยากร นักวิจารณ์ภาพยนตร์
174. คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักเขียนและนักวิจารณ์ภาพยนตร์
175. งามวัลย์ ทัศนียานนท์ มูลนิธิศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย
176. กิรพัฒน์ เขียนทองกุล นักศึกษปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177. เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า
178. ธิติพงษ์ ก่อสกุล นักศึกษาปริญญาโท สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์
179. นครินทร์ วิศิษฎ์สิน นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
180. เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
181. ธนันท์ อุนรัตน์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
182. วิษณุ อาณารัตน์ ม.ธรรมศาสตร์
183. พัชร เอี่ยมตระกูล นักศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
184. พิพัฒน์ วิมลไชยพร นักศึกษาปริญญาโท พระจอมเกล้าธนบุรี
185. ทบพล จุลพงศธร นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
186. พุฒิพงศ์ มานิสสรณ์ นักศึกษาปริญญาโท นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
187. สุรัช คมพจน์ นักศึกษาปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
188. พิมพ์ศิริ เพชรน้ำรอบ นักศึกษาปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
189. อันธิกา สวัสดิ์ศรี PhD student, University of Newcastle, UK
190. สุนิสา บัวละออ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
191. กิตติกร นาคทอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
192. นายบุญยืน สุขใหม่ กรรมกรไทย
193. ประเกียรติ ขุนพล กลุ่มเพื่อนพลเมืองอันดามัน
194. ทันตแพทย์หญิงเมธินี คุปพิทยานันท์ กรมอนามัย
195. สาคร พงศ์พันธุ์วัฒนา
196. เสริมสุข พงศ์พันธุ์วัฒนา
197. ศิริรัตน์ พงศ์พันธุ์วัฒนา
198. นพรุจ พงศ์พันธุ์วัฒนา
199. สุภา ธาราธีรเศรษฐ์
200. อนุสรณ์ ธาราธีรเศรษฐ์
201. ธนพล ธาราธีรเศรษฐ์
202. ธนภัทร ธาราธีรเศรษฐ์
203. คำรณ เฉลิมโรจน์
204. อิสรา ยมจินดา
205. วัฒนา Gshneller
206. นาย Marco Gshneller
207. ภมร ภูผิวผา
208. มินตา ภณปฤณ
209. กิตติพงษ์ ราชเกสร
210. ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรักษ์
211. พัชรี แซ่เอี้ยว
212. ธนู จำปาทอง
213. ศุษม อรรถวิภาคไพศาลย์
214. วิชาติ สมแก้ว
215. รวินทร์นิภา การินทร์
216. สุทธรัก ขุนจำนงค์
217. นาถรพี วงศ์แสงจันทร์
218. อุษณีย์ วงศ์แสงจันทร์
219. ชยางกูร วงศ์แสงจันทร์
220. กิติคุณ โตรักษา
221. ชัยยุทธ พิพัฒนเสริญ
222. เมธี ชุมพลไพศาล
223. ธวัช งานรุ่งเรือง
224. จินดารัตน์ ทุ่งทอง
225. วนิดา ไมตรีจิตต์
226. พิชกร พิมลเสถียร
227. ธนพล ฟักสุมณฑา
228. สิโรตม์ นุตาคม
229. ตฤณ ไอยะรา
230. สราวุธ ภัทรบรรจง
231. พีระยุทธ เลขะวณิชย์
232. อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์
233. ณัฏฐา มหัทธนา
234. สงวน จุงสกุล
235. เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
236. มนตรี สินทวิชัย(ครูยุ่น) มูลนิธิคุ้มครองเด็ก
237. งามวัลย์ ทัศนียานนท์ มูลนิธิศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย
238. จุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม นักวิจัยอิสระ
239. เตือนสิริ ศรีนอก
240. พงศ์นเรศ อินทปัญญา


Create Date : 28 มีนาคม 2553
Last Update : 28 มีนาคม 2553 23:58:27 น. 4 comments
Counter : 1014 Pageviews.

 
มันแน่อยู่แล้ว เพราะแกนนำเป็นนักวิชาการฝ่ายทักษิณ ต้องออกมาแนวนี้แน่นอน


"ยุบสภา-ให้ทักษิณมากินเมืองงั้นหรือ?
เปลว สีเงิน 27 มีนาคม 2553 - 00:00

ร้อนจนควายเริงแดดอยู่หลายวัน จู่ๆ วานนี้ลมแรงก็มาไล่ร้อนลดจนหนาว พอดี "ดวงใจสมุทร" คนใจขนาดปากอ่าวแม่กลอง ลำเลียง "ข้าวเหนียวมะม่วง" เจ้าอร่อยที่สุดในโลกมาทำบุญ-ทำทาน โดยเปลี่ยนจากทำกับพระที่วัด มาทำกับโจรที่กอง บ.ก.ไทยโพสต์บ้าง ผมก็เลยได้ฉลองศรัทธา กินข้าวเหนียวมะม่วงเพิ่มพลังงานจนค่อยคลายหนาวที่หลงฤดู คิดๆ แล้วต้องกราบแทบเท้า "บรรพบุรุษไทย" ชนิดปลายเส้นผมสัมผัสปลายเท้าท่าน

ท่านฉลาดจริงๆ ฉลาดยิ่งกว่าไอน์สไตน์ เพราะไอน์สไตน์ค้นพบแค่สูตร E=mc ยกกำลังสอง สู้คนไทยไม่ได้ สามารถค้นพบว่า ข้าวเหนียวนั้น จะให้ทั้งพลังงาน ทั้งหวาน-มันละมุนลิ้น อร่อยล้ำในเวลาเดียวกัน ต้องกินกับมะม่วงเท่านั้น และมะม่วงนั้นก็จะต้องเป็น "มะม่วงอกร่อง" อย่างเดียวด้วย

เออ..อย่างนี้ ไอน์สไตน์คิดได้เปล่า?!

ข้าวอยู่ในนา มะม่วงอยู่ในสวน แล้วท่านจับมาเข้าคู่กันลงตัวอมตะได้อย่างไร ยิ่งคิดก็ยิ่งทึ่ง ยิ่งเท่ใน "ภูมิปัญญาไทย" แล้วไม่แค่นี้นะ ยังมีอะไรๆ ในทำนองผลงานค้นคว้า-วิจัยของบรรพบุรุษไทยฝากไว้เป็นมรดกโลก-มรดกไทย "คู่หม้อ-คู่ไห" อีกมากมายเหลือคณานับ

คนไทยน่ะ หัดภูมิใจ และซูฮก-ยกให้ "ภูมิปัญญาไทย" กันให้มากๆ เถอะครับ ไม่ใช่บ้าแต่ฝรั่งมังค่า บางทีผลงานเดียวกัน คนไทยรู้ตั้งนาน-ทำตั้งนาน แต่คนไทยด้วยกันมองข้ามหัว พอฝรั่งมันลอกจาก "ปัญญาต้นแบบ" ไป แล้วพะยี่ห้อฝรั่งใส่ โอย...ตานี้แหละ ทั้งนักวิชาการ ทั้งชาวบ้านร้านตลาด

ซูฮก-ยกย่อง ขานรับกันตูดกระดกไปหมด!

อย่างบ้านเรา ตอนนี้-ขณะนี้ กำลังเข้าคอร์สประชาธิปไตยเข้ม ตามสูตรของคนไทยกันเอง อย่าเพิ่งบ่น อย่าเพิ่งเบื่อ โดยเอาสูตรประชาธิปไตยตะวันตก หรือของชาติอื่นๆ มาเป็นตัวตั้ง แล้ววิจารณ์ในเชิงเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบด้วยความเข้าถึงความเหมือน-ความต่างตั้งแต่รากยันยอดก็ดีไป

แต่ถ้าเปรียบเทียบแค่เอาคำว่า "ประชาธิปไตย" เป็นตัวตั้ง แล้วเอาเหตุการณ์ฝรั่งมานั่งฟุ้งวิจารณ์ไทยตามหน้าจอโทรทัศน์แลกข้าว-แลกน้ำ และแลกคำว่า "อาจารย์" มหาวิทยาลัยโน้น มหาวิทยาลัยนี้

บางทีฟังแล้ว "นึกขอบคุณตัวเอง" ที่โง่เพราะไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย ถ้าเรียน และฉลาดจากได้ครูบาอาจารย์อย่างนี้สอน

ซวยตายห่ะ!?

ไม่ต้องอะไรมาก แค่พวกเสื้อแดงยกขบวนกันมาปฏิบัติการป่าเถื่อนกลางบ้าน-กลางเมือง แล้วใช้คำว่า "มาเรียกร้องประชาธิปไตย" ชูเป็นหนังราชสีห์คลุมหลังขี้เรื้อน พร้อมตะโกนให้นายกฯ อภิสิทธิ์ "ยุบสภา"

แค่นี้ท่านผู้แก่กล้าทางวิชาการบางท่านจากสถาบันอันดับ ๑ อันดับ ๒ ของไทย กางสูตร-กางตำรา-กางทฤษฎี ประชาธิปไตย มาวิจัย-วิจารณ์ ทั้งบ้านเมืองไทย และรัฐบาลไทย ด้วยภาษาสวรรค์ชั้นนักวิชาการจนชาวบ้านฟังแล้วขี้ไม่ออก-ตดไม่ออก ด้วยขยาดในภูมิของ

แต่ละท่าน ซึ่งล้วนแล้วแต่ "ขลังๆ" เสริมการพังบ้านกันทั้งนั้น

จริงๆ แล้ว สิ่งที่เกิด ณ ขณะนี้ มันไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย หรือไม่ประชาธิปไตย ทั้งไม่เกี่ยวกับยุบสภา หรือไม่ยุบสภาด้วยประการทั้งปวง!

มันเกี่ยวอยู่กับ "ตัวทักษิณ" ตัวเดียวแท้ๆ!!!

ตอนนี้ ทั้งหลงทาง ทั้งบ้าทิศกันไปหมดทั้งประเทศ โดยไปยก-ไปยึด "ตัวทักษิณ" เป็นคำตอบของบ้านเมืองผ่านระบบปกครองว่า จะเป็นประชาธิปไตย หรือไม่เป็นประชาธิปไตย อยู่ที่ทักษิณคนเดียว?

ตอบกันตรงๆ ชัดๆ ซิ เอาละ สมมุติว่าบ่ายโมงวันนี้ ทักษิณกลับถึงสุวรรณภูมิ กลับมาแบบอยู่เหนือโทษคุก อยู่เหนือคดีความทั้งสิ้น มีข้าราชการเสื้อแดง ทหาร-ตำรวจเสื้อแดง นักการเมืองและชาวบ้านเสื้อแดงแห่แหนไปต้อนรับ แซ่ซ้องสรรเสริญที่ได้ทักษิณกลับมา

บ้านเมืองยุติการชุมนุม นี่...ความสงบเรียบร้อยจากโจรห้าร้อยยุติการรับจ้างกบฏบ้าน-พังเมือง เพราะได้ทักษิณกลับมาอยู่เหนือระบบบ้านเมือง อย่างนี้ใช่มั้ยที่เรียกว่า......

"บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย"?

อะไรก็ได้ ที่ทำให้ทักษิณพ้นโทษ พ้นคุก พ้นคดี และกลับมาสถาปนา "ระบอบทักษิณ" เหนือประเทศไทย อย่างนี้ใช่มั้ยคือ บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย?

คำว่า "มาเรียกร้องประชาธิปไตย" และแปลงเป็นรูปธรรมผ่านเงื่อนไข "ให้รัฐบาลยุบสภา" ด้วยอ้างว่า แบบนี้คือการคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน มันดูสวย มันฟังรื่นหู แต่ผมจะเปรียบให้เห็น เหมือนโจรที่บุกปล้นบ้าน วิธีหนึ่งที่จะทำไม่ให้เจ้าของบ้านตื่นจากเสียงหมาเฝ้าบ้านเห่าก็คือ

โยนกระดูกให้หมาแทะเป็นการเปิดทาง!

นี่แหละที่พวกมันสมองทักษิณคิดแผนให้พวกแกนนำเสื้อแดงนำมาใช้กับพวกนักวิชาการ และพวกอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยในประเภท "กอดตำรารูดเสา" บางคน

เป้าหมายของโจร มันจะปล้นเมืองให้ทักษิณนั่ง แต่เพื่อหลอกล่อให้ "หมาเห่าหลงทาง" มันก็เอาคำว่า "ประชาธิปไตย" มาแต่งสี-แต่งกลิ่นโยนให้พวก "กอดตำรารูดเสา" เมามันน้ำลายอยู่กับประเด็นใครเป็น-ไม่เป็นประชาธิปไตย วนอยู่ในปัญญากะลาครอบนั่นแหละ

เอ้า...พูดกันตรงๆ ตอบกันตรงๆ ซิว่า.....

ยุบ-ไม่ยุบสภา มันเกี่ยวกับการเป็น หรือไม่เป็นประชาธิปไตย ตรงไหน?

จริงๆ แล้วทักษิณต้องการให้ยุบ ด้วยหวังว่า "เลือกตั้งใหม่" พรรคเสื้อแดงจะได้ ส.ส.มาก จะได้อำนาจบริหารประเทศไว้ในกำมือ และที่คิดกันแค่ว่า เป็นรัฐบาลแล้ว จะแก้รัฐธรรมนูญช่วยทักษิณให้พ้นคดีนั้น โฮ่ย...ทักษิณมันคิดข้ามช็อตไปนานแล้ว ไม่มามัวเสียเวลากับการแก้รัฐธรรมนูญหรอก

ได้อำนาจรัฐคราวนี้ มันจะใช้ "อำนาจเปลี่ยนประเทศ" เลย!

อันนี้ผมไม่ได้พูดเล่น ถ้าผมเป็นทักษิณ เมื่อรู้ชัดแล้วว่า "คนไทยซื้อง่าย" และ "ซื้อได้ทุกระดับชั้น" แล้วจะรอช้ากับการ "ซื้อประเทศ" ไปเพื่ออะไรอีก?!

ไอ้ที่เสื้อแดงตะโกนบนเวทีผ่านฟ้า และที่ยกขบวนไปทำป่าเถื่อน คุกคามที่โน่น-ที่นี่ ก็รู้ตามความจริงแล้วว่า มันอำนาจเถื่อนยิ่งกว่าอำนาจเผด็จการ แล้วยังจะบ้าไปวิจัย-วิจารณ์ถึงประชาธิปไตยที่ไอ้พวกป่าเถื่อนมันใช้เป็นเครื่องพรางในการปล้นไปเพื่ออะไร

ใครมันควายกว่าใคร คิดๆ แล้วก็ชักสงสัยอยู่เหมือนกัน?

เหมือนโจร โกนหัวโล้น-ห่มเหลืองเข้าปล้น เราก็ยังก้มหน้าก้มตา "วิจัย-วิจารณ์" กันอยู่ตรงว่า...เอ...มันพระหรือแพะ ก็จะมาติดอยู่ตรงนี้ทำไม ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจ ตอนนี้มีโจรไพร่ปล้นเมือง และต้องช่วยกันจัดการแก้ไขให้บ้านเมืองสงบ

พระหรือแพะมันเรื่องทีหลัง เหมือนเรื่องประชาธิปไตย หรือไม่ประชาธิปไตย เห็นเถียงกันมาตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ โน่นแล้ว ฉะนั้น ไม่ต้องบ้าเอาภูมิปัญญาประชาธิปไตยเข้าจับปฏิบัติการของโจรไพร่ที่ "อ้างประชาธิปไตย" ในการปล้นเมืองให้ทักษิณหรอก!

ผมเห็นเขาทำสติ๊กเกอร์ ทำโปสเตอร์ติดตามถนน ตามท้ายรถว่า "ยุบสภา" ก็อยากให้ประชาชนคนไทย "ถามกับตัวเอง" ว่า

ยุบสภาเกี่ยวกับประชาธิปไตยตรงไหน?......

ยุบสภาเพื่อให้ทักษิณกลับมาโกงบ้าน-กินเมือง ใช่ไหม?

นั่นคือประเด็นที่สังคมต้องทำความเข้าใจด้วยการแยกแยะให้ชัดว่า ระหว่างตัวทักษิณที่ต้องโทษ-ต้องคดี กับตัวระบบ-ระบอบประชาธิปไตย เป็นคนละเรื่อง-คนละประเด็นกัน

ตัวทักษิณไม่ใช่เครื่องหมายประชาธิปไตย

และบ้านเมืองไทย จะเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทักษิณ!

ตรงกันข้าม ทักษิณนั่นแหละ สังคมโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรปประกาศชัดว่า เป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา เป็นคนคอรัปชั่น โกงกิน เป็นอาชญากร ห้ามประเทศใดรับเข้าไว้ ห้ามไม่ให้คบค้าสมาคม จนกระทั่งประเทศมอนเตเนโกร "มีปัญหา" เพราะฝืนกติกา ที่ยอมให้สัญชาติมอนเตเนเกี้ยนกับทักษิณ

นักโกง-กิน นักคอรัปชั่น นักติดสินบาทคาดสินบน นักเผด็จการประชาธิปไตยอย่างทักษิณ ท่านลองตอบกับใจตัวเองดูซิครับว่า..แล้วมันจะเป็นนักประชาธิปไตยอย่างที่ให้พวกสมุนแดงใช้ปฏิบัติการเถื่อนชูเป็นประเด็นเพื่อยึดบ้าน-ชิงเมืองได้อย่างไร?

วันนี้-ทักษิณเขาไม่ใช่คนไทยแล้ว เขาสละสัญชาติไทยทิ้งไปแล้ว ถึงกลับมาเขาก็ไม่ได้เป็นคนไทย หรือเป็น "บางกอกเกี้ยน" อีกต่อไป เพราะเขาเป็น "มอนเตเนเกี้ยน" ไปเรียบร้อยแล้ว จะมาเป็น ส.ส. มาเป็นนายกฯ หรือจะเป็นอะไรที่ฝักใฝ่เหิมเกริมในประเทศไทยไม่ได้อีกแล้ว

นอกจากเป็น "นักโทษ" อยู่ในคุก!


โดย: นักวิชากรขายตัวทั้งนั้น IP: 58.8.195.136 วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:3:03:05 น.  

 
คนเราตัวเองเป็นเช่นไร มักจะมองคนอื่นเป็นเช่นนั้น
ใช่มั้ยคุณ นักวิชากรขายตัวทั้งนั้น IP: 58.8.195.136


โดย: สีแดง IP: 113.53.166.103 วันที่: 11 เมษายน 2553 เวลา:15:25:47 น.  

 
เสนอได้จริงหรือ


โดย: นาย ก IP: 118.172.70.25 วันที่: 14 เมษายน 2553 เวลา:21:34:55 น.  

 


โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 15 เมษายน 2553 เวลา:6:41:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.